ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2016, 03:02:45 pm »


ภาวนามนตรา เสริมพลังกลุ่ม ตามความเชื่อของชาวทิเบตในพุทธศาสนา นิกายมหายาน

  ทำอย่างไรจึงจะรวย? เราจะเจ็บไข้ได้ป่วยไหม? แล้วชีวิตจะประสบความสำเร็จอย่างที่คิดไว้หรือเปล่า? ลองนับดูว่าในหนึ่งวัน คุณคิดถึงเรื่องตัวเองกี่ครั้ง และมีสักกี่หนที่คุณคิดถึงเรื่องของคนอื่นบ้าง ถ้าคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกว่าครั้งสุดท้ายที่รู้สึกเห็นใจและอยากช่วยเหลือคนอื่นๆ คือเมื่อไหร่กัน วันนี้ M-Light มีวิธีการขัดเกลาจิตใจตามวิถีชาวทิเบตมาให้ลองปฏิบัติดู
       
       ชาวทิเบตและชาวไทยเป็นพุทธศาสนิกชนเหมือนกัน ต่างกันเพียงแค่วิถีปฏิบัติเท่านั้นเอง คือทิเบตนับถือนิกายมหายาน ส่วนประเทศไทยนับถือแบบเถรวาทเป็นหลัก รศ.ดร.กฤษดาวรรณ หงศ์ลดารมภ์ ประธานมูลนิธิพันดารา คือบุคคลที่เข้าใจความแตกต่างของทั้งสองรูปแบบเป็นอย่างดี และวันนี้ท่านมีวิถีปฏิบัติตามแบบชาวทิเบตมาแนะนำให้เราลองนำไปปรับใช้
       
       เมตตาคนอื่น ตนเองเป็นสุข
       สังคมในยุคปัจจุบัน แค่ให้เข้าวัดทำบุญยังหาเวลาแทบไม่ได้ เมื่อเราบอกว่าจะชักชวนให้ลองมาปฏิบัติธรรมตามแบบทิเบต หลายคนคงนึกปฏิเสธทันที เพราะรู้สึกเสียเวลาเกินไปที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งที่ความจริงแล้วแนวคิดแบบทิเบตไม่ต่างไปจากพุทธศาสนาในแบบที่เรารู้จักกันมาตั้งแต่ยังเด็ก และยังสามารถเริ่มต้นปฏิบัติได้ง่ายๆ เพียงแค่หัดยึดความสุขของตนเองเป็นรอง และรู้จักถือเอาความสุขของผู้อื่นมาก่อนเท่านั้นเอง
       
       “โดยหลักการแล้วพุทธศาสนาแบบทิเบตกับที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือกันอยู่ ไม่ได้ต่างอะไรกันมาก จะเน้นเรื่องไตรลักษณ์ การปฏิบัติศีล สมาธิ ปัญญาเหมือนๆ กัน เพียงแต่ทางทิเบตจะเน้นว่าการปฏิบัติธรรมต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย คือถือตัวเองเป็นรองและนึกถึงสัตว์ทั้งหลายมาเป็นอันดับหนึ่ง แต่ฝ่ายเถรวาทจะเน้นให้แต่ละคนปฏิบัติธรรมจนเข้าถึงการหลุดพ้น เน้นความสุขของผู้ปฏิบัติมาก่อน ดังนั้นการเริ่มต้นปฏิบัติตามวิถีของทิเบตง่ายๆ ก็คือให้ตั้งจิตแผ่เมตตา แผ่ความรักความกรุณาให้แก่ผู้อื่น” อาจารย์กฤษดาวรรณ ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา ศาสนา และวัฒนธรรมทิเบต อธิบาย
       
       การแผ่เมตตาให้แก่สรรพชีวิตอื่นๆ นอกจากจะช่วยให้สิ่งมีชีวิตบนโลกได้รับอานิสงส์แห่งผลบุญแล้ว ยังช่วยให้ผู้ปฏิบัติมีจิตใจที่เป็นสุขไปพร้อมกันด้วย เพราะคนส่วนใหญ่ที่เป็นทุกข์ในชีวิต มักคิดเวียนวนอยู่กับปัญหาของตนเอง การส่งจิตภาวนาให้แก่สัตว์อื่นจึงช่วยให้เราได้รับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น รู้จักละจากปัญหาของตนเอง ท้ายที่สุดจึงทำให้จิตใจเป็นสุข อย่างที่อาจารย์กฤษดาวรรณกล่าวไว้ว่า “เมื่อเราเอาความกรุณามาเป็นอุบาย ได้รับรู้ถึงชีวิตที่เป็นทุกข์กว่า ชี้ให้เห็นว่ายังมีปัญหาของผู้อื่นที่หนักหนากว่าเราอีกมาก ก็สามารถที่จะช่วยได้ เมื่อได้ช่วยผู้อื่น เราก็จะเห็นคุณค่าของตัวเอง ความทุกข์ทั้งหมดที่มีก็จะค่อยๆ หมดไป”
       
       “มนตรา” ช่วยชีวิต
       ทางทิเบตจะมีการสวดที่เรียกว่า “มนตรา” คือคาถาเพื่อทำความเคารพพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ซึ่งมีมากมายหลายคาถาตามความเชื่อที่ว่าพระพุทธเจ้ามีอยู่มากมายนับไม่ถ้วน สำหรับผู้ที่ต้องการปฏิบัติในระยะเริ่มต้น อาจารย์กฤษดาวรรณแนะนำให้เริ่มจากบูชา "พระแม่ตารา" หรือพระพุทธเจ้าในภาคที่เป็นผู้หญิง ไม่ว่าจะเกิดความทุกข์ใจจากเรื่องใด สามารถขจัดออกไปได้ด้วยการนึกถึงความรักของพระองค์
       
       “เมื่อเรานึกถึงความรักของแม่จะทำให้เรารู้สึกอบอุ่นและช่วยให้หายเศร้าได้ เพราะฉะนั้น ถ้าเรานึกถึงพระพุทธเจ้าในองค์ที่เป็นผู้หญิงก็สามารถช่วยให้เราพ้นทุกข์ได้เช่นกัน วิธีปฏิบัติคือให้นึกว่าพระองค์อยู่ที่หัวใจของเรา เป็นเหมือนแสงสว่างอยู่ที่กลางใจ แล้วเราสัมผัสถึงความรักของพระองค์ได้ เมื่อคิดได้อย่างนี้ก็จะทำให้หายเศร้า สำหรับคนที่เริ่มปฏิบัติอาจจะยังไม่ต้องสวดคาถาไปด้วยก็ได้ แค่นึกถึงก่อนก็พอ” ประธานมูลนิธิพันดารา มูลนิธิเพื่อการปฏิบัติธรรมตามวิถีชาวทิเบต แนะนำวิธีปฏิบัติ ก่อนขยายความให้ฟังต่อ
       
       “เคยมีคนมาหาอาจารย์เหมือนกัน บอกว่านอนไม่หลับ ไม่รู้จะทำยังไง เราก็แนะนำให้เขาสวดมนตรา นึกถึงพระแม่ตารา คิดว่าพระองค์อยู่กับเราก่อนที่เขาจะหลับ ให้นึกถึงว่าพระองค์มีขนาดเล็ก เล็กเท่าขนาดเมล็ดข้าว แล้วเราก็หลับไปพร้อมกับความรู้สึกนั้น หลายคนที่ลองทำดูบอกว่าได้ผลนะคะ เขานอนหลับได้จริงๆ ก็ถือเป็นอุบายอย่างหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาได้ค่ะ”
       
       “หรืออย่างผู้ป่วยท่านหนึ่งเป็นมะเร็งขั้นสุดท้ายแล้วเขาเพิ่งทราบ ไม่เหลือวิธีรักษาอย่างอื่นแล้วนอกจากต้องทำคีโม เขาก็มาปรึกษาเราว่าเขาเครียดมากทุกครั้งที่ทำคีโม เราก็บอกเขาไปว่าเขาสามารถจะนึกถึงพระแม่ตาราได้ในขณะที่คุณหมอกำลังให้การรักษาอยู่ได้ ให้ท่านช่วยขจัดความกลัว ให้นึกว่าเรามีเพื่อนอยู่ใกล้ๆ เราไม่ได้อยู่คนเดียว เขาก็ลองปฏิบัติดูแล้วเขาก็บอกว่ารู้สึกดีขึ้นนะคะ จากที่เคยเครียดเคยกังวลว่าจะเจ็บอย่างเดียว” อาจารย์กฤษดาวรรณยกตัวอย่างให้ฟัง
       
       ทุกข์หมดไปด้วยท่ากราบแบบทิเบต
       มนุษย์เงินเดือนที่ต้องกรำงานหนักทุกวัน อาจารย์แนะนำให้ลองหันมาทำสมาธิตามแบบทิเบตดู โดยเริ่มต้นจากการภาวนามนตรา ปลดเปลื้องความทุกข์ด้วยการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ และทำใจให้อยู่กับปัจจุบัน รับรองว่าจิตใจจะเป็นสุขอย่างแน่นอน
       
       “คนที่เครียดนี่ ถ้าเราให้เขานั่งหลับตาทำสมาธิ ความเครียดจะไม่หมดไป แต่จะยิ่งพอกพูนฟุ้งซ่านมากขึ้น เพราะฉะนั้นต้องให้เขาได้ทำกิจกรรม ได้ร่วมภาวนามนตรากับผู้อื่น จะทำให้เขารับรู้ได้ถึงพลังกลุ่ม เวลาเราอยู่ด้วยกัน เราสวดเป็นเพลง เสียงเพลงจะช่วยเยียวยาจิตใจ ทำให้เขาลืมความทุกข์ได้ ให้เขาได้ลองกราบพระแบบอัษฎางคประดิษฐ์ คือให้ร่างกายทั้ง 8 ส่วนได้สัมผัสพื้น มือทั้ง 2 หัวเข่าทั้ง 2 เท้าทั้ง 2 หน้าผากแล้วก็ลำตัวจรดพื้นดินเพื่อเป็นการทำสมาธิ เมื่อทุกส่วนของร่างกายสัมผัสกับพื้นดิน เราจะได้สลายบาปกรรมไปด้วย ชาวทิเบตเชื่อกันว่ายิ่งกราบเยอะ อกุศลกรรมต่างๆ ที่ได้เคยทำก็จะหมดไป และช่วยให้ใจมีสมาธิค่ะ”
       
       “ระหว่างที่ปฏิบัติจะช่วยให้ได้อยู่กับปัจจุบันขณะ จากก่อนหน้านี้ที่บางคนอาจคิดพะวงเรื่องงานตลอดเวลา เป็นทุกข์จากการคิดวางแผนและกังวลต่อการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติจะช่วยให้เราปล่อยวาง ทำใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ รู้จักปล่อยวางจากอนาคตและอดีต อยู่กับปัจจุบัน และถ้ายิ่งได้เดินทางมาปฏิบัติท่ามกลางธรรมชาติและป่าเขา การอยู่ที่โล่งๆ ที่กว้างๆ ออกมาจากคอนโด หรือเมืองแคบๆ บ้าง จะช่วยให้จิตใจได้เปิดกว้างมากขึ้น ใจกว้างมากขึ้น มองเห็นผู้อื่นมากขึ้น รู้จักเผื่อแผ่แก่คนอื่น ท้ายที่สุดจิตใจของเราก็จะเป็นสุข”
                                                         
       รายงานโดย ทีมข่าว M-Lite / ASTV สุดสัปดาห์


รศ.ดร.กฤษดาวรรณ ประธานมูลนิธิพันดารา


อาจารย์กฤษดาวรรณ ขณะแสวงบุญที่เนปาล




กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ ยิ่งกราบเยอะยิ่งดี


ออกนอกเมือง ตั้งสมาธิท่ามกลางธรรมชาติ


ภาวนามนตราด้วยก้อนหิน ความเชื่อแบบทิเบต


ปัจจุบันมูลนิธิพันดารา นำโยคะมาประยุกต์เข้ากับหลักธรรมะด้วย

จาก http://astv.mobi/Ai6y2sO