ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 05:22:43 am »



ธรรมะเยียวยาชีวิต ภิกษุณีเพมา โซดรอน

ภิกษุณีเพมาเป็นชาวอเมริกัน อายุ 77 ปี เป็นธรรมาจารย์พุทธแบบวัชรญาณ ทิเบต เป็นศิษย์รุ่นแรกๆ ของท่านเชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ผู้ก่อตั้งสำนักชัมบาลา และมหาวิทยาลัยนาโรปะ ศูนย์กลางอยู่ที่รัฐโคโลราโด ซึ่งเป็นคุรุผู้เผยแพร่คำสอนแบบทิเบตที่มีชื่อเสียงในอเมริกายุคแรกๆ ตั้งแต่ราวปี 1970 จนทำให้พุทธแบบทิเบตแพร่หลายไปทั่วอเมริกาในเวลาต่อมา
       
       ภิกษุณีเพมาเกิดเมื่อปี 1936 จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์คเลย์ หลังจากนั้นเธอได้เป็นครูสอนนักเรียนระดับประถม ที่แคลิฟอร์เนีย และนิวแมกซิโก เธอเคยแต่งงาน 2 ครั้ง มีลูก 2 คน และหลาน 3 คน และหลังจากหย่าครั้งที่ 2 เธอได้เริ่มศึกษาธรรมะกับท่านลามะจิ๊กมี่ รินโปเช ที่เทือกเขาแอลป์ ในฝรั่งเศส
       
       ต่อมาเธอบวชเป็นชีในปี 1974 และยังคงเรียนกับท่านจิ๊กมี่ซึ่งย้ายมาอยู่ที่ลอนดอน ในปี 1981 เธอบวชเป็นภิกษุณีที่ฮ่องกง และเป็นสตรีอเมริกันรูปแรกที่บวชภายใต้นิกายวินย (แนวคำสอนแบบปรัชญามูลสรวาสติวาทินและธรรมคุปตะผสมกัน) ซึ่งเป็นคำสอนพุทธแบบทิเบตสายกระแสหลัก
       
       ภิกษุณีเพมาได้พบกับท่านเชอเกรียม ตรุงปะ รินโปเช ในปี 1972โดยคำแนะนำของท่านจิ๊กมี่ ซึ่งให้ภิกษุณีเพมาทำงานและเรียนธรรมะกับท่านเชอเกรียม จนถึงปี 1987 ท่านเชอเกรียมมรณภาพ ช่วงเวลานั้นภิกษุณีเพมาเป็นผู้อำนวยการสำนักโบเดอร์ ชัมบาลา รัฐโคโลราโด เธอเริ่มมีอาการทุกข์ทรมานจากโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic Fatique Syndrome)
       
       ดังนั้น ในปี 1984 เธอจึงย้ายมาอยู่ที่วัดกัมโป คาบสมุทรเบรตัน โนวาสโกเทีย แคนาดา เพราะที่นี่อยู่ริมทะเล อากาศดี เธอดูแลสุขภาพด้วยอาหาร การทำภาวนา และใช้โฮมิโอพาธีช่วย ทำให้อาการของเธอดีขึ้นตามลำดับ
       
       ด้วยการศึกษาอย่างตั้งใจอันยาวนานและปฏิบัติภาวนาอย่างจริงจัง ทำให้เธอมีความเข้าใจคำสอนพุทธแบบทิเบตได้เป็นอย่างดี เธอใช้การปฏิบัติภาวนาเยียวยาจิตใจของตนเอง และถ่ายทอดคำสอนต่างๆเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบกับความทุกข์ทางใจ
       
       ภิกษุณีเพมาจึงเข้าถึงจิตใจของคนอเมริกันร่วมชาติซึ่งต้องเผชิญอยู่กับความเจ็บป่วยทางจิตจำนวนมาก ทั้งๆที่เป็นชาติที่เจริญทางวัตถุและวิทยาการต่างๆมากกว่าชาติใดในโลก
       
       มีคนถามภิกษุณีเพมาว่า “ทำไมท่านจึงมาบวชเป็นภิกษุณี?” เธอหัวเราะและตอบแบบติดตลกว่า
       
       “ฉันมาบวชเพราะฉันเกลียดสามีของฉัน ตอนนั้นฉันอายุ 35 ปีหลังจากการแต่งงานครั้งที่สอง วันหนึ่งในช่วงบ่ายฉันนั่งจิบน้ำชาอุ่นๆ ที่ชานเรือน สามีขับรถกลับมาที่บ้านและตรงเข้ามาหาฉัน พร้อมกับบอกว่า เขาจะขอหย่าเพื่อจะไปแต่งงานใหม่ ขณะนั้นฉันโกรธสุดขีด หยิบก้อนหินขึ้นมาก้อนหนึ่ง แล้วขว้างไปที่เขา แทนคำพูดที่ไม่สามารถกล่าวออกมาในตอนนั้น แล้วชีวิตแต่งงานครั้งที่สองก็จบลง”
       
       พร้อมๆกับความเจ็บปวด และเพื่อจะเยียวยาบาดแผลในใจ เธอพยายามหาวิธีการต่างๆ เช่น ไปหาจิตแพทย์ และเที่ยวหาความบันเทิงเริงรมย์ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถช่วยให้เธอหายจากความเจ็บปวดในใจได้เลย
       
       และทางหนึ่งที่เธอแสวงหาก็คือศาสนา ซึ่งว่ากันว่าช่วยบำบัดได้ ดังนั้น เมื่อเธอได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของท่านเชอเกรียม เกี่ยวกับวิธีการจัดการกับอารมณ์ด้านลบในใจ ด้วยการเห็นความจริงที่ว่า อารมณ์ทั้งดีและเลวล้วนแต่มีลักษณะเดียวกัน
       
       อารมณ์เหล่านั้นเป็นส่วนที่ดีของชีวิต เพราะแท้ที่จริงมันไม่ใช่การสิ้นสุดของความสุข แต่มันคือการเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิต มันเป็นเหตุในการปลุกเร้าความตื่นรู้แห่งโพธิจิต ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงภายใน ทำให้จิตมีโอกาสพัฒนาได้สูงส่ง การตื่นรู้นี้ไม่อาจเกิดได้ในขณะที่เรายังหลงระเริงอยู่กับความสุขทางโลก และการหลงมัวเมาอยู่ในวัตถุนิยม จนบดบังความจริงตามธรรมชาติ



 หลังจากเธอฝึกพัฒนาจิตเป็นระยะเวลาหนึ่ง เธอพบว่า ตัวเองสามารถพัฒนาจิตภายใน จนเกิดความตื่นรู้ต่อสัจจะในธรรมชาติ และเกิดการเปลี่ยนแปลงภายในตนเองอย่างใหญ่หลวง ทำให้เข้าใจในโลก เข้าใจชีวิต และทำให้ความคิดของเธอเปลี่ยนไปด้วย
       
       เธอรู้สึกขอบคุณอดีตสามีที่ทำให้เธอได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง จนเกิดปัญญาญาณขึ้นภายใน ซึ่งถ้าไม่มีเหตุการณ์ในครั้งนั้น เธอคงไม่เข้าใจสิ่งต่างๆในโลกนี้ และคงต้องหลงมัวเมาอยู่ในโลก ทั้งสมหวังและผิดหวังอยู่เช่นนี้ไปจนตลอดชีวิต
       
       เธอรู้สึกขอบคุณในคำสอนของพระพุทธเจ้าและครูบาอาจารย์ที่เธอได้พบ ดังนั้น เธอจึงพร้อมอุทิศตนเพื่อถ่ายทอดคำสอนที่จะช่วยเยียวยาความทุกข์ใจของผู้คนทั่วโลก ทำให้คนเกิดปัญญาญาณ ความตื่นรู้ เท่าทันโลกและชีวิต
       
       มีคนถามว่า เธอมีวิธีอะไรที่จะช่วยรักษาบาดแผลในใจ ที่เกิดจากเหตุการณ์ในอดีต ภิกษุณีเพมาบอกว่า ใช้การภาวนาแบบทองเล็น(Tonglen) ตามแนวทางที่เธอเคยเรียนมา มันเป็นวิธีที่ได้ผลอย่างน่าอัศจรรย์ใจจริงๆ
       
       มันเป็นการภาวนาที่ช่วยให้ปลดปล่อยความทุกข์ใจ ความมึนตึง เย็นชา ความแข็งกร้าวในใจ เป็นการเปลี่ยนพลังแห่งความเกลียดชัง อาฆาต ความเจ็บปวด โดยแผ่ความกรุณาให้แก่ตัวเอง หรือคนที่กำลังได้รับความทุกข์ ความเจ็บป่วย คนใกล้ตาย แม้แต่คนที่ทำร้ายเรา
       
       เธออธิบายวิธีการฝึกภาวนาแบบทองเล็นไว้ในหนังสือ When Things Fall Apart ว่า ในช่วงเริ่มต้น ให้เรานั่งสงบนิ่งชั่วครู่ก่อน หลังจากนั้นค่อยๆหายใจเข้าช้าๆ แล้วนึกในใจถึงความเจ็บปวด ความทุกข์ใจ ความอึดอัดขัดเคือง อารมณ์ที่ไม่ดีต่างๆ รับเข้ามาในร่างกายของเรา รับเอาความทุกข์ของคนที่รู้จักมาเก็บไว้ในตัวเรา
       
       หลังจากนั้นค่อยๆหายใจออกอย่างช้าๆ พร้อมกับนึกให้ความสุขสดชื่น พ้นจากความทุกข์ทั้งปวง ความผ่อนคลายสบายใจ จงมีแก่เขา ขอให้เขาพ้นจากความทุกข์ยากทั้งปวง



    เราสามารถจะผ่อนความทุกข์ที่เกิดกับตัวเราและของผู้อื่น ซึ่งมีลักษณะเหมือนกัน ให้เขาพ้นจากความทุกข์ โดยค่อยๆขยายปริมณฑลของความกรุณาแก่คนที่ทุกข์ยาก ตลอดจนคนที่เคยทำร้ายเรา หรือทำร้ายผู้อื่น แผ่ขยายออกไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
       
       เธอพบว่า การแผ่ความกรุณาแบบทองเล็น เป็นวิธีที่ง่าย ช่วยทำให้จิตใจของเราผ่อนคลาย มองผู้อื่นด้วยการให้อภัย ด้วยความเข้าใจถึงเนื้อแท้ของสรรพสัตว์ทั้งหลายที่ต้องพบกับชะตากรรมเหมือนกัน ต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย ต้องพบกับความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เช่นกัน
       
       ทำให้ความเกลียดชัง อาฆาตแค้น ความแข็งตึงค่อยๆลดลง ให้เราฝึกหัดไปทุกๆวัน เราจะเห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เราเคยคิดว่า ไม่น่าจะทำได้ กลับทำได้อย่างน่าอัศจรรย์
       
       ปัจจุบัน ภิกษุณีเพมา โชดรอน เป็นเจ้าอาวาสวัดกัมโป(Gampo Abbey) คาบสมุทรเบรตัน โนวาสโกเทีย ประเทศแคนาดา ซึ่งเป็นสถานที่ที่จัดให้ภิกษุ ภิกษุณี ชาวตะวันตกที่จะมาใช้ชีวิตแบบบรรพชิตตามแบบทิเบต ตามแนวทางของสำนักชัมบาลา ซึ่งท่านเชอเกรียมวางรากฐานเอาไว้
       
       ภิกษุณีเพมาสอนธรรมะเข้ากับยุคสมัย ด้วยความเข้าใจปัญหาของผู้คนชาวอเมริกัน การอธิบายอย่างเรียบง่าย ท่าทีที่ผ่อนคลาย มีรอยยิ้มแห่งความเมตตาอยู่ตลอดเวลา จึงช่วยให้คนที่เข้ามาศึกษาธรรม ได้พัฒนาตนเองจนเกิดปัญญาญาณ ช่วยพาตนเองให้พ้นทุกข์ได้
           
       หนังสือของภิกษุณีเพมาหลายเล่มติดอันดับขายดียอดนิยม เช่น The Wisdom of No Escape, When Things Fall Apart, Start Where You are, Taking The Leap, No time To Lose, Tonglen.
       
       ท่านผู้อ่านสามารถหาข้อมูลของเธอได้จาก www.gampoabbey.orgและ www.Pemachodron.org หรือฟังคำบรรยายของเธอได้ใน www.youtube.com/Pema chodron. ซึ่งมีให้ฟังมากมาย เรื่องที่น่าสนใจเช่น เรื่อง Life at the Gampo Abbey with pema chodron, เรื่อง Good Medicine, เรื่อง Pema chodron – Getting Unstuck part 1-30, เรื่อง Bill Moyers on Faith and Reason with Pema Chodron เป็นต้น

จาก http://pantip.com/topic/31784830