ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2016, 05:45:53 am »









วัดร่องขุ่นเป็นศาสนสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของเชียงราย โดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่มีลวดลายอ่อนช้อยและสีขาวโพลน สวยงามมากยามต้องแสงอาทิตย์ นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ทางพุทธศาสนาที่คอยเตือนใจผู้ที่แวะมาสักการะอีกด้วย

วัดร่องขุ่นเริ่มสร้างตั้งแต่พ.ศ. 2540 เป็นเวลาเกือบ 20 ปีแล้ว แต่ปัจจุบันยังไม่เสร็จสมบูรณ์ดี ในอดีตวัดร่องขุ่นเป็นวัดเล็กๆ บนพื้นที่ 3 ไร่ที่เสื่อมโทรม ต่อมาอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตกรจังหวัดเชียงราย ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ในปี พ.ศ. 2554 ได้ตัดสินใจที่จะปรับปรุงวัดในบ้านเกิดแห่งนี้ใหม่ ด้วยแรงศรัทธาในศาสนาและความปรารถนาที่จะสร้างสมบัติให้กับประเทศไทย และสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จากคำกล่าวที่ว่า “ผมหวังที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวของผมให้ปรากฏเป็นงาน ศิลปะที่ยิ่งใหญ่ชิ้นหนึ่งของโลกมนุษย์นี้ให้ได้ เพื่อประกาศความยิ่งใหญ่ของประเทศชาติของผมไปสู่มวลมนุษยชาติทั้งโลก” โดยอาจารย์เฉลิมชัยออกแบบและลงมือก่อสร้างเองด้วยทุนทรัพย์ส่วนตัว รวมถึงเงินบริจาคที่จำกัดให้บริจาคได้ไม่เกินครั้งละ 10,000 บาท เพื่อแสดงเจตนารมย์ว่าสร้างด้วยศรัทธาและเพื่อศิลปะล้วนๆ ไม่ได้ต้องการสิ่งอื่นใด

วัดร่องขุ่นมีตัวอุโบสถเป็นสีขาวบริสุทธิ์ดูสะอาดตาและโดดเด่นเป็นสง่า อีกทั้งยังประดับประดาอย่างวิจิตรอลังการ ทั้งช่อฟ้า ใบระกา และลวดลายอ่อนช้อยอื่นๆ อีกมากเป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาค ทั้งยังมีการประดับกระจกระยิบระยับ ซึ่งมีความหมายเชิงสัญลักษณ์ สีขาวหมายถึง พระบริสุทธิคุณ ส่วนกระจกหมายถึงพระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่ส่องแสงโชติช่วงไปกว้างไกล ตัวพระอุโบสถสร้างอยู่บนเนินเตี้ยๆ ที่มีทะเลสาบใสสะอาดสะท้อนเงาอาคาร ทางเดินเข้าอุโบสถที่สะพานทอดยาวอันหมายถึง การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ส่วนบนของหลังคาโบสถ์ได้นำหลักธรรมอันสำคัญยิ่งของการปฏิบัติจิต 3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา มาแสดงออกในรูปของสัตว์ในช่อฟ้าชั้นต่างๆ นอกจากนี้ภายในยังมีภาพจิตกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถและห้องแสดงภาพวาด ฝีมืออาจารย์เฉลิมชัยอีกมากมายที่ไม่ควรพลาดชม เปิดให้ชมทุกวัน 06.30 – 18.00 น. ห้องแสดงภาพเปิดให้เข้าชมวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.00-17.30 น. วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เวลา 08.00-18.00 น.

การเดินทางมาวัดร่องขุ่น สามารถใช้เส้นทางถนนสายเชียงราย-กรุงเทพฯ ถ้ามาจากกรุงเทพฯ หรือเชียงใหม่ วัดร่องขุ่นจะอยู่ก่อนถึงตัวเมืองเชียงราย 13 กิโลเมตร ตรงหลักกิโลเมตรที่ 816 ถนนพลหลโยธิน (หมายเลข 1 / A2) เลี้ยวขวาที่สามแยกทางไปน้ำตกขุนกรณ์ ประมาณ 100 เมตร วัดอยู่ซ้ายมือ หรือ สามารถขึ้นรถสองแถวสีน้ำเงินได้ที่สถานีขนส่งเชียงรายเก่าและลงปากทางเข้าวัด

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม: วัดร่องขุ่น โทรศัพท์ 0 5367 3579, ททท. สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 7433 และศูนย์บริหารจัดการการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 5690

*หมายเหตุ* เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวปี 2557 จึงทำให้วัดเกิดความเสียหายหลายจุด

<a href="https://www.youtube.com/v/qkOKqpomcyc" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/qkOKqpomcyc</a>