ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 01, 2016, 02:01:36 am »



โยคะสมาธิแบบคนไม่มีเวลา

เรื่อง : ธนิษฐา แดนศิลป์
ภาพ : อนุช ยนตมุติ

แน่นอนว่าถ้าพูดถึงโยคะ คนไทยเราอาจจะคุ้นเคยแค่การฝึกหัฐโยคะ ที่เป็นการดัดตน ดัดร่างกาย ซึ่งน้อยสำนักในเมืองไทยที่จะสอนเข้าไปลึกถึงขั้นสมาธิและการสังเกตจักระ ต่างๆ ภายในกาย อันจะนำไปสู่สภาวะแห่งสมาธิ ขณะเดียวกันโยคะก็เนื่องเกี่ยวเป็นเรื่องเดียวกับชีวิต ที่สำคัญโยคะมิอาจแยกออกจากสมาธิ สังเกตดูง่ายๆ หากการฝึกหัฐโยคะที่ปราศ-จากการสังเกตสภาวะข้างใน การฝึกนั้นก็ไม่ต่างไปจากการออกกำลังยืดเส้นยืดสายธรรมดา ไม่นานมานี้นับว่าเป็นโอกาสดี ที่ท่านสวามี เวทะ ภารตี (Swami Veda Bharati) ผู้อำนวยการและผู้ร่วมก่อตั้ง Swami Rama Sadhaka Grama (SRSG) ที่เมือง Rishikesh ประเทศอินเดีย ได้มาบรรยาย อบรมการภาวนาและเทคนิคโยคะต่างๆ ในวิถีทางหิมาลายันโยคะสมาธิ ที่จัดโดย สถาบันโยคะวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ให้ผู้ที่สนใจด้านโยคะได้ฟัง

ท่านสวามีเวทะ เป็นกูรูผู้สอนโยคะสมาธิระดับแนวหน้าของประเทศอินเดีย และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ยังได้รับฉายาว่าเป็นนักบุญผู้ทรงความรู้ ปัจจุบันสวามีเวทะ อายุได้ 71 ปี ท่านได้ใช้เวลา 58 ปีที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2490) เดินทางไปทั่วโลกเพื่อให้ความรู้และให้การชี้นำทางด้านจิตวิญญาณแก่ สานุศิษย์และผู้สนใจในกว่า 30 ประเทศทั่วโลก
หลากหลายเรื่องราวที่ท่านบอกเล่าในวันนั้น ล้วนแล้วแต่ให้แง่คิดกับผู้ที่สนใจฝึกโยคะอย่างมากมาย  ทำอย่างไรจะดำเนินชีวิตไปอย่างเป็นปกติในสังคมที่เราอยู่ ทว่ายังคงรักษาความสมดุลและความสงบนิ่งภายในไว้ได้ หรือแม้แต่คำแนะนำในการนำโยคะสมาธิมาใช้กับชีวิตประจำวันที่แสนจะยุ่ง วุ่นวายของเรา

ประหนึ่งท่านจะรู้ว่าพวกเรานั้นจะต้องอ้างว่า ‘ไม่มีเวลา’ ด้วยทั้งรูปแบบวิถีชีวิต และการจราจรที่ติดขัดอย่างไม่เหมือนที่ใดในโลก ท่านสวามีรีบหาทางออกให้เสร็จสรรพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับชีวิตคนกรุงเป็นอย่างยิ่ง โดยแนะนำว่าช่วงเวลารถติดสัญญาณไฟ อย่าไปนั่งรอนับเวลาไฟแดง แต่ให้นับลมหายใจแทน และไม่ต้องหลับตา ให้ลืมตา แต่ทว่าแทนที่จะเอาจิตไปจดจ่อกับไฟแดง แล้วหงุดหงิดอยากที่จะให้เป็นไฟเขียวเร็วๆ ก็ให้เอาจิตมาจดจ่อกับลมหายใจแทน



โยคะ สมาธิ และลมหายใจเข้าออก นั้นล้วนแล้วเป็นสิ่งเดียวกัน ยังไม่ต้องก้าวไปถึงการยกขา ปักหัว ไขว้ขาให้พิสดารอะไรมากมาย แค่หายใจได้ หายใจเป็น และรู้ลมหายใจนี้เพียงเท่านี้ท่านก็อยู่ไม่ไกลจากวิถีแห่งโยคะแล้ว โยคะสมาธิ ก็คือ การรับรู้ข้างใน สร้างทักษะในการฟังเสียงร่างกาย และเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง

โยคะ สมาธิ และชีวิต
คือ สิ่งเดียวกัน ดังนั้นโยคะสมาธิ
คือ สิ่งที่เราจะต้องฝึกไปทั้งชีวิต



“ลองดูว่า เวลาตื่นนอน ก่อนลุกจากที่นอน สองนาที ก่อนนอนสองนาที ก่อนกินข้าวสองนาที หลังกินข้าวเสร็จอีกสองนาที ระหว่างรอไฟแดงอีกหลายๆ นาที คอยรถเมล์อีกสองนาที รวมๆ แล้วเป็นกี่นาที” ท่านสวามีย้อนถามทุกคนในห้องเหมือนจะชี้ให้เห็นว่าเวลานั้นมีมากมาย ถ้าเราจะรีบฉวยไว้เพื่อปฏิบัติ หลักการนี้สามารถนำไปใช้ได้กับทุกกิจกรรมของชีวิต ไม่ว่า บนรถไฟ ในรถเมล์ เวลาคอยเพื่อน คอยแฟน คอยฟ้า คอยฝน สามารถใช้หลักการนี้ได้ ปล่อยให้ร่างกายเราเคลื่อนไหวไป แต่รักษาจิตใจให้สงบนิ่งไว้ ท่านว่าเช่นนั้น

ลมหายใจเข้าออกเป็นสิ่งที่เราจะต้องกำหนดรู้ และทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า เราถึงจะเห็นผล และจะต้องทำด้วยจิตใจที่สงบสุข ผ่อนคลาย ให้มีความสุขไปกับการปฏิบัติ ท่านบอกว่าความสุขของการกินช็อกโกแลตนั้นจะอยู่กับเราอย่างมากก็แค่ 2 นาที แต่ความสุขที่ได้จากการปฏิบัติสมาธินั้นจะคงอยู่นานเท่านาน โยคะ สมาธิ และลมหายใจเข้าออก นั้นล้วนแล้วเป็นสิ่งเดียวกัน ยังไม่ต้องก้าวไปถึงการยกขา ปักหัว ไขว้ขาให้พิสดารอะไรมากมาย แค่หายใจได้ หายใจเป็น และรู้ลมหายใจนี้เพียงเท่านี้ท่านก็อยู่ไม่ไกลจากวิถีแห่งโยคะแล้ว



อีกข้อแนะนำสำหรับคนที่ต้องการนั่งสมาธิอย่างถูกท่าตามหลักโยคะ นั่นก็คือการจัดวางท่านั่งของร่างกายให้ถูกต้อง เพื่อที่จะช่วยให้ระบบการหายใจและอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างสะดวกไม่ติดขัด ซึ่งนอกจากหลังตรง คอตรงแล้ว เข่าทั้งสองข้างจะต้องแนบติดพื้นคือสังเกตได้ว่าถ้าเข่าเราสูงขึ้นมาจากพื้นมาก เวลาเรานั่ง หลังก็จะงอทำให้ปวดหลัง เพราะเราใช้กระดูกสันหลังนั่งแทนที่จะใช้ก้นกบนั่ง  เพื่อที่จะให้สอดคล้องกับหลักดังกล่าว เราจึงใช้หมอนรองเพิ่มตรงระหว่างก้นกบอีกทีหนึ่ง เท่านี้ก็จะช่วยให้เรานั่งสมาธิได้ง่ายขึ้นสบายขึ้นแล้ว สุดท้ายสิ่งสำคัญสำหรับการกระทำทั้งหมดทั้งมวลนั้นก็เพื่อ การกลับเข้าสู่การเรียนรู้เกี่ยวกับตนเอง นี่คือวิถีที่งดงามแห่งโยคะสมาธิ ดังที่สวามีได้กล่าวไว้ว่า

“ให้เป็นผู้รู้การกระทำในการกระทำ เป็นผู้รู้สิ่งที่ตนเองกระทำในการกระทำ
    รู้การไม่กระทำในขณะที่กระทำ  และเป็นผู้สามารถรู้ความสงบแห่งการกระทำ”

หมายเหตุ สามารถอ่านคำสอนของท่านสวามีเวทะเพิ่มเติมได้จาก www.swamiveda.org

จาก http://waymagazine.org/category/life/