ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 28, 2016, 02:28:44 pm »ชาวนาผู้หนึ่งขุดบ่อและใช้น้ำจากบ่อนั้นรดพืชพรรณในไร่นาของตน เขาใช้ถังธรรมดาตักน้ำขึ้นมาดุจดังวิถีโบราณที่ผู้คนทำกัน มีผู้ผ่านมาแลเห็นเข้าจึงถามชาวนาว่าเหตุใดจึงไม่ใช้คันชักน้ำ ซึ่งจะช่วยทุ่นแรงและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีโบราณ แต่ชาวนากลับตอบว่า “ข้ารู้ว่ามันช่วยทุ่นแรง และด้วยเหตุนี้เองข้าจึงไม่ใช้มัน ข้าเกรงว่าการใช้เครื่องมือเช่นนั้นจะทำให้จิตใจของเรากลับกลายเป็นเครื่องจักร และจิตใจที่เป็นกลไกจะทำให้เรามีนิสัยเฉื่อยชาเกียจคร้าน”
ชาวตะวันตกมักจะรู้สึกสงสัยว่าเหตุใดคนจีนจึงไม่พัฒนาวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์เครื่องกลต่างๆ เขาพากันบอกว่า นี่เป็นเรื่องแปลกมาก เพราะคนจีนมีชื่อเสียงในเรื่องการคิดค้นและการประดิษฐ์ ยกตัวอย่างเช่น เข็มทิศ ดินปืน กงล้อ กระดาษ และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ เหตุผลสำคัญก็คือคนจีนและชาวเอเชียอื่นๆ ล้วนรักชีวิตอย่างที่มันเป็น และไม่ปรารถนาที่จะแปรเปลี่ยนมันให้กลายเป็นวิถีทางสู่ความสำเร็จผลอย่างอื่น ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เขารักการงานอย่างที่มันเป็น แม้ว่าหากจะกล่าวไปแล้วการงานหมายถึงการทำบางสิ่งให้สำเร็จผล แต่ในขณะที่กระทำการงานเขาก็มีสุขในงานนั้นด้วยและไม่ได้รีบเร่งจะให้เสร็จ เครื่องจักรเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพและกระทำการงานให้สำเร็จลุล่วงได้มากกว่าแรงคน ทว่าเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ไร้หัวจิตหัวใจ ปราศจากการริเริ่มสร้างสรรค์และปราศจากความหมาย
ความเป็นกลไกหมายถึงสติปัญญา และด้วยเหตุที่สติปัญญาคือประโยชน์นิยมเป็นอันดับแรก จึงหาได้มีสุนทรียธรรม จริยธรรม อยู่ในเครื่องจักรไม่ เหตุผลที่ทำให้ชาวนาของจวงจื้อไม่ยอมมีจิตใจแบบเครื่องจักร จึงเป็นเพราะเหตุนี้ เครื่องจักรเร่งเร้าให้เรากระทำการงานได้เสร็จสิ้นและบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่มันได้ถูกสร้างขึ้น การงานและแรงงานในตัวของมันเองหาได้มีคุณค่าใดไม่นอกเสียจากกลายเป็นวิธีการไป กล่าวคือชีวิตได้สูญเสียพลังการสร้างสรรค์และได้กลับกลายเป็นแค่เครื่องมือเท่านั้น บัดนี้มนุษย์ได้กลายเป็นกลไกการผลิต นักปรัชญาได้พูดกันถึงเรื่องคุณค่าความหมายของมนุษย์ และดังที่เราได้เห็นกันอยู่ในยุคแห่งอุตสาหกรรมและกลไกอันทรงพลังนี้ เครื่องจักรได้กลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง และมนุษย์ได้ถูกลดทอนให้กลายเป็นทาสอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าคิดว่านี้คือสิ่งที่จวงจื้อหวาดเกรง แน่นอนว่าเราไม่อาจหมุนกงล้อของลัทธิอุตสาหกรรมให้ย้อนกลับไปสู่ยุคสมัยดั้งเดิมแห่งงานฝีมือ ทว่าเป็นการดีที่เราจะให้ค่ากับงานมืองานไม้และตระหนักถึงความชั่วร้ายของความเป็นกลไกในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเน้นที่สติปัญญามากเกินไปโดยยอมละทิ้งชีวิตทั้งหมด
เราได้พูดถึงตะวันออกกันมามากแล้ว บัดนี้ลองมากล่าวถึงตะวันตกกันบ้าง Denie de Rougemont ในงานเขียนชื่อ “Man’s Western Guest” ได้กล่าวถึง “มนุษย์กับเครื่องจักร” ในฐานะเครื่องหล่อหลอมลักษณะสองประการในวัฒนธรรมตะวันตก นี่เป็นประเด็นสำคัญยิ่ง ด้วยเหตุที่มนุษย์กับเครื่องจักรเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกัน ซึ่งตะวันตกได้พยายามอย่างยิ่งที่จะหาทางประสานความแตกต่างเข้าด้วยกัน ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าชาวตะวันตกได้กระทำไปอย่างรู้ตัวหรือไม่ ข้าพเจ้าเพียงแต่กล่าวถึงอาการที่ความคิดสุดขั้วทั้งสองดำเนินอยู่ในจิตใจของชาวตะวันตกในปัจจุบัน พึงตระหนักได้ว่าเครื่องจักรนั้นแตกต่างกับปรัชญาของจวงจื้อเรื่องการงานและการใช้แรงงาน และแนวคิดตะวันตกเรื่องเสรีภาพของปัจเจกและความรับผิดชอบใจตนเองกลับเป็นสิ่งตรงข้ามกับแนวคิดตะวันออกเรื่องเสรีภาพขั้นอันติมะ ทว่าข้าพเจ้าจะไม่ลงรายละเอียดในที่นี้ แต่จะพยายามสรุปให้เห็นซึ่งความขัดแย้งที่ตะวันตกกำลังเผชิญและทุกข์ทรมานภายใต้:
๑. มนุษย์กับเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว และด้วยเหตุแห่งความขัดแย้งนี้ ตะวันตกจึงต้องพบเผชิญกับความตึงเครียดทางจิตใจอย่างสุดแสน ซึ่งได้สำแดงออกให้เห็นหลายประการด้วยกันในวิถีชีวิตสมัยใหม่
๒. มนุษย์หมายถึงปัจเจกภาพ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ในขณะที่เครื่องจักรเป็นผลผลิตของสติปัญญา เป็นนามธรรม มีกฎเกณฑ์ มีลักษณะเบ็ดเสร็จ และชีวิตรวมหมู่
๓. ถ้าจะกล้าวอย่างภววิสัยหรืออย่างเป็นวิชาการหรือพูดในมุมของจิตใจแบบกลไก ความรับผิดชอบต่อตนเองหามีความหมายใดไม่ ด้วยเหตุที่ความรับผิดชอบเป็นตรรกะที่สัมพันธ์อยู่กับเสรีภาพ และในตรรกะหาได้มีเสรีภาพอยู่ไม่ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างถูกควบคุมอยู่ด้วยกฎเกณฑ์อันแข็งกระด้างของหลักอนุมาน
๔. ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ในฐานะที่เป็นผลิตผลทางชีวภาพ ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางชีวภาพด้วย พันธุกรรมคือข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ด้วยบุคลิกภาพ ฉันมิได้เกิดมาด้วยเจตจำนงเสรี พ่อแม่ก็ไม่ได้ให้กำเนินฉันมาด้วยเจตจำนงเสรี การเกิดไม่อาจวางแผนไว้ได้
๕. เสรีภาพเป็นแนวความคิดที่ไร้สาระ ฉันมีชีวิตอยู่ในสังคม ในกลุ่มชน ซึ่งจำกัดฉันไว้ด้วยอาการต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แม้ในยามที่อยู่เพียงลำพังฉันก็มิได้เป็นอิสระ ฉันมีแรงกระตุ้นหลากหลายซึ่งไม่อาจควบคุมบังคับมันได้ แรงกระตุ้นบางอย่างก็ฉุดลากฉันไปอย่างไม่อาจเหนี่ยวรั้ง ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกอันจำกัดคับแคบนี้ เราไม่อาจพูดถึงการเป็นอิสระหรือกระทำอย่างที่เราปรารถนาได้ แม้แต่ความปรารถนานี้ก็หาใช่สิ่งที่เป็นของเราไม่
๖. มนุษย์อาจพูดถึงเรื่องเสรีภาพ ทว่าเครื่องจักรจำกัดเขาไว้ในทุกๆ ด้าน ด้วยคำพูดไม่อาจไปได้ไกลเกินกว่านั้น ตั้งแต่แรกเริ่มมาแล้วที่คนตะวันตกเหนี่ยวรั้งควบคุมและกีดกัน ความเลื่อนไหลเป็นธรรมชาติของเขามิใช่ของจริง หากหากเกิดแต่เครื่องจักร เครื่องจักรหาได้มีการสร้างสรรค์ใดๆ ไม่ มันจะทำงานตราบเท่าที่ยังมีสิ่งที่ถูกใส่เข้าไปเพื่อให้ดำเนินไป มันไม่มีทางที่จะกระทำการดุจดังมนุษย์ได้
๗. มนุษย์จะเป็นอิสระก็ต่อเมื่อเขามิใช่ตัวบุคคลอีกต่อไป เขาจะเป็นอิสระก็ต่อเมื่อเขาปฏิเสธตนเองและกลืนรวมเข้ากับทั้งหมด หรือกล่าวให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เขาจะเป็นอิสระเมื่อเขาเป็นตัวเองและขณะเดียวกันก็มิใช่ตัวเอง เว้นเสียแต่เราจะเข้าใจถึงนัยผกผันนี้อย่างถ่องแท้ เขาไม่มีคุณสมบัติพอที่จะพูดถึงเรื่องเสรีภาพหรือความรับผิดชอบหรือความเลื่อนไหลเป็นธรรมชาติ ดังเช่นความลื่นไหลเป็นธรรมชาติที่ชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักจิตเคราะห์พูดถึง ก็มิใช่อะไรมากไปกว่าความลื่นไหลเป็นธรรมชาติแบบเด็กๆ หรือแบบสัตว์ หาใช่ความลื่นไหลเป็นธรรมชาติของผู้เปี่ยมด้วยวุฒิภาวะไม่
๘. เครื่องจักร พฤติกรรมศาสตร์ เงื่อนไขการตอบสนอง คอมมิวนิสต์ การผสมเทียม การทำให้เป็นอัตโนมัติ การผ่าชำแหละเพื่อการศึกษา เอชบอมบ์ เหล่านี้ทั้งหมดล้วนสัมพันธ์กันอยู่อย่างใกล้ชิด เชื่อมโยงต่อติดกันเป็นห่วงโซอันแข็งเหนียวแน่นแห่งตรรกะ
๙. ตะวันตกพยายามที่จะทำวงกลมให้เป็นสี่เหลี่ยม ตะวันออกพยายามที่จะเทียบเคียงวงกลมเข้ากับสี่เหลี่ยม สำหรับเซนแล้ววงกลมก็คือวงกลม และสี่เหลี่ยมก็คือสี่เหลี่ยม และในขณะเดียวกันสี่เหลี่ยมก็คือวงกลม และวงกลมก็คือสี่เหลี่ยม
๑๐. เสรีภาพเป็นเพียงทัศนะเชิงอัตวิสัยและไม่อาจตีความให้เป็นภววิสัยได้ เมื่อเราพยายามจะทำให้เป็นดังนั้น ก็เท่ากับเราได้เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งอย่างดิ้นไม่หลุด ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงอยากจะกล่าวว่า การพูดถึงเรื่องเสรีภาพในโลกแห่งภววิสัยอันจำกัดคับแคบซึ่งแวดล้อมเราอยู่นี้เป็นเรื่องไร้สาระยิ่ง
๑๑. ในโลกตะวันตก “ใช่” ก็คือ “ใช่” และ “ไม่” ก็คือ “ไม่” “ใช่” ไม่อาจเป็น “ไม่” ไปได้หรือโดยนัยกลับกัน ทว่าตะวันออกทำให้ “ใช่” เคลื่อนเข้ามาสู่ “ไม่” และทำให้ “ไม่” มาสู่ “ใช่” ไม่มีการแบ่งแยกอย่างเด็ดขาดอยู่ระหว่าง “ใช่” กับ “ไม่” ธรรมชาติของชีวิตย่อมเป็นดังนี้ มีเพียงตรรกะเท่านั้นที่เส้นแบ่งนั้นไม่อาจลบเลือนลงได้ ตรรกะเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการใช้สอยในกิจการงานต่างๆ
๑๒. เมื่อตะวันตกเริ่มตระหนักในข้อเท็จจริงนี้ จึงได้สร้างแนวคิดทางฟิสิกซ์ที่เรียกว่าทฤษฎีสมบูรณ์หรือหลักการแห่งความไม่แน่นอน เมื่อไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกซ์บางประการได้ แม้ว่ามันจะประสบความสำเร็จในการสร้างแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ก็ไม่อาจตีกรอบให้แก่ความเป็นจริงแห่งสภาวะการดำรงอยู่ได้
๑๓. ศาสนามิได้เกี่ยวข้องกับเราในที่นี้ แต่ก็คงไม่ว่างเปล่าเสียทีเดียวหากจะยกมากล่าว คริสต์ศาสนาอันเป็นศาสนาของตะวันตก พูดถึงพระวัจนะ พระคัมภีร์ พูดถึงเนื้อหนังและการกลับฟื้นคืนชีพ และความรุนแรงบ้าคลั่งชั่วกาล ทว่าศาสนาของตะวันออกกลับเน้นที่การหลุดพ้น ความสงบวิเวก ภวังค์และสันติสุขนิรันดร์ สำหรับเซนแล้วการกลับชาติมาเกิดก็คือการหลุดจากธรรมชาติ ตามเสียงคำรามครืนครั่นดุจอัสนีบาต และถ้อยคำอันยิ่งใหญ่นั้นไร้ถ้อย เนื้อหนังปราศจากเนื้อหนังปัจจุบันขณะเทียบเท่าสุญตาและอนันตภาพ
ที่มา: สานแสงอรุณ ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
*นำไปเผยแพร่ต่อ กรุณาอ้างอิงที่มา*
หมายเหตุบรรณาธิการ
ไดเซทสึ เทตาโร ซูสุกิ (Daisetz Teitaro Suzuki ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๙๖๖) เป็นศาสตราจารย์พุทธปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยโอตานิ เกียวโต เกิดในครอบครัวเซนสำนักรินไซ เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล โตเกียว ได้ศึกษาเซนที่กามากุระไปพร้อมกัน ภายใต้โรชิ อมาคิตะ โกเซ็น ครั้นโรชิตายลงก็ศึกษากับโสเยน ซากุ จนบรรลุธรรมในที่สุด เขามีกิจกรรมการเผยแพร่เซนแก่ชาวตะวันตก ทั้งด้านงานเขียน งานแปลคัมภีร์ การบรรยายและการก่อตั้งองค์กรต่างๆ ความพยายามอธิบายธรรมชาติ และความสำคัญของเซนแก่โลกตะวันตกของซูสุกินับว่าได้ผล เพราะเวลานี้ความสนใจเซนที่ยิ่งใหญ่นั้นอยู่ที่โลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกา เยอรมนี และอังกฤษ ทว่าในเกาหลีและญี่ปุ่นเซนกลับเสื่อมโทรมลงเร็วมาก
หนังสือของซูสุกิที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย เท่าที่ทราบเข้าใจว่ามีอยู่เพียง ๒ เล่ม คือ เซนกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งจำนงค์ ทองประเสริฐ ได้แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ Zen and Japanese Culture สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เล่ม ๑ (๒๕๑๘) และโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จัดพิมพ์เล่ม ๒ (๒๕๑๙) ต่อมาสำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถานนำกลับมาพิมพ์ซ้ำรวมเป็นเล่มเดียวในปี ๒๕๔๗ ส่วนอีกเล่มคือ พุทธแบบเซ็น แปลโดยโกมุที ปวัตนา สำนักพิมพ์สมิตจัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๓๓ ข้อมูลสังเขปประวัติของซูสุกิก็เก็บความมาจากหนังสือเล่มหลังนี้
สำหรับ “บทบรรยายว่าด้วยพุทธศาสนานิกายเซน” นี้ พจนา จันทรสันติ แปลมาจาก Zen Buddhism and Psychoanalysis by D.T. Suzuki, Erich Fromn and Richard De Martino.
จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=426625
ชาวตะวันตกมักจะรู้สึกสงสัยว่าเหตุใดคนจีนจึงไม่พัฒนาวิทยาศาสตร์ประดิษฐ์เครื่องกลต่างๆ เขาพากันบอกว่า นี่เป็นเรื่องแปลกมาก เพราะคนจีนมีชื่อเสียงในเรื่องการคิดค้นและการประดิษฐ์ ยกตัวอย่างเช่น เข็มทิศ ดินปืน กงล้อ กระดาษ และสิ่งประดิษฐ์อื่นๆ เหตุผลสำคัญก็คือคนจีนและชาวเอเชียอื่นๆ ล้วนรักชีวิตอย่างที่มันเป็น และไม่ปรารถนาที่จะแปรเปลี่ยนมันให้กลายเป็นวิถีทางสู่ความสำเร็จผลอย่างอื่น ซึ่งจะทำให้วิถีชีวิตแปรเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น เขารักการงานอย่างที่มันเป็น แม้ว่าหากจะกล่าวไปแล้วการงานหมายถึงการทำบางสิ่งให้สำเร็จผล แต่ในขณะที่กระทำการงานเขาก็มีสุขในงานนั้นด้วยและไม่ได้รีบเร่งจะให้เสร็จ เครื่องจักรเป็นสิ่งที่มีประสิทธิภาพและกระทำการงานให้สำเร็จลุล่วงได้มากกว่าแรงคน ทว่าเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ไร้หัวจิตหัวใจ ปราศจากการริเริ่มสร้างสรรค์และปราศจากความหมาย
ความเป็นกลไกหมายถึงสติปัญญา และด้วยเหตุที่สติปัญญาคือประโยชน์นิยมเป็นอันดับแรก จึงหาได้มีสุนทรียธรรม จริยธรรม อยู่ในเครื่องจักรไม่ เหตุผลที่ทำให้ชาวนาของจวงจื้อไม่ยอมมีจิตใจแบบเครื่องจักร จึงเป็นเพราะเหตุนี้ เครื่องจักรเร่งเร้าให้เรากระทำการงานได้เสร็จสิ้นและบรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่มันได้ถูกสร้างขึ้น การงานและแรงงานในตัวของมันเองหาได้มีคุณค่าใดไม่นอกเสียจากกลายเป็นวิธีการไป กล่าวคือชีวิตได้สูญเสียพลังการสร้างสรรค์และได้กลับกลายเป็นแค่เครื่องมือเท่านั้น บัดนี้มนุษย์ได้กลายเป็นกลไกการผลิต นักปรัชญาได้พูดกันถึงเรื่องคุณค่าความหมายของมนุษย์ และดังที่เราได้เห็นกันอยู่ในยุคแห่งอุตสาหกรรมและกลไกอันทรงพลังนี้ เครื่องจักรได้กลายเป็นทุกสิ่งทุกอย่าง และมนุษย์ได้ถูกลดทอนให้กลายเป็นทาสอย่างสิ้นเชิง ข้าพเจ้าคิดว่านี้คือสิ่งที่จวงจื้อหวาดเกรง แน่นอนว่าเราไม่อาจหมุนกงล้อของลัทธิอุตสาหกรรมให้ย้อนกลับไปสู่ยุคสมัยดั้งเดิมแห่งงานฝีมือ ทว่าเป็นการดีที่เราจะให้ค่ากับงานมืองานไม้และตระหนักถึงความชั่วร้ายของความเป็นกลไกในยุคสมัยใหม่ ซึ่งเน้นที่สติปัญญามากเกินไปโดยยอมละทิ้งชีวิตทั้งหมด
เราได้พูดถึงตะวันออกกันมามากแล้ว บัดนี้ลองมากล่าวถึงตะวันตกกันบ้าง Denie de Rougemont ในงานเขียนชื่อ “Man’s Western Guest” ได้กล่าวถึง “มนุษย์กับเครื่องจักร” ในฐานะเครื่องหล่อหลอมลักษณะสองประการในวัฒนธรรมตะวันตก นี่เป็นประเด็นสำคัญยิ่ง ด้วยเหตุที่มนุษย์กับเครื่องจักรเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกัน ซึ่งตะวันตกได้พยายามอย่างยิ่งที่จะหาทางประสานความแตกต่างเข้าด้วยกัน ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าชาวตะวันตกได้กระทำไปอย่างรู้ตัวหรือไม่ ข้าพเจ้าเพียงแต่กล่าวถึงอาการที่ความคิดสุดขั้วทั้งสองดำเนินอยู่ในจิตใจของชาวตะวันตกในปัจจุบัน พึงตระหนักได้ว่าเครื่องจักรนั้นแตกต่างกับปรัชญาของจวงจื้อเรื่องการงานและการใช้แรงงาน และแนวคิดตะวันตกเรื่องเสรีภาพของปัจเจกและความรับผิดชอบใจตนเองกลับเป็นสิ่งตรงข้ามกับแนวคิดตะวันออกเรื่องเสรีภาพขั้นอันติมะ ทว่าข้าพเจ้าจะไม่ลงรายละเอียดในที่นี้ แต่จะพยายามสรุปให้เห็นซึ่งความขัดแย้งที่ตะวันตกกำลังเผชิญและทุกข์ทรมานภายใต้:
๑. มนุษย์กับเครื่องจักรเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันอยู่ในตัว และด้วยเหตุแห่งความขัดแย้งนี้ ตะวันตกจึงต้องพบเผชิญกับความตึงเครียดทางจิตใจอย่างสุดแสน ซึ่งได้สำแดงออกให้เห็นหลายประการด้วยกันในวิถีชีวิตสมัยใหม่
๒. มนุษย์หมายถึงปัจเจกภาพ ความรับผิดชอบต่อตนเอง ในขณะที่เครื่องจักรเป็นผลผลิตของสติปัญญา เป็นนามธรรม มีกฎเกณฑ์ มีลักษณะเบ็ดเสร็จ และชีวิตรวมหมู่
๓. ถ้าจะกล้าวอย่างภววิสัยหรืออย่างเป็นวิชาการหรือพูดในมุมของจิตใจแบบกลไก ความรับผิดชอบต่อตนเองหามีความหมายใดไม่ ด้วยเหตุที่ความรับผิดชอบเป็นตรรกะที่สัมพันธ์อยู่กับเสรีภาพ และในตรรกะหาได้มีเสรีภาพอยู่ไม่ เพราะทุกสิ่งทุกอย่างถูกควบคุมอยู่ด้วยกฎเกณฑ์อันแข็งกระด้างของหลักอนุมาน
๔. ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ในฐานะที่เป็นผลิตผลทางชีวภาพ ย่อมตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ทางชีวภาพด้วย พันธุกรรมคือข้อเท็จจริงซึ่งไม่อาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ด้วยบุคลิกภาพ ฉันมิได้เกิดมาด้วยเจตจำนงเสรี พ่อแม่ก็ไม่ได้ให้กำเนินฉันมาด้วยเจตจำนงเสรี การเกิดไม่อาจวางแผนไว้ได้
๕. เสรีภาพเป็นแนวความคิดที่ไร้สาระ ฉันมีชีวิตอยู่ในสังคม ในกลุ่มชน ซึ่งจำกัดฉันไว้ด้วยอาการต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ แม้ในยามที่อยู่เพียงลำพังฉันก็มิได้เป็นอิสระ ฉันมีแรงกระตุ้นหลากหลายซึ่งไม่อาจควบคุมบังคับมันได้ แรงกระตุ้นบางอย่างก็ฉุดลากฉันไปอย่างไม่อาจเหนี่ยวรั้ง ตราบใดที่เรายังอยู่ในโลกอันจำกัดคับแคบนี้ เราไม่อาจพูดถึงการเป็นอิสระหรือกระทำอย่างที่เราปรารถนาได้ แม้แต่ความปรารถนานี้ก็หาใช่สิ่งที่เป็นของเราไม่
๖. มนุษย์อาจพูดถึงเรื่องเสรีภาพ ทว่าเครื่องจักรจำกัดเขาไว้ในทุกๆ ด้าน ด้วยคำพูดไม่อาจไปได้ไกลเกินกว่านั้น ตั้งแต่แรกเริ่มมาแล้วที่คนตะวันตกเหนี่ยวรั้งควบคุมและกีดกัน ความเลื่อนไหลเป็นธรรมชาติของเขามิใช่ของจริง หากหากเกิดแต่เครื่องจักร เครื่องจักรหาได้มีการสร้างสรรค์ใดๆ ไม่ มันจะทำงานตราบเท่าที่ยังมีสิ่งที่ถูกใส่เข้าไปเพื่อให้ดำเนินไป มันไม่มีทางที่จะกระทำการดุจดังมนุษย์ได้
๗. มนุษย์จะเป็นอิสระก็ต่อเมื่อเขามิใช่ตัวบุคคลอีกต่อไป เขาจะเป็นอิสระก็ต่อเมื่อเขาปฏิเสธตนเองและกลืนรวมเข้ากับทั้งหมด หรือกล่าวให้ถูกต้องยิ่งขึ้น เขาจะเป็นอิสระเมื่อเขาเป็นตัวเองและขณะเดียวกันก็มิใช่ตัวเอง เว้นเสียแต่เราจะเข้าใจถึงนัยผกผันนี้อย่างถ่องแท้ เขาไม่มีคุณสมบัติพอที่จะพูดถึงเรื่องเสรีภาพหรือความรับผิดชอบหรือความเลื่อนไหลเป็นธรรมชาติ ดังเช่นความลื่นไหลเป็นธรรมชาติที่ชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักจิตเคราะห์พูดถึง ก็มิใช่อะไรมากไปกว่าความลื่นไหลเป็นธรรมชาติแบบเด็กๆ หรือแบบสัตว์ หาใช่ความลื่นไหลเป็นธรรมชาติของผู้เปี่ยมด้วยวุฒิภาวะไม่
๘. เครื่องจักร พฤติกรรมศาสตร์ เงื่อนไขการตอบสนอง คอมมิวนิสต์ การผสมเทียม การทำให้เป็นอัตโนมัติ การผ่าชำแหละเพื่อการศึกษา เอชบอมบ์ เหล่านี้ทั้งหมดล้วนสัมพันธ์กันอยู่อย่างใกล้ชิด เชื่อมโยงต่อติดกันเป็นห่วงโซอันแข็งเหนียวแน่นแห่งตรรกะ
๙. ตะวันตกพยายามที่จะทำวงกลมให้เป็นสี่เหลี่ยม ตะวันออกพยายามที่จะเทียบเคียงวงกลมเข้ากับสี่เหลี่ยม สำหรับเซนแล้ววงกลมก็คือวงกลม และสี่เหลี่ยมก็คือสี่เหลี่ยม และในขณะเดียวกันสี่เหลี่ยมก็คือวงกลม และวงกลมก็คือสี่เหลี่ยม
๑๐. เสรีภาพเป็นเพียงทัศนะเชิงอัตวิสัยและไม่อาจตีความให้เป็นภววิสัยได้ เมื่อเราพยายามจะทำให้เป็นดังนั้น ก็เท่ากับเราได้เข้าไปพัวพันกับความขัดแย้งอย่างดิ้นไม่หลุด ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงอยากจะกล่าวว่า การพูดถึงเรื่องเสรีภาพในโลกแห่งภววิสัยอันจำกัดคับแคบซึ่งแวดล้อมเราอยู่นี้เป็นเรื่องไร้สาระยิ่ง
๑๑. ในโลกตะวันตก “ใช่” ก็คือ “ใช่” และ “ไม่” ก็คือ “ไม่” “ใช่” ไม่อาจเป็น “ไม่” ไปได้หรือโดยนัยกลับกัน ทว่าตะวันออกทำให้ “ใช่” เคลื่อนเข้ามาสู่ “ไม่” และทำให้ “ไม่” มาสู่ “ใช่” ไม่มีการแบ่งแยกอย่างเด็ดขาดอยู่ระหว่าง “ใช่” กับ “ไม่” ธรรมชาติของชีวิตย่อมเป็นดังนี้ มีเพียงตรรกะเท่านั้นที่เส้นแบ่งนั้นไม่อาจลบเลือนลงได้ ตรรกะเป็นเพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อการใช้สอยในกิจการงานต่างๆ
๑๒. เมื่อตะวันตกเริ่มตระหนักในข้อเท็จจริงนี้ จึงได้สร้างแนวคิดทางฟิสิกซ์ที่เรียกว่าทฤษฎีสมบูรณ์หรือหลักการแห่งความไม่แน่นอน เมื่อไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์ทางฟิสิกซ์บางประการได้ แม้ว่ามันจะประสบความสำเร็จในการสร้างแนวคิดใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ก็ไม่อาจตีกรอบให้แก่ความเป็นจริงแห่งสภาวะการดำรงอยู่ได้
๑๓. ศาสนามิได้เกี่ยวข้องกับเราในที่นี้ แต่ก็คงไม่ว่างเปล่าเสียทีเดียวหากจะยกมากล่าว คริสต์ศาสนาอันเป็นศาสนาของตะวันตก พูดถึงพระวัจนะ พระคัมภีร์ พูดถึงเนื้อหนังและการกลับฟื้นคืนชีพ และความรุนแรงบ้าคลั่งชั่วกาล ทว่าศาสนาของตะวันออกกลับเน้นที่การหลุดพ้น ความสงบวิเวก ภวังค์และสันติสุขนิรันดร์ สำหรับเซนแล้วการกลับชาติมาเกิดก็คือการหลุดจากธรรมชาติ ตามเสียงคำรามครืนครั่นดุจอัสนีบาต และถ้อยคำอันยิ่งใหญ่นั้นไร้ถ้อย เนื้อหนังปราศจากเนื้อหนังปัจจุบันขณะเทียบเท่าสุญตาและอนันตภาพ
ที่มา: สานแสงอรุณ ปีที่ ๑๓ ฉบับที่ ๑ มกราคม-กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
*นำไปเผยแพร่ต่อ กรุณาอ้างอิงที่มา*
หมายเหตุบรรณาธิการ
ไดเซทสึ เทตาโร ซูสุกิ (Daisetz Teitaro Suzuki ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๙๖๖) เป็นศาสตราจารย์พุทธปรัชญาแห่งมหาวิทยาลัยโอตานิ เกียวโต เกิดในครอบครัวเซนสำนักรินไซ เมื่อสมัยยังเป็นนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยอิมพีเรียล โตเกียว ได้ศึกษาเซนที่กามากุระไปพร้อมกัน ภายใต้โรชิ อมาคิตะ โกเซ็น ครั้นโรชิตายลงก็ศึกษากับโสเยน ซากุ จนบรรลุธรรมในที่สุด เขามีกิจกรรมการเผยแพร่เซนแก่ชาวตะวันตก ทั้งด้านงานเขียน งานแปลคัมภีร์ การบรรยายและการก่อตั้งองค์กรต่างๆ ความพยายามอธิบายธรรมชาติ และความสำคัญของเซนแก่โลกตะวันตกของซูสุกินับว่าได้ผล เพราะเวลานี้ความสนใจเซนที่ยิ่งใหญ่นั้นอยู่ที่โลกตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอเมริกา เยอรมนี และอังกฤษ ทว่าในเกาหลีและญี่ปุ่นเซนกลับเสื่อมโทรมลงเร็วมาก
หนังสือของซูสุกิที่ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย เท่าที่ทราบเข้าใจว่ามีอยู่เพียง ๒ เล่ม คือ เซนกับวัฒนธรรมญี่ปุ่น ซึ่งจำนงค์ ทองประเสริฐ ได้แปลและเรียบเรียงจากหนังสือ Zen and Japanese Culture สำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถานจัดพิมพ์เล่ม ๑ (๒๕๑๘) และโรงพิมพ์ส่วนท้องถิ่น กรมการปกครอง จัดพิมพ์เล่ม ๒ (๒๕๑๙) ต่อมาสำนักพิมพ์ราชบัณฑิตยสถานนำกลับมาพิมพ์ซ้ำรวมเป็นเล่มเดียวในปี ๒๕๔๗ ส่วนอีกเล่มคือ พุทธแบบเซ็น แปลโดยโกมุที ปวัตนา สำนักพิมพ์สมิตจัดพิมพ์เมื่อปี ๒๕๓๓ ข้อมูลสังเขปประวัติของซูสุกิก็เก็บความมาจากหนังสือเล่มหลังนี้
สำหรับ “บทบรรยายว่าด้วยพุทธศาสนานิกายเซน” นี้ พจนา จันทรสันติ แปลมาจาก Zen Buddhism and Psychoanalysis by D.T. Suzuki, Erich Fromn and Richard De Martino.
จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=426625