ข้อความโดย: sithiphong
« เมื่อ: เมษายน 16, 2016, 11:34:02 am »สงสัยไหม? ทำไมใครๆ ก็เป็น นิ่วในถุงน้ำดี?
-http://health.sanook.com/1617/-
ตามบริษัทใหญ่ๆ มักให้พนักงานไปตรวจสุขภาพ เอ็กซ์เรย์ร่างกาย หรืออัลตร้าซาวนด์อยู่เป็นประจำ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมากที่เราจะได้รู้ความเป็นไปของร่างกายเราว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่ แต่แทนที่จะสบายใจ กลับกลายเป็นหนักใจกว่าเดิม เพราะตรวจทีไรก็เจอความผิดปกติตรงนู้นตรงนี้ตลอด ล่าสุดคนรอบข้างเป็นกันหมด เหมือนเป็นโรคฮิตชนิดติดต่อถึงกันได้ยังไงยังงั้น มันคือโรค “นิ่วในถุงน้ำดี” ค่ะ
การที่คนรอบข้างทยอยกันเป็นเรื่อยๆ แสดงว่ามันต้องมีปัจจัยอะไรใกล้ตัวที่ทำให้เกิดโรคนี้ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวก็ได้ จริงไหม? Sanook! Health เลยหาคำตอบมาให้ทุกคนได้ลองเช็คกันค่ะ ว่าคุณกำลัง “มีความเสี่ยง” ต่อโรคนิ่วในถุงน้ำดีอยู่หรือเปล่า
นิ่วในถุงน้ำดี ลักษณะเป็นอย่างไร
ลักษณะเป็นก้อนกลมหรือเหลี่ยมๆ สีเข้มๆ ซึ่งเกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) หรือคอเลสเทอรอลที่มีอยู่ในน้ำดี เป็นผลมาจากการขาดสมดุลของน้ำดี
อันตรายของนิ่วในถุงน้ำดี
หากก้อนนิ่ว (ซึ่งจะเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อนก็ได้) ไปอุดถุงน้ำดี อาจทำให้ถุงน้ำดีอักเสบ และหากมีก้อนนิ่วติดค้างอยู่ที่ถุงน้ำดีเป็นเวลานาน อาจกระตุ้นให้เกิดเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้
ใครที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
- ผู้หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป รูปร่างท้วม และอาจมีบุตรหลายคน
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นเบาหวาน โรคอ้วน
- ผู้ป่วยทาลัสซีเมีย โลหิตจาง
- ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง บริโภคอาหารมัน อาหารทอดมากเกินไป
- ผู้ที่ทานยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
- ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป ทำให้ละลายไขมันมากเกินไป
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี
1. ปวดท้อง แน่น จุกเสียด บริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่
2. ท้องอืด อิ่มง่าย อาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะหลังทานอาหารมันมาก หรือทานอาหารมื้อใหญ่
3. ในรายที่เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
4. ในบางรายอาจมีภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
วิธีการรักษา
ชนิดไม่มีอาการ อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ เพียงแต่เข้ามาตรวจเช็คร่างกายเรื่อยๆ หากไม่แสดงอาการเลย ก็อาจไม่ต้องทำการรักษาใดๆ ตลอดชีวิต
ชนิดมีอาการ หากมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้อง แพทย์อาจสั่งยาให้ทาน หรือแนะนำให้ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดนิ่ว และความรุนแรงของอาการ โดยสมัยนี้จะใช้วิธีใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง ทำให้เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวเร็วภายใน 1-2 วัน
วิธีป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี
1. ควบคุมอาหาร ไม่ทานอาหารทอด อาหารมันมากจนเกินไป รวมไปถึงอาหารหวานจัด เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง สำเร็จรูป และอาหารแช่แข็งด้วย
2. ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอล อย่าให้สูงจนเกินไป
3. เลือกทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ
4. ออกกำลังกายเป็นประจำ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งละ 20-30 นาที
5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือทุกปี
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก -bangkokhospital.com-
-http://health.sanook.com/1617/-
ตามบริษัทใหญ่ๆ มักให้พนักงานไปตรวจสุขภาพ เอ็กซ์เรย์ร่างกาย หรืออัลตร้าซาวนด์อยู่เป็นประจำ ซึ่งถือเป็นเรื่องดีมากที่เราจะได้รู้ความเป็นไปของร่างกายเราว่ายังปกติดีอยู่หรือไม่ แต่แทนที่จะสบายใจ กลับกลายเป็นหนักใจกว่าเดิม เพราะตรวจทีไรก็เจอความผิดปกติตรงนู้นตรงนี้ตลอด ล่าสุดคนรอบข้างเป็นกันหมด เหมือนเป็นโรคฮิตชนิดติดต่อถึงกันได้ยังไงยังงั้น มันคือโรค “นิ่วในถุงน้ำดี” ค่ะ
การที่คนรอบข้างทยอยกันเป็นเรื่อยๆ แสดงว่ามันต้องมีปัจจัยอะไรใกล้ตัวที่ทำให้เกิดโรคนี้ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัวก็ได้ จริงไหม? Sanook! Health เลยหาคำตอบมาให้ทุกคนได้ลองเช็คกันค่ะ ว่าคุณกำลัง “มีความเสี่ยง” ต่อโรคนิ่วในถุงน้ำดีอยู่หรือเปล่า
นิ่วในถุงน้ำดี ลักษณะเป็นอย่างไร
ลักษณะเป็นก้อนกลมหรือเหลี่ยมๆ สีเข้มๆ ซึ่งเกิดจากการตกผลึกของหินปูน (แคลเซียม) หรือคอเลสเทอรอลที่มีอยู่ในน้ำดี เป็นผลมาจากการขาดสมดุลของน้ำดี
อันตรายของนิ่วในถุงน้ำดี
หากก้อนนิ่ว (ซึ่งจะเป็นก้อนใหญ่ก้อนเดียว หรือเป็นก้อนเล็กๆ หลายก้อนก็ได้) ไปอุดถุงน้ำดี อาจทำให้ถุงน้ำดีอักเสบ และหากมีก้อนนิ่วติดค้างอยู่ที่ถุงน้ำดีเป็นเวลานาน อาจกระตุ้นให้เกิดเป็นมะเร็งถุงน้ำดีได้
ใครที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี
- ผู้หญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป รูปร่างท้วม และอาจมีบุตรหลายคน
- ผู้ป่วยที่มีภาวะเป็นเบาหวาน โรคอ้วน
- ผู้ป่วยทาลัสซีเมีย โลหิตจาง
- ผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง บริโภคอาหารมัน อาหารทอดมากเกินไป
- ผู้ที่ทานยาลดไขมันบางชนิด ทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง
- ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วเกินไป ทำให้ละลายไขมันมากเกินไป
อาการของโรคนิ่วในถุงน้ำดี
1. ปวดท้อง แน่น จุกเสียด บริเวณใต้ชายโครงขวา หรือลิ้นปี่
2. ท้องอืด อิ่มง่าย อาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะหลังทานอาหารมันมาก หรือทานอาหารมื้อใหญ่
3. ในรายที่เกิดอาการถุงน้ำดีอักเสบ อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน
4. ในบางรายอาจมีภาวะดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง
วิธีการรักษา
ชนิดไม่มีอาการ อาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาใดๆ เพียงแต่เข้ามาตรวจเช็คร่างกายเรื่อยๆ หากไม่แสดงอาการเลย ก็อาจไม่ต้องทำการรักษาใดๆ ตลอดชีวิต
ชนิดมีอาการ หากมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดท้อง แพทย์อาจสั่งยาให้ทาน หรือแนะนำให้ผ่าตัด ขึ้นอยู่กับขนาดนิ่ว และความรุนแรงของอาการ โดยสมัยนี้จะใช้วิธีใช้กล้องส่องผ่านหน้าท้อง ทำให้เจ็บแผลน้อย ฟื้นตัวเร็วภายใน 1-2 วัน
วิธีป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี
1. ควบคุมอาหาร ไม่ทานอาหารทอด อาหารมันมากจนเกินไป รวมไปถึงอาหารหวานจัด เช่น น้ำอัดลม อาหารกระป๋อง สำเร็จรูป และอาหารแช่แข็งด้วย
2. ควบคุมน้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอล อย่าให้สูงจนเกินไป
3. เลือกทานอาหารจำพวกแป้งไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชต่างๆ
4. ออกกำลังกายเป็นประจำ อาทิตย์ละ 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย ครั้งละ 20-30 นาที
5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุก 6 เดือน หรือทุกปี
ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก -bangkokhospital.com-