ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มิถุนายน 29, 2016, 08:39:46 pm »



โดย ผศ.ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ 3 ตุลาคม 2558

ประสบการณ์การเดินทางไปในกาละ (Time) และเทศะ (Space) ทาง “สุขภาวะในมิติของจิตวิญญาณ” “จิตวิวัฒน์” และ “จิตตปัญญาศึกษา” ของผม เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของชีวิต จากจุดเริ่มต้นที่ผมมิได้เป็นผู้ริเริ่มโดยตรง แต่ได้รับการติดต่อและทาบทามจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ให้ช่วยทำการศึกษาวิจัยเรื่อง “การสร้างเสริมสุขภาวะในมิติของจิตวิญญาณ” ในปี ๒๕๔๕ ผมตอบรับคำเชิญที่ท้าทายมากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตเพราะผมไม่เคยรู้ ไม่เคยศึกษาเรื่องการสร้างเสริมสุขภาวะ และเรื่องจิตวิญญาณมาก่อนเลย ในช่วงเวลาหกเดือนที่ทำการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ ผมอ่านหนังสือเกี่ยวกับสองเรื่องนี้และที่เกี่ยวข้องเยอะมาก มีโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้รู้ และกับทีมวิจัยตลอดเวลา เกิดอาการ “ปิ๊งแว้บ” เป็นระยะๆ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐาน (Fundamental Transformation) ทางความคิดความเชื่อของผมที่เกี่ยวกับความเป็นตัวตนของตนเอง ชีวิตและสรรพสิ่ง

เพื่อขยายผลและขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิตวิญญาณ เมื่องานวิจัยเสร็จเรียบร้อย ทาง สสส.ก็จัดให้มีการนำเสนองานวิจัยในที่ประชุมที่ประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง เครือข่าย สสส.และผู้สนใจทางด้านนี้เมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๔๖ ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ มีผู้เข้าร่วมฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประมาณร้อยกว่าคน มีการบันทึกเทปการนำเสนองานวิจัยและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไว้ มีการถอดเทปและจัดพิมพ์เป็นหนังสือเพื่อเผยแพร่ในงาน “วันรวมพล คนสร้างสุข” ที่จัดขึ้นในโอกาสที่ สสส.ทำงานร่วมกับบุคคลและองค์กรหลากหลายในประเทศ ในการพัฒนาขบวนการสร้างเสริมสุขภาวะครบ ๒ ปี ที่คอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อิมเพค เมืองทองธานี ในวันที่ ๑๐-๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๖

ต้องขอบคุณ สสส.ที่ไว้ใจให้เกียรติผมเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานวิจัยด้านการสร้างเสริมสุขภาวะในมิติของจิตวิญญาณเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ด้วยการให้ความเป็นอิสระ และเสรีภาพทางวิชาการกับผมอย่างเต็มที่ ขอบคุณตัวแทน สสส.ผู้มาติดต่อผม คุณศุภชัย พงศ์ภคเธียร ที่มีความเชื่อมั่นในตัวผม ชักนำและโน้มน้าวให้ผมรับทำงานวิจัยชิ้นนี้ ขอขอบคุณ ดร.สุจิตรา สุคนธทรัพย์ ดร.อนงค์นุช ภูยานนท์ ดร.เยาวดี สุวรรณนาคะ ดร.ทัศนีย์ ทองประทีป และดร.สุกัญญา โลจนาภิวัฒน์ ทีมวิจัยที่เข้มแข็ง อ่อนโยน มีความรับผิดชอบสูง ในขณะที่มีความเป็นกัลยาณมิตรเต็มเปี่ยม ขอบคุณจริงๆ ครับ ประสบการณ์ในการทำงานวิจัยครั้งนี้ เปลี่ยนผ่านผมผู้เป็นนักวิชาการที่อหังการและก้าวร้าวทางวิชาการ ให้กลายมาเป็นอาจารย์ ครู วิทยากร กระบวนกร และเป็นคนธรรมดาที่อ่อนโยน นุ่มนวล ทนรับได้กับความแตกต่างเพิ่มขึ้น เริ่มรับฟัง ไม่รีบตัดสิน และเรียนรู้จากคนอื่น จากสิ่งแวดล้อม และสรรพสิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ

อาจจะเป็นเพราะงานวิจัยชิ้นนี้ คุณหมอประเวศ วะสี จึงเลือกผมให้เป็นสมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์ ที่มีสมาชิกเริ่มต้นทั้งหมด ๑๕ คน พบปะพูดคุยกันในลักษณะของสุนทรียสนทนาเดือนละครั้ง ครั้งละวัน แบบไม่มีหัวข้อ ไม่มีวาระการประชุมที่เป็นทางการ แต่ละคนเพียงนำตัวและหัวใจที่เปิดกว้างมา และพร้อมจะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างมีความสุข เป็นการประชุมที่ผมขาดไม่ได้ ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ใช่เพราะระเบียบข้อบังคับหรือข้อตกลงของสมาชิกกลุ่มจิตวิวัฒน์ แต่เป็นเพราะอยากมา เพราะมาแล้วมีความสุข มีสติ และเกิดปัญญาทุกครั้ง กลุ่มจิตวิวัฒน์ช่วยคลี่คลายขยายออกทางความรู้ และปัญญา การพูดคุยแต่ละครั้งช่วยทำให้ผมเข้าถึงความจริง ความดี และความงามในตัวเอง ผู้อื่น และสรรพสิ่งมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ตัวผมเริ่มเล็กลง เล็กลง แต่ก็ยังคงมีความสำคัญและสัมพันธ์กับคนอื่น สิ่งแวดล้อม โลก จักรวาล และสรรพสิ่ง

จากการพูดคุยแบบไม่มีหัวข้อ ไม่มีวาระนี้ กลับก่อให้เกิดประเด็น และเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีการนำไปขยาย ขับเคลื่อน และริเริ่มงานและโครงการต่างๆ มากมาย หนึ่งในนั้นคือการขับเคลื่อนเรื่องจิตตปัญญาศึกษาในวงการศึกษา คุณหมอประเวศได้นำเสนอเรื่องจิตตปัญญาศึกษาในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยทั้งที่มหิดลและจุฬาฯ ก่อให้เกิดศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล มีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทสาขาวิชาจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง แต่ที่จุฬาฯ ไม่สำเร็จ ผมจำได้ดี เพราะตอนนั้นผมเป็นประธานสภาคณาจารย์และกรรมการสภามหาวิทยาลัย คุณหมอประเวศได้เสนอเรื่องจิตตปัญญาศึกษาในที่ประชุมสภา ผมออกความเห็นสนับสนุนเต็มที่ ทุกท่านในที่ประชุมก็แสดงความสนใจ แต่ไม่มีการขับเคลื่อนใดๆ เป็นรูปธรรม ผมจึงไปเปิดศูนย์จิตตปัญญาศึกษาขึ้นที่คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องจนผมเกษียณจากจุฬาฯ แล้วไปเป็นอาจารย์ประจำที่ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

สำหรับผม ทั้งสามเรื่องเป็นกระบวนการหรือการเดินทางเพื่อแสวงหาความหมายของชีวิตและสรรพสิ่ง เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตให้เต็มความหมายให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ภายใต้บริบทของตนเอง ครอบครัว สังคมไทย และสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ไม่หลงยึดติดกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดจนติดกับดัก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของตนเอง หรือความหมายของชีวิตและสรรพสิ่งที่ตนเองค้นพบหรือให้ความหมายไว้ เพราะทุกอย่างไหลเลื่อนเคลื่อนไปไม่มีที่สิ้นสุด

โดยนัยนี้ ในการเป็นวิทยากร และการเป็นกระบวนกรเกี่ยวกับสามเรื่องนี้ ผมจึงไม่เริ่มต้นด้วยการให้ความหมายและคำจำกัดความ ซึ่งตรงกันข้ามกับการศึกษากระแสหลัก แต่จะเกริ่นให้ผู้เข้าฟัง ผู้ร่วมประชุม หรือผู้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ร่วมทำกิจกรรม เรียนรู้และแลกเปลี่ยนกัน แล้วค่อยๆ สร้างความหมายของสิ่งที่กำลังเรียนรู้ขึ้นมาด้วยตัวเอง “ปิ๊งแว้บ” ขึ้นมาเอง แล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันไปเรื่อยๆ ภายใต้บรรยากาศของการยอมรับและเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ของกันและกัน ฟังกันอย่างลึกซึ้งเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างเป็นองค์รวม ห้อยแขวนการตัดสินใจ สะท้อนการเรียนรู้ สะท้อนความรู้สึก ความคิด และความเชื่ออย่างเป็นองค์รวม กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ลักษณะนี้ จะเอื้อให้เกิด เอกัตปัญญา (Individual Wisdom) และ องค์ปัญญา (Collective Wisdom)

การแสวงหาและสร้างความหมายเกี่ยวกับตนเอง ชีวิต และสรรพสิ่ง เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ไม่สิ้นสุด มันไหลเลื่อนเคลื่อนไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อเราพบสิ่งใหม่ เราก็จะผนวกควบรวม (Enfolding/Including) กับสิ่งเก่าที่มีอยู่ แล้วเกิดการคลี่คลายขยายออก (Unfolding) เป็นสิ่งใหม่ที่เปลี่ยนไปจากเดิม กระบวนการเช่นนี้ทางกลุ่มจิตวิวัฒน์เรียกว่า การก้าวพ้นจากสิ่งเก่าสู่สิ่งใหม่ (Transcending) หรือการเปลี่ยนผ่าน (Transforming)

การแสวงหา และการก่อร่างสร้างความหมายในเรื่องหนึ่งเรื่องใด ไม่เหมือนและไม่ใช่การให้คำจำกัดความหรือนิยามปฏิบัติการ เราไม่สามารถให้คำจำกัดความของคำว่า สุขภาวะ จิตวิญญาณ และจิตตปัญญาได้ ยกเว้นตอนเราทำวิทยานิพนธ์หรืองานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ ข้อจำกัด และขอบเขตการวิจัยที่เฉพาะเจาะจง

ในขณะที่ “ความหมาย” สื่อถึงความเป็นองค์รวมที่คลี่คลายขยายออกไปได้ เปลี่ยนแปลงได้ตามบริบทที่แตกต่างกัน ให้ความสำคัญกับความเข้าใจ ไม่ใช่แค่ความจำ แต่ “คำจำกัดความ” สื่อถึงการจำแนกแยกส่วน แคบ เฉพาะเจาะจง และคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงตามบริบท ดังนั้น สุขภาวะทางจิตวิญญาณ จิตวิวัฒน์ และ จิตตปัญญาศึกษา สำหรับผม จึงเป็นเรื่องความหมาย ไม่ใช่คำจำกัดความ

สำหรับผม ประสบการณ์การเรียนรู้และการขับเคลื่อนทั้งสามเรื่องและโดยเฉพาะจิตตปัญญาศึกษา ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา เป็นกระบวนการเรียนรู้ แสวงหา และการก่อร่างสร้างความหมายเกี่ยวกับชีวิตและสรรพสิ่ง

จาก http://jitwiwat.blogspot.com/2015/10/blog-post.html#more