ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 04:42:51 am »



จากหนังสือเรื่อง “การรับรู้ทางธรรมสามระดับ” ของเตชุง ริมโปเช:

__

พวกเรามีโชคดีเป็นอันมากที่ได้มีโอกาสรับฟังคำสอนอันนำไปสู่การหลุดพ้น เราไม่ควรหลอกตัวเองเกี่ยวกับสถานะในปัจจุบันของเรา แม้ว่าเราจะได้เกิดมาในเวลาและสถานที่ที่มีคำสอนอยู่ เรามีความสามารถเข้าใจคำสอนนั้น มีโอกาสได้พบพระอาจารย์ที่เต็มใจสอนเรา และมีเวลาพอที่จะปฏิบัติ แต่หากเราถือเอาโอกาสอันดียิ่งเหล่านี้ว่าเป็นของเราอยู่ตั้งแต่ต้นโดยไม่คิดว่าโอกาสเหล่านี้มีค่าและหาได้ยากยิ่งเพียงใด และยิ่งหากเราละเลยไม่ใส่ใจต่อการปฏิบัติ เราก็เรียกได้ว่ากำลังหลอกตัวเอง ไม่ว่าโอกาสปัจจุบันจะดีเพียงใด แต่หากเราไม่ใช้ประโยชน์ก็ไม่มีความหมายอะไร

สมเด็จดาไลลามะเคยตรัสไว้ว่า “การรับฟังพระธรรมแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่พอ เราต้องลงมือปฏิบัติเองด้วย” หากเราหยุดคิดเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของเรา ว่าไม่มั่นคงเพียงใด เราก็จะมองเห็นความโง่เขลาของการเรียนรู้แต่เพียงทฤษฎีและปฏิบัติเพียงเล็กน้อยเท่านั้น นี่เป็นความผิดพลาดที่ทำกันมาก และเป็นความผิดพลาดอันใหญ่หลวง หากเราปรารถนาจะเป็นมากกว่าเพียงชาวพุทธแต่ในนาม เราต้องเพียรฝึกฝนจิตด้วยความวิริยะอุตสาหะ

เมื่อเราปฏิบัติอย่างจริงจังบนเส้นทางสู่การตรัสรู้ เราก็น่าจะพบกับกระแสประสบการณ์สามอย่าง อย่างแรกได้แก่ว่าเราควรจะมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกับความทุกข์ของผู้อื่น รวมทั้งกับเหตุแห่งความทุกข์ ความใหญ่หลวงของความทุกข์ และความไม่มีวันจบสิ้นของความทุกข์นั้น เมื่อคิดได้เช่นนี้ก็จะเกิดความโศกเศร้าสงสารผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากเช่นนั้นและจะต้องทนทุกข์ต่อไปอีกในอนาคต จากความโศกเศร้านี้ที่มีแก่สรรพสัตว์และแก่โลก ก็จะเกิดความรู้สึกละวางจากโลก อันเป็นความเต็มใจที่จะสลัดการยึดมั่นถือมั่นสิ่งต่างๆที่ไม่สำคัญทิ้งไป และหันเหจิตให้เข้าหาสิ่งที่มีคุณค่าอย่างแท้จริง

อย่างที่สอง เมื่อเรามีความรู้สึกที่จะละวางจากสังสารวัฏแล้ว เราก็จะเกิดแรงปณิธานที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อสรรพสัตว์ขึ้นมาในจิตของเราโดยธรรมชาติ เมื่อเราปฏิบัติสมาธิกรรมฐาน หรือเมื่อเราปฏิบัติกรรมอันเป็นกุศลอื่นๆหรือปฏิบัติกิจทางพระศาสนา (เช่นช่วยเหลือสรรพสัตว์อย่างถูกต้อง หรือปฏิบัติเพื่อให้สามารถช่วยเหลือสัตว์เหล่านั้นได้) เราก็จะเกิดโพธิจิตขึ้นในใจ อันได้แก่ปณิธานที่จะให้ได้มาซึ่งประโยชน์อันสูงสุดแก่สรรพสัตว์ทั้งมวล

อย่างที่สาม เมื่อเราเกิดแรงปณิธานที่จะทำงานเพื่อประโยชน์ของสัตว์โลกแล้ว ก็จะเกิดสัมมาทิฐิเกี่ยวกับธรรมชาติที่แท้จริงของสิ่งต่างๆขึ้นมาเองจากความกรุณาอันนี้ เราเกิดความเข้าใจพระธรรมอย่างชัดเจน ทุกสิ่งทุกอย่างมีความหมาย เป็นที่เข้าใจได้ ไม่เพียงแต่ในทฤษฎีเท่านั้น แต่จากมุมมองจากภายในและเป็นมุมมองในเชิงปฏิบัติด้วย เราเข้าใจธรรมชาติของจิต จุดหมายในชีวิตของสัตว์โลกทั้งมวล และวิธีการที่ดีที่สุดที่จะยังประโยชน์ในแก่สัตว์โลกนั้นๆ นี่เรียกว่าการเกิดขึ้นของสัมมาทิฐิหรือความเห็นที่ถูกต้อง

ผู้ปฏิบัติธรรมมหายานที่แท้จริงทุกคนจะต้องผ่านประสบการณ์ทั้งสามนี้ อันได้แก่ (1) การละวางจากสังสารวัฏ (2) ปณิธานที่จะทำงานเพื่อยังประโยชน์อันสูงสุดให้แก่สรรพสัตว์ และ (3) สัมมาทิฐิ หากเราสงสัยว่าเรากำลังก้าวหน้าไปในการปฏิบัติของเราหรือไม่ เราก็เพียงแต่ถามว่าเรามองเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งในสามอย่างนี้หรือไม่ สามอย่างนี้มีบทบาทต่อกระแสความคิด กระแสจิตใจของเราอย่างไรบ้างหรือไม่? หากเราสามารถมองเห็นการพัฒนาของประสบการณ์สามอย่างนี้ในจิตใจ ก็จะเป็นสัญญาณบอกว่าเรากำลังก้าวหน้ามาถูกทางแล้ว

จาก https://soraj.wordpress.com