ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2016, 12:25:28 am »



 ธรรมสามตรา

 ......คำสอนที่แท้ของพระพุทธเจ้าทุกคำสอนต้องมีตราธรรมสามประการ คือ อนิจจัง อนัตตา และนิพพาน ธรรมตราแรกคืออนิจจัง ไม่มีสิ่ง ใดคงสภาพเดิมอยู่ได้แม้แค่ชั่วขณะจิต เฮราคลิตัสกล่าวว่าเราไม่อาจ อาบน้ำสองครั้งในแม่น้ำสายเดิม ส่วนขงจื้อกล่าวขณะมองแม่น้ำว่า ...... มันไหลตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน ...... สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัส สอนเราว่า อย่าพูดแค่อนิจจัง แต่ต้องใช้อนิจจังนี้เป็นเครื่องมือช่วย เราให้รู้จักมองความเป็นจริงอย่างลึกซึ้ง จนเห็นแจ้ง และหลุดพ้นเป็น อิสระ......

 ......เรามักจะพูดกันอย่างฉาบฉวยว่าโลกนี้มีทุกข์เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนิจจัง แต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนเราให้รู้จักมองลึกซึ้ง ลงไปอีก ถ้าไม่มีอนิจจัง ชีวิตก็ไม่อาจมีอยู่ได้ เราจะแก้ความทุกข์ได้ อย่างไรถ้าทุกสิ่งไม่เป็นอนิจจัง ลูกสาวของเราจะเติบโตเป็นสาวงาม ได้อย่างไร สถานการณ์โลกจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีได้อย่างไร เราจำ เป็นต้องพึ่งอนิจจังเพื่อความหวังและเพื่อความยุติธรรมในสังคม ถ้า เธอเป็นทุกข์ นั่นใช่เพราะสิ่งต่าง ๆ เป็นอนิจจัง แต่เป็นเพราะเธอเชื่อ ว่าสิ่งนั้นยั่งยืน เวลาดอกไม้ร่วงโรยเธอไม่ค่อยทุกข์เพราะเธอเข้าใจว่า ดอกไม้เป็นอนิจจัง แต่เธอไม่อาจยอมรับความเป็นอนิจจังของคนที่ เรารัก เธอเป็นทุกข์มากเมื่อเขาเหล่านั้นเสียชีวิตไป ถ้าเธอมองให้ลึกซึ้ง เข้าไปในความเป็นอนิจจัง เธอก็จะทำดีที่สุดเพื่อทำให้คนที่เธอรักเป็น สุขตอนนี้ การรู้เท่าทันอนิจจังย่อมมีผลนทางสร้างสรรค์ ทำให้เธอ ฉลาด มีความรักความเมตตามากขึ้น อนิจจังเป็นสิ่งดี ถ้าไม่มีอนิจจัง เสียแล้ว อะไรต่าง ๆ ก็ไม่อาจเป็นไปได้ ด้วยอนิจจังนี้ประตูทุกประตู ย่อมเปิดเพื่อการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะบ่น เราควรพูดว่า ...... อนิจจัง จงเจริญ ...... อนิจจังเป็นเครื่องมือช่วยปลดปล่อยเรา......

 ......ธรรมตราที่สองคืออนัตตา ถ้าเธอเชื่อว่าตัวตนยั่งยืน เชื่อว่ามันจะ ดำรงอยู่ตลอดไป และเชื่อว่าตัวตนอยู่แยกเป็นอิสระจากกันแล้ว ละก็ ไม่อาจพูดได้ว่าความเชื่อนี้เป็นความเชื่อในพุทธศาสนา อนิจจังมองจากมิติของเวลา ส่วนอนัตตามองจากมิติของขอบเขต......

 ......เมื่อเราปฏิบัติวัชรสูตรและมองให้ลึกซึ้งเข้าไปในความคิดเกี่ยวกับ ตัวตน บุคคล สัตวะและชีวะ เราจะเห็นว่าไม่มีเส้นแบ่งระหว่างตัว ตน - ความใช่ตัวใช่ตน, บุคคล - อบุคคล, สัตวะ-อสัตวะ, ชีวะ-อชีวะ ขณะเราก้าวย่างอยู่บนพื้นโลกสีเขียวนี้ เรารู้ว่าตัวเราย่อมประกอบ ด้วย อากาศ แสงแดด แร่ธาตุและน้ำ รู้ว่าเราเป็นลูกของโลก เป็น ลูกของท้องฟ้า มีความสัมพันธ์กับทุกสรรพสิ่ง ทั้งที่มีชีวิตและไร้ ชีวิต นี่คือการปฏิบัติอนัตตา พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ เรามีสติรู้ตัว ทั่วพร้อมอยู่ด้วยสมาธิ ทั่วพร้อมอยู่ด้วยสมาธิ ให้เห็นแจ้งถึงอนิจจัง อนัตตาและการอิง อาศัยของสรรพสิ่ง......

......ธรรมตราที่สามคือนิพพาน ซึ่งหมายถึง ...... การดับ ...... ทุกข์ ดับความ ยึดมั่นอยู่กับถ้อยคำและความคิด ความทุกข์เบื้องต้นสามอย่างของ มนุษย์ก็คือ โลภ โกรธ หลง ความหลง( อวิชชา ) คือความไม่สามารถ เข้าใจความเป็นจริงได้ นี้นับเป็นขั้นแรกสุดของความทุกข์ทั้งสาม ประการนั้น เพราะความหลงเราจึงอยากได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ที่อาจทำลาย เรา และเราก็โกรธนั่นโกรธนี่หลาย ๆ อย่างด้วย เราพยายามจะยึด โลกตามที่เราต้องการ แล้วเราก็ทุกข์ นิพพานคือการดับทุกข์ทั้งปวง เป็นเครื่องแสดงถึงการเกิดแห่งอิสรภาพ การดับของสิ่งหนึ่งย่อมนำ ไปสู่การเกิดของอีกสิ่งเสมอ เมื่อความมืดหมดไปแสงสว่างก็เกิดขึ้น เมื่อความทุกข์หมดไป สันติสุขก็จะเข้ามาแทนที่......

 ......นักปราชญ์หลายคนกล่าวว่านิพพานคือการทำลายล้าง หรือการดับ ของทุกสิ่ง ชาวพุทธจึงมุ่งไปที่ความไม่มีไม่เป็น อย่างนี้เท่ากับเขาถูก งูนิพพานกัดเข้าแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในหลาย ๆ พระสูตรว่า แม้นักบวชและพราหมณ์กล่าวว่าคำสอนของพระพุทธองค์เป็นการ ทำลายล้าง เป็นคำสอนที่มุ่งไปที่ความไม่มีไม่เป็น แต่คำกล่าวนนั้น ก็ไม่ถูกต้อง พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนิพพานแก่เราก็เพื่อช่วยเรา ให้พ้นจากความยึดมั่นถือมั่นอยู่กับความคิดเรื่องอนิจจังและอนัตตา ถ้าเรามาติดกับดักของนิพพานเข้าอีก เราจะรอดได้อย่างไรกัน......

......ถ้อยคำและความคิดอาจจมีประโยชน์ถ้าเราเรียนรู้ที่จะใช้มันอย่าง ชำนาญ ไม่ไปติดกับดักของมัน หลินจี้ อาจารย์เซนกล่าวว่า ...... ถ้า เธอเห็นพระพุทธเจ้าขวางทางอยู่ก็จงฆ่าพระองค์ซะ ...... ซึ่งหมาย ความว่า ถ้าเธอคิดว่าพระพุทธเจ้าเป็นตัวขัดขวางไม่ให้เธอได้ประ สบการณ์ตรงเกี่ยวกับพุทธะ ก็เท่ากับเธอติดอยู่กับสัญญาเดิม ๆ ทางเดียวที่เธอจะปลดปล่อยตัวเอง และได้ประสบการณ์ตรงเกี่ยว กับพุทธะ คือเธอต้องฆ่าความคิดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าไปเสียก่อน นี่คือเคล็ดในการปฏิบัติ ถ้าเธอยึดมั่นอยู่กับถ้อยคำหรือความคิด เธอก็จะเสียโอกาสการเรียนรู้ที่จะก้าวพ้นไปจากการใช้สมองปรุง แต่งความเป็นจริงนี้ นับเป็นศิลปะเลยทีเดียว ครูต้องช่วยสอนศิษย์ ให้รู้วิธีที่จะไม่ปรุงแต่งความคิด ถ้าเธอมีแต่สัญญาปรุงแต่ง เธอจะ ไม่มีวันหลุดพ้นได้เลย การฝึกมองอย่างลึกซึ้งเข้าไปในธรรมชาติ แท้จริงของสรรพสิ่ง การสัมผัสโดยตรงกับความจริง ใช่ด้วยการ ใช้ถ้อยคำและความคิดบรรยายความเป็นจริง นี่คือการปฏิบัติธรรม ที่แท้......

......ทุก ๆ คำสอนมีตราธรรมสามตรานี้นี้คือพุทธธรรมที่แท้จริง พระพุทธเจ้า ทรงสอนเรื่องอนิจจัง ก็เพื่อให้เราใช้อนิจจังเป็นเครื่องมือมองสรรพสิ่ง อย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าเราติดกับดักของอนิจจัง พระองค์ก็ยังประทานเครื่อง มืออีกอย่างหนึ่งคืออนัตตา แต่ถ้าเรายังติดกับดักอีกพระองค์ยังเทศนาเรื่อง นิพพานความดับทุกข์และดับความยึดมั่นถือมั่น ในพระสูตรนิทานร้อย เรื่อง พระพุทธเจ้าทรงเล่าเรื่องชายกระหายน้ำ ว่าเมื่อชาวบ้านแนะนำให้ เขาไปที่แม่น้ำ เขาเห็นน้ำมากมายจนงง จึงถามชาวบ้านว่า ...... แล้วข้าจะ ดื่มน้ำนี้ให้หมดได้อย่างไร ...... เขาจึงไม่ดื่ม แล้วก็ตายบนฝั่งแม่น้ำนั่นเอง พวกเราหลายคนก็ตายอย่างเดียวกันนี้ ถ้าเรากอดคำสอนของพระพุทธเจ้า ไว้แค่เป็นความคิด เราก็จะตายเพราะความทุกข์ซึ่งเกิดจากความไม่เข้าใจ ธรรมชาติที่แท้จริงของสรรพสิ่ง แต่ถ้าเราปฏิบัติพุทธธรรม ประยุกต์ให้ เข้ากับสติปัญญาของเรา เราก็มีโอกาสได้ดื่มน้ำ และข้ามน้ำไปสู่อีกฝั่ง......




...... ปลูกรัก คือสิ่งที่หลวงปู่ ติช นัท ฮันห์ ได้แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องความรัก ในเพศบรรพชิตยามวัยหนุ่มของท่าน โดยนำคำสอนต่างๆ ของพระสูตรมหายานมาพิจารณาความรักของท่านได้อย่างลึกซึ้ง จนเข้าถึงความเป็นอิสระจากความรักอันลุ่มหลง ติดยึด และสัมผัสได้ถึงพลังแห่งความเมตตากรุณาอันยิ่งใหญ่ในจิตแห่งรักที่แท้จริงที่มีต่อสรรพชีวิต อันเป็นความรักที่หนักแน่นมั่นคง......

......ไม่จำกัดอยู่แค่บุคคลเดียว แต่เป็นความรักเมตตาที่พร้อมจะมอบให้กับทุกคน นอกจากคุณจะได้สัมผัสกับความหมายของ รักแรก ที่แท้จริงแล้ว ยังจะได้เรียนรู้ สัมผัสความรักแห่งพระพุทธองค์ โดยผ่านการศึกษาพระสูตรต่างๆ ของมหายาน อันช่วยเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างเกินกว่าความคิด และการกระทำที่เป็นแค่ตัวฉัน ของฉัน ถือเป็นความงดงามอย่างยิ่งที่หลวงปู่สามารถที่จะแลกเปลี่ยนพระสูตรมหายานต่างๆ ในเล่มนี้ ทำให้ได้เรียนรู้เข้าใจในคำสอนของพุทธมหายานมากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รดน้ำเมล็ดพันธุ์จิตแห่งรักที่แท้จริงของเรา ผ่านพระสูตรเหล่านั้นด้วย......

จาก http://www.sookjai.com/index.php?topic=176035.0