ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2016, 07:54:26 pm »



<a href="https://www.youtube.com/v/3ETreha-U0g" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/3ETreha-U0g</a>

 
“บริหารกายวิถีพุทธ” เป็นศาสตร์แขนงใหม่ที่ใช้หลักในการจัดระเบียบของกายจนเป็นระบบของความคิด เพื่อให้กายซึ่งเป็นที่อยู่ของจิต โปร่งโล่ง เบา สบาย ผ่อนคลาย ก่อนที่จะขับเคลื่อนจิตภายในกายไปตามจุดเคลื่อนต่าง ๆ เพื่อให้เกิดตัวรู้ และพลังปราณภายในกาย ศาสตร์แห่งการบริหารกายวิถีพุทธนี้ สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกเพศ และทุกวัย
 
หลักวิชาบริหารกายวิถีพุทธ รังสรรค์โดย "หลวงปู่พุทธะอิสระ" วัดอ้อน้อย อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ซึ่งขณะธุดงค์อยู่ในป่าและถ้ำ ได้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นกับท่าน เช่น โรคหลอดลมอักเสบ ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นหน้าอก สายตาฝ้าฟาง มีลมออกตา โรคปวดตามข้อ กล้ามเนื้ออักเสบ ท่านจึงได้ใช้ท่าทางต่างๆ ผนวกกับการเจริญสติในการรักษาอาการเจ็บป่วยเหล่านั้น ซึ่งนอกจากจะบรรเทาจากโรคต่าง ๆ ได้ดีแล้ว ยังทำให้สติตั้งมั่นอยู่ได้นานอีกด้วย ซึ่งแต่เดิมหลวงปู่ไม่ได้คิดจะถ่ายทอดวิชานี้ให้แก่ผู้ใด เพราะคิดว่าผู้อื่นอาจเข้าใจตามได้ยาก แต่เมื่อญาติโยมไปขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาสุขภาพบ่อยขึ้น มากขึ้นเรื่อย ๆ ท่านจึงเห็นถึงความจำเป็นที่จะถ่ายทอดวิชาให้ เพื่อให้เขาเหล่านั้นสามารถสร้างสุขภาพอนามัยให้แก่ตัวเองได้ โดยในเบื้องต้น ท่านได้ถ่ายทอดท่านั่ง 11 ท่า ให้พิสูจน์กันด้วยตนเอง ซึ่งหากจะให้เกิดผลดังกล่าวมาข้างต้น จะต้องฝึกฝนให้ได้อย่างคล่องแคล่วลื่นไหลติดต่อกันทุกท่าจนรวมเป็นหนึ่งท่า
 
วิชากายบริหารวิถีพุทธ เป็นการฝึกสติขั้นพื้นฐานในรูปแบบการบริหารกายที่ควบคู่ไปกับการบริหารจิต ด้วยศาสตร์และศิลป์ มีทั้งสิ้น 84 ท่า ใน 4 อิริยาบถ คือ นั่ง ยืน เดิน นอน แต่ละท่าเน้นการบริหารลมหายใจเข้าออกพร้อมการบริหารโครงสร้างทุกระบบของร่าง กาย ทั้งที่เป็นกระดูก ข้อต่อ กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท ระบบการไหลเวียนโลหิต และอื่น ๆ
 
การบริหารกายวิถีพุทธ ถือเป็นการออกกำลังกายที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างกายกับจิต และถือเป็นภูมิปัญญาตะวันออก โดยใช้หลักกายานุปัสนาสติปัฏฐาน ที่ประกอบด้วย 3 วิธีปฏิบัติ คือ 1. อานาปานสติบรรพ คือ การมีสติ ระลึกรู้ลมหายใจเข้าและออก 2. สัมปชัญญะบรรพ คือ มีสติรู้อาการโยกเคลื่อนไหว 3. อิริยาบถบรรพ คือ สติรู้อาการยืนเดินนั่งนอน
 
นอกเหนือไปจากนั้นการบริหารกายวิถีพุทธ ยังถือเป็นการบริหารกายและจิต เพื่อให้เกิดสติ สมาธิ และพัฒนาจิตของผู้ฝึก ไปตามการเคลื่อนไหว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ฝึกเป็นคนมีสมาธิ มีสติตั้งมั่น สุขภาพแข็งแรง และมีการจัดระเบียบร่างกายในทางที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถฝึกฝนได้ในชีวิตประจำวัน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกสถานที่ ทุกเวลา และไม่ต้องใช้อุปกรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น


ขยับกายสบายชีวีวิถีพุทธ (สมาธิพระโพธิสัตว์) 11 ท่า


ท่าที่ 1: พระโพธิสัตว์กำเนิด / ท่าที่ 2: พระโพธิสัตว์คารวะแผ่นดิน https://www.youtube.com/watch?v=dM23JxZHOA0

ท่าที่ 3: พระโพธิสัตว์ผ่อนคลายอิริยาบถ / ท่าที่ 4: พระโพธิสัตว์เหลียวมองสรรพสัตว์ https://www.youtube.com/watch?v=sEvhmdn34Dg

ท่าที่ 5: พระโพธิสัตว์สำนึกบาป / ท่าที่ 6: พระโพธิสัตว์ซึมเศร้า https://www.youtube.com/watch?v=jy8dSQG7674

ท่าที่ 7: พระโพธิสัตว์ศึกษาพระธรรม / ท่าที่ 8: พระโพธิสัตว์โอบอุ้มสรรพสัตว์ / ท่าที่ 9: พระโพธิสัตว์ปราบมาร https://www.youtube.com/watch?v=C1b8tuVAOA8

ท่าที่ 10: พระโพธิสัตว์คลุ้มคลั่ง / ท่าที่ 11: พระโพธิสัตว์วันทาพระพุทธเจ้า https://www.youtube.com/watch?v=8yI9sQLQw7c