ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2016, 09:39:40 am »เวิ้งนครเกษม หรือ เวิ้งนาครเขษม เป็นย่านการค้า บนที่ดินขนาด 14 ไร่ 1 งาน 91 ตารางวา ตั้งอยู่ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์การค้าที่รวมสินค้าจีน ฝรั่ง และไทยไว้ด้วยกัน นับเป็นศูนย์การค้าสากลแห่งแรกของเกาะรัตนโกสินทร์[1] ปัจจุบันมีจุดเด่น คือ เป็นแหล่งจำหน่ายเครื่องดนตรี นอกจากนี้ก็มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และหนังสือเก่าหายาก
แต่เดิมนั้น ที่ดินเวิ้งนาครเขษมเป็นที่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดสระขนาดใหญ่ และทำเป็นสวนสำหรับเป็นที่เล่นสนานของคนทั่วไป เรียกว่า วังน้ำทิพย์ (ภาษาจีนแต้จิ๋วว่า จุ้ยเจียเก็ง) ใกล้บริเวณนั้นเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวจีนแต้จิ๋ว ต่อมาจึงได้พระราชทานที่ดินผืนดังกล่าวแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเห็นว่าบริเวณนี้มีชุมชนเกิดขึ้นแล้วจึงได้ถมจนกลายเป็นที่โล่งกว้างใหญ่ ตั้งชื่อว่า เวิ้งนาครเขษม มีความหมายถึง เวิ้งอันเป็นที่รื่นรมย์ของชาวเมือง ต่อมาชื่อเรียกเพี้ยนเป็น เวิ้งนครเกษม[2]
ในช่วงหลังเลิกทาสแล้ว คนที่อยู่ในวังที่พ้นจากการเป็นทาส เมื่อย้ายออกจากวังได้รับทรัพย์สินของนายบ้าง ขโมยมาบ้าง ได้นำของมาขายในบริเวณนี้ ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “ตลาดโจร” หรือ ในภาษาอังกฤษเรียกกันติดปากว่า “Thief Market” ชาวตะวันตกก็นำของมาแลกเปลี่ยนกันบ้าง จึงเกิดเป็นตลาดค้าของเก่าขึ้น ตามมาด้วยศูนย์การค้าขนาดย่อม และเป็นศูนย์การค้าแห่งแรกที่มีโรงภาพยนตร์ ชื่อ โรงภาพยนตร์นาครเขษม เป็นศิลปะแบบอาร์ตเดโก[3] ต่อมาหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีความนิยมในดนตรีตะวันตกเพิ่มขึ้น เวิ้งนาครเขษมเป็นแหล่งนำเข้าเครื่องดนตรีจากตะวันตกมาขาย แและเกิดแหล่งค้าของเก่า เครื่องดนตรี หนังสือเก่า เครื่องทองเหลือง รวมทั้งร้านอาหาร ลักษณะอาคารศูนย์การค้ามีรูปแบบเป็นห้องแถว เริ่มแรกเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว แต่เกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ปรับปรุงอาคารเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้นและสามชั้นตามลำดับ อาคารมีรูปทรงแบบตะวันตก มีลายปูนปั้นตามวงกรอบประตูหน้าต่าง มีช่องระบายความร้อนและความชื้นที่แกะสลักด้วยไม้ หลังคากระเบื้องว่าว รอบสถานที่มีซุ้มประตูไม้สักฉลุลวดลายสวยงาม หลังเกิดเหตุไฟไหม้ยังมีการสร้างตลาดใหม่ ชื่อว่า “ตลาดปีระกา” เพราะสร้างเสร็จในปีระกา
ถึงยุคปัจจุบัน บริเวณแห่งนี้เป็นสมบัติกองมรดกรวมของตระกูล 5 ตระกูล ประกอบด้วย กิติยากร สวัสดิวัตน์ เทวกุล โสณกุล และบุณยะปานะ ซึ่งสืบสายจากพระธิดาทั้ง 5 ของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต และได้โอนกรรมสิทธิ์ขายที่ดินให้บริษัท ทีซีซี เวิ้งนาครเขษม จำกัด บริหารจัดการ ด้วยราคาประมาณ 4,800 ล้านบาท โดยทำการโอนเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555[4]
บริเวณที่ดินแปลงนี้ ผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครฉบับปัจจุบัน และร่างฉบับใหม่ที่จะประกาศเดือนพฤษภาคม 2556 ได้กำหนดเป็นพื้นที่สีแดง "พ.3" หรือที่ดินประเภทพาณิชยกรรม สามารถพัฒนาได้ทั้งที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ แต่มีพื้นที่ไม่เกิน 1 หมื่นตารางเมตร หากจะสร้างเกินจะต้องอยู่ในเขตทางมีความกว้างไม่น้อยกว่า 10, 16 และ 30 เมตร หรือรัศมี 500 เมตร จากสถานีรถไฟฟ้า
เวิ้งนาครเขษม มีร้านจำหน่ายอาหาร มากมายที่เลื่องชื่อ อาทิ ร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อวัว ร้านผลไม้ดอง ร้านน้ำดื่มผสมโซดาด้วยเครื่องกดโบราณ ร้านน้ำผลไม้ น้ำแข็งใส ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า และมีสินค้าหลากหลายไม่ว่าจะเป็นเครื่องทองเหลืองสำหรับประกอบอาหาร เครื่องไฟฟ้า ร้านเฟอร์นิเจอร์ ร้านจำหน่ายตู้เซฟ ร้านจำหน่ายวัตถุโบราณ และสิ่งที่เป็นชื่อเสียงคือ เป็นแหล่งจำหน่ายเครื่องดนตรี และมีร้านหนังสือเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของหนังสือสารคดี หนังสือโหราศาสตร์[5] ตำรากฎหมาย คู่มือการทำการค้า นวนิยายรักและผจญภัยเช่น เสือดำเสือใบ และสามเกลอ พล นิกร กิมหงวน รวมไปถึงยังมีสินค้านำเข้าจากอังกฤษ อเมริกา และญี่ปุ่น
เดินเล่นเวิ้ง + ซื้อกีต้าร์ ก่อนปิดตำนานเวิ้งนาครเขษม
เวิ้งนาครเขษม
2 เดือนสุดท้ายย่านดนตรีเวิ้งนครเกษม ปิดตำนานย่านดนตรีเก่าแก่ของกรุงเทพมหานครลงอย่างแท้จริง..
ช่วง "ดนตรีมีเรื่องเล่า" รายการไทยบันเทิง ช่อง ThaiPBS ออกอากาศเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2559
"เวิ้งนาครเขษม"ความทรงจำที่ไม่มีวันจาง
'เวิ้งนาครเขษม' สวรรค์ของนักดนตรี ที่หลังจากวันนี้และตลอดไปก็จะกลายเป็นแค่ภาพความทรงจำในอดีต เมื่อกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ถูกเปลี่ยนมือ ติดตามได้จากรายงาน
ย้อนตำนานเวิ้งนาครเขษม
ปิดตำนานเวิ้งนาครเขษม | 19-07-59 | new)ข่าวเช้า | new)tv
เวิ้งนาครเขษม ของชุมชนหรือทุนจีน
เวิ้งนาครเขษม ผลประโยชน์กับมรดกทางวัฒนธรรม
เวิ้งนาครเขษม เมืองเก่ากลางกรุง
"เวิ้ง นาครเขษม" หลายคนรู้จักกันดีว่าเป็นแหล่งขายเครื่องดนตรีที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ที่นี่ไม่เป็นเพียงย่านการค้าที่คึกคักเท่านั้น แต่ชุมชนเวิ้งฯแห่งนี้ยังแฝงกลิ่นอาย คุณค่าของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของชาวไทยเชื้อสายจีนที่สืบทอดมาหลายช่วงอายุ คน
แต่ เมื่อเร็วๆนี้ ผืนดินกว่า 14 ไร่เศษแห่งนี้ได้ถูกเปิดประมูลโดยเจ้าของที่ดิน ซึ่งมีการตั้งราคาไว้สูงถึง 4,700 ล้านบาท ชาวชุมชนเวิ้งได้รวม ทุนกันตั้งบริษัทในนาม บริษัท เวิ้งนาครเขษม จำกัด เข้าร่วมยื่นประมูลในราคา 4,800 ล้านบาท แต่ก็ไม่สามารถต่อสู้กับทุนภายนอกที่ให้ราคาที่ดินแห่งนี้สูงกว่า 5,500 ล้านบาทได้
เมื่อพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ย่านการค้าสำคัญของกรุงเทพมหานคร กำลังจะถูกเปลี่ยนมือ รากเหง้า ประวัติศาสตร์ และคุณค่าทางจิตวิญญาณที่สั่งสมมาร้อยกว่าปี อาจต้องสูญหาย ไปพร้อมกับมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ถูกตีค่าเป็นตัวเงินมหาศาล
"เวิ้งฯคือตำนาน ลูกหลานจะคงไว้"
ปิดตำนาน "เวิ้ง นาครเขษม"
รักษาเวิ้งนาครเขษม รายการ Amorn On Tour
ทุนหมื่นล้านจุดเปลี่ยนชุมชน 'เวิ้งนาครเขษม'
พลิกแผนที่ "ธุรกิจ-ชุมชน" เวิ้งนาครเขษม