ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2016, 12:13:37 pm »



ช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์สนใจศึกษาการทำงานของสมองอย่างยิ่งยวด พวกเขาพยายามสืบค้นว่าสมองคนเราทำงานอย่างไรในสภาวะต่างๆกัน คนเราจะเฉลียวฉลาดขึ้นได้หรือไม่ สมองเป็นตัวควบคุมอัจฉริยภาพทางร่างกายหรือเปล่า และอีกหลายคำถาม อันจะนำไปสู่การค้นพบศักยภาพของก้อนเนื้อเล็กๆใต้กะโหลก ที่มีศักยภาพมากมายอย่างน่าทึ่ง

จากบทความเรื่อง “Meditation Gives Brain a Charge, Study Finds” (“ค้นพบคำตอบ…สมาธิเพิ่มพลังสมอง”) ได้แสดงผลการทดลองที่น่าสนใจ โดย Richard Davidson ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยา ได้ทำงานร่วมกับท่านดาไล ลามะ ผู้นำสูงสุดแห่งทิเบต ซึ่งท่านได้ส่งคณะสงฆ์ 8 รูป ที่นั่งสมาธิเป็นกิจวัตรมาตั้งแต่ 15-40 ปี ไปลงสนามทดลองพร้อมกับคนธรรมดาซึ่งไม่ได้ปฏิบัติสมาธิ…การทดลองครั้งนั้นพบว่า พระสงฆ์ที่ทำสมาธิอย่างต่อเนื่อง จะมีระดับของคลื่นแกมม่าในสมองสูงกว่าคนธรรมดาอย่างมาก แม้ว่าท่านจะไม่ได้อยู่ในสมาธิก็ตาม



แล้วคลื่นแกมม่าที่ว่านี้มีดีอย่างไร ปกติแล้วผลิตกันตอนไหน เราจะขอวกเข้าเรื่องนี้สักครู่ โดยที่ผ่านมาได้มีการค้นพบระดับคลื่นสมองของมนุษย์ ซึ่งมีความถี่ 4 ระดับคือ

ระดับที่ 1 เป็นคลื่นสมองที่มีความถี่สูงสุด เกิดขึ้นในขณะที่เราตื่นอยู่ ทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย ในขณะที่ชีวิตมีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว คนที่มีความเครียดพบว่าจะมีคลื่นสมองนี้สูง

ระดับที่ 2 คลื่นอัลฟ่า จะเกิดขึ้นในสภาวะที่ร่างกายมีการทำงานช้าลง ผ่อนคลายมากขึ้น เป็นสภาวะที่สมองทำงานเป็นระบบ ระเบียบ จิตใจจดจ่อไม่ฟุ้งซ่าน

ระดับที่ 3 คลื่นเธต้า จะเกิดขึ้นในสภาวะที่คลื่นสมองเริ่มสะท้อนการทำงานของจิตใต้สำนึก คนที่มีความคิดสร้างสรรค์ แปลกใหม่ และมีแรงบันดาลใจ จะมีสภาวะของคลื่นสมองเช่นนี้ได้บ่อยๆ

ระยะที่ 4 คือ คลื่นเดลต้า เป็นระดับที่สมองเชื่อมต่อระดับของจิตไร้สำนึก เกิดขึ้นในสภาวะที่เรามีการพักผ่อนในระดับลึก ร่างกายกำลังดื่มด่ำกับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ เสมือนได้ชาร์ตประจุพลังงานใหม่



ทีนี้ผลการวิจัยนี้ออกมาน่าสนใจว่า คลื่นสมองของผู้เจริญเมตตาภาวนาต่อเนื่องจะมีคลื่นแกมม่าเวฟ(ความถี่สูงสุด)สูงกว่าคนปกติ ทั้งในขณะที่ไม่ได้เจริญสมาธิ ในขณะเจริญสมาธิ และภายหลังออกจากสมาธิแล้ว คลื่นแกมม่าเวฟนี้จะบ่งบอกถึงการทำงานเชิงบวกของสมอง เช่น ความสงบ ความอิ่มเอิบ การมองโลกในแง่ดี เลยแปลได้ว่าคนที่ฝึกสมาธิเมตตาภาวนาต่อเนื่องจะมีการเปลี่ยนแปลงของสมองแบบถาวรในเชิงบวก แล้วคลื่นแกมม่าระดับสูงที่ได้จากการทดลองนี่มาจากตอนไหน…ในบทความกล่าวว่า คณะวิจัยพบคลื่นนี้สูงสุดในช่วงที่ให้พระสงฆ์แผ่เมตตาไปทั่วจักรวาล และการศึกษานี้เปลี่ยนความเชื่อที่ว่า สมองเราหยุดพัฒนาไปตั้งแต่วัยเด็ก จึงไม่น่าแปลกใจ ที่นักเทนนิส นักกอล์ฟระดับโลก ก็พัฒนาศักยภาพต่อไปได้อีก เพราะในเวลาที่เขาจดจ่อกับการแข่งขัน สมองก็สร้างคลื่นนี้ขึ้นมาเช่นเดียวกัน

แน่นอนว่าการปฏิบัติสมาธิภาวนาเป็นประจำ ย่อมให้ผลโดยตรงต่อประสิทธิภาพของสมอง ยิ่งแผ่เมตตาทุกวัน ยิ่งจะทำให้คลื่นแกมม่าในสมองเพิ่มสูงขึ้น วันนี้ บอกบุญก็มีบทเพลงแผ่เมตตาแบบทิเบตมาฝาก วิธีแผ่เมตตาแบบง่าย ๆ ให้จินตนาการว่าเราคือแสงสว่างแห่งความรักที่แผ่ออกไปกว้างไพศาลทั่วทุกทิศทาง ไปทั่วจักรวาล ไม่มีขอบเขต พร้อมๆ กับให้อ่านคำภาวนาภาษาบาลีและภาษาไทยในใจตามเสียงเพลงไปด้วย ให้จิตสร้างนิมิตแห่งแสงสว่างแห่งความรักแผ่ออกไปไม่มีที่สิ้นสุด อย่างต่อเนื่องจนจบเพลง จิตจะเกิดเมตตาสมาธิ

(เมื่อจำบทภาวนาและความหมายได้คล่องแล้ว จึงค่อยใช้วิธีหลับตาภาวนาไปตามเสียงเพลง จิตจะสงบได้ง่ายขึ้น)

<a href="https://www.youtube.com/v/YQHUSuzEAmM" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/YQHUSuzEAmM</a>



คำสวด

อะหัง อะเวโร โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ปราศจากเวร )

อัพยาปัชโฌ โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีโฆ โหมิ ( ขอให้ข้าพเจ้าจงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ (ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

มะมะ มาตาปิตุ ( ขอให้มารดาบิดาของข้าพเจ้า )

อาจาริยา จะ ญาติมิตตา ( ครูอาจารย์ และญาติมิตร )

สะพราหมะจาริโน จะ ( ผู้ประพฤติธรรมทั้งปวง )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ (ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ โยคิโน ขอให้ท่านโยคี ( ผู้ทรงสมาธิ) ทั้งปวงในเขตนี้ )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปริหรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อิมัสมิง อาราเม สัพเพ ภิกขู ( ขอพระภิกษทั้งหลายทั้งปวงที่อยู่ในเขตนี้ )

สามะเณรา จะ ( และสามเณร )

อุปาสะกา อุปาสิกายา จะ ( ทั้งอุบาสกและ อุบาสิกา )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อัมหากัง จะตุปัจจายะทายะกา ( ขอทายกทายิกา ผู้ให้ปัจจัย๔ แก่พวกเราทั้งหลาย )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

อัมหากัง อารักขา เทวาตา ( ขอเทวดาผู้อารักขาเราทั้งหลาย )

อิมัสมิง วิหาเร ( ในวิหารแห่งนี้ )

อิมัสมิง อาวาเส ( ในอาวาสแห่งนี้ )

อิมัสมิง อาราเม ( ในอารามแห่งนี้ )

อารักขา เทวาตา ( ขอเทวาผู้รักษาสถานที่เหล่านี้ )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

สัพเพ สัตตา ( ขอสัตว์ทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ ปาณา ( ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย )

สัพเพ ภูตา ( ขอภูติทั้งหลาย )

สัพเพ ปุคคะลา ( ขอบุคคลทั้งหลาย )

สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ( ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย )

สัพพา อิตถีโย ( ขอสตรีทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ ปุริสา ( ขอบุรุษทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ อริยา ( ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ อนริยา ( ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ เทวา ( ขอเทวาทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ มนุสสา ( ขอมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งปวง )

สัพเพ วินิปาติกา ( ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย ทั้งปวง )

อะเวรา โหนตุ ( จงปราศจากเวร )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( จงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน)

อะนีฆา โหนตุ ( จงปราศจากความทุกข์กายทุกข์ใจ )

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ ( ขอให้ท่านจงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

ทุกขา มุจจันตุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์ )

ยถา ลัทธาสัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ ( จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา )

กัมมัสสะกา ( ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น )

ปุรถิมายะ ทิสายะ ( ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศตะวันออก )

ปัจฉิมายะ ทิสายะ ( ในทิศตะวันตก )

อุตตรายะ ทิสายะ ( ในทิศเหนือ )

ทักขิณายะ ทิสายะ ( ในทิศใต้ )

ปุรถิมายะ อนุทิสายะ ( ในทิศตะวันออกเฉียงใต้ )

ปัจฉิมายะ อนุทิสายะ ( ในทิศตะวันตกเฉียงเหนือ )

อุตตระ อนุทิสายะ ( ในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ )

ทักขิณายะ อนุทิสายะ ( ในทิศตะวันตกเฉียงใต้ )

เหฎฐิมายะ ทิสายะ ( ในทิศเบื้องล่าง )

อุปาริมายะ ทิสายะ ( ในทิศเบื้องบน )

สัพเพ สัตตา ( ขอสัตว์ทั้งหลาย )

สัพเพ ปาณา ( ขอสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย )

สัพเพ ภูตา ( ขอภูติทั้งหลาย )

สัพเพ ปุคคะลา ( ขอบุคคลทั้งหลาย )

สัพเพ อัตตภาวา ปริยาปันนา ( ขอผู้มีอัตภาพทั้งหลาย )

สัพพา อิตถีโย ( ขอสตรีทั้งหลาย )

สัพเพ ปุริสา ( ขอบุรุษทั้งหลาย )

สัพเพ อริยา ( ขอพระอริยเจ้าทั้งหลาย )

สัพเพ อนริยา ( ขอผู้ยังไม่เข้าถึงความเป็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย )

สัพเพ เทวา ( ขอเทวา ทั้งหลาย )

สัพเพ มนุสสา ( ขอมนุษย์ทั้งหลาย )

สัพเพ วินิปาติกา ( ขอสัตว์วินิปาติกะทั้งหลาย )

อะเวรา โหนตุ ( อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย )

อัพยาปัชฌา โหนตุ ( อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย )

อะนีฆา โหนตุ ( อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย )

สุขี อัตตานัง ปะริหรันตุ ( จงมีความสุข บริหารตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ )

ทุกขา มุจจันตุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายจงปราศจากความทุกข์ )

ยถา ลัทธา สัมปัตติโต มา วิคัจฉันตุ ( จงอย่าพลัดพรากจากสมบัติที่ได้มา )

กัมมัสสะกา ( ตนย่อมเป็นเจ้าของกรรมนั้น )

อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( และสัตว์ที่อยู่สูงขึ้นไปจนถึงภวัคคภูมิ )

อโธ ยาวะ อวิจจิโต ( และสัตว์ที่อยู่เบื้องล่างจนถึงอเวจีมหานรก )

สมันตา จักกะวาเลสุ ( สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล )

เย สัตตา ปถวิจารา ( ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี )

อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงปราศจากการพยาบาทเบียดเบียน )

นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ และอุปัทวันตราย )

อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( ขอสัตว์ที่อยูสูงขึ้นไปถึงภวัคคภูมิ )

อโธ ยาวะ อวิจจิโต ( และสัตว์อยู่เบื้องล่างในอเวจีมหานรก )

สมันตา จักกะวาเลสุ ( สัตว์ทั้งหลายในจักรวาล )

เย สัตตา อุทักเขจารา ( ขอสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดในน้ำ )

อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย )

นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย )

อุทธัง ยาวะ ภะวัคคา จะ ( ขอสัตว์ในโลกธาตุอื่น ที่อยูเบื้องบนคือภวัคคภูมิลงมา )

อโธ ยาวะ อวิจิโต ( ตั้งแต่อเวจีมหานรกขึ้นไป )

สมันตา จักกะวาเฬสุ ( ขอสัตว์ทั้งหลายในจักรวาลโดยรอบๆ )

เย สัตตา ปถวิจารา ( ไม่ว่าสัตว์ใดที่อุบัติบนพื้นปฐพี )

อัพยาปัชฌา นิเวรา จะ ( ขอจงอย่าได้เบียดเบียนใครเลย อย่าได้มีเวรกับใครเลย )

นิทุกขา จะ นุปัททวา ( ปราศจากทุกข์ ปราศจากอุปัทวันตราย ทั้งสิ้นเทอญฯ )

จาก http://chaoprayanews.com/blog/happyforever/2015/03/30/