ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 10:14:08 am »



<a href="https://www.youtube.com/v/0-kq-ThTB_k" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/0-kq-ThTB_k</a>




ความเป็นมาของวัตรทรงธรรมกัลยาณี
 
สร้างวัตรผู้หญิง สร้างโรงเรียน และการอุปสมบทเป็นภิกษุณีรูปแรก
 
พ.ศ.๒๕๐๑ หลวงย่าวรมัย เริ่มสร้าง วัตรทรงธรรมกัลยาณี ที่ จ.นครปฐม โดยซื้อที่ดิน ๖ ไร่  จากพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ดิศจี พระราชินีในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)  และให้นามว่า วัตรทรงธรรมกัลยาณี “วัตร” แปลว่า การปฏิบัติ วัตรทรงธรรมกัลยาณี    แปลว่าการปฏิบัติของสตรีผู้ทรงธรรม     หลวงย่าลงมือสร้างพระอุโบสถโดยใช้ชื่อว่า

“พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี ศรีอุโบสถาคาร”

ล่วงมาปี พ.ศ.๒๕๑๔ อ.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ (บุตรี) กลับจากแคนาดา จึงได้ติดต่อให้ท่านไปรับการอุปสมบทอย่างถูกต้องที่วัดซุงซาน  ในเมืองไทเป  โดยมีพระอาจารย์ เต้าอัน  เป็นพระอุปัชฌาย์และได้ฉายาทางธรรมว่า  “ สือต้าเต้าฝ่าซือ ”
สือมา มาจากตัวย่อของ “ศากยะ” ผู้ที่บวชจะนับว่าเป็นศากยะวงศ์ทั้งสิ้น ต้าเต้า แปลว่ามหาโพธิ และ ฝ่าซือ คือธรรมาจารย์
คุณธีรทาสเป็นผู้เทียบฉายาเป็นภาษาไทยให้ ท่านจึงได้ฉายาว่า “พระมหาโพธิธรรมาจารย์ วงศ์ศากยะภิกษุณีโพธิสัตต์..” นับเป็นภิกษุณีรูปแรกที่อุปสมบทอย่างถูกต้อง

เมื่อสร้างวัตรทรงธรรมกัลยาณีแล้ว ท่านมุ่งมั่นงานสังคมสงเคราะห์ เปิดโรงเรียนสอนลูกกำพร้าและให้การศึกษาอย่าง
เป็นระบบ จนก่อตั้งโรงเรียนราษฎร์ขึ้น ใช้ชื่อว่า “โรงเรียนธรรมาภิสมัย” สอนอนุบาลจนถึง ป.๖ นานติดต่อกันนานถึง ๔๐ ปี
นอกจากนี้ นิตยสาร “พระโพธิสัตต์ วิปัสสนา และบันเทิงสาร” ที่เผยแพร่สาระธรรมรายเดือน ที่เด่นดัง ท่านก็ยังคงดำเนินกิจการต่อมาอีก ๓๒ ปี ถึง พ.ศ.๒๕๓๐
กล่าวได้ว่า หลวงย่าท่านจะเป็นศูนย์รวมการทำงานด้านสังคมสงเคราะห์ ทั้งการแจกเสื้อผ้า ยารักษาโรค หนังสือเครื่องเรียน ท่านเดินทางไปแจกแทบทุกจังหวัดนอกจากที่ได้กล่าวมา หลวงย่าท่านยังได้ก่อตั้งอนุสงฆนี อบรมเด็กผู้หญิงให้ได้หลักใจหลายรุ่นนับได้จำนวนนับร้อย
 
 
ธรรมแห่งการบำเพ็ญเพียร

หลวงย่ามีความผูกพันในประวัติศาสตร์ชาติไทยอย่างที่สุด  หากสถานที่ใดที่เคยเป็นเขตสู้รบในอดีต มีวิญญาณที่ตกค้างและติดอยู่ ไม่ได้ไปไหน ท่านจะเดินทางไปทำบุญอุทิศให้เสมอ และสอนธรรมะให้วิญญาณ ละวางความโกรธแค้น อันเป็นเหตุให้หลุดพ้นและเป็นปัจจัยให้ได้ไปอุบัติในสุคติภูมิต่อไป
 
 
สร้างวัดอุทิศแด่พระศาสนา

หลวงย่าได้มอบที่ดินให้สร้างวัดอีก ๒ วัด คือ วัดกัลยาณีทรงธรรม ริมแม่น้ำท่าจีน อ.สามพราน จ.นครปฐม เนื้อที่ ๗ ไร่
อีกแห่งหนึ่ง เพื่อเถิดพระเกียรติปฐมกษัตรีย์อาณาจักรหริภุญชัย ท่านได้ซื้อที่ดิน ๗๒ ไร่ และสร้าง “ วัตรพระนางจามเทวี “ ใน
ต.บ้านก้อ.อ. ลี้ จ.ลำพูน เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๒ ขณะนั้นอายุท่านได้ ๘๒ ปีแล้ว
 
 
วาระสุดท้าย

ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๙ ที่ท่านปลงผมบวชมา ท่านไม่เคยเจ็บหนักถึงส่งโรงพยาบาลเลย กายสังขารของท่านไม่มีโรคภัยไข้เจ็บอื่นใด แต่ความชราเข้ามาครอบงำ ร่างกายค่อยๆ เสื่อมลง จนกระทั่งวันที่ ๒ ก.ค. พ.ศ.๒๕๓๔ ตั้งแต่นั้น ท่านไม่ได้ลุกเดินอีกเลย แต่ยังลุกนั่งและฉันอาหารเองได้ ในช่วง ๒ปีสุดท้าย เมื่ออายุได้ ๙๔ ปีเป็นต้นมา ท่านจะมีเวลาตื่นน้อยมาก ส่วนมากจะหลับนานจะตื่นขึ้นมาเดี๋ยวเดียว พอฉันอาหารแล้วจะหลับต่อ ต้องคอยหาโอกาสจึงได้เข้ามาคุยกับท่าน
เย็นวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖   ก่อนวันที่ท่านจะมรณภาพ  ท่านบอกเพียงว่า “ ท่านเหนื่อย “   และเช้าวันที่

๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๖  ท่านก็ยังคงรู้ตัวและมีสติดีตลอดมา  ครั้นผู้ดูแล บอกท่านว่า “ หลวงย่าไม่มีอะไรห่วงแล้ว  อาจารย์
ฉัตรสุมาลย์ก็ได้บวชเป็นภิกษุณีแล้ว วัตรที่ลำพูนก็เสร็จแล้ว” ท่านพยักหน้ารับรู้ ปิดตาลง หัวใจเต้นช้าลง อ่อนลง ท่านจากไปอย่างสงบ เมื่อเวลา ๐๗.๔๐น. ตรงกับเวลาตกฟากเกิด หรือ พระบิณฑบาตกลับ รวมสิริอายุได้ ๙๕ ปี กับอีก ๒ เดือน ๑๓ วัน นับเป็นปูชนียบุคคลมีอายุยืนยาวถึง ๕ รัชกาล

จาก http://www.thaibhikkhunis.org/thai2556/index.php?option=com_content&view=category&layout=blog&id=5&Itemid=7