ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2016, 05:15:16 pm »



จำได้ว่าตอนตรุษจีน ปี พ.ศ. 2554 ผมได้อัพบล๊อกลายมืออักษรศิลป์

คือเอ็นทรี่.... ลายมือท่านอาจารย์เซน : พลังจิตพิสุทธิ์ผ่านพู่กันและหมึก

มาปีนี้ก็อยากเอาลายมือแนวเดียวกันนี้มาฝากเพื่อนๆเป็นธรรมบรรณาการตรุษจีนอีกสักครา Smiley




ลายมือที่เขียนอักษรจีน(คันหยิ) แบบนี้เรียกว่า

"อิชิ เกียว โมะโนะ" แปลว่า "วลีธรรมบรรทัดเดียว"

เป็นที่นิยมในแวดวงพระสงฆ์นิกายเซนในญี่ปุ่นเมื่อราวศตวรรษที่ 15 (ยุคเอโดะ)

ลายมือของท่านเหล่านี้เหมาะที่จะใช้แขวนใน "พิธีชา" อย่างยิ่ง

แทนที่จะเป็นลายมือทีมีตัวอักษรเยอะแยะ เช่น บทกวี  คำเทศนา  เป็นต้น

วลีธรรมบรรทัดเดียว มีอักษรไม่มาก...แต่มีความหมายลึกซึ้ง

คัดเฟ้นเน้นเอาแต่ "แก่นแท้" มาแสดงเท่านั้น

มิใช่ว่าจะผิดหรอกหากแม้นว่าจะมองชม "วลีธรรมบรรทัดเดียว" ทั้งหมดในคราวเดียว

เหมือนกับการชมภาพเขียนน่ะแหละ..อย่าไปคิดเอาเองว่าเป็นแค่ตัวอักษรมาเรียงแถวเท่านั้น




ขอใช้วิธีการแบบเดิมๆ คือขอให้ท่านชมลายมือ
คำอ่าน  คำแปล  เสียก่อน

ส่วนตอนอธิบายความผมจะใช้ตัวหนังสือสีฟ้าอ่อน
เพราะต้องการให้ท่านได้ชมและรู้สึกเองโดยไม่มีการชี้นำ
อันจะเป็นการทำลายจินตนาการแต่เบื้องแรก . . . .
หลังจากนั้นก็แล้วแต่ท่านจะลองอ่านเปรียบเทียบดู
Smiley



เชิญทัศนาเลยขอรับ



อ่านว่า.... โช อะขุ มะขุ ซะ ชู เซน บุ เกียว

แปลว่า.... ความชั่วใด ๆ ไม่กระทำ, ทำแต่ความดี

ลายมือนี้เขียนโดยท่าน อิกคิว โซจุน เมื่อปี 1480
เส้นพู่กันให้ควมรู้สึกรุนแรง...ถึงจวนจะคลั่งปานนั้นในพลังหมึก
เป็นคำสอนของพระพุทธศากยมุนี
ทรงกล่าวรวบยอดแห่งพระธรรมเทศนาเป็นครึ่งแรก
ครึ่งหลังคือ...ทำใจให้ผ่องแผ้ว
นี่คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์
ซึ่งตรงกับโอวาทปาฏิโมกข์ 3 ข้อ คือ
สัพพปาปัสส อกรณัง (การไม่ทำบาปทั้งปวง)
กุสลัสสูปสััมปทา (การทำกุศลให้ถึงพร้อม)
สจิตตปริโยทปนัง (การชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์ผ่องใส)

โปรดสังเกตว่า...หากจิตพะวงยึดอย่กับ "ดี" และ "ชั่ว"
จะไม่สามารถเขียนลายมือแบบนี้ออกมาได้
ลายมือท่านอิกคิวสะท้อนถึงภาวะ "จิตว่าง" จึงได้เส้นที่อิสสระเช่นนี้



.............................................



อ่านว่า.... โทเอ็น โอะ ไคเค ซุรุ นิ อิกขะ โนะ โมะโมะ
              ฟูไก โช

แปลว่า.... ยามเมื่อเดินรอบสวนบูรพา, ผลท้อลูกเดียว
              ฟูไก เขียน

ลายมือนี้เขียนโดยท่าน ฟูไก อิคุน เมื่อปี 1645
หนักแน่น เต็มไปด้วยจิตวิญาณ ดูสง่าองอาจยิ่ง
แนวดิ่งของแถวเฉไปจากกลางกระดาษเล็กน้อย
แ่ต่เมื่อใส่ลายเซ็นเข้าไปจะทำให้ถ่วงดุลพอดี

ความหมายของวลีบอกว่า
แม้จะมีหลากหลายวิธีแห่งการปฏิบัติธรรม
แต่ผลคือ "พุทธภาวะ" มีเพียงหนึ่งเดียว

ลายมือเขียนอักษรไม่ว่าสั้นหรือยาวในเนื้อหา
แต่ต้องเกิดจากผลแห่ง "พุทธภาวะ"



.............................................



อ่านว่า.... ชูโจ ซินชู โชบุทซึ มะซะ นิ เก็นซุ เบชิ

แปลว่า.... ที่อุบัติในกลางใจ มีพุทธะในสรรพสิ่ง

ลายมือนี้เป็นของท่าน เซนไก กิบอง เขียนเมื่อปี 1830
ท่านเขียนไปเรื่อยๆอย่างผ่อนคลาย  ไม่ต้องออกแรง
แต่ก็ไม่ถึงกับปราศจากกฎเกณฑ์เสียทีเดียว

ความหมายบ่งว่า "สิ่งมีชีวิตทุกอย่างล้วนมีธรรมชาติแห่งพุทธะ"
ท่านเซนไกเน้นย้ำถึงการอุทิศตนบำเพ็ญเพื่อสรรพชีวิต




.............................................



อ่านว่า.... นะมุ ไทโง โชจิน ยัมโย บุทซึ
              โชซาน

แปลว่า.... น้อมไหว้พระพุทธะ ผู้ทรงพละ เช้มแข็ง พากเพียรมานะ
              โชซาน (ลายเซ็น)

ลายมือนีเป็นของท่านซุซูกิ โชซาน เขียนเมื่อปี 1650
ท่านโชซานปฏิบัติธรรมแบบ "นิโอ เซน"
ลายมือนี้น้อมนำจิตใจให้สำนึกถึงพระกรณียะแห่งพระอวโลกิเดศวรโพธิศัตว์
(กวนอิม) ที่ทรงช่วยเหลือสรรพสัตว์อย่างไม่ลดละ
ท่านเขียนอย่างช้าๆและนุ่มนวล ทว่าสง่างาม
น้ำหมึกนั้นมากเข้ม แต่ไม่ใช้แรง ผ่อนคลาย
ท่านโชซานมีคำขวัญว่า
"ทุกอย่างต้องทำด้วยความเพียรเต็มที่และเปี่ยมด้วยจิตวิญญาณ"
ใครๆที่ชมลายมือนี้แล้วจะคล้ายๆมีสิ่งใหม่ๆมากระทบความรู้สึก



.............................................



อ่านว่า.... โคะโคะโระ โทขุ จิริ โอะ โบซึ
               ไคชู

แปลว่า.... จิตหายไป, ลืมสิ้นทุกสิ่งในจักรวาล
               ไคชู (ลายเซ็น)

ท่านคัทซึ ไคซู เขียนลายมือนี้เมื่อปี 1890
เป็นผลงานที่กล้าหาญ  อักษรตัวที่ 3 ดูชะงักเล็กน้อย
แต่ตัวถัดๆมาก็ดูเป็นหวัดแกมบรรจงที่ทำให้รู้สึกตื่นตัว
โดดเดี่ยว มั่นคง  เส้นหมึกไหลลื่นอิสระ

ใจความวาทะบอกถึงการไม่จำแนกแยกแยะ
อย่าไปยึดติดกับ "นั่น" "นี่" 
จงละทิ้งเสีย ความจริงอันอิสระจึงจะบังเกิด




.............................................



อ่านว่า... บูชิโด
             เดชู โรจิน โช

แปลว่า.... วิถีแห่งนักรบ(ซามูไร)
เขียนโดย ผู้เฒ่าเดชู

ลายมือนี้เขียนโดนท่านทาคะฮะชิ เดซู เมื่อปี 1900
ลายเส้นบอกถึงแก่นแท้แห่งความเป็นซามูไรคือ
...ความสงบเยือกเย็น...รุนแรง...มั่นคง...จริงใจ
ท่านเดซูศึกษาการเขียนลายมือแแบหวัดมากของพระสงฆ์จีน
ท่านฝึกฝนการใช้หอกด้วย
ลายเซ็นท่านสวยมาก




.............................................



สำหรับดนตรีคราวนี้ขอเสนอเพลง "น้ำไหล"
ผู้บรรเลงเดี่ยวเป็นอาจารย์สอนกู่ฉินที่แอลเอ
สหรัฐอเมริกาโน่นครับ



บรรเลงเดี่ยวกู่ฉิน เพลง หลิวสุ่ย (流水 : น้ำไหล)
โดย อาจารย์ หลี่ว์ เผย หยวน (呂培原)
ฟังเสียงน้ำใสๆไหลริน ช้าบ้าง เร็วบ้าง บางตอนก็หมุนวนควั่งคว้าง

<a href="https://www.youtube.com/v/B8F0G4QEQYg" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/B8F0G4QEQYg</a>

จาก http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=dingtech&month=02-2013&date=10&group=8&gblog=11