ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: เมษายน 26, 2016, 12:44:47 am »







http://picture.in.th/id/8c263a22bb74b48419563a5f4f10b98e

http://picture.in.th/id/38aa48f88aee8ee3ed552d15ccd11b84

กระทู้แนบไฟล์
時々 कभी कभी 一.....26-04-2016

เป็นคอลัมท์ไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไปกระชับและอ่านง่ายแต่จะเข้าใจข้อธรรมหรือไม่ขึ้นอยู่กับ{จริต}ของแต่ละบุคคล

ถ่ายภาพโดย.....時々๛कभी कभी 一เป็นภาพจากงานวันวิสาขบูชา


ผู้ที่กระตือรือร้นในสิ่งที่กำลังทำอยู่จะมีความสดใส
ผู้ที่มีความจริงใจในการกระทำของเขาจะมีความร่าเริง
และผู้ที่มีความเชื่อมั่นไม่เคยยอมแพ้
ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร
ขอให้ทุกคนก้าวหน้าอย่างร่าเริงและไม่หยุดหย่อน
ด้วยการมองโลกในแง่ดีและมีจิตใจที่ไม่มีอะไรมาทำลายได้



ธรรมมะคืออะไร


ธรรมะเกิดแล้วในชีวิตประจำวัน ทางทวาร 6 คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แสดงลักษณะของตน ไม่เป็นอย่างอื่น รูปปรากฏทางตา เสียงปรากฏทางหู กลิ่นปรากฏทางจมูก รสปรากฏทางลิ้น แข็ง อ่อน ร้อน เย็น  ปรากฏทางกายสัมผัส

ธรรมะเกิดแล้ว แต่ไม่เคยรู้ว่าเป็นธรรมะธรรมะเป็นความจริง เกิดแล้ว ดับแล้ว  ตลอดเวลา นับตั้งแต่มีชีวิตเกิดขึ้นธรรมะมีอยู่แล้ว ไม่ต้องเรียกชื่อ ทำให้บางคน เรียกได้แต่ชื่อ โดยไม่เข้าใจสภาพธรรม ที่แท้จริง

การศึกษาธรรม ต้องเข้าใจพื้นฐานก่อน คือ ความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏโดยเข้าใจ ไม่ลืม การเข้าใจมากขึ้นจะเป็นปัจจัย ทำให้ระลึกรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงไม่ใช่ จะศึกษาอย่างไร จะรู้ผลได้อย่างไร จะเป็นอย่างไรต่อ เมื่อมีการเห็นถูก นั่นคือปัญญาเห็นถูกเข้าใจถูกก่อนอย่าข้ามปัญญา อย่าหวังผล หวังสติ เข้าใจลักษณะสิ่งที่ปรากฏ นั่นคือปัญญา


คำสอนที่ลึกซึ้งที่สุดจะยังคงเป็นที่ไม่เข้าใจ ถ้าเราบอกกล่าวออกมาด้วยภาษาที่ไม่ชัดเจน คลุมเครือ การทำเช่นนี้เป็นการทำตามอำเภอใจ อวดดี และขาดความเมตตา
เป็นการดูถูกผู้ฟัง เจตนารมณ์สำคัญของพุทธธรรม...คือสื่อสารด้วยวิธีที่สุดที่ทุกคนสามารถเข้าใจได้


ในสมัยครั้งพุทธกาลไม่มีสำนักปฏิบัติธรรมของบรรพชิตหรือสำนักปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ เพราะผู้ที่ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมในยุคนั้น ท่านมีปกติเจริญสติปัฏฐาน ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง คือ ไม่มีการจำกัดหรือเลือกสถานที่กาลเวลาและอารมณ์ คือ ทุกที่ทุกเวลาเป็นปกติ เพราะฉะนั้น จึงไม่มีหลักฐานใด ๆ แสดงว่ามีการสร้างหรือมีสำนักปฏิบัติธรรมของบรรพชิตหรือสร้างสำนักปฏิบัติธรรมของ

คฤหัสถ์ ในยุคนี้มีความเห็นผิดว่า ถ้าจะปฏิบัติธรรม ต้องอยู่ในห้องหรือไปสำนักปฏิบัติ ไปสถานที่อื่น ๆ ปฏิบัติไม่ได้ จึงมีการสร้างสำนักปฏิบัติเพื่อการปฏิบัติธรรม ซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักพระธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาที่น่าพิจารณา คือ ปัญญาจะเจริญขึ้นตามลำดับจนถึงความสมบูรณ์พร้อมถึงความเป็นพระอริยบุคคลข้ามพ้นจากความเป็น