ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 06:15:54 pm »




กิเลสมูล ดุจ ๓ ปีศาจ  เสือ หมี ควายดำ
 
พระถังซัมจั๋งขี่ม้าพระราชทาน เริ่มออกเดินทางแต่เช้าตรู่มุ่งหน้าเข้าสู่ป่าใหญ่ ในเช้าของวันนี้มีหมอกลงจัดมากตลอดสองข้างทาง ทำให้พระถังซัมจั๋ง (ขันติ+ศรัทธา) ต้องวนเวียนหลงทางไปจนพบภูเขาซังขี้ซัว(ทางสองแพร่ง) ขณะที่ยังไม่รู้ว่าจะไปทางไหนดี ทันใดนั้นเองแผ่นดินเกิดยุบฮวบลง พระถังซัมจั๋งหล่นลงไปเผชิญปีศาจ ๓ ตนคือ ปีศาจเสือ (อิ๊มเจียงกุนท่วนหม้ออ๋อง) ปีศาจหมี (ซัวกุนอ๋อง) และปีศาจควายดำ (เต็กชู้สืออ๋อง)
 
ปีศาจทั้ง ๓ ดีใจนักที่จะได้กินเนื้อพระถังซัมจั๋ง จึงจับพระถังซัมจั๋งขังไว้ ระหว่างนั้นเองเทพเจ้าประจำดวงดาวชื่อไทเป็กแชกุน (กุศลเจตสิก) ได้ปรากฏกายขึ้นในร่างของชายชรา เข้าช่วยเหลือพระถังซัมจั๋งรอดพ้นมาได้พร้อมกำชับว่า “การเดินทางไปไซทีนั้น ต้องไม่ปริปากบ่นถึงความทุกข์ยาก ต้องมีความอดทนไม่ย่นย่อต่ออุปสรรค แล้วท่านจะได้สานุศิษย์ที่มีฤทธิ์ มาช่วยนำทางให้แก่ท่าน”
 
(ความตอนนี้หมายความว่า พระถังซัมจั๋งมองไม่เห็นหนทางด้วยหมอกลงจัด เปรียบดุจก่อนจิตเดินทาง เพื่อบรรลุถึงพุทธภาวะนั้น จิตยังวนเวียนอยู่ในกิเลสตัณหา ทำให้ตามืดมัวไม่เห็นทาง เมื่อพยายามให้หลุดพ้นจากความมืดมัวแล้วกลับพบทางสองแพร่ง อาจทำให้เกิดความลังเลขึ้น เพราะการที่จะบรรลุถึงความหลุดพ้น ประการแรกต้องพิจารณาละทิ้ง ตัดขาดซึ่งกิเลสมูล อันได้แก่ โลภ โกรธ หลง คือหล่มของปีศาจทั้ง ๓ นั้นได้แก่ ปีศาจเสือ =โลภะมูล, ปีศาจหมี =โทสะมูล และ ปีศาจควาย =โมหะมูล
 
เมื่อยังติดอยู่ในรสของโลภ โกรธ หลง ทำให้มีความลังเลในการละซึ่งโลภ โกรธ หลง เสมือนหนึ่งพบทางสองแพร่งให้เลือก แต่เมื่อเกิดสำนึกขึ้นในจิตใจในการทำความดี ที่มีอยู่กับตัว ธรรมที่มีอยู่ในจิตโดยธรรมชาติในการ ทำความดีคือ กุศลเจตสิก = ไทเป็กแชกุน เทพเจ้าประจำดวงดาว เตือนให้ใช้ ขันติทนต่อการบีบคั้นของกิเลส ไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของกิเลส จึงสามารถรอดพ้นจากหล่มของความโลภ ความโกรธ ความหลงได้)


จาก http://www.khuncharn.com

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1