ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2016, 12:56:20 pm »



ใจหาย!อาจจะไม่มีดาไลลามะองค์ต่อไป

รู้สึกใจหายเมื่อได้ทราบข่าวจากเฟซบุ๊กบีบีซีไทย - BBC Thai ที่ได้รายงานว่า องค์ดาไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีว่า ตนอาจจะเป็นผู้ดำรงตำแหน่งดาไลลามะองค์สุดท้าย และจะเป็นการดีกว่า ถ้าตำแหน่งดาไลลามะที่สืบทอดกันมานานหลายร้อยปีจะสิ้นสุดลงที่องค์ดาไลลามะที่ได้รับความนิยมชมชอบ

อย่างไรก็ตาม องค์ดาไลลามะกล่าวว่า แม้ตนอาจจะไม่ตั้งผู้สืบทอด เนื่องจากตำแหน่งดาไลลามะจะไม่มีบทบาททางการเมืองอีกต่อไป ทั้งยังมีผู้นำรัฐบาลทิเบตพลัดถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งแล้ว แต่สิ่งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์หลังจากที่ตนได้ละสังขารไปแล้ว และขึ้นกับความต้องการของชาวทิเบตด้วย

ก่อนหน้านี้ จีนได้แถลงย้ำหลายครั้งว่าจะตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งดาไลลามะ แต่ดาไลลามะองค์ปัจจุบันย้ำว่า สักวันหนึ่ง สถาบันดาไลลามะซึ่งเป็นเพียงตำแหน่งที่มนุษย์สร้างขึ้นจะต้องสิ้นสุดลง และว่า ไม่มีอะไรจะรับประกันได้ว่าดาไลลามะองค์ต่อไปจะไม่เป็นผู้ที่โง่เขลาและสร้างความน่าอับอายให้กับตนเอง

นอกจากนี้ องค์ดาไลลามะยังได้เรียกร้องให้ประชาคมนานาชาติทำเพื่อประชาธิปไตยในจีนให้มากขึ้น โดยให้ยอมรับความต้องการของจีนที่จะเข้าร่วมกระแสเศรษฐกิจโลก แต่ในขณะเดียวกัน โลกเสรีก็ต้องมีความรับผิดชอบทางจริยธรรมในการนำจีนมาสู่ความเป็นประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของจีนเองด้วย

หากองค์ดาไลลามะจะตั้งผู้สืบทอดตำแหน่งดาไลลามะแทน เข้าใจว่าคงจะเลือกจากผู้ดำรงตำแหน่ง กรรมาปะ (Karmapa) สำหรับตำแหน่งนี้พระครูปริยัติโพธิวิเทศหรือท่านคมสรณ์ พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย เจ้าอาวาสวัดไทยเชตวันมหาวิหารไว้ในบล็อกที่ OKnation เมื่อปี 2554 ความว่า กรรมาปะ (Karmapa) คือสังฆนายกแห่งพระพุทธศาสนามหายานนิกายคัจยู (Kagyu)หนึ่งในพุทธศาสนาทั้งสี่นิกายของทิเบต คือ Nyingma, Kagyu, Sakya และ Geluk เชื่อกันว่ากรรมาปาแต่ละองค์ที่ดำรงตำแหน่งสืบต่อจากองค์เดิมนั้น ก็คือกรรมาปาองค์ก่อนกลับชาติมาเกิด มาปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาสืบต่อไปจากที่ตนเองเคยทำไว้ในอดีตนั่นเอง และเป็นความเชื่อที่สืบเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบันนับเป็นองค์ที่ 17 แล้ว ปัจจุบันนั้นมีกรรมาปะ ที่ 17 อยู่ 2 องค์ ตามประวัติย่อ ๆ ว่า

องค์หนึ่งนั้นเกิดวันที่ 26 เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1985 ณ ชุมชนเร่ร่อนชื่อ Bakor ภาคตะวันออกของทิเบต การเกิดของกรรมาปะ องค์นี้ตรงกับข้อความที่ระบุไว้ในจดหมายพยากรณ์ที่องค์กรรมปาที่ 16 ได้ถ่ายทอดข้อมูลให้กับศิษย์เอกก่อนที่ท่านจะมรณภาพ คณะสงฆ์ทิเบตได้ทำการทอดสอบ พิจารณา และตรวจหาตามหลักความเชื่อของทิเบตแล้ว ในปี ค.ศ. 1992 องค์ดาไล ลามะ ก็ได้สถาปนาให้ท่านเป็นกรรมาปาองค์ที่ 17 ซึ่งได้รับการยอมรับจากรัฐบาลจีน โดยได้รับพระนามว่า ออเกียน ทรินเลย์ ดอร์จี (Ogyen Trinley Dorjee)ตามคำพยากรณ์ของกรรมาปาที่ 5 ได้กล่าวไว้กว่าหกร้อยปีที่แล้วว่า “หลังจากสิ้นกรรมาปาที่ 16 และก่อนที่จะค้นพบองค์กรรมปาที่ 17 นั้น จะเกิดปัญหาแก่ทิเบตนานาประการ” เพราะเหตุการณ์ยุ่งเหยิงขึ้นเมื่อคณะศิษย์ที่เชื่อว่ากรรมาปะต้องระลึกชาติได้เอง พวกเขาได้พบผู้ที่เชื่อว่าเป็นกรรมปาที่ 16 กลับชาติมาเกิด นามว่า ทรินเลย์ ธายี ดอร์จี (Trinlaey Dhayi Dorjee)

กรรมาปะองค์ที่สองนามว่า ทรินเลย์ ธายี ดอร์จีนี้ ได้บอกผู้คนว่าตนเองคือกรรมาปะที่ 16 กลับชาติมาเกิด และได้แสดงตความมหัศจรรร์ต่าง ๆ เช่น สามารถท่องพระไตรปิฏกได้ตั้งแต่อายุยังไม่ถึงสิบขวบและแสดงธรรมให้คนเข้าถึงธรรมได้ จนได้รับการแต่ตั้งให้เป็นกรรมาประที่ 17 โดยคณะสงฆ์ของทิเบตผู้ที่ทำหน้าที่ในการเลือกคัดสรรผู้ที่จะมาเป็นกรรมาปะนั่นเอง ท่านได้ออกเดินทางไปยังประเทศยุโรปและได้ศึกษาภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศษ เยอรมัน พร้อมการแสดงธรรม ยังสถานที่ต่าง ๆ ที่ท่านไป ทำให้มีชาวต่างชาติรู้จักอย่างแพร่หลาย ต่อมาท่านได้หลบหนีเข้าประเทศอินเดียเมื่อปี พ.ศ. 2542 การหลบหนีจากทิเบตครั้งนั้่นกลายเป็นข่าวโด่งดังทั่วโลกและทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนและอินเดียย่ำแย่ลงไปอีกจากที่ย่ำแย่อยู่แล้ว กรรมาปะ ทรินเลย์ ธายี ได้อาศัยอยู่ที่ธรรมศาลา อันเป็นเมืองที่ลี้ภัยของชาวทิเบตและเป็นที่ประทับของดาไลลามะองค์ปัจจุบันด้วย

โดยส่วนตัวแล้วได้มีโอกาสพบกรรมาปะ ธายีนี้หลายครั้งแต่ไม่มีโอกาสที่จักสนทนาธรรมเป็นเรื่องเป็นราว เพราะเมื่อกรรมาปะออกเดินทางไปที่ไหนก็จะเต็มไปด้วยเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ยากแก่การเข้าถึงตัว

แต่เท่าที่สังเกตุเห็นคือบุคคลิก การวางตัว ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืน นั่ง การเจรจา การวางสายตา ของกรรมาปะล้วนแต่เป็นการวางตนที่บอกได้เลยว่า ได้รับการฝึกฝนมาเพื่อเป็นผู้นำเป็นอย่างดี ย่อมเป็นที่ประทับใจยิ่งนักสำหรับผู้ศรัทธาเมื่อได้มาพบเห็น หากชาวทิเบตทราบว่าท่านจะไปปรากฎกายที่ไหนย่อมมีผู้ศรัทธาจำนวนมาไปเฝ้ารอชมบารมีของท่านเป็นจำนวนมากทุกครั้งไป

บอกได้เลยว่า แม้พวกเขาจะไม่มีแผ่นดินอยู่ เป็นเพียงผู้มาอาศัยแผ่นดินของอินเดียในฐานะผู้ลี้ภัยก็ตาม แต่ชาวทิเบตไม่ไร้ซึ่งศรัทธาและศาสนาที่ตนนับถือแน่นอน เพราะเมื่อจะถามถึงชาวทิเบตแล้วไม่ต้องถามว่าเขานับถือศาสนาอะไร เพราะทิเบตไม่มีศาสนาที่สองเรื่องศรัทธา หนึ่งเดียวคือพระพุทธศาสนาเท่านั้น โดยมีองค์กรรมาปะและองค์ดาไลลามะเป็นต้นบ่อแห่งศรัทธาและความเชื่อของพวกเขาที่มีต่อพระพุทธศาสนาจากอดีตถึงปัจจุบันและอนาคตตลอดกาลนั่นเอง
สำหรับกรรมาปะ ธายีนี้ถือได้ว่ามีบทบาทในวงการพระพุทธศาสนาพอสมควร โดยได้เห็นการเคลื่อนไหวจากเฟซบุ๊ก Karmapa เชื่อแน่ว่าจะเป็นผู้ขึ้นมาปกครองสงฆ์ทิเบตต่อไป

จาก คมชัดลึก http://www.goosiam.com/