ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มิถุนายน 30, 2016, 11:40:38 pm »




ใช้หุ่นยนต์ดึงเด็กเข้าวัดแนวคิดแบบนอกกรอบของ'หลวงพี่สงบ' : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู


              วัดตะเคียน ตั้งอยู่ริมถนนนครอินทร์ (พระราม ๕) ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี ปัจจุบันมีพระครูสมุห์สงบ กิตติญาโณ หรือหลวงพี่สงบ เป็นเจ้าอาวาส โดยวัดแห่งนี้ถือเป็นแห่งเดียวในประเทศไทยที่มีโบสถ์หัวเสือ-หัวมังกร ซึ่งในแต่ละวันจะมีพุทธศาสนิกชนจำนวนมากเดินทางมาลอดโบสถ์ สะเดาะเคราะห์ ต่อชะตาแบบนอนโลง ลอยเทียน รวมทั้งเที่ยวตลาดน้ำวัดตะเคียนจำนวนมาก



  นอกจาก “รูปปั้นหัวเสือและหัวมังกร” ที่โด่ดเด่นแล้วอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รับความสนใจไม่น้อยยิ่งกว่าคือรูปปั้นตัวละครในวรรณคดี เช่น รูปผีเสื้อสมุทร พระอภัยมณี เฒ่าชูชก ตือโป๊ยก่าย หงอคง ยักษ์ และหมาเล่นการพนัน

              ลักษณะของรูปปั้นจะแตกต่างจากรูปปั้นของวัดทั่วๆ ไปนั้น ที่เต็มไปด้วยอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์ บูทูธ นาฬิกาหรู แว่นดำ รวมทั้งยักษ์บางตนแขวนเสือรุ่น ๓ ห้อยตะกรุด ด้วยนั้น หลวงพี่สงบให้เหตุผลว่า รูปปั้นทั้งหมดต้องการที่จะสื่อให้เห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน แต่แฝงด้วยคติธรรมที่ว่า “ทุกวันนี้ที่เราเป็นหนี้สินเกิดจากคนเราฟุ่มเฟือยไป จนลืมคำว่าเพียงพอและพอเพียงไปหรือเปล่า”

              ในกรณีของเฒ่าชูชก ๒๐๑๐ ของวัดตะเคียน จะแตกต่างจากวัดอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง คือ มีโทรศัพท์ ใส่ทองคำเส้นโต ทั้งนาฬิกา แหวน และไม้เท้าก็เป็นทองคำ แถมยังกินกาแฟสดอีกด้วย รูปปั้นนี้อาตมาต้องการสื่อให้เห็นว่า “ทุกวันนี้คนเราไม่ว่าจะมีความเป็นอยู่อย่างไร จะเงินเดือนมากหรือเงินเดือนน้อย แม้แต่ขอทานตามสะพานลอยยังมีโทรศัพท์ใช้กันเลย”

              หลวงพี่สงบยังบอกด้วยว่า แรกๆ รูปปั้นตัวละครในวรรณคดีมีคนมาถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันกลายเป็นสิ่งธรรมดา เมื่อเห็นหุ่นยนต์ที่ประดิษฐ์จากของเก่าจึงติดต่อซื้อมาตั้งที่วัด ซึ่งมีขนาดความสูงกว่า ๑๐ เมตร ครั้งแรกตั้งใจว่าหุ่นยนต์จะสามารถดึงเด็กๆ ให้เข้าวัดมากขึ้น แต่ความจริงแล้วผู้ใหญ่ให้ความสนใจไม่แพ้เด็กต่างถ่ายรูปไปอวดไปโชว์กันเป็นที่ระลึกจำนวนมาก นอกจากนี้แล้ววัดยังมีโครงการสร้างบ้านบอลสวนสนุกขนาดเล็กสำหรับเด็กๆ ให้เล่นฟรีตลอดทั้งวัน

              สำหรับวัดใดมีโครงการจะพัฒนาวัดให้เป็นวัดท่องเที่ยวนั้น หากมีเวลาว่างน่าจะพาคณะกรรมการวัดมาดูงานที่วัดตะเคียน เพราะวัดแห่งนี้ก่อนที่จะเป็นวัดท่องเที่ยว ไม่มีจุดขายใดๆ เลย ส่วนผู้ที่จะเดินทางไปทำบุญที่วัดตะเคียน สิ่งหนึ่งที่สบายใจได้เลย คือ ไม่ว่าจะถวายสังฆทาน สะเดาะเคราะห์ นอนโลง ดอกไม้ธูปเทียน รวมทั้งลอดโบสถ์ ขึ้นอยู่กับความศรัทธา สุดแล้วแต่จะทำบุญ สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่วัดตะเคียน โทร.๐-๒๕๙๕-๑๘๕๑, ๐๘-๑๙๒๑-๐๙๔๖


ตลาดน้ำเพื่อชุมชน'วัดตะเคียน'

              ตลาดน้ำวัดตะเคียนนั้น ถูกเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒ โดยแรกเริ่มเป็นตลาดน้ำเล็กๆ ที่เปิดขึ้นมาเพื่อเป็นการช่วยเหลือกันระหว่างวัดกับชาวบ้านที่คอยช่วยเหลือกิจการงานวัดให้มีสถานที่ทำมาค้าขาย เดิมทีคลองนี้มีตลาดเก่าอยู่คือ "ตลาดน้ำบางคูเวียง” ตั้งอยู่ที่สามแยกระหว่างปากคลองบางคูเวียง-ปากคลองบางราวนก-คลองบางกอกน้อย

              ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น หลวงพี่สงบ วัดตะเคียนได้มีการพัฒนามาตลอด ในช่วงแรกเริ่มของการทำตลาดน้ำนั้น การชวนมาขายของแทบจะต้องกราบเท้าเชิญชวนเลยทีเดียว ทั้งๆ ที่ให้ขายฟรีโดยไม่เก็บค่าเช่า ในครั้งแรกมีร้านค้ามาร่วมโครงการ ๓-๕ ร้านเท่านั้น โดยมีนโยบายที่จะให้คนเฉพาะในตำบลบางคูเวียงเท่านั้นมาขายเพื่อส่งเสริมคนในชุมชนให้มีอาชีพ เมื่อไม่มีใครมาก็เปิดโอกาสให้คนในตำบลใกล้เคียงมาขายของปัจจุบันรวมแล้วมีร้านค้าเกือบ ๒๐๐ ร้าน และวัดยังคงนโยบายเดิมคือ “ให้ขายฟรีตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงปัจจุบัน” ทำให้สินค้าที่จำหน่ายในวัดถูกกว่าปกติเพราะไม่มีต้นทุนเรื่องค่าเช่า

              ในจำนวนร้านค้าที่มีอยู่ทั้งหมดมีอยู่ ๒ ร้านที่เป็นของวัด คือ ร้านขนมไทย และร้านก๋วยเตี๋ยวเรือวัดตะเคียน ซึ่งจำหน่ายในราคาชามละ ๑๕ บาทเท่านั้น หลวงพี่สงบบอกว่า ครั้งแรกในการเปิดตลาดทางวัดถึงกับลงทุนตั้งโรงทานให้กินฟรีเพื่อดึงคนให้เข้าวัด โดยทำอยู่ประมาณ ๖ เดือน แต่ไม่ได้ผล บางคนมาวัดเพื่อกินข้าวเท่านั้น เมื่อมาทำก๋วยเตี๋ยวเรือขายในราคาถูกกลับได้ผลมากกว่า คนมาวัดได้กินของถูก อร่อย และอิ่มท้อง

              นอกจากสินค้า อาหาร และข้าวของราคาถูกแล้ว หลวงพี่สงบยังลงทุนสร้างโครงการหลังคาขนาดใหญ่ รวมทั้งซื้อเก้าอี้ที่นั่งพักผ่อนสำหรับคนมาทำบุญนับร้อยตัว ซึ่งจะแตกต่างจากวัดท่องเที่ยวที่อื่นๆ คือ คนมาทำบุญมาซื้อของและกลับบ้าน แต่ที่วัดตะเคียนคนจะนั่งพักผ่อนกินอาหารที่แม่ค้านำมาขายก่อนที่จะกลับบ้าน ที่เป็นเช่นนี้เพราะหลวงพี่สงบ “อยากให้คนได้นั่งผักผ่อน และใช้เวลาอยู่ที่วัดนานกว่าปกติ”

              ทั้งนี้หลวงพี่สงบจะให้ความสำคัญเรื่องความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสถานที่เป็นอย่างมาก ในวันเสาร์-อาทิตย์ รวมทั้งวันหยุดนักขัตฤกษ์ วัดจะให้พนักงานทำความสะอาดห้องน้ำตลอดเวลา ๑ คน ในขณะที่เรื่องการดูแลความสะอาดบริเวณวัดจะจัดไว้ถึง ๓ คน

              “ตลาดน้ำวัดตะเคียน ตั้งขึ้นโดยมีจุดประสงค์ใหญ่เพื่อเป็นการคืนประโยชน์ให้แก่ญาติโยมที่ช่วยอุปถัมภ์ค้ำจุนวัด เปรียบเสมือนการช่วยเหลือชุมชนและผู้มีรายได้น้อยในละแวกใกล้เคียงด้วยการนำสินค้า อาหาร ผลิตภัณฑ์งานฝีมือต่างๆ เข้ามาค้าขายทั้งบนบกและในน้ำ โดยเปิดให้ขายฟรีไม่ต้องเสียค่าเช่าแม้แต่สตางค์แดงเดียว" หลวงพี่สงบกล่าว


อาตมา'เป็นพระนักทำที่ไม่ใช้นักเทศน์'

              หลวงพี่สงบ บอกว่า ในการบูรณะวัดนั้น วัดมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะจ้างช่างภายนอกให้น้อยที่สุด งานของวัดทุกอย่างล้วนเป็นงานพระ นอกจากสวดมนต์ทำวัตร รักษาศีลตามพระธรรมวินัยแล้ว งานก่อสร้างและงานทำความสะอาดก็เป็นกิจของสงฆ์เช่นกัน งานกวาดลานวัด งานทำความสะอาดห้องน้ำ เป็นงานที่พระต้องทำทุกวัน ภาพภาพหนึ่งที่เกิดทุกวัดในเขต จ.นนทบุรี ฝั่งตะวันตกหลังเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ คือ ภาพพระทำงานเก็บขยะทำความสะอาดวัด เพราะลำพังจะรอญาติโยมคงไม่ได้ เพราะทั้งวัดและบ้านต่างถูกน้ำท่วมทั้งสิ้น

              ส่วนการหาปัจจัยเข้าวัดนั้น หลวงพี่สงบพูดไว้อย่างน่าคิดว่า “จริงอยู่ที่ทุกวัดล้วนต้องการให้โยมมาทำบุญมากๆ เพื่อได้นำปัจจัยไปพัฒนาวัด แต่ที่วัดตะเคียนจะไม่เน้นขึ้นหน้า ทุกอย่างต้องเป็นไปด้วยความศรัทธาของญาติโยม ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องสังฆทานสุดแล้วแต่โยมจะทำบุญ ตู้ทำบุญให้วัดต้องมีแต่พอเหมาะ ทั้งวัดไม่ควรจะเกิน ๑๐ ใบ ที่สำคัญคือจะไม่ตั้งตู้บริจาคหน้าห้องน้ำเด็ดขาด เพราะญาติโยมเขาให้วัดมามากแล้ว”

              นิสัยของคนไทยเมื่อคนมาเที่ยวตลาดวัดก็มักจะต้องทำบุญควบคู่กันไปด้วย เมื่อมีคนเข้าวัดจำนวนมากปัจจัยทำบุญก็มากขึ้นเป็นเงาตามตัว เมื่อได้ปัจจัยมาจำเป็นอย่างยิ่งต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ญาติโยมโดยเฉพาะลานจอดรถ และที่ขาดไม่ได้และถือว่าเป็นหัวใจอย่างหนึ่งคือ ห้องน้ำห้องสุขาต้องมีอย่างเพียงพอและสะอาด ซึ่งมีคำพูดหนึ่งที่วัดทุกแห่งต้องคิด คือ “ห้องรับแขกที่แท้จริงของวัดไม่ใช่กุฏิเจ้าอาวาส หากเป็นห้องน้ำห้องสุขาที่ญาติโยมเข้าไปปลดทุกข์” ห้องน้ำวัดใดสะอาดก็จะมีคำร่ำลือไปในทางที่ดี แต่หากห้องน้ำวัดสกปรกก็มีคำร่ำลือในทางที่ไม่ดีเช่นกัน

              พูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า “วิธีการทำให้คนเข้าถึงธรรมะมีหลากหลายวิธี พระส่วนใหญ่แสดงธรรมะโดยการเทศนา จำนวนไม่น้อยเลือกการบรรยายธรรม บางรูปเลือกการเขียน ส่วนตัวอาตมาเป็นพระนักทำที่ไม่เก่งเรื่องเทศน์จึงสอดใส่ธรรมะเข้าไปในรูปปั้น และอาตมาไม่ได้หวังว่าคนจะจำคติธรรมจากทุกรูปปั้นไปได้ทั้งหมด เพียงแค่จำได้ ๑ ประโยค แล้วเก็บไปคิด กลับไปทำ อาตมาก็ถือว่าประสบความสำเร็จแล้ว”

จาก http://www.komchadluek.net/news/amulets/219783

<a href="https://www.youtube.com/v/pfSjHjEEKaQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/pfSjHjEEKaQ</a>