ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: 時々होशདང一རພຊຍ๛
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2016, 02:06:21 pm »









Photo by.....๛時々होश๛


ในอดีตกาล มีแพทย์ผู้หนึ่ง นามว่า เปี่ยนเชว่ วันหนึ่งเขามีโอกาสเข้าพบอ๋องไช่หวนกง เมื่อได้พบ เปี่ยนเชว่สังเกตอาการของอ๋องโดยละเอียดแล้วจึงกล่าวว่า ท่านอ๋อง ดูท่าว่าท่านกำลังป่วยไข้ ทว่าตอนนี้อาการป่วยเพิ่งจะแทรกซึมอยู่ในระดับผิวหนัง หากรีบทำการรักษาก็จะสามารถหายดีได้ในเร็ววัน อ๋องไช่หวนกงได้ยิน กลับตอบอย่างมีอารมณ์ว่า ข้าไม่ได้ป่วย ไม่ต้องให้ท่านมารักษา หลังจากที่แพทย์เปี่ยนจากไป อ๋องไช่หวนกงก็กล่าวกับคนรอบข้างว่า หมอบางคนใช้ไม่ได้ วัน ๆ เอาแต่คิดที่จะรักษาคนไข้ คนไม่ป่วยก็หาว่าป่วย เพียงเพราะว่าจะได้ใช้เป็นข้อพิสูจน์ว่าตัวเองเป็นหมอที่เก่งกาจก็เท่านั้น
       
วันเวลาผ่านไปราว 10 วัน เปี่ยนเชว่กลับมาขอพบอ๋องไช่ อีกครั้งเมื่อพบหน้ากัน เขากล่าวอย่างร้อนรนว่า ตอนนี้โรคของท่านลุกลามไปยังกล้ามเนื้อภายในแล้ว ต้องรีบรักษาโดยพลัน ทว่าอ๋องไช่หวนกงยังยืนยันคำเดิม ข้าไม่ได้ป่วยไข้ เชิญท่านกลับไปเถอะ ! เปี่ยนเชว่จึงผิดหวังกลับไปอีกครั้ง
       
ผ่านไปอีก 10 วัน แพทย์เปี่ยนกลับมาอีกครั้ง ครานี้เมื่อพบหน้าอ๋องไช่หวนกง เขาตกใจมาก และกล่าวว่า แย่แล้ว ตอนนี้โรคของท่านอ๋องลุกลามไปยังกระเพาะและสำไส้แล้ว ต้องรักษาทันทีไม่อาจยืดเวลาออกไปได้อีกแล้ว ทว่าอ๋องไช่ตอบกลับอย่างโมโหว่า ป่วยกับผีอะไรล่ะ ข้าไม่ได้ป่วย ! อีก 10 วันถัดมา เปี่ยนเชว่กลับมาอีกครั้ง ครานี้เมื่อเห็นสภาพอ๋องไช่หวนกง เขากลับไม่พูดอะไร เพียงแค่หันหลังเดินออกจากห้องไป ทว่าพฤติกรรมของเขาทำให้

อ๋องไช่หวนกงรู้สึกว่าไม่ถูกต้อง จึงได้ส่งคนตามไปสอบถามแพทย์เปี่ยนเชว่ดังนี้ ท่านมิใช่ไปเยี่ยมท่านอ๋องหรอกหรือ เหตุใดเมื่อไปถึงจึงได้หันหลังกลับออกมา ? เปี่ยนเชว่กล่าวตอบคนผู้นั้นว่า การป่วยไข้ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว เพียงแค่รักษาให้ทันการ ตามธรรมดาโรคภัยย่อมหายไป ที่น่ากลัวคือคนป่วยที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองป่วย ไม่ยอมรับ

การรักษา ป่วยที่ผิวหนังแก้ได้ด้วยการทายาประคบร้อน ป่วยที่กล้ามเนื้อแก้ได้ด้วยการฝังเข็ม ป่วยที่กระเพาะลำไส้แก้ได้ด้วยการดื่มยา ทว่าบัดนี้โรคของท่านอ๋องได้แพร่ไปยังกระดูกแล้ว อาการขั้นนี้ทำได้เพียงแค่รอเวลาฟ้ากำหนดเท่านั้น ดังนั้นข้าจึงไม่อาจขอร้องให้ท่านอ๋องรับการรักษาใดอีกหลังจากนั้นเพียง 5 วัน อาการป่วยของอ๋องไช่หวนกงก็กำเริบทำให้เกิดอาการเจ็บปวดอย่างยิ่ง แม้ว่าท่านอ๋องจะส่งคนไปตามเปี่ยนเชว่มารักษา แต่ในตอนนั้นเปี่ยนเชว่ได้เดินทางออกไปยังเมืองอื่นแล้ว จากนั้นอีกเพียงไม่กี่วัน อ๋องไช่หวนกงก็สิ้นใจ


มิจฉาสมาธิ ย่อมเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ