ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 02:24:45 am »

วัดนันนารี เมืองทิมพู สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน











จุดชมวิวโดชูล่า (DOCHULA) สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน



สถูปโดชูล่า (DOCHULA)









• วันหยุดและเทศกาล
• วันหยุดที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ได้แก่วันเฉลิมพระชนมพรรษา และวันฉัตรมงคล
• วันชาติ ตรงกับวันที่ 17 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่กษัตริย์องค์แรกของราชวงศ์วังชุกขึ้นครองราชย์
• วันขึ้นปีใหม่ ขึ้นกับปฏิทินทางจันทรคติและแตกต่างไปในแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปในงานจะมีการแข่งขันยิงธนู ไหว้พระ บูชาเทพเจ้า และรับประทานอาหารร่วมกันภายในครอบครัว
• ทรัพยากรธรรมชาติ
• ในภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 แห่ง และเขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
• สกุลเงินของภูฏาน คือ งุลตรัม (BTN) ซึ่งผูกค่าเงินเป็นอัตราคงที่กับรูปีอินเดีย ซึ่งประมาณ 40 รูปี ต่อ 1 USD และเงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย
• เศรษฐกิจของภูฏานแม้ว่าภูฏานจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่ก็มีอัตราการเติบโตที่สูงมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ในปี 2007 ภูฏานเป็นประเทศที่มีอัตราเติบโตสูงเป็นอันดับสองของโลกโดยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงถึงร้อยละ 22.4 ซึ่งเป็นผลจากการเริ่มใช้เขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าทาลา
• รายได้หลักของประเทศ มากกว่าร้อยละ 33 ของจีดีพี มาจากการเกษตร และประชากรกว่าร้อยละ 70 มีวิถีชีวิตขึ้นอยู่กับผลิตผลทางการเกษตรด้วย สินค้าส่งออกสำคัญคือไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ ซึ่งส่งออกไปยังอินเดีย
• ประเทศภูฏาน เป็นประเทศที่ประกาศว่า จะไม่สนใจ GDP (GDP - Gross Domestic Product หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ) แต่จะสนใจ GDH แทน (GDH - Gross Domestic Happiness หรือ ความสุขรวมภายในประเทศ)

ปูนาคาซอง เมืองปูนาคา สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน



ปูนาคาซอง









วังดีซอง สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน



ป้อมวังดี เมืองวังดี









อีกมากมาย http://www.oceansmile.com/IndexBhutan.htm
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 02:23:51 am »

พาโรซอง สถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน









• ชนชาติประเทศภูฏาน
• ภูฏาน ประกอบด้วยชนชาติ 3 เชื้อชาติใหญ่ คือ
1.ชาชฮอป คนพื้นเมืองเดิม ส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออก
2.งาลอป ชนเชื้อสายทิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
3.ลาร์ทเชมส์ ชนเชื้อสายเนปาล อยู่ทางใต้ เป็นพวกที่อพยพมาเมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ผ่านมา
• นอกจากนี้ยังมีชนชาติอื่นๆ อีกหลายชนเผ่า มีภาษาแยกย่อยออกไปอีกราว 19 ภาษา
• การแบ่งเขตการปกครองประเทศภูฏาน
• ประเทศภูฏานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขตบริหาร และแต่ละเขตบริหารก็แบ่งย่อยลงไปอีกเป็นเขต รวมทั้งหมด 20 เขต
1.เขตบุมทัง 2.เขตชูคา 3.เขตดากานา 4.เขตกาซา
5.เขตฮา 6.เขตลฮุนต์ชิ 7.เขตมองการ์ 8.เขตพาโร
9.เขตเปมากัตเซล 10.เขตพูนาคา 11.เขตซัมดรุปจงคาร์ 12.เขตซัมชิ
13.เขตซาร์ปัง 14.เขตทิมพู 15.เขตตาชิกัง 16.เขตตาชิยังต์ซี
17.เขตตงซา 18.เขตชิรัง 19.เขตวังดีโพดรัง 20.เขตเชมกัง

วัดทักซัง วัดศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของประเทศภูฏาน



ธงมนตราระหว่างทางวัดทักซัง





• ภาษาประจำถิ่นและภาษาสื่อสารของประเทศภูฎาน
• ภูฏานมีภาษาราชการหรือภาษาประจำชาติเรียกว่า ภาษาซงคา หรือ ฌงฆะ หรือ ซองคา (Dzongkha) ก่อนหน้านั้นเป็นภาษาถิ่นใช้กันในแถบตะวันตก อักขรวิธีและการออกเสียงคล้ายภาษาทิเบต มีแบบอย่างมาจากเทวนาครีของสันสกฤต
• ซงคา คล้ายภาษาภาคกลางของทิเบต ซง หรือ ซอง แปลว่า ป้อมปราการที่อยู่ของเจ้าเมือง ซองคา หมายถึง ชาวป้อมปราการ เป็นภาษาที่ชาวชาชฮอปใช้กันมาก เมืองบุมทัง ภาคกลางของประเทศพูดคล้ายทิเบตและยังแยกย่อยไปอีกหลายภาษา ส่วนชาวเนปาลีอพยพอยู่ในภาคใต้พูดภาษาตระกูลอินโดอารยัน
• ชาวภูฏานพูดภาษาอังกฤตได้ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กมาตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว แม้ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใดมาก่อนเลย ทั้งนี้เพราะภูฏานมีโรงเรียนที่สอนภาษาอังกฤตเป็นภาคบังคับ นักท่องเที่ยวจึงสามารถสื่อสารกับชาวภูฏานด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี นับว่าเป็นวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศที่ต้องการให้พลเมืองของตนไปศึกษาหาความรู้ทางตะวันตกต่อไปในภายหน้า หรือรู้เท่าทันโลกภายนอกให้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อใช้สื่อสารกับอาคันตุกะจากต่างแดนและการแสวงหาวิทยาการของโลก รวมถึงสื่อสารกับชาวเนปาลและอินเดียได้ง่ายขึ้น
• อย่างไรก็ตามคนภาคตะวันออกจะพูดภาษา ชาชฮอป (Sharchop) หรือ ฮาชังลา ทางตอนใต้เป็นพลเมืองเชื้อสายเนปาลที่อพยพเข้ามาเข้ามาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จะพูดเป็นภาษาเนปาลี หรือ อินโดอารยัน ส่วนตอนกลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาท้องถิ่น ด้วยเหตุนี้ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางในภูฏานที่ใช้ได้เกือบทุกภาค

ทาชิโชซอง เมืองทิมพ ูสถานที่ท่องเที่ยวประเทศภูฏาน



วัดชันกังคา (Changangkha)







เมมโมเรียลโชเตน ภูฏาน









• สัญลักษณ์ประจำชาติภูฏาน
• เพลงชาติ : เพลงชาติของภูฏานแต่งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ.1966 เนื้อความท่อนแรกเพลงชาติของภูฏานแปลความได้ว่า "ในแผ่นดินมังกร แดนสนไซเปรสแดงทางทิศใต้ ขอพระมหากษัตริย์ผู้ทรงทำนุบำรุงแผ่นดินและพระศาสนา จงทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเทอญ"
• ธงชาติภูฏาน ท่านมายุม โชยิง วังโม โดร์จี ได้คิดประดิษฐ์ธงชาติภูฏานขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1947 และในปี ค.ศ. 1956 ก็ได้ปรับเปลี่ยนธงใหม่จนมีรูปลักษณ์ดังเช่นในปัจจุบัน
• สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
• สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
• มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
• ตราแผ่นดินภูฏาน ตราแผ่นดินของภูฏานเป็นรูปวงกลม ทำเป็นรูปดอกบัวรองรับวัชระและดวงแก้ว สองข้างขนาบด้วยมังกรสองตัว วัชระเป็นสัญลักษณ์แทนสมดุลทางอำนาจระหว่างศาสนจักรและอาณาจักร ซึ่งอุบัติขึ้นได้เพราะมีพุทธศาสนาสายวัชรยานคอยค้ำจุน ดอกบัวเป็นตัวแทนของความบริสุทธิ์ดีงาม ดวงแก้ว หมายถึงพระราชอำนาจอันเปี่ยมล้นของพระมหากษัตริย์ มังกรคู่ (ตัวผู้กับตัวเมีย) เป็นที่มาของชื่อดรุ๊กยุล (แผ่นดินมังกรสายฟ้า) ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาซงคา
• สัตว์ประจำชาติภูฏาน : ทาคิน (Burdorcas taxicolor) เป็นสัตว์ที่หายาก เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว และอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์ เป็นสัตว์ตีนกีบใหญ่และแข็งแรง เหมาะกับการเดินลุยหิมะได้อย่างสะดวกสบาย มีลักษณะคล้ายวัวผสมแพะตัวใหญ่ มีเขา ขนตามตัวมีสีดำ มีน้ำหนักตัวราว 250 กิโลกรัม มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในป่าโปร่ง บนความสูงกว่า 4,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป เป็นสัตว์กินหญ้า เคลื่อนไหวค่อนข้างช้า รอ่นเร่หากินอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต ขึ้นไป พบในภูฏาน ทิเบต และทางตะวันออกของจีน ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร
• ทาคิน เป็นสัตว์ในตำนานประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนามหายานในภูฏาน มีเรื่องเล่าว่า ลามะจากทิเบตองค์หนึ่ง ชื่อว่า ดรุกปา คุนจี มีฉายาว่า "เทพเจ้าผู้บ้าคลั่ง" เข้ามาเผยแพร่พุทธศาสนาตันตรยานในภูฏานในศตวรรษที่ 15 ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารย์ จนชาวภูฏานถึงกับตกตะลึงมาแล้ว ต่อมา พระลามะองค์นี้ได้สั่งให้ชาวภูฏานนำวัวตัวหนึ่งกับแพะตัวหนึ่งมาถวายเป็ฯอาหารกลางวัน ลามะท่านนี้กินวัวกับแพะจนเหลือแต่กระดูก แล้วก็หิ้วหัวแพะไปต่อกับโครงกระดูกวัว จากนั้นก็ดีดนิ้วเปาะหนึ่ง พริบตานั้น หัวแพะกับโครงกระดูกวัวนั้น กลายเป็นสัตว์มีนามว่า "ทาคิน" จนกลายเป็นที่เลื่องลือในยุคนั้น และจึงกลายเป็นสัตว์ประจำชาติภูฏานมาจนถึงทุกวันนี้
• ต้นไม้ประจำชาติภูฏาน : ต้นสนไซปรัส นิยมปลูกอยู่ตามวัดต่างๆ จำนวนมาก เพราะต้นสนไซปรัส เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นตรงดูสง่างาม เข้มแข็งแต่อ่อนน้อม และเป็นต้นไม้ที่เจริญงอกงามได้ทุกสภาพอากาศ ชาวภูฏานได้ชื่อว่าซื่อตรงและแข็งแกร่งเฉกเช่นเดียวกับสนไซปรัส ที่ยืนหยัดและงอกงามได้แม้ในดินที่หาความอุดมสมบูรณ์ไม่ได้เลย
• ดอกไม้ประจำชาติภูฏาน : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า เป็นดอกไม้ป่าที่พบตามเขตภูเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป ออกดอกปีละครั้งตอนต้นฤดูมรสุม (ระหว่างปลายเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม) เมื่อออกดอกให้เมล็ดแล้วต้นจะตายไป เมล็ดดอกป๊อปปี้สีฟ้ามีน้ำมันมาก ถิ่นที่พบอยู่ในบริเวณทิศตะวันออกของภูฏานไปจนทิศตะวันตกของภูฏาน
• นกประจำชาติภูฏาน : นกราเวน (Corvus corax) ซึ่งจัดอยู่ในตระกูลอีกา มีขนสีดำขลับ และใช้เป็นเครื่องประดับพระมาลาของพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้นกราเวนยังเป็นตัวแทนของเทพกมโป จาโรดนเซ้น (ท้าวมหากาฬภาคมีเศียรเป็นอีกา) ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพผู้ปกปักรักษาภูฏานที่ทรงเห็นความสำคัญอย่างยิ่งอีกด้วย
• อาหารประจำชาติภูฏาน : อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารเรียบง่าย อาหารหลักเป็นทั้งข้าว บะหมี่ ข้าวโพด ยังนิยมเคี้ยวหมากอยู่ อาหารส่วนใหญ่ประกอบด้วยพริก ผักและมันหมู อาหารประจำชาติคือ emadate ซึ่งประกอบด้วยพริกสดกับซอสเนยต้มกับหัวไชเท้า มันหมูและหนังหมู ชาวภูฏานนิยมอาหารรสจัด เครื่องดื่มมักเป็นชาใส่นมหรือน้ำตาล ในฤดูหนาวนิยมดื่มเหล้าหมักที่ผสมข้าวและไข่ ไม่นิยมสูบบุหรี่ นอกจากนั้นมีอาหารจากทิเบต เข่นซาลาเปาไส้เนื้อ ชาใส่เนยและเกลือ และอาหารแบบเนปาลในภาคใต้ที่กินข้าวเป็นหลัก
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2016, 02:22:47 am »

คูซูซังโป kousouzangpo : สวัสดี ภูฎาน ดินแดนมังกรสายฟ้า



ท้องทุ่งประเทศภูฏาน



จุดชมวิวเมืองปูนาคา



สามเณรภูฏาน



ปูนาคาซอง



กีฬายิงธนู (Archery)



ประเทศภูฏาน



วัดชิมิ (ชิมิลาคัง) ปูนาคา



เงินประเทศภูฏาน




<a href="https://www.youtube.com/v/fLgLp_wcqiA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/fLgLp_wcqiA</a>

• ประเทศภูฏาน (Bhutan)
• ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ที่มีขนาดเล็ก และมีภูเขาเป็นจำนวนมาก
• เมืองหลวง : ทิมพู (Thimpu) เป็นเมืองหลวงของภูฏานในปัจจุบัน (อยู่ห่างจากเมืองปาโร ศูนย์กลางสนามบินเพียงแห่งเดียวของภูฏาน ประมาณ 65 กิโลเมตร) ทิมพูอาจจะเป็นเมืองหลวงหนึ่งเดียวในโลกที่ไม่มีสัญญาณไฟแดง เพราะเมืองนี้มีถนนเล็กๆเพียงไม่กี่สายเท่านั้น
• สถานที่ตั้งประเทศภูฎาน : ตั้งอยู่ในเทือกเขาหิมาลัยระหว่างประเทศอินเดียกับจีน ภูฏาน ดินแดนที่หลายๆคน ยกให้เป็นดัง"สวรรค์บนพื้นพิภพ"
• ที่มาของชื่อ Bhutan
• ตามตำนานเล่าว่า ขณะที่ Tsangpa Gyare Yeshe Diorje (ค.ศ.1161-1211) กำลังประกอบพิธีสถาปนาวัดลามะแห่งหนึ่งในทิเบตกลาง ท่านได้ยินเสียงร้องซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเสียงของมังกร จึงได้ให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า "Druk"(มังกร) และให้นามสำนักที่ท่านตั้งขึ้นว่า "Drukpa" ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศภูฎานคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon)
• นอกจากนี้ภูฎานยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏานเสียงสายฟ้าฟาดถือเป็นเสียงของมังกร ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"
• อย่างไรก็ตาม นักภาษาศาสตร์บางท่านกล่าวว่า ภูฎานอาจมาจากรากศัพท์ภาษาสันสกฤตว่า โภ-ฏาน หมายถึง ปลายสุดของทิเบต หรือมาจากคำว่า ภู-อัฏฏาน แปลว่า ดินแดนบนที่สูง และบ้างก็อ้างว่านักสำรวจชาวตะวันตกยุคโบราณเรียกดินแดนแถบนี้ว่า โภ-ฏัน หมายถึง ดินแดนคนโภเทียส หรือ คนที่มาจากภูสูงทิเบต ชื่อเหล่านี้อาจจะถูกกัดกร่อนควบกล้ำมาเป็น ภูฏาน หรือ บุทัน ในที่สุด
• ภูฏานมีเนื้อที่ประมาณ 46,500 ตารางกิโลเมตร หรือเท่ากับพื้นที่ของ 6 จังหวัดเหนือสุดของประเทศไทย คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน ลำปาง และแพร่ รวมกัน


ระบำภูฏาน ประเทศภูฏาน












แผนที่ประเทศภูฏาน



งานระบำหน้ากากเมืองพาโร ประเทศภูฏาน











• ภูมิอากาศประเทศภูฏาน
• เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 15 - 25 องศาเซลเซียส กลางคืน 5 -10 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
• ฤดูใบไม้ผลิ จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม ช่วงนี้อากาศจะอบอุ่นและอาจมีฝนประปราย
• ฤดูร้อน จะอยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม ช่วงนี้จะมีพายุฝน ตามเทือกเขาจะเขียวชอุ่ม
• ฤดูใบไม้ร่วง จะอยู่ในช่วงเดือนกันยายน - พฤศจิกายน ช่วงนี้อากาศจะเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส เหมาะแก่การเดินเขา
• ฤดูหนาว จะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศจัดเย็นจัดตอนกลางคืนและรุ่งเช้า และจะมีหมอกหนา บางครั้งโดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม อาจมีหิมะตกบ้าง
• ศาสนาประเทศภูฏาน
• ประชาชนชาวภูฏานนับถือ ศาสนาพุทธนิกายมหายาน (ตันตรยาน หรือบ้างก็เรียกว่า วัชรยาน) 75% ศาสนาฮินดู 24% ศาสนาอิสลาม 0.7% และ ศาสนาคริสต์ 0.3% มีจำนวนพระสงฆ์ราว 6,000 องค์ ซึ่งรัฐถวายความอุปการะจัดหาสิ่งของจำเป็นพื้นฐานหรือปัจจัย 4 แต่ท่านก็สามารถที่จะหารายได้พิเศษจากการทำพิธีทางศาสนา ทั้งภายในวัดหรือไปตามกิจนิมนต์ที่บ้าน ท่านมีความเคร่งครัดไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มสุรา หากทว่าฉันมื้อเย็นได้ ซึ่งต่างจากพระในประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสงฆ์อีกราว 3,000 องค์ ที่ไม่ได้อยู่ในบัญชีของรัฐ แต่มีเอกชนเป็นอุปัฏฐาก
• วัฒนธรรมประเทศภูฏาน
• การแข่งขันธนู เป็นการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของชาวภูฏานภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
• เครื่องแต่งกายประจำชาติ พระมหากษัตริย์จะผ้าผืนใหญ่พันองค์ ซึ่งผ้าพันกายนี้เป็นธรรมเนียมของบุรุษภูฏาน เพื่อแสดงถึงตำแหน่งฐานะ เช่นว่า ผ้าสีขาวมีขอบจะเป็นของสามัญชน ผู้พิพากษาจะพันด้วยผ้าสีเขียว สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ทรงใช้สีส้มเหลือง เช่นเดียวกันกับพระสังฆราชาแห่งรัฐ ภาษาประจำชาติ คือภาษาฌงฆะ ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชาย เรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิง เรียกว่า ฆีระ (Khira)
• ภาษาประจำชาติ คือ ภาษาซองคา หรือ ฌงฆะ (Dzongkha) ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป
• วันชาติ : 17 ธันวาคม (พ.ศ. 2450 หรือ ค.ศ. 1907) ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสถาปนา สมเด็จพระราชาธิบดี Ugyen Wangchuck ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์แรกของภูฏาน ที่ป้อมปูนาคา