ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: กรกฎาคม 31, 2016, 11:49:11 pm »




ธนิษฐา แดนศิลป์
 

เห็นเหตุการณ์บ้านเมือง เห็นชีวิตผู้คนแล้วก็พลันให้นึกไปถึง Life in Relation to Death  ของ ชักดุด ตุลกู รินโปเช (หรือ สู่ความตายอย่างสงบ แปลโดยบุลยา ในภาษาไทย) ที่พูดถึงเรื่องราวของความตายไว้อย่างง่ายงาม

“ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับผู้อื่น เป็นเฉกเช่นการพบปะกันโดยบังเอิญของคนแปลกหน้าสองคนบนลานจอดรถ พวกเขามองดูกันและกัน ยิ้มให้กันมันก็เพียงเท่านั้น ต่างคนต่างไป โดยไม่เคยเจอกันอีก ชีวิตก็เป็นเช่นนั้น แค่เพียงวิบตา พบเจอ ผ่านไป แล้วก็จากลา

“ถ้าเราเข้าใจสิ่งนี้ จะไม่มีเวลาเหลือสำหรับการทะเลาะเบาะแว้ง ไม่มีเวลาเหลือสำหรับการด่าทอ ไม่มีเวลาเหลือสำหรับการทำร้ายผู้อื่น ไม่ว่าเราจะคิดถึงมันในบริบทของมวลมนุษยชาติ ประเทศ ชุมชน หรือปัจเจกบุคคล ไม่มีเวลาเหลือสำหรับสิ่งใดทั้งสิ้น นอกจากชื่นชมช่วงเวลาอันแสนสั้นที่เราได้มาพบเจอกัน”

แล้วเราเล่าจะใช้ช่วงเวลาอันแสนสั้นสำหรับการพบเจอกันอย่างไร….เราจะมีท่าทีต่อชีวิตและความตายแบบไหน…

ในพระคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาใหม่ ในบทพระธรรมยากอบ มีตอนหนึ่งเขียนไว้ว่า

“นี่แน่ท่านที่พูดว่า “วันนี้หรือพรุ่งนี้เราจะเข้าไปในเมืองนี้เมืองนั้น และจะอยู่ที่นั่นปีหนึ่ง และจะค้าขายได้กำไร” แต่ว่าท่านไม่รู้เรื่องของพรุ่งนี้ ชีวิตของท่านเป็นเช่นใดเล่า ท่านก็เป็นเช่นหมอกที่ปรากฏอยู่เพียงชั่วครู่แล้วก็หายไป แทนที่จะพูดเช่นนั้น ท่านทั้งหลายควรจะพูดว่า “ถ้าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงโปรดเราจะมีชีวิตอยู่และกระทำสิ่งนี้หรือสิ่งนั้น” ยากอบ 4: 13-15

ช่างชัดเจนเหลือเกินว่าชีวิตเรานั้นก็เป็นเช่นหมอกที่ปรากฏเพียงชั่วครู่ แต่เราหลงคิดไปไกลว่าจะมีชีวิตอยู่กันนานแสนนานบนโลกใบนี้…ดังนั้นชีวิตในแต่ละวันจึงถูกใช้ไปตามกิเลสตัณหาและความบ้าบิ่นของเรา…มากกว่าที่เราจะใช้เวลาอันแสนสั้นนี้ได้ทบทวนถึงการมีชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ และเตรียมพร้อมที่จะสละร่างกายนี้ไปเมื่อถึงเวลา ยามพระเจ้าเรียกคืนลมหายใจ

“เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงเฝ้าระวังอยู่ เพราะท่านไม่รู้ว่า องค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านจะเสด็จมาเวลาไหน จงจำไว้ว่า ถ้าเจ้าของบ้านล่วงรู้ได้ว่าขโมยจะมายามไหน เขาจะตื่นอยู่และระวัง ไม่ให้ทะลวงเรือนเขาได้ เหตุฉะนั้นท่านทั้งหลายจงเตรียมพร้อมไว้เพราะในโมงที่ท่านไม่คิดไม่ฝัน บุตรมนุษย์จะเสด็จมา”มัทธิว 24: 42-44

จะว่าไปแล้วในบทนี้ก็ไม่ต่างไปจากแนวทางพุทธ อันเน้นย้ำให้เรามีชีวิตอยู่กับปัจจุบันหรือให้มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะนั่นเอง เพราะแท้จริงแล้วชีวิตเรานั้นก็สั้นนักเช่นเดียวกันกับคำพูดในพระธรรมยากอบ

ที่ธรัมศาลา ในชั้นเรียนปรัชญาทิเบต สิ่งหนึ่งที่เราถูกฝึกให้คิด ใคร่ครวญ อยู่ประจำสม่ำเสมอนั่นก็คือ เรื่องความตาย ไม่ใช่แค่เรื่องใครไหนอื่นที่ตาย แต่เป็นตัวเรานี่แหละที่จะต้อง “ตาย”

ฟังดูเหมือนง่ายๆ คล้ายเป็นเรื่องกินนอนขับถ่าย สืบพันธุ์ แต่กระนั้นยามที่ใคร่ครวญครุ่นคิดจริงๆ มันกลับไม่ง่าย ยิ่งถ้าต้องป่วยตาย  หรือตายแบบปัจจุบันทันด่วยด้วยแล้ว  อาการตายที่ดูคล้ายว่าง่ายๆ เหมือนหลับไปก็กลับไม่ง่ายอย่างว่า

ในทางทิเบตการปฏิบัติโพวา จึงถึงได้ว่าเป็นการปฏิบัติการบรรลุธรรมขั้นสูง เพราะว่ากันไปถึงเรื่องการเคลื่อนย้ายจิตไปสู่สภาวะของการบรรลุธรรมในยามใกล้ตาย ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติและรับการถ่ายทอดในเรื่องดังกล่าวนี้จะต้องมีการฝึกฝนอย่างหนักซ้ำแล้วซ้ำเล่ากับอาจารย์อย่างใกล้ชิด เพราะความสำเร็จขั้นสูงสุดของการปฏิบัติโพวาก็คือ การหลุดพ้นจากวัฏสงสารแห่งการเวียนว่ายตายเกิดและความทุกข์ทั้งหลาย

แม้ว่าศาสนาอื่นจะไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการปฏิบัติที่ลงรายละเอียดอย่างสายทิเบต แต่กระนั้นก็มีการพูดถึงเรื่องกระบวนการ และการเข้าใจในเรื่องชีวิตและความตายไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นพุทธ คริสต์ อิสลาม หรือแม้แต่ฮินดู

อย่างฮินดูสายเวทานตะ ที่ว่าชีวิตคือมายา สรรพสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นมายา ดังนั้นสิ่งที่จะต้องให้ความสำคัญและคุณค่านั่นก็คือ สภาวะข้างใน การปฏิบัติทำกายใจให้บริสุทธิ์เพื่อจะเข้าถึงพระเจ้า เช่นเดียวกันกับสายภัคติ โยคะ (ภักดี) ก็ให้ชีวิตทั้งชีวิตและทุกลมหายใจมีไว้เพื่อใคร่ครวญถึงพระเจ้า เพราะว่าวันหนึ่งเมื่อห้วงเวลาแห่งกายอันเป็นมายานี้ดับสิ้นก็ไม่ต้องหวาดกลัวความตายอีกต่อไป เพราะเราได้เตรียมจิตเตรียมใจกันมาแต่เนิ่นๆ แล้วว่า…ปลายทางนั้นเล่า…เราจะได้กลับบ้าน…อันมีเพียงจิตวิญญาณของเราที่จะเดินทางกลับไปสู่ปรมาตมัน


เรื่องความตาย…ที่เราหยิบยกมาให้ใคร่ครวญถึงจะว่าไปแล้ว
ก็ไม่ได้มีอะไรมากไปกว่า การได้หยุด…หยุดให้เวลากับจิตวิญญาณของตัวเอง

…ตั้งสติ ดูจิต ดูความคิด ดูท่าทีต่อชีวิต อะไรต่างๆที่เรากำลังต้องการ
ที่เรากำลังไขว่คว้า…พอถึงเวลา…เมื่อประตูแห่งความตายมาถึง

…จะมีสิ่งใดเล่าที่เราจะหยิบฉวยติดไม้ติดมือก้าวเข้าสู่ประตูนั้นไป
…อำนาจวาสนา…ตำแหน่งทางการเมือง
…ความมั่งคั่งร่ำรวยก็ล้วนแล้วแต่ถูกปลดวางอยู่ที่ปากประตูนั่น

 


ในทางคริสต์จึงกล่าวไว้ว่า “จงอย่าสะสมทรัพย์สมบัติไว้สำหรับตัวในโลก ที่อาจเป็นสนิมและที่แมลงกินเสียได้ และที่ขโมยอาจขุดช่องลักเอาไปได้ แต่จงส่ำสมทรัพย์สมบัติไว้ในสวรรค์ ที่ไม่มีแมลงจะกัดและไม่มีสนิมจะกัด และที่ไม่มีขโมยจะขุดช่องลักเอาไปได้ เพราะว่าทรัพย์สมบัติของท่านอยู่ที่ใดใจของท่านก็อยู่ที่นั่นด้วย” มัทธิว 6:19-21

ดังนั้นสำหรับใครที่ยังไม่เคยตาย และยังไม่เคยลองใคร่ครวญความตาย ท่านอาจจะลองใช้เวลาที่เหลือไม่มากนี้ได้ลองตายดู (แค่ทดลอง..ตาย) หรือหากดูแล้วมันเป็นนามธรรมเกินไปหน่อย…จะลองมาใช้วิธีง่ายๆ หาเวลาไปงานศพญาติสนิทมิตรสหายที่ได้เวลาเดินทางไปก่อนท่าน…หรือจะลองไปฝึกเป็นอาสาสมัครตามโรงพยาบาลดูแลผู้ป่วย หรืออาสาสมัครกู้ภัย กู้ชีวิตต่างๆ มากมายก็จะสามารถทำให้เราๆ ท่านๆ ได้มีโอกาสตีสนิทใกล้ชิดกับความตายมากขึ้น

ก็ในเมื่อชีวิตคล้ายดั่งหมอกควัน…เราหายใจรดต้นคอกันไป…ด่าทอกันไป…แย่งชิงอำนาจกันไป… มิทันไร…พระเจ้าก็จะเรียกลมหายใจคืนแล้ว…
 

********************

(หมายเหตุ : ตีพิมพ์ในคอลัมน์ Innerway พฤษภาคม 2552)

จาก http://waymagazine.org/category/life/