ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2016, 01:51:07 am »



...... อุบัติการแห่งพุทธศาสนามหายาน ......

 ......เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงดำรงพระชนม์อยู่นั้น นอกจาก จะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ และภิกษุณีแล้ว พระองค์ยังได้ทรงเทศนา โปรดกษัตริย์ อำมาตย์ ปุโรหิต คนกวาดถนน คนเทอุจจาระ ตลอด จนฆราวาสชายหญิงอื่น ๆ อีกนับหมื่นแสน พระสูตรหลายพระสูตร จึงบัญญัติเพื่อชีวิตฆราวาสโดยตรง เช่น พระสูตรอุกรทัตตะ และ พระสูตรวิมลเกียรติ เป็นต้น เมื่อท่านอนาถบิณฑิกะ เศรษฐีผู้อุปถัมภ์ พุทธะ และสังฆะอย่างเข้มแข็ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาเกี่ยวกับความว่าง และความไม่มีตัวตนแล้ว ท่านบังเกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ท่านจึง ขอร้องพระอานนท์ให้กราบทูลพระพุทธเจ้า ว่าฆราวาสก็อาจศึกษาและ ปฏิบัติคำสอนอันอัศจรรย์เหล่านั้นได้ ......

......แต่ในระยะหลาย ๆ ศตวรรษหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว การ ปกิบัติธรรมกลายเป็นกิจเฉพาะในหมู่ภิกษุกับภิกษุณี ฆราวาสทำได้ก็แค่ ถวายอาหาร ถวายกุฏิ จีวร และเภสัชให้แก่พระสงฆ์เท่านั้น ในช่วง ร้อยปีแรกหลังพุทธกาล การปฏิบัติธรรมจำกัดอยู่ในวัด จนเกิดปฏิกริยา ขึ้นมาอย่างไม่อาจเลี่ยง พระสูตรอุกรทัตตะถูกบัญญัติขึ้นในบริบททาง สังคมเช่นนี้นี่เอง......

......พระสูตรอุกรทัตตะ ได้ถามคำถามสามข้อคือ ภิกษุต้องปฏิบัติอย่างไร พระโพธิสัตว์ซึ่งเป็นคนธรรมดาทั่วไปต้องปฏิบัติอย่างไร และพระโพธิสัตว์ เหล่านี้ต้องปฏิบัติอย่างไรท่านจึงจะเท่าเทียมกับภิกษุและภิกษุณีได้ พระสูตร นี้กล่าวว่า หลังจากได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ฆราวาสห้าร้อย คนได้แสดงความจำนงจะเป็นภิกษุและภิกษุณี แต่อีกสองร้อยคนซึ่งดวงจิต บังเกิดความประจักษ์แจ้งขณะฟังธรรมไม่แสดงความประสงค์เช่นนั้น พระอานนท์จึงถามอุกรทัตตะ ...... ทำไมท่านจึงไม่ต้องการเป็นภิกษุเหมือน พวกเรา ...... อุกรทัตตะตอบ ...... เราไม่ต้องการเป็นภิกษุ เพราะถึงเราเป็น ฆราวาสเราก็ปฏิบัติธรรมได้ ............

......ความคิดนี้ได้พัฒนาถึงที่สุดในพระสูตรวิมลเกียรตินิเทศ ฆราวาสคนหนึ่ง ซึ่งปฏิบัติธรรมได้ก้าวหน้ากว่าภิกษุ ภิกษุณี หรือเทพโพธิสัตว์ใด ๆ แสร้ง ทำป่วย พระพุทธเจ้ารับสั่งให้พระสารีบุตรไปถามข่าวคราวฆราวาสคนนั้น พระสารีบุตรกราบทูลว่า ...... ข้าแต่พระผู้มีพระภาค คนคนนี้ฉลาดพูดจาฉาด ฉานคล่องแคล่ว โปรดส่งคนอ่นไปเถิดพระเจ้าข้า ...... พระพุทธเจ้าจึงรับสั่ง ให้พระอานนท์ ภิกษุ และโพธิสัตว์ท่านอื่น ๆ อีกหลายท่านไปทำหน้าที่นี้ แต่ไม่มีใครอยากไปเยี่ยมวิมลเกียรติ สุดท้ายพระโพธิสัตว์มัญชุศรีรับอาสา ไป วิมลเกียรติได้แสดงหลายครั้งหลายคราวว่าเขาประจักษ์แจ้งในธรรม ได้ล้ำลึกกว่าพระมัญชุศรีหรือพระโพธิสัตว์ท่านใด ๆ การปรากฏของ วิมลเกียรติในพุทธศาสนามหายานนั้นเป็นธรรมชาติอย่างยิ่ง พระสูตรนี้ โจมตีสถาบันวัดอย่างรุนแรง พยายามเปิดเผยโลกในวัดเพื่อภิกษุและภิกษุณี จะได้ปฏิบัติอย่างใจกว้าง เปิดเผย และมุ่งประโยชน์ของสังคมส่วนรวม ใช่แค่ปฏิบัติเพื่อตนเอง......
 
......พระสูตรวิมลเกียรติต่อมาจึงได้แตกลูกแตก หลานไปอีกมาก พระสูตรหนึ่งพูดถึงบุตรของวิมลเกียรติ อีกพระสูตร พูดถึงธิดาของวิมลเกียรติ ส่วนอีกพระสูตรหนึ่งนั้นถึงขั้น แสดงคำ สอนของผู้หญิงซึ่งอดีตเคยเป็นนางคณิกา ประเด็นก็คือพุทธศาสนา นั้นอาจสอนโดยโคร ๆ ก็ได้ที่ประจักษ์แจ้งถึงจิตอันรู้ตื่นรู้เบิกบาน ของตน แม้แต่หญิงงามเมือง ถ้าเธอได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมก็อาจเป็น ครูของเทวดาและมนุษย์ได้ อุดมคติของมหายานเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ ซึ่งเป็นคนธรรมดาได้แสดงออกอย่างถึงขั้สูงสุดในพระสูตรเหล่านี้ พระสูตรวิมลเกียรติทำให้เราเห็นว่าภิกษุชั้นเลิศอย่างพระสารีบุตรและ พระโมคคัลลานะก็เป็นนักเรียนที่เรียนได้เชื่องช้าเมื่อเปรียบเทียบกับ พระโพธิสัตว์ผู้ซึ่งปฏิบัติเพื่อประโยชน์ของมหาชนส่วนใหญ่......

......พระสูตรปรัชญาปารมิตาพระสูตรแรก ๆ ได้ประณามทัศนะของภิกษุ ผู้ปฏิบัติเพื่อตัวเองไว้หลายประโยค อัสตะสหศรีกะปรัชญาปารมิตาสูตร มีข้อความว่า ...... ถ้าพระราชินีบรรทมกับบุรุษที่มิใช่ราชาแม้พระนางจะให้ กำเนิดทารก ก็พูดไม่ได้ว่าทารกนั้นมีเลือดขัตติยะ ถ้าการปฏิบัติของเจ้า ไม่เป็นไปด้วยจิตที่ประจักษ์แจ้งเช่นพระโพธิสัตว์ผู้ปฏิบัติเพื่อมวลสรรพ สัตว์แล้วไซร้ ก็ไม่อาจพูดได้ว่าเจ้าเป็นพุทธบุตรพุทธธิดา ถ้าเจ้าปฏิบัติ เพียงเพื่อความหลุดพ้นของตนเอง เจ้าก็ไม่ใช่พุทธบุตรพุทธธิดาที่แท้จริง ............

 ......ถ้าภิกษุและภิกษุณีไม่เปิดใจกว้างปฏิบัติเพื่อเพื่อนมนุษย์ทุกคน ไม่ ดำเนินตามอุดมคติของพระโพธิสัตว์แล้วไซร้ พวกเขาก็ ...... ไม่ใช่ พุทธบุตรพุทธธิดาที่แท้จริง ...... ในอุกรทัตตะ วิมลเกียรติและปรัชญา ปารมิตาสูตรรุ่นแรก ๆ นั้น แนวคิดของพุทธศาสนามหายานทั้งกว้าง และลึก แต่น้ำเสียงของพระสูตรเหล่านี้ก็เป็นไปในทางโจมตีสถาบัน วัด จึงยากที่จะได้รับความสนใจจากสถาบันเหล่านนั้น ซ้ำยังจะกลาย เป็นปฏิปักษ์กันอีกด้วย แต่เมื่อมาถึงยุคสัทธรรมปุณฑริกสูตร พุทธ ศาสนามหายานได้กลายเป็นสถาบันในโรงเรียน ในวัด และมีรากฐาน เข้มแข็งเป็นคล้าย ๆ พุทธศาสนาฝ่าย ...... โปรเตสแต้นท ...... ซึ่งภิกษุ ภิกษุณี และฆราวาส ทำงานร่วมกันอย่างไกล้ชิด น้ำเสียงของสัทธรรม ปุณฑริกสูตรจึงเป็นไปในทางประนีประนอมมากขึ้น ในวิมลเกียรติสูตร พระสารีบุตรไม่มีความหมายอะไรเลย แต่ในสัทธรรมปุณฑริกสูตร พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระเมตตา ทรงเอื้ออาทรอย่างมากมายต่อพระ สารีบุตร ต่อภิกษุและภิกษุณีสาวกของพระองค์ สัทธรรมปุณฑริกสูตร เป็นรากฐานของพุทธศาสนามหายาน เพราะน้ำเสียงของพระสูตร นี้ได้ยื่นมือแห่งความรักความเป็นมิตรไปถึงสถาบันพุทธศาสนาตาม ตามขนบประเพณีดั้งเดิมด้วย......


- จาก ปลูกรัก วิธีฝึกมองอย่างลึกซึ้งตามคติพุทธศาสนามหายาน ผู้เขียน   ติช นัท ฮันห์ -



...... ปลูกรัก คือสิ่งที่หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องความรัก ในเพศบรรพชิตยามวัยหนุ่มของท่าน โดยนำคำสอนต่างๆ ของพระสูตรมหายานมาพิจารณาความรักของท่านได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าถึงความเป็นอิสระจากความรักอันลุ่มหลง ติดยึด และสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ในจิตแห่งรักที่แท้จริงที่มีต่อสรรพชีวิต อันเป็นความรักที่หนักแน่นมั่นคง......

......ไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลเดียว แต่เป็นความรักเมตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน นอกจากคุณจะได้สัมผัสกับความหมายของ รักแรก ที่แท้จริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ สัมผัสความรักแห่งพระพุทธองค์ โดยผ่านการศึกษาพระสูตรต่างๆ ของมหายาน อันช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างเกินกว่าความคิด และการกระทำที่เป็นแค่ตัวฉัน ของฉัน ถือเป็นความงดงามอย่างยิ่งที่หลวงปู่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนพระสูตรมหายานต่างๆ ในเล่มนี้ ทำให้ได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนของพุทธมหายานมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์จิตแห่งรักที่แท้จริงของเรา ผ่านพระสูตรเหล่านั้นด้วย......

จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=175974.0