ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2016, 07:14:11 pm »

<a href="https://www.youtube.com/v/sxoSV2SJUfY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/sxoSV2SJUfY</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/j8MdsmwNl5I" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/j8MdsmwNl5I</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/FbTuuHWfeeI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/FbTuuHWfeeI</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/_JESHs6Ftqk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/_JESHs6Ftqk</a>

ย้อนไปเมื่อราว 2,000 ปีเศษ การสร้างพระพุทธรูปเกิดขึ้นครั้งแรกในโลก โดยฝีมือของช่างแคว้นคันธารราฐ เป็นศิลปะที่ผสมผสานกันระหว่างกรีก-โรมัน และอินเดียโบราณ ด้วยการแกะสลักจากหิน
       
       จากนั้นเป็นต้นมาก็มีการสร้างพระพุทธรูปด้วยวัสดุนานาชนิด ได้แก่ ทอง เงิน ทองแดง สำริด อัญมณี ไม้ ปูน อิฐ ดิน เป็นต้น





 ล่าสุด กอนคาร์ เกียตโซ ศิลปินชาวทิเบต ได้สร้างสรรค์พระพุทธรูปศิลปะร่วมสมัย ทำจากเรซิ่นโพลียูรีเทน เรียกว่า “คอลลาจ” หรือภาพปะติด (ทำขึ้นด้วยการใช้วัสดุต่างๆ เช่น กระดาษ ผ้า เศษวัสดุธรรมชาติ ฯลฯ ปะติดลงบนแผ่นภาพ)





       วิธีการสร้างสรรค์พระพุทธรูปคอลลาจนี้ เริ่มต้นด้วยการสแกนพระพุทธรูปองค์หนึ่งในสมัยศตวรรษที่ 14 เพื่อเป็นต้นแบบ จากนั้นนำภาพสแกนไปดำเนินการหล่อพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งด้วยเรซิ่นโพลียูรีเทน สูง 48 นิ้ว ในระหว่างนี้ได้มีการสั่งผลิตสติกเกอร์รูปแบบต่างๆ จำนวน 600,000 ชิ้นจากโรงงานในจีน
       
       เกียตโซและทีมงานใช้เวลาหลายเดือนในการใช้สติกเกอร์จำนวนนับร้อยนับพันชิ้น ปะติดบนองค์พระพุทธรูป ทีละชิ้นๆ ด้วยความยากลำบาก จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ โดยพระพุทธรูปแต่ละองค์มีสติกเกอร์ ที่มีลวดลายและภาพเขียนแตกต่างกันไป





      ผลงานชิ้นนี้มีชื่อว่า 'Excuse me while I kiss the sky' ซึ่งได้มาจากเนื้อร้องท่อนหนึ่งในเพลงดัง Purple haze ของ Jimi Hendricks นักดนตรีชาวอเมริกันที่โด่งดังในยุคปี 60
       
       และนี่เป็นผลงานครั้งแรกของเขาที่นำวิธีคอลลาจ ที่เป็นเทคนิคเฉพาะตัว มาใช้กับงานประติมากรรม ในขณะที่ยังคงความศรัทธาเลื่อมใสตามแบบพุทธศาสนาของทิเบตเอาไว้





 งานศิลปะของเกียตโซสื่อให้เห็นถึงประติมานวิทยา (เป็นสาขาหนึ่งของประวัติศาสตร์ศิลป์ที่ศึกษาประวัติ คำบรรยาย และการตีความหมายของเนื้อหาของภาพ) ของศิลปะทิเบตโบราณและเอกลักษณ์ทางพุทธศาสนา
       
       ด้วยสัญลักษณ์และการทำงานในแนวศิลปะร่วมสมัย งานของเกียตโซแสดงออกถึงสิ่งที่ขัดแย้งกันได้อย่างลงตัว และจากประสบการณ์ขณะอาศัยอยู่ในชุมชนทิเบตลี้ภัย ได้ช่วยหล่อหลอมมุมมองในเรื่องมนุษยธรรม การเมือง และการผลิตงานศิลปะของเขา

      ผลงานของเกียตโซถูกนำไปจัดแสดงในระดับสากล ตามแกลเลอรีและพิพิธภัณฑ์ต่างๆทั่วโลก ทั้งที่เป็นสาธารณะและส่วนตัว เช่น สหรัฐอเมริกา อิสราเอล นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย จีน สกอตแลนด์ อังกฤษ สวิตเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี
       
       (จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 146 กุมภาพันธ์ 2556 โดย บุญสิตา)

จาก http://board.postjung.com/673996.html





Gonkar Gyatso, My Identity 1


Gonkar Gyatso, My Identity 2


Gonkar Gyatso, My Identity 3


Gonkar Gyatso, My Identity 4


gonkar gyatso my identity

ผลงาน ที่เหลือ ของ คุณ กอนคาร์ เกียตโซ (gonkar gyatso ) ศิลปิน ชาวทิเบต