ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2016, 06:43:13 am »



ถอดความและเรียบเรียงจากบทสัมภาษณ์ หลวงปู่ ติช นัท ฮันน์ ในรายการของ โอปรา วินฟรีย์

การฟังอย่างลึกซึ้ง เป็นการฟังที่จะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์จากใจของผู้อื่นได้ หรือจะเรียกว่า การฟังด้วยความเมตตาก็ได้ เธอจะฟังด้วยวัตถุประสงค์เดียวก็คือ ช่วยให้พวกเขา ได้ปลดปล่อยทุกสิ่งจากหัวใจจนหมดสิ้น ด้วยเธอตระหนักว่ากำลังช่วยเขาเหล่านั้นให้คลายความทุกข์ลง

ถึงแม้ว่าพวกเขาจะพูดหรือคิดในมุมมองที่เต็มไปด้วยความเห็นผิด หรือด้วยความระทมขมขื่นก็ตาม เธอก็ยังสามารถรับฟังต่อไปด้วยจิตแห่งความเมตตาได้ เพราะเธอรู้ว่า การฟังแบบนี้ ด้วยจิตแห่งความเมตตา เธอกำลังมอบโอกาสให้พวกเขา บรรเทาความทุกข์ลงได้

หากเธอต้องการที่จะช่วยแก้ไขมุมมองความคิดของพวกเขา ให้เธอรอในโอกาสต่อไป แต่ในช่วงเวลาขณะนี้ เธอเพียงมอบการฟังอย่างลึกซึ้ง และช่วยให้เขาบรรเทาทุกข์ลง เพียงไม่เกินหนึ่งชั่วโมง จะนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงและการเยียวยา

ความกลัว ความโกรธ และความสิ้นหวัง บังเกิดจากพื้นฐานมุมมองที่เห็นผิด พวกเราล้วนต่างมีมุมมองที่เห็นผิด ในการคำนึงถึงแต่ตนเอง และไม่สนอีกฝ่ายหนึ่ง และนี่เป็นรากฐานของความขัดแย้ง สงคราม และความรุนแรงทั้งมวล

ผู้คนควรจะเริ่มพูดต่อกันอย่างนี้ “เพื่อนรัก ฉันรู้ว่าคุณมีความทุกข์อย่างมาก ฉันไม่อาจทำความเข้าใจได้เพียงพอถึงความยากลำบากและความทุกข์ที่คุณมี มันไม่ใช่ความตั้งใจของฉันที่จะทำให้คุณทุกข์มากขึ้น มันตรงกันข้ามเลย ดังนั้นขอให้คุคุณกรุณาเล่าให้ฉันฟัง ถึงความทุกข์ที่คุณมี ความยากลำบากที่เผชิญอยู่ ฉันต้องการที่จะรับรู้และเข้าใจมัน”

บทสนทนาต้องเริ่มจากสิ่งนี้ ด้วยคำพูดที่เต็มเปี่ยมไปด้วยรัก และถ้าเธอมีความจริงแท้และซื่อตรงในใจ พวกเขาจะเปิดหัวใจออกและบอกกับเธอ

และเมื่อเราฝึกที่จะมอบความเมตตาด้วยการฟังอย่างลึกซึ้ง ในท่ามกลางกระบวนการแห่งการฟังนั้น เราจะได้เรียนรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับมุมมองของเราเองและมุมมองของพวกเขาด้วย

และนี่คือหนทางที่ดีที่สุด เป็นหนทางเดียวที่จะหยุดยั้งความขัดแย้งทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นสถานการณ์ที่ยากลำบากระหว่างตัวเธอกับครอบครัว ลูกกับพ่อ เจ้านายกับลูกน้อง แม้กระทั่งสงครามและการก่อการร้าย หลักการเดียวกันนี้ ใช้ได้เหมือนกัน ไม่ว่ากับระดับความขัดแย้งรูปแบบใดก็ตาม…

จาก http://learninghubthailand.com/deep-listening.html