ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 22, 2016, 11:12:39 pm »





<a href="https://www.youtube.com/v/UhBtNyCtN8k" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/UhBtNyCtN8k</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/HqdKOY3rWfI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/HqdKOY3rWfI</a>


เซน = ปัจจุบันขณะ

 
ความเรียงโดย.... ท่าน ว.วชิรเมธี
 
                 
                   ๖ – ๑๙ เมษายน ๒๕๕๓ ผู้เขียนและคณะสถาปนิกผู้เป็นโพธิสัตวภาคี (พธส./อาสาสมัคร) ในการออกแบบสถาบันวิมุตตยาลัย ซึ่งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่ผู้เขียนมีโครงการจะสร้างขึ้นที่รังสิตคลอง ๑๔ ในอนาคตอันใกล้   จำนวน ๑๑ คน อยู่ในระหว่างศึกษาดูงานสถาปัตยกรรมและการวางแผนผังการพัฒนาวัดในพุทธศาสนา ณ ประเทศญี่ปุ่น
                 
                  เราออกเดินทางไปศึกษาดูงานกันหลายวัด หลายพิพิธภัณฑ์ และวันนี้ คณะของเราเดินทางมาถึงวัด “เรียวอันจิ” ซึ่งเป็นวัดขนาดกลาง ตั้งอยู่ในเมืองเกียวโต ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของญี่ปุ่นมาก่อน

                  วัดเรียวอันจิ เป็นวัดในพุทธศาสนานิกายเซน วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่แต่โบราณ มีอายุเก่าแก่พอๆ กับเมืองเกียวโต เสน่ห์ที่ดึงดูดให้ใครต่อใครมาเยือนวัดเก่าแก่แห่งนี้ก็คือ การจัดสวนแบบเซน ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ “ง่าย แต่ งาม”

                  คณะของผู้เขียนมาได้ถูกจังหวะพอดี เพราะช่วงนี้ดอกซากุระกำลังผลิบานทั่วเกาะญี่ปุ่น ซ้ำอากาศก็กำลังหนาวเย็นสบาย ไม่มากไปไม่น้อยไป คณะของผู้เขียนมาถึงวัดนี้ในเวลาบ่ายยแก่ๆ แต่ถึงกระนั้นผู้คนที่มาชมสวนก็ยังมีมากมายคับคั่ง

                  อาณาบริเวณของวัดร่มครึ้มด้วยแมกไม้และสวนสวยงาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวนซากุระที่แข่งกันผลิดอกสะพรั่งอวดสายตาผู้มาเยือน แต่หัวใจจริงๆ ไม่ใช่ซากุระที่กำลังอวดความสวยงาม หากแต่เป็นสวนหินที่จัดโดยอาศัยศิลปะแบบเซนต่างหาก

                  “เซน” เป็นภาษาญี่ปุ่น ตรงกับคำว่า “ฌาน” ในภาษาบาลี หรือ “ฉาน” ในภาษาจีน แปลตรงตัวว่า “สมาธิ” หรือการ “เพ่งพิจารณา” แต่ในทัศนะของผู้เขียนคิดว่า คำแปลที่แท้จริงของเซ็นน่าจะตรงกับคำว่า “ตื่นรู้อยู่ในปัจจุบันขณะ” หรือ “ซาโตริ” ในภาษาญี่ปุ่นมากกว่า

                  พุทธศาสนานิกายเซนนั้น มีรากเหง้ามาจากพุทธศาสนาดั้งเดิม เติบโตขึ้นในจีน และคลี่คลายขยายตัวจนเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในญี่ปุ่น แล้วก็แพร่หลายสู่ตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกามาจนทุกวันนี้

                  ลักษณะเฉพาะของพุทธศาสนานิกายเซนก็คือ เน้นการตื่นรู้อย่างฉับพลันทันทีโดยไม่อาศัยคัมภีร์หรือคำพูดมากมาย เครื่องมือสำคัญประการหนึ่งของเซนก็คือ การเจริญสติ (เช่น ที่แปรรูปมาเป็นพิธีชงชาและดื่มชาอย่างมีสติในวัฒนธรรมญี่ปุ่น) และการขบปริศนาธรรมที่เรียกว่า “โกอาน”

                  ที่วัดเรียวอันจิ เราได้มีโอกาสชื่นชมสวนหินแบบเซน ซึ่งจัดวางไว้อย่างเรียบง่าย งดงาม ลงตัว ทว่ามีนัยทางธรรมอย่างน่าสังเกต ท่ามกลางกรวดหินสีขาวสะอาดที่ได้รับการจัดวางอย่างงดงาม   ตรงกลางสวน  มีหินวางอยู่อย่างมีความหมาย กล่าวกันว่า ก้อนหินมีทั้งหมด ๑๕ ก้อน แต่โดยมากมักนับกันได้เพียง ๑๔ ก้อนเท่านั้นเอง



   จำนวนหินที่ว่ามี ๑๕ ก้อน แต่เวลานับ กลับนับได้เพียง ๑๔ ก้อน คือ โกอาน หรือปริศนาธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งดึงดูดผู้สนใจสวนหินในวัดเซนแห่งนี้ให้มาใช้เวลาว่างนั่งพิจารณาหา “แก่น” ของปริศนาธรรมที่ว่านี้  แต่หากใครที่ไม่รู้จักเซนมาก่อน เวลามาถึงสวนอันงดงามแห่งนี้ สิ่งแรกที่พวกเขาจะทำก็คือการถ่ายรูปด้วยความตะลึงลานในความงาม

                  ผู้เขียนใช้เวลานั่งพิจารณาอยู่ที่สวนหินแบบเซนที่วัดเรียวอันจิอยู่ร่วมชั่วโมง ระหว่างนั้น ก็ได้ยินผู้ร่วมคณะขบปริศนาธรรมกันไปต่างๆ นานา

                  ต่างคนต่างตีความกันไปคนละแบบ



บางคนว่า หินมี ๑๕ ก้อน
บางคนว่า ๑๔ ก้อน 
บางคนว่า หากนับจากด้านหนึ่งจะมองเห็นหินครบ ๑๕ ก้อน
บางคนว่า หากนับจากอีกด้านหนึ่งจะเห็นหิน ๑๔ ก้อน
เป็นอันว่า ทุกคนตกอยู่ใน “หลุมพราง” ที่เซนดักเอาไว้เต็มประตู



  เพราะตามความเป็นจริง จากการพิจารณาของผู้เขียน สาระสำคัญในเรื่องนี้ คงไม่ได้อยู่ที่มีหินอยู่กี่ก้อน
                  แต่อยู่ที่ว่า คุณเห็น “หิน” ที่วางสงบอยู่ตรงหน้าไหม ?    หรือคุณรู้จักอยู่กับปัจจุบันด้วยการ “เห็น” สักแต่ว่า “เห็น” หรือเปล่า ?

                  คนจำนวนมาก เมื่อเห็นอะไร ก็อดใช้ประสบการณ์เดิมมาตีความสิ่งที่เห็นไม่ได้ นั่นเป็นเหตุให้เราหลุดจาก “ปัจจุบันขณะ” เข้าสู่โลกของ “ความคิด” ซึ่งหากไม่เป็นความคิดอิงอดีต ก็อิงอนาคต เราจึงพลาดจากปัจจุบันขณะไปอย่างสิ้นเชิง

                     ต้องไม่ลืมว่า แก่นของเซน คือ “ปัจจุบันขณะ” (present moment)
                  ต้องไม่ลืมว่า แก่นของเซน ไม่เน้นการ “คิด” แต่เน้นการ “ตื่น”
                  ต้องไม่ลืมว่า แก่นของเซน ไม่เน้นการ “รู้” แต่เน้นการ “รู้สึก” สดๆ เฉพาะหน้า
                  ต้องไม่ลืมว่า แก่นของเซน เน้นสิ่งที่อยู่ “ตรงหน้า” ไม่ใช่สิ่งที่ถูกซ่อนไว้ในวันวารหรือวันพรุ่ง
                  ต้องไม่ลืมว่า แก่นของเซน ไม่เน้นหัวสมอง หากแต่เน้น “หัวใจ”

                  เมื่อเราจับแก่นของเซนไม่ได้ เราจึงพลาดไปถกแถลงกันว่า ตกลงหินมีกี่ก้อน ?
                  พอติดกับดักอยู่กับจำนวนของก้อนหิน และพลาดจากปัจจุบันขณะไปใช้หัวสมองมากกว่าหัวใจ  เราจึงได้ไปเยือนสวนเซนแค่กาย แต่ใจนั้นยังไปไม่ถึง

                 สวนหินแบบเซน ถูกออกแบบเพื่อเป้าหมายคือการเจริญสติ ถ้ามาเยือนสวนหินแห่งนี้แล้ว พลาดจากการเจริญสติไป ก็นับว่าน่าเสียดาย

              น่าเสียดายที่เข้ามาอยู่ในสวนเซน  แต่มองไม่เห็นหัวใจของสวนที่แท้จริง 

<a href="https://www.youtube.com/v/gVOy7oboGic" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/gVOy7oboGic</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/hvEQ51ExwDA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/hvEQ51ExwDA</a>

...



ภาพเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับวัดเรียวอันจิ

         วัดเรียวอันจิเป็นวัดที่อุดมด้วยมวลหมู่ไม้นานาพันธ์ วัดเรียวอันจิหรือวัดมังกรสันติ สร้างเมื่อพ.ศ.1993 เป็นวัด
แบบเซนที่มีชื่อเสียง   คือเรื่องการทำสมาธิและความสงบแบบเซน ด้วยการมองก้อนกรวด และก้อนหิน ทั้ง 15
ก้อน แล้วพิจารณาก้อนกรวด ก้อนหินที่ตั้งอยู่ตรงหน้า  ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจความหมายของชีวิต และความว่าง
เปล่าแบบเซนได้ด้วยตัวเอง แต่ภายในวัดไม่ได้มีเท่านี้ รอบๆ บริเวณวัดยังมีที่ร่มรื่น ให้ได้เดินผ่อนคลาย สบายๆ
จนเกิดความสงบในใจ


ไม่มีอาการของความเหน็ดเหนื่อยกับการเที่ยวชม เพราะอากาศที่นี่ดีมาก ๆ


สดชื่นแจ่มใสตลอดการเดินทางชมวัด


การสร้างบันใดที่นี่ให้สังเกตดูว่า จะกว้างไม่สูงชัน แต่ละขั้นกว้างเดินขึ้นกันอย่างสบายๆไม่เมื่อยไม่ล้า


บ่อน้ำจากน้ำธรรมชาติ สำหรับล้างมือ และบ้วนปาก ไม่ใช่น้ำประปาอย่างบ้านเรา


อาคารแบบสไตล์ญี่ปุ่นแท้ๆ แบบโบราณ สวยงามมาก


ฝาหนังบานเลื่อน วาดลวดลายแบบญี่ปุ่น


ระเบียงทางเดินด้านนอก


ด้านหลังอาคาร ประตูบานเลื่อนเช่นกัน




บรรยากาศทั่วไปภายในวัด


โคมไฟหิน


ต้นมอสที่ขึ้นทั่วไปในบริเวณวัด แสดงว่าที่นี่อากาศชุ่มชื่น และดินอุดมสมบูรณ์มากที่เดียว
แปลกนะญี่ปุ่นสามารถรักษาพื้นที่ป่าได้อุดมสมบูรณ์ ทั้งที่อยู่กลางใจเมืองสำคัญๆได้ เป็นเพราะอะไร
 แล้วทำไมประเทศไทยเราทำไม่ได้ ??



นี่ละ สวนหิน ที่เป็นปริศนาให้นั่งมอง เพื่อทำสมาธิ ให้เกิดความสงบแบบเซ็น


สวนหินรอบๆก็จะเป็นพวกโคมไฟ


สวนหินแกะสลักเป็นรูปสัตว์


สวนหินแกะสลักเป็นรูปพระพุทธรูป อยู่ในป่า


ประตูทางเข้าแบบเก่า (ไม่ได้เปิดให้เข้าไปชมภายใน)


ทางออก


ร่มรื่นเช่นเคย เดินสบายๆ แทบไม่ต้องกลัวแดดกันเลย

จาก http://www.tamdee.net/main/simple/?t1299.html

...



สวนหินเซน วัดเรียวอันจิ สวนหินที่ดูอย่างไรก็ยังคงหิน


เพียงสองป้ายรถเมลล์ถัดจากวัดคินคะคุจิ มีวัดแห่งหนึ่งที่เป็นสถานที่ที่น่าสนใจสำหรับผู้ชื่นชอบในปรัชญาแบบเซนอยู่ นั่นคือ วัดเรียวอันจิ (Ryoan-ji) วัดเก่าแก่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองเกียวโตที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องสวนหินแบบเซน (Karesanryu) และเป็นวัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกจากองค์การยูเนสโก้อีกด้วย

วัดเรียวอันจิเป็นวัดพุทธ นิกายเซนสายรินไซ ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อ ค.ศ.1450 โดยโชกุนคัตสุโมโตะ โฮโซคาว่า (Hosokawa Katsumoto) โดยในช่วงแรกเขาก่อสร้างตำหนักของเขาขึ้นพร้อมกับวัดแห่งนี้ซึ่งมีสวนเซนอยู่ภายใน แต่วัดเรียวอันจิในสมัยนั้นก็ได้ถูกไฟเผาทำลายจนหมดสิ้นในช่วงสงครามโอชิน ลูกชายของท่านโชกุนมัตสุโมโตะ โฮโซคาว่า (Matsumoto Hosakawa) จึงได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นมาใหม่อีกครั้งในปี ค.ศ.1488 และมีแนวโน้มว่าสร้างสวนหินขึ้นที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี้ในปี ค.ศ.1499 นอกจากจะมีสวนหินที่สวยงามแล้ว วัดแห่งนี้ยังมีบ่อน้ำขนาดใหญ่และสุสานของตระกูลโฮโซกาว่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ สุสานแห่งจักรพรรดิทั้งเจ็ด (Seven Imperial Tombs)

สวนหินเซน เปรียบได้กับผลงานศิลปะที่มีชีวิต เนื่องจากองค์ประกอบภายสวนที่เต็มไปด้วย หิน ต้นไม้และพืชต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาอยู่ตลอด ทำให้ไม่มีลักษณะที่มั่นคงยั่งยืน ไม่มีที่สิ้นสุดและสมบูรณ์ ความงามของสวนจะเกิดขึ้นได้ต้องอยู่ที่ฝีมือของผู้บำรุงรักษา ที่เข้าใจพื้นฐานลักษณะของสวน มีใจรักและเข้าใจในปรัชญาเซนด้วย

ความหมายของสวนเซนแห่งนี้ยังคงเป็นสิ่งที่คลุมเครือ ไม่มีใครรู้ความหมายที่แท้จริง บนพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 248 ตารางเมตรแห่งนี้ ประกอบไปด้วยกลุ่มหินที่ถูกว่างไว้อย่างตั้งใจและสมดุลรวมทั้งหมด 15 ก้อน แต่มีความเชื่อกันว่าผู้ที่สามารถมองเห็นก้อนหินทั้งหมด 15 ก้อนได้นั้น จะต้องเป็นผู้ที่บรรลุในหลักธรรมฌาณขึ้นสูงสุดเท่านั้นจึงจะสังเกตเห็นได้ (ถ้านั่งนับดูจะเห็นว่ามีหินอยู่เพียง 14 ก้อนครับ)


การชมสวนหินแห่งนี้ควรนั่งอยู่บนระเบียงไม้ที่ทางวัดได้จัดไว้ให้แล้วซึมซับถึงบรรยากาศที่แสนสงบ แต่ก่อนที่จะซึมซับถึงบรรยากาศที่สงบได้ สิ่งสำคัญที่สุด เราต้องมีสมาธิในตัวเองก่อน เนื่องจากวัดแห่งนี้เป็นสถานที่ที่โด่งดังมากในเมืองเกียวโต ระหว่างที่เรานั่งชมสวนหินอยู่ รอบตัวเราะจึงมีคนเดินไปมา ลุกขึ้นลุกลง และคุยกระซิบกระซาบกันเต็มไปหมด การจะชมสวนหินโดยสงบที่วัดแห่งนี้ได้จึงเป็นอะไรที่ดูหินมากเสียจริง ๆ

จาก http://th.japantravel.com/