ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 05:14:59 pm »




"วาบิ-ซาบิ" (侘寂 , wabi-sabi )

เป็นแนวทางความงาม ที่สามารถพบได้ในทั่วทุกพื้นที่ของวัฒนธรรมญี่ปุ่น
Wabi-Sabi ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นไปสู่ศิลปะในแขนงต่างๆ 
การออกแบบ, สวนเซน, พิธีชงชา, ห้องพิธีชงชาญี่ปุ่น ,การจัดดอกไม้ ,
แม้กระทั่งในศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิม หรือแม้แต่ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ฯลฯ
เหล่านี้ สะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดของ Wabi-Sabi



Wabi-Sabi หมายถึงมุมมองของโลก
ที่ความงามมีศูนย์กลางอยู่ที่การยอมรับของความตายและความไม่สมบูรณ์
คือความงดงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่อยู่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์"
ต้นกำเนิดของแนวความคิดนี้ สามารถสืบย้อนไปถึงเมื่อสมัยที่ ศาสนาพุทธเจริญรุ่งเรืองในญี่ปุ่น
หลังจากศตวรรษของการผสมผสานศิลปะ และอิทธิพลทางพุทธศาสนาจากจีน
ในที่สุดก็กลายเป็นอุดมคติของญี่ปุ่นอย่างเห็นได้ชัด
แนวคิดของ "วาบิ-ซาบิ" นั้นมีความคล้ายคลึงกับแนวความคิด ในศาสนาพุทธ (เกิด,แก่,เจ็บ,ตาย)
โดยชาวพุทธทั่วโลกจะรู้สึกว่าวัตถุ ที่ตรงกับแนวความคิดเหล่านี้เป็น "สิ่งที่สวยงาม."

ในช่วงศตวรรษที่ 12 – 13 หรือก็คือสมัยเฮอัน จนถึงสมัยคามาคุระ
คนญี่ปุ่นถือคติว่า สิ่งที่จะทำให้มนุษย์มีความสุขสงบอย่างแท้จริงได้นั้น
มิใช่ความหรูหรา ความร่ำรวยมั่งคั่ง
แต่เป็นความเรียบง่าย จากสิ่งที่ธรรมชาติได้มอบให้
การมีความสุขทางจิตใจ มีคุณค่ากว่าการยึดติดกับความเจริญทางวัตถุ
ทว่าเมื่ออยู่ยุคสู่สงคราม  บ้านเมืองถูกเผาทำลาย เกิดภาวะข้าวยากหมากแพง
ผู้คนล้มตาย ในช่วงของสงครามนี้ผู้คนได้เปลี่ยนมายกย่องเงินทอง
เพื่อความอยู่รอดของปากท้องและอำนาจบารมี
ในคำว่าความทุกข์นั้น ยังมีความงดงามแฝงเอาไว้
หลังจากสิ้นสุดสงคราม และบ้านเมืองมีความสงบ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนชั้นสูงของญี่ปุ่น ที่เข้าใจความว่างเปล่าและความไม่สมบูรณ์นั้น
ถือเป็นเกียรติเท่ากับขั้นตอนแรกของการตรัสรู้ เลยทีเดียว
แนวคิดของ วาบิ-ซาบิ ได้หลอมรวมอยู่ภายในจิตสำนึกแห่งความงาม ของชาวญี่ปุ่น
ความสุขสงบทางใจ ที่เงินหาซื้อไม่ได้นี้
เป็นคุณลักษณะที่ชัดเจนและเป็นลักษณะของความงามแบบของญี่ปุ่น
ในวันนี้ของญี่ปุ่นความหมายของ Wabi-Sabi มักจะมีความหมายคือ
"ภูมิปัญญาในความเรียบง่ายตามธรรมชาติ."




"วาบิ-ซาบิ" (侘寂 , wabi-sabi )

Wabi (侘び) ความเรียบง่าย สมถะ ความอิ่มเอิบในความเรียบง่าย
ซึ่งย่อจากคำว่า “วาบิชี่” (wabishii / 侘しい)  ที่แปลว่า รู้สึกแย่ ลำบาก ยากไร้
Sabi (寂び) ความเงียบสงัด สภาพจิตใจที่สงบนิ่ง และสูงส่ง
ซึ่งย่อมาจากคำว่า “ซาบิชี่” (Sabishii / 寂びしい) ที่แปลว่า เหงา เศร้า เดียวดาย
Wabi-sabi (侘寂) จึงเป็นหลักแนวคิดที่ว่า "สรรพสิ่งไม่สมบูรณ์แบบ"
รวมกันแล้ว Wabi-sabi เป็นแนวความคิดที่มองว่า "สรรพสิ่งนั้นไม่สมบูรณ์แบบ"
เป็นแนวคิดที่ได้มาจากการเรียนการสอน ทางพุทธศาสนา
ที่เข้าใจถึงวัฏจักรของธรรมชาติที่ไม่คงทนถาวร มีการเกิด เสื่อมโทรม และตาย
ทุกสิ่งล้วนเรียบง่าย เจียมเนื้อเจียมตัวและไม่เร่งรีบ
Wabi-sabi จึงเป็นความงามที่เรียบง่าย เจียมเนื้อเจียมตัว และมีความเข้มงวด

Wabi-sabi เป็นหัวใจหลักแห่งความงาม ตามลัทธิเซน
คุณจะเห็น ความงามตามแบบ Wabi-sabi จำนวนมากที่มีความไม่สมดุล ไม่สมบูรณ์
หยาบกร้าน และไม่มีการออกแบบที่ซับซ้อน หรือมีการวางแผนใดๆ
ความงามตามธรรมชาตินี้ ถูกนำไปใช้โดยชาวญี่ปุ่น ในหลายสิ่งหลายอย่าง
เช่น งานเซรามิก ภาพวาด สถาปัตยกรรม ดนตรีแบบดั้งเดิม ฯลฯ
"วาบิ-ซาบิ" คือความงามตามทัศนะ ของ "เซน"
เป็นความงามที่ไม่ต้องการ "แบบ" แห่งความสมบูรณ์
คือความงามที่หลุดออกจาก "แบบ" แห่งความสมบูรณ์แล้ว
เพราะทุกสิ่งในโลกนั้นล้วนไม่สมบูรณ์ "แบบ" ที่สมบูรณ์ อาจจะมี แต่สิ่งสมบูรณ์คงไม่จริง



 Wabi-sabi หัวใจหลักแห่งความงาม ตามลัทธิเซน

หลักการความงามของ วาบิ-ซาบิ" (侘寂 , wabi-sabi )
เป็นหัวใจแห่งความงาม ตามลัทธิเซนโดยมีหลักการ อยู่ 7 หลักการคือ

-Kanso (簡素) : Simplicity or elimination of clutter.
ความเรียบง่าย หรือการขจัดองค์ประกอบที่ฟุ่มเฟือยออกไป
เปิดเผยถึงความเป็นจริงตามธรรมชาติ
สิ่งที่จะแสดงในแบบธรรมดาเรียบง่ายอย่างธรรมชาติ ไร้การปรุงแต่ง
คงความเรียบง่ายธรรมดาของสิ่งนั้นๆไว้
ความเรียบง่าย ที่แสดงสัจจะแท้จริงของธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา


-Fukinsei (不均整) : Asymmetry or irregularity.
ความไม่สมส่วน ไม่สมมาตร ไม่สม่ำเสมอ
ความคิดของการควบคุมความสมดุลในองค์ประกอบ
ผ่านความไม่สมส่วนและความไม่สมบูรณ์ เป็นทฤษฎีของความงาม เซน (ZEN)
ตัวอย่างเช่นในภาพวาด Enso (วงกลม "เซน") มักจะวาดเป็นวงกลมที่ไม่สมบูรณ์
เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของความไม่สมดุล ความไม่สมบูรณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงอยู่
ความสัมพันธ์ที่มีความกลมกลืนกัน ในความไม่สมดุลยังมีความสมดุล
คือความงามตามธรรมชาติ ที่เต็มไปด้วยความน่าดึงดูด


-Shibui/Shibumi (渋味)Beautiful by being understated, or by being precisely
ความสมถะ เนื้อแท้ แก่นแท้ของวัตถุ แนวคิดของการออกแบบที่เรียบง่าย
คือความสมถะ และความงามผ่านการออกแบบที่ชัดเจนและไม่มีอะไรเพิ่มเติม
"เรียบง่ายโดยไม่ต้องฉูดฉาด. ความเรียบง่ายสง่างาม ความกะทัดรัดชัดเจน"
เป็นคำที่บางครั้งใช้วันนี้ในการอธิบายสิ่ง ที่เรียบง่าย แต่สวยงาม


-Shizen (自然) : Naturalness
ความเป็นธรรมชาติ ความเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไร้การปรุงแต่ง
เช่น การเปิดเผยเนื้อแท้ของลายไม้
หมายถึงความเป็นธรรมชาติ ในการที่จะหลีกเลี่ยงการก่อสร้างเทียม
การวิเคราะห์วิธีการนี้จะต้องหาและแสดงในลักษณะธรรมดา ที่เรียบง่าย และเป็นธรรมชาติ
เพื่อให้ได้ไปถึงที่รากฐาน ตามธรรมชาติของมัน
ถึงแม้จะมีการออกแบบ ที่เรากำลังพยายามที่จะสร้างสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
และมันไม่ได้เป็นธรรมชาติดิบ แต่ผู้ชมรับรู้ได้ถึงความรู้สึก ถึงวัตถุประสงค์และความตั้งใจ
ทุกสิ่งสมบูรณ์ในความไม่สมบูรณ์ของมัน




-Yugen (幽玄)  : Profundity or suggestion rather than revelation
ความล้ำลึก ความแยบยล ความงามอันแท้จริงที่สามารถปลุก ให้ตื่นจากความไม่รู้
ความลึกซึ้ง ความงามที่แท้จริงคงอยู่ โดยมีองค์ประกอบหรือความหมายที่ซ่อนอยู่
ในสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ด้วยตาอย่างชัดเจน ในตัวหนังสือไม่กี่คำ หรือเส้นเพียงไม่กี่เส้น
เช่น สวนญี่ปุ่นนั้นสามารถจะกล่าวได้ว่า เป็นที่รวมของภูมิปัญญา และองค์ประกอบสัญลักษณ์
นักออกแบบสามารถคิดหลายวิธีการ เพื่อที่จะบ่งบอกถึงการมองเห็นที่มากขึ้นโดยไม่แสดง
นั่นก็คือการแสดงมากขึ้นโดยการแสดงออกแต่น้อย


-Datsuzoku (脱俗) : Freedom from habit or formula
ความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ รูปแบบ ประเพณีนิยม หลบหนีจากชีวิตประจำวัน
หลักการนี้จะอธิบายถึงความรู้สึกของความประหลาดใจ
และความประหลาดใจ เมื่อได้ตระหนักว่า พวกเขาสามารถมีอิสระจากข้อผูกมัด
มีอิสระจากกฏเกณฑ์ หรือข้อจำกัดต่างๆ นักออกแบบควรมีความคิด จินตนาการของตน
แล้วปลดปล่อยความคิดสร้างสรรค์ ให้เป็นไปอย่างอิสระ


-Seijaku (静寂)  : Tranquility or an energized calm (quite)
พลังของความสงบ ความเงียบสงบ ความสงัดในจิตใจอันไม่ถูกเงื่อนไขใดใดร้อยรัด
ความเงียบสงบ สันโดษ นี้อาจจะเกี่ยวข้องกับความรู้สึกที่คุณอาจจะมี เมื่อได้อยู่ในสวนญี่ปุ่น


Wabi-sabi (侘寂) คือปรัชญาของความงามญี่ปุ่น
ความไม่สมบูรณ์และอนิจจัง ถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ของญี่ปุ่น
ไม่ใช่ว่าเพียงเพราะมีข้อบกพร่อง แล้วนั่นก็คือ Wabi Sabi
มันเป็นไปไม่ได้ที่จะอธิบายด้วยคำพูด คุณจะต้องใช้ความรู้สึกสำหรับ Wabi-sabi


Wabi-sabi (侘寂)
สำหรับผมเป็นการรับรู้ที่ไม่อาจอธิบายได้ เพียงแค่มองดูหรืออ่าน
เหมือนรู้ว่าคืออะไร แต่อธิบายไม่ได้
ปรัชญาที่อยู่ในจิตวิญญาณของชาวญี่ปุ่นนี้
ไม่ว่าจะเป็นวิถีแห่ง "เซน"(ZEN) หรือ Wabi-sabi (侘寂)
ทำให้งานดีไซน์ การออกแบบ ของชาวญี่ปุ่น ทั้งสุขุมลุ่มลึก มีความนัย
ละเมียดละไม เข้าใจความเป็นธรรมชาติ
และมีเอกลักษณ์เฉพาะ ที่ไม่เหมือนใคร

จาก http://fdesignbasis.blogspot.com/2014/04/japan-design-2-wabi-sabi.html
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 29, 2016, 04:36:36 pm »



"ผมไม่รู้จริง ๆว่า วะบิ-ซะบิ คืออะไร แต่วะบิ ซะบิ
สอนให้ผมเห็นความงามในตำหนิ
เห็นความสมบูรณ์ของความไม่สมบูรณ์"


วะบิ-ซะบิ ไม่ตำหนิตำหนิ แต่ใช้ตำหนิสะท้อนให้เห็นว่าความงามของธรรมชาติหรือชีวิตมิได้แปลว่าความสมบูรณ์แบบดังที่หลายคนคิด เนื่องจากตำหนิเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้น ไม้ที่มีรอยแตกจึงงดงามทัดเทียมไม้ที่เงียบกริบ ดอกไม้ที่เหี่ยวเฉาจึงงามทัดเทียมดอกไม้แรกแย้ม ....



มนุษย์กำลังมีวะบิ-ซะบิน้อยลงทุกขณะ มองพื้นไม่เห็นดิน มองโต๊ะไม่เห็นไม้  มองหน้าไม่เห็นหน้า



วะบิ-ซะบิ

คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ
ไม่คงทนถาวรและไม่เสร็จสมบูรณ์

คือความงามของสรรพสิ่งที่สงบเสงี่ยม
และอ่อนน้อม

คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่ยึดติด
ในคติแบบแผน


วะบิ-ซะบิ คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์ คือความงามของสรรพสิ่งที่สงบเสงี่ยมและอ่อนน้อม อย่างไม่ยึดติดในแบบแผนตายตัว...นี่คือความงามในทัศนะของเซน

...ในความหมายหนึ่ง วะบิ-ซะบิคือเซนของสรรพสิ่ง ผู้ที่เกี่ยวพันกับวะบิ-ซะบิในญี่ปุ่น ถ้าไม่เป็นอาจารย์แห่งพิธีชา ก็เป็นนักบวช หรือไม่ก็เป็นนักรบ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ฝึกฝนเซน และดื่มด่ำในเจตนารมณ์ของเซนอย่างลึกซึ้งทั้งสิ้น

ซะบิ ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “ร่วงโรย”
วะบิ ในความหมายดั้งเดิม หมายถึง ความทนทุกข์ของการใช้ชีวิตเพียงลำพังในธรรมชาติ ไกลห่างจากสังคม และชวนให้นึกถึงสภาวะความรู้สึกที่ท้อแท้ ซึมเศร้า ชวนหดหู่ใจ



แต่วะบิ-ซะบิ ที่ใช้เรียกควบรวมในความหมายแห่งยุคปัจจุบันกลับมีความหมายในเชิงบวก ที่บ่งชี้ให้เห็นถึง ความเป็นจริงแห่งชีวิตที่เรียบง่าย ชีวิตที่รุ่มรวยทางจิตวิญญาณแม้จะอยู่อย่างสมถะโดยสมัครใจ วิธีการมองสรรพสิ่งที่ล่วงพ้นไปจากคติแบบแผนที่สังคมตกลงยอมรับและยึดถือสืบต่อกันมา การมุ่งมีประสบการณ์เชิงศิลปะที่น่าตื่นใจอย่างสงัด การเอาชนะความอลังการ ความหรูหรา ด้วยความเรียบง่ายอย่างติดดินและไม่สมบูรณ์แบบ แต่ทำให้จิตจดจ่อมีสมาธิอยู่กับ สิ่งที่มีอยู่ เป็นอยู่ และปรากฏอยู่จริง เพื่อเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงอย่างบูรณาการสู่ธรรมชาติ ในขั้นสูงสุดของการดำรงอยู่ จนกระทั่งเข้าสู่ความศักดิ์สิทธิ์เชิงจิตวิญญาณได้อย่างเป็นไปเองโดยธรรมชาติ

การสัมผัสประสบการณ์วะบิ-ซะบิ จึงไม่อาจพบหรือสัมผัสได้ในธรรมชาติ ณ ชั่วขณะของความบานสะพรั่งและเขียวชอุ่ม แต่จะพบวะบิ-ซะบิได้ ณ ชั่วขณะของภาวะเริ่มแรก หรือการทรุดตัวพังพาบลงไป คือ จะพบได้ในสิ่งที่ชั่วคราว ไม่แน่นอน และไม่เที่ยงแท้ เช่น บุปผาร่วง หิมะโปรย ฝนกระหน่ำ เมฆคลุ้มคลั่ง รวมทั้งสิ่งที่ยากจะมองเห็น เปราะบาง พร้อมที่จะสลายตัวไป อันไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยสายตาที่หยาบกระด้าง


ผู้ที่สามารถสัมผัสประสบการณ์วะบิ-ซะบิได้ คือผู้ที่สามารถชะลอความเร็วในการเร่งรีบใช้ชีวิตลงได้ สามารถมีความใจเย็น มีความอดทน และใส่ใจพอที่จะมองอย่างใกล้ชิด ฝึกฝนศิลปะต่างๆ อันสุขุมประณีตได้เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม : หนังสือ ภูมิปัญญามูซาชิ วิถีแห่งกลยุทธ์เชิงบูรณาการ โดย สุวินัย ภรณวลัย


คนอื่นหุงข้าว ส่วนเราเอาแต่กิน จะมีประโยชน์อะไร

จนยากทางวัตถุ ความรุ่มรวยทางจิตวิญญาณ

....เห็นได้ชัดเจนว่า การดำเนินชีวิตในวิถีอันเรียบง่ายอย่าง วะบิ-ซะบิ จำเป็นต้องมีความเีพียรพยายามและความมุ่งมั่นเป็นอย่างมาก รวมถึงการตัดสินใจที่ออกจะหนักหนาสาหัสทีเดียว วะบิ-ซะบิยอมรับในความจริงที่ว่า มันเป็นเรื่องสำคัญที่จะรู้ว่าเมื่อใดที่ควรตัดสินใจเลือกกระทำสิ่งต่าง ๆ และในขณะเดียวกันนั้นเองมันก็เป็นเรื่องสำคัญอีกเช่นกัน ที่จะรู้ว่าเมื่อใดที่ควรตัดสินใจเลือกที่จะ ไม่  กระทำสิ่งต่าง ๆ เืพื่อปล่อยให้สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามครรลอง ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตทางโลกในระดับที่ปฏิเสธความสะดวกสบายอย่างถึงที่สุดแล้วก็ตาม แต่พวกเราก็ยังคงอาศัยอยู่ในโลกของวัตถุสิ่งของทั้งหลายอยู่นั่นเอง

วะบิ-ซะบิ เป็นเรื่องเกี่ยวกับดุลยภาพอันละเอียดอ่อนระหว่างความรื่นรมย์ที่เราได้รับจากสิ่งต่าง ๆ และความรื่นรมย์ที่เราได้รับจากความเป็นอิสระจากสิ่งทั้งหลายโดยแท้


จดจ่ออยู่กับคุณค่าที่แท้ที่มีอยู่ภายในและเมินเฉยต่อความสูงต่ำของมูลค่าทางวัตถุ


ที่มา วะบิ-ซะบิ สำหรับศิลปิน นักออกแบบ และนักปรัชญา, หน้า 77



ความผุพังและความเปื้อนเปรอะ ทำให้การสื่อความหมายของมันรุ่มรวยขึ้น



ความเรียบง่าย แสดงสัจจะที่แท้จริงของธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา




ความงดงามในแบบของ "วะบิ-ซะบิ"

     วะบิ แปลว่า ความเรียบง่าย ความหยาบแบบเรียบง่าย

     ซะบิ แปลว่า ความเงียบสงัด แห้งลง ชราภาพ


"วะบิ" เป็นความหยาบที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรูปทรงที่เรียบง่ายและไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการสร้าง
เหมือนกับชีวิตคนธรรมดาสามัญที่เผชิญอยู่กับ"ความขาดแคลน ไม่สมบูรณ์"ตลอดเวลา เป็นเรื่องของ"จิตใจ"ที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลาและสถานะทางสังคม 

"ซะบิ" เป็นความรื่นรมย์ต่อสรรพสิ่งที่ชราภาพไปตามกาลเวลา มีความจืดจางแต่ให้ความรู้สึกพิเศษบางอย่าง  ชี้ให้เห็นถึงความงาม และคุณค่าของความไม่สมบูรณ์



สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนไม่คงทน

  วะบิ-ซะบิ" เป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ เหมือนกับปรัชญาพุทธศาสนา   

 "ความไม่เที่ยง" หรือ "อนิจจัง" จนกระทั่งถึง "การไม่มีตัวตน" หรือ "อนัตตา"

สัจจะ มาจากการสังเกตธรรมชาติ ....การโน้มเอียงไปสู่ความไม่มีอะไรกำลังเกิดขึ้นอย่างไม่ลดรา และเป็นสากล...สรรพสิ่งทั้งมวลล้วนมาลงเอยที่ความไม่มีอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีอันจะต้องเสื่อมสลายไป  บรรดาดาวเคราะห์และดวงดาวต่างๆ และกระทั่งสิ่งทั้งหลายที่ไม่สามารถจับต้องได้  อาิทิ ชื่อเสียง เกียรติยศ มรดกประเพณีที่สืบเนื่องมาของตระกูล ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ข้อพิสูจน์ทางคณิตศาสตร์ ศิลปวรรณกรรมอันยิ่งใหญ่ เมื่อถึงที่สุดแล้ว ทั้งหลายทั้งมวลนี้ก็จะเลือนหายไป ไปสู่ภาวะของการถูกลืมเลือนและความไม่มีอยู่

จาก http://innerwabisabi.blogspot.com/2012_09_01_archive.html
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 11:46:51 pm »

ศิลป์แบบ (วาบิ - ซาบิ) ความงามไม่สมบูรณ์

หลักที่ใช้อ้างอิงใน งานศิลปะแนวเซนมักจะกล่าวถึง

1. ความไม่สมส่วน ความไม่สมมาตร

2. ความเรียบง่าย แสดงสัจจะที่แท้จริงของธรรมชาติอย่างตรงไปตรงมา

3. ความสมถะ เนื้อแท้ แก่นแท้ของวัตถุ

4. ความเป็นธรรมชาติอันไร้การปรุงแต่ง

5. ความล้ำลึก ความงามอันแท้จริงที่สามารถปลุกเราให้ตื่นจากความไม่รู้

6. ความเป็นอิสระจากกฎเกณฑ์ รูปแบบ ประเพณีนิยม

7. ความเงียบสงบ ความสงัดในจิตใจอันไม่ถูกเงื่อนไขใดใดร้อยรัด






 ซาบิ แปลว่า ความเงียบสงัด แห้งลง ชราภาพ
"ซาบิ" ในปัจจุบัน คำนี้มีความหมายว่า "คราบสนิม"
"ซาบิ" เป็นความรื่นรมย์ต่อสรรพสิ่งที่ชราภาพไปตามกาลเวลา มีความจืดจางแต่ให้ความรู้สึกพิเศษบางอย่าง

สุนทรียะแบบ"ซาบิ"จะพบได้ใน "พิธีชา" ที่สงบเงียบ สมถะ ซึ่งเครื่องใช้ในพิธี และตัวอาคารล้วนแล้วแต่มีร่องรอยของกาลเวลา

"ซาบิ" ชี้ให้เห็นถึงความงาม และคุณค่าของความไม่สมบูรณ์





 วาบิ (wabi)
"วาบิ" มีบางส่วนเกี่ยวพันกับ "ซาบิ" บางครั้งมันก็สลับที่กัน
"วาบิ" แปลว่า ความหยาบแบบเรียบง่าย
อาจคล้ายกับ "ซาบิ" ถ้ามองในเชิงสถาปัตยกรรม
"วาบิ" เป็นความหยาบที่ไม่สมบูรณ์ เป็นรูปทรงที่เรียบง่ายและไม่ต้องใช้ความพยายามมากในการสร้าง

เหมือนกับชีวิตคนธรรมดาสามัญที่เผชิญอยู่กับ"ความขาดแคลน ไม่สมบูรณ์"ตลอดเวลา เป็นเรื่องของ"จิตใจ"ที่มีคุณค่าเหนือกาลเวลาและสถานะทางสังคม

      "วาบิซาบิ" เป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ เหมือนกับปรัชญาพุทธศาสนา "การไม่มีตัวตน" หรือ "อนัตตา"
ตามลัทธิแนวความคิด"เซน" บอกว่า "วาบิซาบิ" เป็นการจัดระเบียบ สร้างความสมดุลย์แก่ จักรวาล
ความสงบ ความเงียบ และ ความเหงา คือ ลักษณะของ "วาบิซาบิ"

สิ่งเหล่านี้ คือ ความงดงามในแบบของ "วาบิซาบิ"

 :05: http://www.weekendhobby.com/art/webboard/question.asp?id=50
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 11:45:19 pm »



วาบิ-ซาบิ

บทความบางส่วนจาก : ชัยยศ อิษฎ์วรพันธุ์. ธรรมชาติ ที่ว่าง และสถานที่. กรุงเทพฯ :  คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี, 2543.

ซาบิ (sabi) แม้ในปัจจุบันจะแปลว่าคราบสนิม แต่ในศัพท์ดั้งเดิมแปลว่าแห้งลงมีอายุ ซึ่งบ่งชี้เป็นรูปธรรมเช่นคราบที่เกิดขึ้นบนเครื่องใช้สอย ในวรรณคดีโบราณมีประโยคที่ว่า “มันเป็นสถานที่เก่าแก่ซึ่งหินก้อนใหญ่ถูกตะไคร่น้ำปกคลุมไปหมดและเขาคิดว่าคงจะอภิรมย์ที่จะไปอาศัย“ ทำให้เห็นว่าซาบิไม่ใช่แค่ความเก่าแก่แต่เป็นความรื่นรมย์ที่เกิดจากสรรพสิ่งที่มีวัย มีความจืดจางที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยกาลเวลาแต่ให้ความรู้สึกพิเศษบางอย่าง เช่นเครื่องปั้นดินเผาที่แม้ว่าเครื่องเคลือบใหม่เป็นมันเงาจะสะท้อนให้เห็นคุณลักษณะหลายอย่าง แต่ชิ้นที่เก่าแล้วผ่านการใช้สอย มีคราบขึ้นเกาะ นั้นทำให้เกิด “ความรู้สึกงดงามอย่างเร้นลับที่สงบนิ่ง” สุนทรียะแบบซาบิจะพบได้ในพิธีชาที่สงบเงียบ สมถะ เครื่องใช้ในพิธีอาคาร ล้วนแล้วแต่มีร่องรอยของกาลเวลา

            นอกจากนี้ซาบิยังชี้ให้เห็นถึงความงามและคุณค่าของความไม่สมบูรณ์ พร้อมหรือความขาดแคลนที่จะเป็นมาตรวัดความสมบูรณ์อีกทีหนึ่ง “เราจะมองเพียงแต่ดอกไม้ที่สะพรั่งภายใต้แสงจันทร์กระจ่างเท่านั้นหรือ เปล่าหรอก แต่การมองไปในสายฝน รอแสงจันทร์ ชักมูลี่ขึ้นและไม่สำเหนียกถึงการผ่านไปของฤดูใบไม้ผลิจะกระตุ้นความรู้สึกส่วนลึกได้ดีกว่า ในสวนที่เต็มไปด้วยดอกไม้ที่แห้งเหี่ยวร่วงหล่นมีอะไรให้ดูมากกว่ากิ่งอ่อนเยาว์ที่กำลังจะมีดอกไม้ผลิบาน ... เป็นความผิดพลาดสำหรับผู้ที่บอกว่า กิ่งไม้นี้ที่ดอกและใบร่วงหล่นเหี่ยวแห้งหมดแล้ว ไม่มีอะไรจะให้ดูอีกต่อไป”



            ความรู้สึกรักในดอกไม้หรือใบไม้ที่ร่วงหล่น แสงจันทร์ที่สลัวไม่กระจ่างเพราะเฆมและฝน กิ่งไม้ที่ไร้ใบ เป็นความรู้สึกที่แตกต่าง (แต่ไม่ตรงกันข้าม) กับยูเก็น ตรงที่ซาบิจะไม่บ่งชี้อะไรต่อจากนั้น นอกจากนี้ ยังต่างจากอาวาเระตรงที่ ซาบิจะชื่นชมและรักในใบไม้ที่ร่วงหล่น ส่วนอาวาเระจะเป็นความอาดูรมากกว่า บทกวีไฮคุอาจเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงความรู้สึกนี้ได้ดี
 
Kiku no ka ya               กลิ่นของเบญจมาศ
Nara ni wa furuki          มีอายุขัยในนารา
Hotoketachi                 เหล่าพระพุทธะเก่า
 
ซึ่งชี้ให้เห้นความรู้สึกที่หลากหลายของซาบิ ทั้งฆานะสัมผัสและจักษุสัมผัส นอกจากนี้ตัวอย่างรูปธรรมที่พูดกันเสมอก็คือเมื่อคราวที่มีการปิดทองครั้งใหม่ที่ศาลาทอง วัดคินคาคุจินั้น แม้นักท่องเที่ยวจะตื่นเต้น ชื่นชมในความเปล่งปลั่งอหังการ สดใสที่เกิดขึ้นจากความแวววาวของทองสะท้อนกับแสง แต่ชาวเกียวโตกลับบอกว่า “รออีกสักสิบปี กว่าที่มันจะซาบิ”
 
วาบิ (wabi) วาบิมีบางส่วนเกี่ยวพันกับซาบิอย่างแยกไม่ออก บางครั้งมันก็สลับที่กัน วาบิอาจจะแปลว่า ความหยาบแบบเรียบง่าย ซึ่งก็เป็นความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับ ซาบิ มองในเชิงสถาปัตยกรรม วาบิได้ความรู้สึกจากการผสมผสานระหว่างรสนิยมประณีตแบบมิยาบิของราชสำนักกับรสนิยมแบบชาวบ้าน เช่นการสร้างบรรยากาศภายในอาคารด้วยการใช้ไม้ที่มีร่องรอยของตาไม้หรือเปลือกไม้และความคดโค้งตามธรรมชาติ

            เห็นได้ชัดว่ามันเป็นการยอมรับในปรัชญาที่ว่าด้วยความไม่สมบูรณ์พร้อมแบบซาบิ เช่นกัน โดยอ้างอิงถึงความคิดที่ว่าการขาดหายไปนั้นอาจจะเป็นระดับที่ไม่มีทั้งสิ่งของและไม่มีตัวตนหรืออนัตตาตามปรัชญาพุทธศาสนาด้วย วาบิให้ความรู้สึกเกี่ยวกับลักษณะของความหยาบบางอย่างที่ไม่สมบูรณ์ ดงันั้นมันจึงกินความเลยไปยังรู้ทรงที่เรียบง่ายและไม่ต้องพยายามมากที่จะทำให้รูปทรงนั้นสำเร็จขึ้นิเฉกเช่นเดียวกับชีวิตสามัญที่เผชิญอยู่กับความขาดแคลนไม่สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่ไม่ใช่แค่เรื่องของวัตถุ ความรวย อำนาจหรือเรื่องสถานะสังคมแต่เป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตภายในที่เป็นคุณค่าที่สูงสุด เหนือเวลาหรือสถานะทางสังคม



            การเข้าสู่ความสงบผ่านทางความรู้สึกไม่สมบูรณ์พร้อมแบบวาบินี้ ในทางหนึ่งก็เป็นดังที่เล่าจื้อบอกว่ามันเป็นการจัดระเบียบสมดุลย์หแก่จักรวาล ความสงบ ความเงียบและความเหงาเป็นคุณลักษณะประจำของวาบิ

            การแยกซาบิออกจากวาบิอยางชัดเจนนั้นเป้นไปไม่ได้ ดังที่มีผู้กล่าวว่าเป็นเช่นเดียวกับที่จะพยายามอธบายผ่านภาษา อย่างก็ดี มีบทกวีที่อาจจะช่วยชี้ให้เห็นความแตกต่างของสองอารมณ์นี้ได้ โดยที่ว่ากันว่าบทแรกนั้นให้ความรู้สึกแบบวาบิ ส่วนบทที่สองแบบซาบิ
 
“ในพงหญ้าที่ขึ้นบนกำแพง
จิ้งหรีดซ่อนตัวอยู่ราวกับถูกละทิ้ง
จากสวนซึ่งชุ่มโชกไปด้วยฝนแห่งคิมหันต์
หญ้าโยโมงิในสวน
เริ่มจะแห้งจากด้านล่าง
คิมหันต์นั้นด่ำลึก
สีสันของมันเริ่มจืดจาง
โดยไม่รู้ว่าทำไม หัวใจฉันก็เต็มไปด้วย
อาดูรพูนเทวษ”
 
อาคารพิธีชาแบบกระท่อมหญ้า (โชอัน) ซึ่งเป็นการผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบที่เคร่งขรึมมากอย่างชินเด็นและโชอินเข้ากับลักษณะหยาบกระด้างของเรือนพื้นบ้าน ทำให้ได้สุนทรียะแบบใหม่ การเดินไปบน “โทบิอิชิ”ก้อนหินทางเดินในสวนของอาคารชาแบบโรจิ ผ่านอ่างน้ำหินที่มีคราบของตะไคร่จากความชื้นการผ่านเข้าประตูไปภายในของอาคารชาขนาดเล็ก และมีแสงผ่านเข้ามาอย่างจำกัด อุปกรณ์ชาที่เรียบง่าย ถ้วยชาที่จับด้วยคราบแห่งกาลเวลามาเกี่ยวข้อง นั่นคือความรู้สึกของซาบิและวาบิ

 :45: http://jew013.multiply.com/journal/item/16/16
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มกราคม 13, 2013, 11:44:19 pm »




วะบิ ซะบิ : สุนทรียภาพในงานศิลปะเซน

มีหลายความหมาย

วะบิ-ซะบิ เป็นวิถี เป็นตัวกระบวนการ เป็นศิลปะอันหยั่งลึกสู่เซน ทั้งเป็นหัวใจของสุนทรียภาพญี่ปุ่น วะบิ-ซะบิ คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์ คือความงามของวัตถุสิ่งของที่สงบเสงี่ยม และอ่อนน้อม ไม่ยึดติดในคติแบบแผน ผู้เขียนได้บอกเล่าเรื่องที่ยากที่สุดของวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้อย่างเรียบง่าย ลุ่มลึก

วะบิ-ซะบิ
คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวรและไม่เสร็จสมบูรณ์
คือความงามของสรรพสิ่งที่สงบเสงี่ยมและอ่อนน้อม
คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่ยึดติดในคติแบบแผน

สุนทรียะแบบ"ซะบิ"จะพบได้ใน "พิธีชา" ที่สงบเงียบ สมถะ ซึ่งเครื่องใช้ในพิธี และตัวอาคารล้วนแล้วแต่มีร่องรอยของกาลเวลา
"ซะบิ" ชี้ให้เห็นถึงความงาม และคุณค่าของความไม่สมบูรณ์


"วะบิซะบิ" เป็นปรัชญาที่ว่าด้วยความไม่สมบูรณ์แบบ เหมือนกับปรัชญาพุทธศาสนา "การไม่มีตัวตน" หรือ "อนัตตา"
ตามลัทธิแนวความคิด"เซน" บอกว่า "วะบิซะบิ" เป็นการจัดระเบียบ สร้างความสมดุลย์แก่ จักรวาล
ความสงบ ความเงียบ และ ความเหงา คือ ลักษณะของ "วะบิซะบิ"
สิ่งเหล่านี้ คือ ความงดงามในแบบของ "วะบิซะบิ"



วะบิ-ซะบิ เป็นวิถี เป็นตัวกระบวนการ เป็นศิลปะอันหยั่งลึกสู่เซน ทั้งเป็นหัวใจของสุนทรียภาพญี่ปุ่น วะบิ-ซะบิ คือความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์ คือความงามของวัตถุสิ่งของที่สงบเสงี่ยม และอ่อนน้อม ไม่ยึดติดในคติแบบแผน
วะบิ ซาบิ เป็นความงามในทัศนะ ของ เซน ความงามที่ไม่ต้องการ "แบบ" แห่งความสมบูรณ์ความงามที่หลุดออกจาก "แบบ" แห่งความสมบูรณ์ แล้วเพราะทุกสิ่งในโลก ล้วนไม่สมบูรณ์"แบบ" สมบูรณ์ อาจมี แต่สิ่งสมบูรณ์คงไม่จริง

วะบิชะบิอาจอธิบายได้ว่าคือสิ่งที่เราเห็นความงามโดยไม่ได้ตั้งใจ

วะบิจะอ้างถึง

-วิถีชีวิตอย่าหนึ่ง,วิธีทางจิตวิญญานอย่างหนึ่ง
-สิ่งที่เข้าไปภายใน,จิตวิสัย
-การสร้างความนึกคิดในเชิงปรัชญา
-ปรากฎการณ์กินเนื้อที่

ซะบิจะอ้างถึง

-วัตถุสิ่งของต่างๆ,ศิลปะและวรรณกรรม
-สิ่งที่ออกสู่ภายนอก,วัตถุวิสัย
-อุดมคติทางสุนทรียภาพ
-ปรากฎการณ์กินเวลา

 :12: http://www.facebook.com/media/set/?set=a.292173204187789.68346.253138034757973&type=3

http://www.youtube.com/watch?v=rDKYOvUIUDo#