ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2016, 09:42:08 am »

...สิ่งที่ชาวบ้านเชื่อและศรัทธากันนั้นเป็นเรื่องที่มีมูล
เราก็ต้องเคารพความเชื่อของเขา
เราไม่ได้ไปศึกษาตรงนั้น ก็คงจะบอกว่ามีหรือไม่มีไม่ได้...




วัดจอมนาง
ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
เชื่อกันว่า แม่น้ำโขงหน้าวัดจอมนาง เป็นถิ่นพญานาค

ประวัติวัดจอมนาง
วัดจอมนาง สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๐ โดยมีหญิงสาวสองนางเป็นเชื้อพระวงศ์ลาว ได้เดินทางข้ามแม่น้ำโขงขึ้นมาอยู่ฝั่งไทย แล้วนางทั้งสองได้ชวนกันมาก่อสร้างวัดขึ้นมาเพื่อเป็นที่บำเพ็ญกุศล  นางทั้งสองและชาวบ้านไทยพวน (ไทยพวน คือ กลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายมาจากชาวพวนในเมืองพวน ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  เมืองพวนในปัจจุบันตั้งอยู่ที่เขตเชียงขวาง ทางทิศตะวันออกของหลวงพระบาง ทิศเหนือของเวียงจันทน์ ติดกับประเทศเวียดนาม  ชนกลุ่มนี้ถ้าอยู่ในลาวเรียกว่า ลาวพวน เมื่ออยู่ในประเทศไทยเรียกว่า ไทยพวน  เมื่อฝรั่งเศสเปิดศึกอินโดจีน ทำให้ไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง คือประเทศลาวทั้งหมด  ชาวลาวพวนกลุ่มหนึ่งไม่สามารถทนต่อการบังคับบัญชาของฝรั่งเศสได้ จึงดิ้นรนย้ายมาอยู่ในประเทศไทย ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕)  และก่อนหน้านั้นก็มีชาวลาวพวนมาอยู่ก่อนแล้ว)  จึงได้พากันไปขุดดินทางด้านตะวันออกของหมู่บ้าน เพื่อเอาดินมาก่อสร้างอุโบสถ ขุดลึกมากจนเป็นหนองน้ำ  ปัจจุบันจึงชื่อว่าหนองจอมนาง  ในช่วงที่กำลังก่อสร้างอุโบสถอยู่นั้นก็ได้มีชาวบ้าน หนุ่มชาวไทยที่กำลังก่อสร้างวัดแห่งหนึ่งอยู่ทางด้านตอนเหนือของแม่น้ำโขง ปัจจุบันชื่อว่า วัดหลวง หนุ่มชาวไทย ก็ได้พากันมาเกี้ยวพารานาสีกับแม่นางทั้งสอง จึงได้มาช่วยแม่นางทั้งสองก่อสร้างอุโบสถวัดจอมนางจนเสร็จ แล้วหนุ่มชาวไทยจึงได้กลับไปสร้างวัดหลวงต่อ  ความจริงแล้ววัดหลวงลงมือก่อสร้างก่อน แต่ก่อสร้างเสร็จทีหลังวัดจอมนาง เพราะชาวบ้านหนุ่มชาวไทยมัวแต่มาพูดเกี้ยวพารานาสีกับสองนางและช่วยสองนางพร้อมด้วยชาวบ้านไทยพวน สร้างวัดจอมนางจนเสร็จก่อน และได้ชื่อเรียกว่า วัดจอมนาง จนปัจจุบัน

วัดจอมนางตั้งอยู่เลขที่ ๓๓๓ หมู่ที่ ๒ ถนนพิชัยสรเดช ตำบลจุมพล อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย  ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย  วัดจอมนางมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๓๘ ตารางวา  อาณาเขตทิศเหนือประมาณ ๑๒๐ เมตร จรดซอย   ทิศใต้ประมาณ ๑๒๐ เมตร จรดซอย  ทิศตะวันออกประมาณ ๖๐ เมตร จรดถนนพิชัยสรเดช  ทิศตะวันตกประมาณ ๖๐ เมตร จรดแม่น้ำโขง  ปัจจุบัน พระครูสิริธรรมปคุณ (ดวง ปคุณธมฺโม) เป็นเจ้าอาวาส




รอยพญานาคที่ปรากฏริมแม่น้ำโขง บริเวณวัดจอมนาง อ.โพนพิสัย เมื่อวันที่ ๑๖ ก.ย. ๔๘
(ภาพจาก : เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์)

นาคในพุทธศาสนา
พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  นิยามคำว่า นาค นากคะ [naga]  หมายถึง น. งูใหญ่มีหงอน เป็นสัตว์ในนิยายเป็นสัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ ความอุดมสมบูรณ์ ความมีวาสนา อีกทั้งยังเป็นสัญลักษณ์ของบันไดสู่จักรวาลอีกด้วย

ต้นกำเนิดความเชื่อเรื่องพญานาคน่าจะมาจากอินเดีย ด้วยมีปกรณัมหลายเรื่องเล่าถึงพญานาค โดยเฉพาะในมหากาพย์มหาภารตะ นาคถือเป็นปรปักษ์ของครุฑ ส่วนในตำนานพุทธประวัติ ก็เล่าถึงพญานาคไว้หลายครั้งด้วยกัน

ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังมีตำนานเรื่องพญานาคอย่างแพร่หลาย ชาวบ้านในภูมิภาคนี้มักเชื่อกันว่าพญานาคอาศัยอยู่ในแม่น้ำโขง หรือเมืองบาดาล และเชื่อกันว่าเคยมีคนเคยพบรอยพญานาคขึ้นมาในวันออกพรรษาโดยจะมีลักษณะคล้ายรอยของงูขนาดใหญ่

ลักษณะของพญานาคตามความเชื่อในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป แต่พื้นฐานคือพญานาคนั้นมีลักษณะตัวเป็นงูตัวใหญ่มีหงอนสีทองและตาสีแดง เกล็ดเหมือนปลามีหลายสีแตกต่างกันไปตามบารมี บ้างก็มีสีเขียว บ้างก็มีสีดำ หรือบ้างก็มี ๗ สี เหมือนสีของรุ้ง และที่สำคัญคือนาคตระกูลธรรมดาจะมีเศียรเดียว แต่ตระกูลที่สูงขึ้นไปนั้นจะมีสามเศียร ห้าเศียร เจ็ดเศียรและเก้าเศียร นาคจำพวกนี้จะสืบเชื้อสายมาจาก พญาเศษนาคราช (อนันตนาคราช) ผู้เป็นบัลลังก์ของพระวิษณุนารายณ์ปรมนาท ณ เกษียรสมุทร อนันตนาคราชนั้นเล่ากันว่ามีกายใหญ่โตมหึมามีความยาวไม่สิ้นสุด มีพันศีรษะ พญานาคนั้นมีทั้งเกิดในน้ำและบนบก เกิดจากครรภ์และจากไข่ มีอิทธิฤทธิ์สามารถบันดาลให้เกิดคุณและโทษได้ นาคนั้นมักจะแปลงร่างเป็นมนุษย์รูปร่างสวยงาม (จาก เว็บไซต์วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี)

นาค จัดเป็นสัตว์หิมพานต์ในจินตนาการหรือมโนคติ มีความเกี่ยวพันกับความเชื่อทางศาสนา ทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์   

ในพุทธศาสนาย้อนเวลาขึ้นไปถึงเรื่องสมัยพุทธกาล ปรากฏตามพุทธประวัติ ว่า เมื่อพระบรมโพธิสัตว์เจ้าได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว พระพุทธองค์ได้แปรที่ประทับเพื่อเสวยวิมุติสุขยังสถานที่ต่างๆ ในอาณาบริเวณที่ไม่ห่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ โดยประทับแต่ละที่สัปดาห์ละ ๗ วัน และในสัปดาห์ที่ ๖ ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ใต้ต้นมุจลินท์ (ต้นจิก) ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ ได้บังเกิดมีฝนและลมหนาวตกพรำตลอดเจ็ดวันไม่ขาดสาย พญานาค นาม มุจลินท์นาคราช ได้ขึ้นจากสระน้ำที่อยู่ในบริเวณเดียวกันนี้ เข้าไปวงขนด ๗ รอบ แล้วแผ่พังพานปกป้องพระพุทธเจ้า มิให้ลมฝนพัดและสาดกระเซ็นมาต้องพระวรกาย

เมื่อพุทธศาสนาเผยแผ่จากอินเดียมาสู่ประเทศไทยเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ ๑๐-๑๑ ได้ก่อให้เกิดวัฒนธรรมทางศิลปกรรม ทำหน้าที่ถ่ายทอดเรื่องราวอันเป็นอุดมคติในพุทธศาสนาที่คัมภีร์ระบุไว้ ให้เป็นรูปธรรมด้วยภาษาภาพ กล่าวคือ เล่าเรื่องด้วยภาพ และมีการสร้างพระพุทธรูป สร้างงานประติมากรรมเล่าเรื่องในศาสนา ได้แก่ นิทานพุทธประวัติ ชาดก หรือเล่าเรื่องเกี่ยวกับสวรรค์ นรก จักรวาล (ไตรภูมิ) โดยสลักลงบนหิน หรือใช้ปูนปั้น  เพื่อสื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องราว

ประติมากรรมรูปสัตว์มักจะเป็น “สัตว์หิมพานต์” หรือสัตว์ในวรรณคดีต่างๆ ในนิทานชาดกมักเล่าถึงบาดาลโลก มนุษยโลก และสรวงสวรรค์ โดยละเอียด เป็นเหตุให้ศิลปินคิดค้นรูปลักษณะสัตว์ที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส ให้มีลักษณะพิเศษสื่อความหมายในเชิงสัญลักษณ์และคติความเชื่อ  โดยจินตนาการจากรูปร่างลักษณะของสัตว์หลายชนิดมารวมกันอยู่ในตัวเดียว ซึ่งแปลกแตกต่างไปจากสภาพตามธรรมชาติ  และในประเภทสัตว์หิมพานต์ มี นาค สัตว์ที่มีอิทธิพลต่อความเชื่ออย่างสูงสุดของพุทธศาสนิกชนปรากฏรวมอยู่ด้วย
(ผู้โพสต์)




มีเรื่องเล่าว่า ในยามค่ำคืนพญานาคได้มาสักการะองค์พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์นี้อยู่เป็นประจำ


โดยตอนรุ่งเช้า ปรากฏร่องรอยงูใหญ่เลื้อยพันผนังรอบองค์เจดีย์
ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้


ประติมากรรม พญานาค ทอดตัวยาวที่ราวบันไดอุโบสถ


พระพุทธรูปปางนาคปรก ประดิษฐานใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์
ริมฝั่งแม่น้ำโขง หน้าวัดจอมนาง จังหวัดหนองคาย



ประติมากรรม "พญานาค"
ที่หอพระแก้ว นครเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ตำนานพื้นบ้าน พญานาค

นครเอกชะทีตา” มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ปกครองเมือง มีพระธิดาสาวสวยนามว่า “นางไอ่คำ” ถึงเดือน ๖ เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถน พระยาขอมจึงได้ประกาศบอกไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่า บุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟมาจุดแข่งขันกัน  ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษกกับพระธิดาไอ่คำด้วย  ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้น ต่างก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเทียน เชียงทอง

แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็นกระรอกเผือกมาดูโฉมงามนางไอ่คำด้วย  ท้าวพังคีพญานาคที่ปลอมเป็นกระรอกเผือกมีกระดิ่งผูกคอน่ารักมาไต่เต้นไปมาอยู่บนยอดไม้ข้างปราสาทนางไอ่คำ ก็ปรากฏร่างให้นางไอ่คำเห็น  นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง  แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพรานยิงเอาตัวตายมา  ในที่สุดกระรอกเผือกพังคีก็ถูกยิงด้วยลูกดอกจนตาย  ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า “ขอให้เนื้อของข้าได้แปดพันเกวียน คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง”  จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกัน และจัดการแล่เนื้อแบ่งกันไปกินทั่วเมืองด้วยว่าเป็น “อาหารทิพย์” ยกเว้นแต่พวกแม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจไม่แบ่งเนื้อกระรอกให้  พญานาคแห่งเมืองบาดาลทราบข่าวท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตาย แล่เนื้อไปกินกันทั้งเมือง จึงโกรธแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นขณะที่ชาวเมืองชะทีตากำลังหลับใหล  เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น  ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วยพายุฝนฟ้ากระหน่ำลงมาอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนีตาย เหล่าพญานาคผุดขึ้นมานับหมื่นนับแสน ถล่มเมืองชะทีตาจมลงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน ๓-๔ แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่ายไม่ได้กินเนื้อกระรอกเผือก จึงรอดตาย   ท้าวผาแดงได้พาไอ่คำหนีออกจากเมือง แต่แม้จะเร่งฝีเท้าม้าเท่าใดก็หนีไม่พ้น ทัพพญานาคที่ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำ พร้อมม้าแสนรู้จมหายไปใต้พื้นดิน  รุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตรธานหายไปสิ้น คงเห็นพื้นน้ำกว้างยาวสุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาลจนหมดสิ้น เหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง ๓-๔ แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนองหานหลวงดังปรากฏในปัจจุบัน





อาทิตย์อัศดง ที่ลุ่มน้ำโขง จังหวัดหนองคาย


บรรยายามเย็นในลุ่มน้ำโขง จังหวัดหนองคาย


วิถีเรียบง่ายของชาวประมงลุ่มน้ำโขง จังหวัดหนองคาย

จาก เว็บ น้าแม็กกกกกก http://www.sookjai.com/index.php?topic=145825.0