ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 05:07:19 am »



<a href="https://www.youtube.com/v/oD4vuKwYY7Y" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/oD4vuKwYY7Y</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/H939t7xCxbQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/H939t7xCxbQ</a>

การปฏิบัติสำคัญอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนามหายาน ได้แก่การปฏิบัติ “การแลกเปลี่ยนตนเองกับผู้อื่น” หรือกับสัตว์โลกอื่นๆ ซึ่งเรียกในภาษาทิเบตว่า “ตงเล็น” (tong len) เราได้เคยพูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปบ้างแล้วในโพสก่อนหน้า หลักการก็คือว่า เรารับเอาความทุกข์ของสัตว์โลกมาไว้ที่ตัวเรา แล้วแผ่ความสุขกับบุญกุศลของราทั้งหมดไปให้แก่สัตว์โลก

ในการสนทนาธรรมเมื่อวันเสาร์ที่ 30 ที่ผ่านมา มีผู้ตั้งคำถามขึ้นมาว่า “ถ้าเราจะเอาความสุขของเราไปให้สัตว์อื่น แล้วเรามีความสุขนั้นจริงๆหรือเปล่า?” คำถามนี้เป็นคำถามดีมากๆ และช่วยให้เรากระจ่างแจ้งมากขึ้นเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมอันสำคัญยิ่งนี้

หัวใจของการปฏิบัติ “ความเสมอเหมือนของตนเองกับสัตว์โลกอื่น” กับ “การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ” ก็คือว่า เรามุ่งภาวนาให้เกิดโพธิจิตขึ้นในจิตใจ โพธิจิตได้แก่จิตที่มุ่งมั่นปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะบรรลุธรรมเป็นพระพุทธเจ้า เพื่อประโยชน์สูงสุดของสรรพสัตว์ทั้งปวง เหตุที่เราตั้งจิตเช่นนี้ก็เพราะว่า มีแต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถช่วยเหลือสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์จากสังสารวัฏได้ ด้วยการจำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ตามแต่จริตของสัตว์นั้นๆ และการทอดทิ้งสรรพสัตว์เอาตัวรอดแต่ผู้เดียวไม่ใช่เป้าหมายของการปฏิบัติธรรมที่สูงสุด แนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เกิดโพธิจิตขึ้นมาในจิตใจอย่างแท้จริง ไม่เสแสร้ง ก็คือการปฏิบัติเกี่ยวกับความเสมอเหมือนของตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ และการแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆนี้เอง

ในที่นี้ผมจะพูดเฉพาะเรื่องการแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ หัวใจของการปฏิบัตินี้อยู่ที่ว่า ในระหว่างที่เราทำสมาธิ เราตั้งจิตมั่นว่าจะรับเอาความทุกข์ของสัตว์โลกทั้งหมดมาไว้ที่ตัวเรา และแผ่ความสุข แผ่บุญบารมี บุญกุศลของเราทั้งหมดให้แก่สัตว์โลก เราทำเช่นนี้ก็เพราะเราปรารถนาที่จะให้สัตว์โลกทั้งหลายมีความสุขและพ้นจากทุกข์ และที่สำคัญก็คือเป็นการชำระล้างกำจัดความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนหรืออัตตาของเราเองด้วย

ทีนี้กลับมาที่คำถาม เราตั้งใจจะให้สัตว์โลกประสบกับความสุขสูงสุดเช่นเดียวกับเรา คือเราแผ่กระจายความสุขออกไปจากตัวเรา เหมือนกับเราเปล่งแสงแห่งความสุขแผ่ซ่านไปยังสรรพสัตว์ ที่เมื่อสัตว์ใดได้รับแสงนี้แล้ว ก็จะมีความสุขอย่างสูงสุด แต่คำถามก็คือว่า เรามีความสุขนั้นหรือเปล่า?

คำตอบก็คือว่า มีแน่นอน เพราะในประการแรกจิตใจของเราเป็นสิ่งแปลกประหลาดยิ่ง พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับจิตใจ “ใจเป็นหัวหน้า ทุกอย่างสำเร็จด้วยใจ” ดังที่กล่าวไว้ในพระธรรมบท ดังนั้นเมื่อเราตั้งจิตอย่างจริงใจให้สรรพสัตว์ทั้งหลายมีความสุข สรรพสัตว์ก็จะมีความสุขจริงๆ



ประการที่สอง ในขณะที่เรากำลังปฏิบัติอยู่นั้น เราไม่ได้มองโลกจากมุมมองส่วนตัวของเราเอง นี่เป็นเรื่องสำคัญมากของการปฏิบัติแบบนี้ คือว่าเราไม่ได้มองออกไปจากมุมมองอันได้แก่ตัวตนของเรา ที่เราเคยมองแบบนี้มาตลอด ซึ่งก็เป็นเหตุให้เรายังมัวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏเช่นนี้ เราไม่ได้มองออกจากตัวตนของเรา แต่เรามองออกจากมุมมองของสรรพสัตว์อื่นๆทั้งหมด นี่เป็นเคล็ดลับสำคัญของการปฏิบัติแบบนี้ เหตุที่การปฏิบัตินี้ได้ชื่อว่า “การแลกเปลี่ยนตนเองกับสัตว์โลกอื่นๆ” ก็เพราะเหตุนี้เองที่ทำให้เราไม่มองโลกจากมุมมองส่วนตัวของเรา แต่เรามองจากมุมมองของผู้อื่น

การทำเช่นนี้ฟังดูเหมือนง่ายๆ แต่ของง่ายๆนี้แหละที่เราไม่ยอมทำกัน จนทำให้เราต้องทนทุกข์อยู่ในสังสารวัฏ รวมทั้งสัตว์โลกอื่นๆด้วย การมองออกจากมุมมองของผู้อื่นก็คือการมองว่า ตัวเรานั้นเองก็คือผู้อื่น เราจะเกิดความรู้สึกนี้ได้ง่ายกับคนที่เรารักมากๆเช่นลูก พ่อแม่จะมีความสุขเมื่อเห็นลูกมีความสุข เมื่อได้ให้อะไรแก่ลูกและลูกมีความสุข พ่อแม่ก็มีความสุขแล้ว เราก็ขยายความรู้สึกนี้ออกไปให้แก่สัตว์โลกทั้งหมด เหมือนกับว่าสัตว์โลกทั้งหมดเป็นลูกของเราเอง

การที่เราพ่อแม่มีความสุขได้เมื่อเห็นลูกมีความสุขก็เพราะว่า พ่อแม่ไม่แยกตัวเองออกจากลูก คงไม่มีพ่อแม่คนไหนทำเช่นนี้เพราะนั่นแปลว่าไม่รักลูกเท่าใด รักตัวเองมากกว่า เป้าหมายของการปฏิบัติได้แก่การทำให้ความรู้สึกรักตัวเอง เห็นแก่ตัวเองนี้เบาบางลง จนหมดไปในที่สุด

และนี่ก็คือคำตอบว่า ทำไมเราจึงมีความสุขมากมายไม่จบสิ้นให้แก่สัตว์โลก ก็เพราะว่าสัตว์โลกมีมากมายไม่จบสิ้น และแต่ละคนก็มีความสุขสูงสุดทั้งนั้นด้วยความตั้งใจจริงของเรา ไม่ใช่ว่าเรามีความสุขอยู่แล้วปริมาณหนึ่ง แล้วไปแจกให้แก่สัตว์โลก คนทั่วไปที่ยังไม่ปฏิบัติหรือเพิ่งเริ่มปฏิบัติอาจคิดเช่นนี้ แต่ความจริงก็คือว่า เรามองออกมาจากมุมมองภายในของสัตว์โลกแต่ละคน แต่ละคน ซึงเมื่อแต่ละคนมีความสุขสูงสุด เราก็ย่อมมีความสุขสูงสุดไปด้วย เพราะเรานั้นแหละคือสัตว์โลกนั่นเอง

จาก https://soraj.wordpress.com/t