ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 11:20:03 am »

ในห้วงเวลาที่วงการภิกษุสงฆ์บ้านเรากำลังเดือดพล่านเช่นนี้ยังมีความเย็นสงบแห่งพระพุทธศาสนาจากพระภิกษุณีสาวเกาหลีรูปหนึ่ง ที่เพิ่งเดินทางมายังเมืองไทยร่วมงาน "ธรรมศิลป์นานาชาติเพื่อพ่อหลวง"



นอกจากผลงานสะท้อนไว้ซึ่งหลักธรรมพระพุทธศาสนาที่ท่านนำมาร่วมแสดงในงานครั้งนี้แล้วภายใต้จีวรสีเทาของ ภิกษุณี ซองอิน จอง จากพุทธศาสนามหายานนิกาย โคเรีย บุดดิสต์ เนชั่นแนล วูแมนส ธาร์มมะ ทิชเชอร์ส แอสโซซิเอชั่น (Korea Buddhist National Women's Dhamrma Teacher's Association) ใครเลยจะรู้ว่า ท่านเคยใฝ่หาทางโลกจนได้รับตำแหน่งนางงามเกาหลีประจำปี 2537 มาแล้ว

ภิกษุณีซอง อิน จองเล่าว่าในประเทศเกาหลีมีพระภิกษุณีประมาณ 8,000 รูป จากพุทธศาสนา 16 นิกาย สำหรับนิกายที่เธอนับถืออยู่เป็นที่สืบทอดในครอบครัวของเธอมานานนับร้อยปี และยังเป็นเพียงนิกายเดียวที่ถือศีลประมาณ 120 ข้อ ต่างจากนิกายอื่นๆ ที่ต้องถือศีลประมาณ 311 ข้อ

"ตามความเชื่อของนิกายนี้เห็นว่า การจะให้ทำครบถึงกว่า 300 ข้อนั้นเป็นเรื่องยากเกินไป จึงตัดทอนเหลือเพียงแค่นี้ ความหมายของนิกายนี้ คือเป็นนิกายแห่งอาจารย์ เป็นผู้สอนศาสนา ภิกษุณีนิกายนี้สามารถสมรสได้ แต่ส่วนใหญ่ไม่ได้แต่งงาน รวมทั้งฉันด้วย" ภิกษุณี ซอง อิน จอง อธิบายผ่านล่าม

ในช่วงวัยรุ่นก่อนที่ท่านจะเข้าพิธีบวชเพื่อปฏิบัติหน้าที่พระภิกษุณีตามรอยคนในครอบครัวอย่างเต็มตัวนั้น ท่านได้รับคำทาบทามให้ไปประกวดนางงามเกาหลี ด้วยรูปโฉมความงดงามที่ไม่เป็นรองใคร ซึ่งท่านก็ยอมรับการเชิญชวนในที่สุด

"ส่วนมากเด็กสาวเกาหลีจะมีความฝันว่าอยากประกวดนางงาม เพื่อเป็นหนทางในการประสบความสำเร็จในชีวิต" ภิกษุณี ซอง อิน จอง กล่าวพร้อมเล่าต่อไปว่า การประกวดนางงามเกาหลีนั้น เรียกได้ว่าเป็นการเกิดครั้งที่สองของผู้หญิงเลยก็ว่าได้ ผู้เข้ารับการประกวดจะถูกอบรมความเป็นกุลสตรีทุกด้านที่ผู้หญิงคนหนึ่งพึงทำได้ เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้หญิงเต็มตัว ทุกกระเบียดนิ้ว ซึ่งนับว่ายากลำบากมาก และด้วยกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด บางคนถึงกับยอมแพ้กลับบ้าน แต่ท่านก็สามารถฝ่าฟันด่านมหาโหดและได้รับมงกุฎมิสเกาหลีจนได้
แต่ถึงกระนั้นการได้เปิดโลกด้านต่างๆ ในฐานะมิสเกาหลี ทั้งการได้ไปเยี่ยมเด็กกำพร้า การไปบ้านพักคนชรา ทำให้ท่านเห็นว่า พระภิกษุณีน่าจะช่วยสังคมได้มากกว่านางงาม

"อายุคนเรานับวันยิ่งเพิ่มขึ้น การจะหาสารประโยชน์ด้วยการบวชพระภิกษุณีน่าจะให้อะไรฉันและคนอื่นมากกว่าการก้าวเข้าวงการบันเทิง มีคนชวนไปทำอย่างอื่นมากมายหลังได้รับตำแหน่ง แต่นั่นเป็นชีวิตที่ไม่ค่อยสงบเท่าไร มีหนังสือพิมพ์คอยจ้องตลอดเวลา ด้วยความที่ฉันชอบวาดรูปเชิงพุทธศิลป์มาตั้งแต่เล็กๆ จึงตัดสินใจว่ามาด้านนี้ดีกว่า การประกวดนางงาม มันเป็นสิ่งที่เป็นความงามภายนอก แต่สำหรับสิ่งที่ฉันเลือก คือความงามภายใน ด้านนี้มันไม่เปลี่ยน อยู่ได้นาน" ภิกษุณี ซอง อิน จอง แจกแจง
ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเลือกเดินสายธรรมะ พร้อมมุมานะศึกษาด้านศิลปะเพื่อนำไปเผยแพร่ศาสนาด้วย โดยท่านจบการศึกษาปริญญาโทด้านวัฒนธรรมและศิลปะ และกำลังศึกษาปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศาสนาพุทธ จากมหาวิทยาลัยดองกุก และยังได้รับรางวัลศิลปะสมัยใหม่จากเวทีเกาหลี โมเดิร์นอาร์ต คอมเพทิชั่นอีกด้วย โดยภิกษุนีซอง อิน จอง อธิบายถึงภาพวาดเชิงพุทธศิลป์ของท่านว่า เป็นการนำสัจจะในพระพุทธศาสนามาถ่ายทอด ซึ่งหยิบยกมาจากภาพวาดที่ปรากฏในวัดเกาหลี มีลักษณะคล้ายคลึงกับจิตรกรรมฝาผนังบ้านเรา

"ในเกาหลียุคนี้ คนนับถือพุทธครึ่งหนึ่ง คริสต์ครึ่งหนึ่ง ศาสนาพุทธไม่เป็นที่นิยมในหมู่หนุ่มสาว ฉันพยายามจะเผยแพร่ศาสนาพุทธแบบไม่โบราณ ปรับให้เข้ากับสถานการณ์สังคมปัจจุบันนี้ได้ ไม่อยากให้มีแต่สวดมนต์อย่างเดียว การวาดรูปก็เผยแพร่ศาสนาได้โดยทำให้ร่วมสมัยขึ้น ทุกวันนี้ ผู้คนยุ่งมาก เด็กไปเรียนพิเศษ พ่อแม่ไปทำงาน จะหาเวลามาอยู่วัดน้อยลง ถ้าเราเอาข้าวของรอบตัว เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า มาเติมภาพที่เกี่ยวกับหลักธรรมลงไป อย่างน้อยๆ ถ้าเด็กๆ มีภาพนี้ติดตัวไป หากเขาคิดจะทำไม่ดี ถ้าเห็นภาพนี้อาจจะฉุกคิด ฉันว่าเป็นการเผยแพร่ศาสนาทางหนึ่ง ที่พยายามทำให้ทันสมัย ให้คนไม่ห่างจากที่พระพุทธได้สอน" ภิกษุณี ซอง อิน จอง กล่าว

ภิกษุณีซอง อิน จอง ยังให้มุมมองถึงภิกษุณีในเมืองไทยว่า ผู้หญิงผู้ชายไทยสามารถทำงานในตำแหน่งเดียวกัน และเงินเดือนเท่าๆ กันได้ แต่ท่านไม่เข้าใจว่าทำไมหญิงและชายเวลาจะบวชจึงต้องต่างกัน ซึ่งพระพุทธเจ้าเคยตรัสเรื่องความเสมอภาคไว้ แม้แต่พระมหาปชาบดีเถรีพระกนิษฐภคินีของพระนางสิริมหามายาผู้เป็นพระมารดาของพระพุทธเจ้าก็ยังเป็นพระภิกษุณีองค์แรกมาแล้ว

"ฉันมองว่าถ้าเทียบกับทางโลก ความลำบากในการเป็นพระภิกษุณีนั้นแทบไม่มี ดีเสียอีกที่ตื่นมาไม่ต้องเตรียมว่าจะใส่ชุดอะไร ผมก็ทำทรงเดียว ชุดก็เป็นชุดเดียว" ภิกษุณี ซอง อิน จอง กล่าว

พร้อมกันนี้ภิกษุณี ซอง อิน จอง ยังทิ้งท้ายด้วยว่า คนเราต่างก็มีความงามแตกต่างกันไป หากความงามภายในคือสิ่งที่ต้องฝึกฝน ไม่ใช่ทำเพียงวันเดียว สองวันก็งามได้แล้ว

งามทั้งภายนอกภายใน จึงมาบรรจบกันด้วยประการฉะนี้

ที่มา - http://www.komchadluek.net/2007/06/14/s001_122696.php?news_id=122696

http://www.buddhakhun.org/main//index.php?topic=8017.0

จาก น้องหมู อวาตาร (avatar pig) สาธุ http://group.wunjun.com/agaligohome/topic/216609-5757

http://group.wunjun.com/agaligohome/5757