ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 10, 2016, 02:03:44 pm »



การภาวนาต้องทำด้วยความสุข ความสุขจากการภาวนาจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วเราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว

 

หลายปีก่อน ‘การภาวนา’ มักนิยมปฏิบัติกันเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัย

คุณปู่-คุณย่า คุณตา-คุณยาย ไปวัด ลูกหลานก็อยู่บ้านกันไป

.

ต่อมากลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มสนใจการภาวนา

ลูกวัยทำงานเริ่มมาฝึกภาวนา พ่อแม่ก็อยู่บ้าน

บางบ้านคุณแม่มาฝึกภาวนา ทิ้งให้พ่อลูกอยู่บ้านดูแลกัน

.

ถัดมาอีกหน่อย พ่อแม่เริ่มเห็นประโยชน์ของการภาวนา

หลายครอบครัวเริ่มส่งลูกไปเรียนภาวนา ส่วนพ่อแม่รออยู่ที่บ้าน

โดยไม่รู้ว่าลูกไปเจออะไร ทำอะไรมาบ้าง

.

คนในครอบครัวต่างเรียนรู้การภาวนากันแบบแยกส่วน

จะดีกว่าไหม…ถ้าเราจะมาเรียนรู้การภาวนาพร้อมกัน

ให้ ‘การภาวนา’ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในครอบครัว

เยียวยาความขัดแย้ง เติมความสุขรินรดเข้าไปในหัวใจ



รู้จักการ ‘ภาวนาครอบครัว’

ทุกปีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นช่วงวันหยุดยาวที่ครอบครัวจะได้ใช้โอกาสทำกิจกรรมดีๆ ร่วมกัน มูลนิธิหมู่บ้านพลัมจะมีการจัดกิจกรรม ‘ภาวนาครอบครัว’ เพื่อให้สมาชิกครอบครัวทั้ง พ่อ แม่ ลูก และคุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยาย ได้มาเรียนรู้ ‘การภาวนา’ ร่วมกัน

กิจกรรมนี้เริ่มต้นที่ หลวงปู่ติช นัท ฮันห์ ผู้ก่อตั้งหมู่บ้านพลัมได้มองเห็นว่า ปัจจุบันความสัมพันธ์ในครอบครัวเริ่มแตกกระจายเล็กลงไปเรื่อยๆ เมื่อลูกอยู่ในช่วงวัยรุ่น ครอบครัวก็จะเริ่มผลักลูกออกไปอยู่ห้องส่วนตัว บ้างก็ไปอยู่หอพัก สมาชิกครอบครัวแต่ละคนล้วนว้าเหว่ สำคัญที่สุดคือ เกือบทุกครอบครัวขาดความสามารถในการ ‘รับฟัง’ ซึ่งกันและกัน ดังนั้นหมู่บ้านพลัมจึงริเริ่มงานภาวนาครอบครัวขึ้น ใช้ ‘การภาวนา’ เป็นเครื่องมือให้ทุกคนได้ย้อนกลับมาเรียนรู้จักตัวเองและสมาชิกทุกคนในครอบครัว

“งานภาวนาครอบครัวจะมีช่วงเวลาที่พ่อแม่ได้เรียนรู้การภาวนาในแบบผู้ใหญ่ ส่วนเด็กๆ ก็จะได้เรียนรู้การภาวนาในรูปแบบที่เหมาะกับเขาคือการเล่น แล้วก็มีบางช่วงที่ทุกคนในครอบครัวจะมาทำกิจกรรมรวมกัน ด้วยวิธีนี้ทำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวจะได้เรียนรู้และเข้าใจในเรื่องเดียวกัน ที่สำคัญคือเขาจะได้เห็นว่า จริงๆ แล้วการภาวนาว่าเป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตประจำวัน ไม่ยากและน่าเบื่ออย่างที่หลายคนเคยจินตนาการเอาไว้” คุณตุ้ง – สุภาพร พัฒนาศิริ กรรมการและเลขานุการมูลนิธิหมู่บ้านพลัมเล่าถึงรูปแบบกิจกรรม‘ภาวนา’ เครื่องมือเยียวยาความสัมพันธ์



ช่วงเวลา 5 วันของการภาวนาครอบครัว ผู้คนหลายร้อยชีวิตวัยตั้งแต่ 6 ปี ไปจนถึง 70 – 80 ปี ล้วนมาเรียนรู้เรื่องการภาวนา ฝึกที่จะกลับมามีสติอยู่กับปัจจุบัน ความคิดที่เคยวิ่งเร็วจี๋อย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเริ่มสงบนิ่ง โลกภายในของแต่ละคนเริ่มช้าลง หลายคนเริ่มมองเห็น รับรู้ เข้าใจตัวเองและคนในครอบครัวมากยิ่งขึ้น

“เวลาภาวนาหลายเรื่องในสมองมันช้าลง มันจะเห็นอะไรชัดขึ้น ในงานภาวนาจะเห็นว่าคนในครอบครัวเราเขาเป็นเหมือนเดิมเลย แต่ตัวเราต่างหากจะเห็นเขาในแง่มุมที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้ก็เพราะว่าโลกข้างในเรามันช้าลง เราเริ่มรู้จักฟังคนอื่นมากขึ้น” คุณตุ้งอธิบายถึงผลที่เกิดจากภาวนากับครอบครัว

“ในงานภาวนาพ่อแม่หลายคนร้องไห้ เพราะเพิ่งรู้ว่าตลอดเวลาตัวเองไม่เคยฟังลูกเลย ลูกก็ร้องไห้เพราะไม่เคยรู้ว่าตลอดเวลาพ่อแม่รักเราขนาดไหน หลายคนเข้าใจเลยว่าที่พ่อแม่บ่นว่า ขี้โมโห จู้จี้จุกจิก นั่นเพราะเขารักและเป็นห่วงเรา พร้อมกันนั้นพ่อแม่หลายคนก็ได้รู้อีกว่า ที่เราลำบากทำงานส่งเงินให้ลูกตลอดมา จริงๆ ลูกเขาไม่ต้องการเท่าไร เขาต้องการเวลาที่จะอยู่ด้วยกันมากกว่า การภาวนามันช่วยทำให้เกิดมิติแบบนั้นขึ้นมา”



เรียนรู้การภาวนาด้วยความสุข

อย่างไรก็ตาม งานภาวนาครอบครัวเป็นเพียงจุดเริ่มต้นที่จะเรียนรู้การฝึกภาวนา เมื่อกลับมาสู่ชีวิตจริง หากครอบครัวสามารถนำการภาวนาเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีิวิตประจำวัน นั่นจึงเป็นการสร้างความสุขและความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

“การภาวนาก็เหมือนกับการเรียน เราเรียนทฤษฎีในวัดหรือในคอร์สต่างๆ พอออกมาโลกภายนอก เราก็ต้องเอาสิ่งที่เรียนรู้มาประยุกต์ในชีวิตประจำวัน” คุณปุ้ม – สมจินตนา เปรมปราชญ์ อาสาสมัครหมู่บ้านพลัมกล่าว “อย่างตัวเองพอกลับมาก็เอาเรื่องหลักของ Beginning A New เอ่ยชมคนอื่นด้วยความจริงใจมาใช้กับสามี กับเพื่อนที่ทำงาน มันก็ดีขึ้นนะ เราเองรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลง แต่ก่อนชมคนอื่นยากมาก เดี๋ยวนี้ง่ายขึ้น ความสัมพันธ์กับสามีกับคนรอบข้างก็ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น”

สำหรับผู้ที่สนใจอยากนำการภาวนามาใช้กับครอบครัว หากไม่สามารถไปร่วมงานภาวนาครอบครัวกับหมู่บ้านพลัมได้ คุณตุ้งแนะนำว่าควรเริ่มลองฝึกภาวนาด้วยตนเองก่อน ค่อยๆ เริ่มฝึกทีละน้อย แล้วถามตัวเองว่ามีความสุขไหม? ถ้ามีความสุขให้พากเพียรฝึกต่อไป ไม่ช้าไม่นานจะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น หลังจากนั้นคนในครอบครัวจะเริ่มเห็น แล้วจากนั้นก็จะค่อยๆ หันมาฝึกภาวนาด้วยกันโดยไม่ยากเลย



“สิ่งสำคัญของการภาวนาคือต้องทำด้วยความสุข ถ้าทำแบบไม่มีความสุข จะเป็นเหมือนคนที่เราเคยเห็นว่าเขานั่งสมาธิทุกวัน แต่พอออกจากนั่งสมาธิก็เป็นเหมือนเดิม โมโหร้าย หงุดหงิดตลอดเวลา อันนั้นก็ไม่ใช่แล้ว” คุณตุ้งอธิบาย

“แต่มันต้องใช้เวลานะ มันบอกไม่ได้หรอกว่าจะใช้เวลาแค่ไหน” คุณปุ้มเสริม “มันอาจจะ 1 เดือนหรือ 1 ปี การภาวนาเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ต้องฝึก ไม่ใช่เรียนรู้ปุ๊บทำได้ปั๊บ ความสุขจากการภาวนามันจะเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครบังคับ พอเกิดขึ้นแล้วมันจะส่งผลเปลี่ยนแปลง เราจะใช้ชีวิตสบายขึ้น มีความสุขง่ายขึ้น มันจะไม่มีความรู้สึกต้องไปตามหาอะไรมากมายอีกแล้ว”

วันนี้เราอาจต้องลองเปลี่ยนความคิดใหม่ บางทีความสุขของครอบครัวอาจไม่ได้อยู่ที่การทำงานหาเงินมากๆ เพื่อจะพาครอบครัวไปทานอาหารร้านหรูๆ ช้อปปิ้งสินค้าแบรนด์เนม หรือออกเดินทางท่องเที่ยวด้วยกันไกลจนสุดขอบโลก เพราะแท้จริงแล้ว เพียงแค่เราหันกลับมาสร้างสุขภาวะทางปัญญาให้กับครอบครัว ลองย้อนกลับมาเรียนรู้โลกภายในตัวเรา รู้จักที่จะเปิดใจรับฟังกันและกันอย่างแท้จริง บางทีความสุขของครอบครัวคงง่ายและใกล้ตัวเรามากกว่านัก

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก: มูลนิธิหมู่บ้านพลัม

ผู้ที่สนใจฝึกการภาวนากับหมู่บ้านพลัม สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ www.thaiplumvillage.org

จาก http://www.happinessisthailand.com/