ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 02:16:16 pm »





ตุลกู ผู้เป็นยิ่งกว่าผู้สร้างแรงบันดาลใจ


ในคำสอนของพระพุทธศาสนาวัชรยาน พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานอย่างสิ้นเชิง ทรงอยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่ พระองค์ทรงสถิตอยู่ในรูปของปรมัตถสัจจ์ หรือที่รู้จักกันในนามของ ธรรมกาย หรือ กายแห่งสัจธรรม

ธรรมกาย หมายถึง ดวงจิตแห่งพุทธะ ซึ่งมีแก่นเป็นความกรุณาหรือโพธิจตที่สถิตอยู่ในหัวใจของสรรพสัตว์ทั้งหลาย หากแต่ปรารถนาจะนำสรรพสัตว์ไปสู่การรู้แจ้งในพุทธภาวะ พระพุทธเจ้าอาจปรากฎพระองค์ออกมาในรูปอื่น อันได้แก่ สัมโภคกาย กายทิพย์ซึ่งเรืองรองด้วยฉัพพรรณรังสี และ นิรมาณกาย อันเป็นกายที่ปราฏในโลกมนุษยที่เราอาศัยอยู่ ในภาษาทิเบตเรียกว่า "ตุลกู"

"ตุลกู" ผู้เป็นยิ่งกว่าผู้สร้างแรงบันดาลใจ อาจารย์หรือผู้เป็นแบบอย่าง ท่านเป็นมนุษย์ผู้ประกอบไปด้วยองค์คุณแห่งพระโพธิสัตว์ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนาวัชรยาน พระโพธิสัตว์จะบรรลุธรรมไปตามลำดับขั้น โดยทั่วไปแบ่งออกเป็นสิบขั้น หรือที่เรียกว่า "ทศภูมิ" โดยภูมิสูงสุด พระโพธิสัตว์จะมีสิทธิ หรือพลังอำนาจพิเศษ ซึ่ง สิทธิอำนาจที่สำคัญสูงสุดคอ สามารถที่จะเลือกสภาวการณ์ในการกลับมาเกิดใหม่ เพื่อว่าการเกิดนั้นจะเอื้อประโยชน์ในการนำพาผู้อื่นไปสู่การบรรลุธรรม

ความเชื่อในเรื่องของพระโพธิสัตว์ ผู้ตั้งสัตยาธิษฐานในการเวียนว่ายตายเกิดเพื่อกลับมาช่วยเหลือสรรพสัตว์นี้ ได้กลายมาเป็นหัวใจหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาวัชรยาน

ต้นกำเนิดของปรากฎการณ์เรื่อง ตุลกู หรือ นิรมาณกาย ปรากฎอยู่ในพระไตรปิฎกภาษาบาลียุคแรก ซึ่งได้กล่าวถึงพระพุทธประวัติและหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศากยมุนีพุทธเจ้า ความในพระไตรปิกฎกล่าวไว้ว่า ระหว่างบำเพ็ญเพียรพระบารมีก่อนจะตรัสนั้น พระพุทธองค์ทรงเวียนว่ายตายเกิดมานับชาติไม่ถ้วน แต่ละชาติ พระองค์จะทรงเจาะจงเลือกสภาวการณ์ในการกับมาเกิดใหม่เพื่อว่าจะทรงสามารถช่วยเหลือและชี้นำสรรพสัตว์ทั้งหลาย กล่าวกันว่าองค์ศากยมุนีทรงสามารถย้อนระลึกถึงบุคคล สถานที และเหตุการณ์บางอย่างในอดีตชาติได้อย่างชัดเจน

แปดสิบสี่ มหาสิทธา ผู้วางรากฐานแนวทางการปฏิบัติธรรมพระพุทธศาสนาวัชรยานก็เป็นพระโพธิสัตว์ซึ่งบรรลุธรรมสูงสุด และตลอดระยะเวลาอันยาวนาวของพระพุทธศาสนาวัชรยานก็ได้มีการบันทึกถึงการ "กลับมาเกิด" ในรูปกายต่างๆมากมาย อย่างไรก็ดี แนวทางในการพิสูจน์นิรมาณกายเพิ่งจะเริ่มมีขึ้นในศตวรรษที่ 12 พร้อมการเกิดขึ้นของตำแหน่งองค์กรรมาปะ ซึ่งการกลับมาเกิดก็จะมีการพยากรณ์ล่วงหน้าถึงการกลับชาติมาเกิดและจะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรมอบให้กับลูกศิษย์คนสนิท

วัตรปฏิบัติในการับรองนิรมาณกายนี้ได้แพร่หลายไปในนิกายกรรมะกาคิวอย่างรวดเร็ว สร้างความเป็นปีกแผ่นให้กับสายธรรมในรูปของ ตุลกู หรือ ริมโปเชต่างๆ (ซึ่งมีความหมายตามตัวอักษรว่า "สูงค่า") ไม่ว่าจะเป็นชามาร์ปะ,ไทชิทูปะ,เกีลยซับ ริมโปเช ,ปาโว ริมโปเช ,จัมกอน คองตรุล ริมโปเช ,กาลู ริมโปเช และอื่นๆอีกมากมาย

ในขณะเดียวกันวัตรปฏิบัตินี้ก็ยังได้แพร่หลายไปสู่พุทธศาสนาวัชรยานนิกายอื่นๆ ในคณะสงฆ์ซึ่งต้องถือพรหมจรรย์นั้น การพิสูจน์นิรมาณกายไม่เพียงทำหน้าที่ตอกย้ำถึงองค์คุณอันประเสริฐในการเสียสละเพื่อผู้อื่นของพระโพธิสัตว์ หากยังเป็นการสืบทอดลำดับขี้นสมณศักดิ์ทั้งในทางศาสนจักรและทางอาณาจักรด้วย

การสร้างระบอบตุลกูขึ้นมานั้น มีส่วนสำคัญในการทำให้ศาสนจักรธิเบตมีอำนาจเป็นปึกแผ่น ในช่วงแรกของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ศาสนจักรจำต้องพึ่งพาและผูกติดอยู่กับราชสำนักหรือคหบดีผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อความอยู่รอด อันเป็นเหตุให้คณะสงฆ์ต้องถูกแทรกแซงจากภายนอกอยู่เนืองๆ ต่อมาระบอบตุลกู ได้ย้ายฐานอำนาจในการเลือกผู้นำให้มาอยู่ในมือของคณะสงฆ์ โดยใช้พลังอำนาจในการพยากรณ์ของครูบาอาจารย์ผู้บรรลุธรรม ตุลกู คือยอดสูงสุดในระบอบศาสนา เช่นที่เป็นอัญมณีประดับยอดมงกุฎของพุทธสาสนาวัชรยาน

การพิสูจน์นิรมาณกายของ ตุลกู เป็นศาสตร์ที่ไม่มีหลักการตายตัว และแต่ละนิกายก็มีวิธีการแตกต่างกันออกไป นิรมาณกายขององค์กรรมมาปะมีลักษณะพิเศษที่มักใช้วิธีการประกาศตนหรือการมอบหมายสาส์นพยากรณ์ที่ระบุถึงสถานที่ในการกลับมาเกิดใหม่

หากโดยทั่วไปแล้วเมื่อมีผู้ปฏิบัติธรรมซึ่งมีภูมิธรรมขั้นสูงดับขันธ์ลง เหล่าสาสุศิษย์จะรอเวลาราวสองหรือสามปี ก่อนจะไปหาลามะที่เคารพนับถือกันว่าเป็นผู้หยั่งรู้ในธรรม และมีทิพยญาณ ผู้สามารถมองเห็นสัญญาณบ่งชี้ถึงการกลับมาเกิดใหม่ของนิรมาณกายและให้คำชี้แนะต่อเหล่าสาวกในการออกติดตามค้นหา สัญญาณบ่งชี้เหล่านี้อาจจะมาในรูปของความฝัน ภาพนิมิต การเสี่ยงทาย การปรึกษาร่างทรง หรือลางบอกเหตุบางอย่างที่เป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติ การปฏิสนธิและการถือกำเนิดขึ้นของตุลกูนั้น มักมาพร้อมกับปรากฎการณ์ประหลาด ซึ่งจะเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าผู้ที่มาเกิดนั้นเป็นบุคคลที่พิเศษ

จาก http://karmakagyu-disciple.blogspot.com/

<a href="https://www.youtube.com/v/P9UZy_ymDUE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/P9UZy_ymDUE</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/2jk1-8dNxvs" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/2jk1-8dNxvs</a>