ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 02, 2016, 06:20:19 pm »



พรานป่าช่วยให้พบศิษย์เอก

 พระถังซัมจั๋งออกเดินทางต่อในป่าใหญ่ที่เต็มไปด้วยปีศาจ และสัตว์ร้าย ดังนั้นไม่นานถูกเสือ และงูร้ายล้อมหน้าล้อมหลัง เดินทางต่อไป ไม่ได้กำลังคิดว่าเราคงจะไม่รอดแน่คราวนี้
 
พลันมีพรานป่าวิ่งออกมาจากชายป่า ตรงเข้าช่วยไว้รอดพ้นได้อย่างหวุดหวิด พรานป่าผู้นี้มีชื่อ เล่าเป็กกิม เป็นผู้กตัญญูต่อมารดาเป็นอย่างยิ่ง ขันอาสาว่าจะพาไปส่งยังภูเขาโง้วเห้งซัว (ภูเขาที่พระเซ็กเกีย มองนี่ฮุดโจ๊วเอานิ้วทั้ง ๕ ครอบเห้งเจียไว้ = ขันธ์ ๕ และ ต้องคำสาปว่า ให้อยู่เช่นนี้ ไปจนกว่าพระถังซัมจั๋งมาปลดปล่อย และนำไปเป็นสานุศิษย์เพื่อร่วมเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎก)
 
 
ขณะนั้นเองเมื่อมาถึงยังภูเขาโง้วเห้งซัว (ขันธ์ ๕ = รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ)ทั้งสองได้ยินเสียงร้องทักดังไปทั่วทั้งหุบเขาของซีเทียนไต้เซีย (มิจฉาปัญญา)
 
“อาจารย์...! ทำไมมาช้า นักเล่า? ข้ารอท่านมาหลายร้อยปี แล้วนะ”
 
ครั้นได้ยินเสียง ดังนั้น เล่าเป็กกิม (กตัญญูกตเวทิตา ได้แก่ กตัญญู = การรู้คุณท่าน กตเวทิตา = การตอบแทนคุณท่าน) เดินตามหาเสียงจนพบ ซีเทียนไต้เซีย (มิจฉาปัญญา) ถูกภูเขาทับอยู่จึงเข้าไปใกล้ๆแล้วถามว่า
 
“เหตุใดเล่า เจ้าจึงมาอยู่เช่นนี้ได้”ซีเทียนไต้เซีย(มิจฉาปัญญา = การหยั่งรู้ความดี ความชั่วที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่) ฟังไม่รู้ความ เล่าเป็กกิม (กตัญญู = รู้คุณท่าน) จึงช่วยเอานิ้วแคะตะไคร่น้ำที่ขึ้นในหูซีเทียนไต้เซียออก เนื่องจากถูกภูเขาทับมานานนับร้อยปี
 
ในที่สุดจึงพูดคุยกันรู้เรื่อง และซีเทียนไต้เซีย (มิจฉาปัญญา) ขอให้พระถังซัมจั๋ง (ขันติ = ความอดทนเพื่อบรรลุสิ่งที่ดีงาม) ช่วยปลดปล่อย โดยขึ้นไปปลดแผ่นยันตร์ที่มีอักขระ ๖ พยางค์ ออกจากยอดเขา พระถังซัมจั๋งจึงขึ้นไปปลดยันตร์ที่มีอักขระว่า “โอม มณี ปัททเม ฮูม” (ขอให้มณีเกิดขึ้น ในจิตใจเรา) ออก ทันใดนั้นซีเทียนไต้เซียก็แผลงฤทธิ์ เสียงดังสนั่นราว ปฐพีไหว ดีดตัว สลัดหลุดออกมาจากภูเขา แล้วตีลังกามาหมอบไหว้ พระถังซัมจั๋ง พลันเห้งเจียเห็นเสือตัวหนึ่ง ดึงตะบองยู่อีที่เสียบไว้ในรูหู ออกมาทุบเสือตาย แล้วถลกหนังเสือออกมานุ่งห่ม ถือเป็นการบวชครั้งแรกของซีเทียนไต้เซีย พระถังซัมจั๋งจึงตั้งชื่อให้ใหม่ว่า “ซึงเห้งเจีย”
 
จากนั้นเล่าเป็กกิม พรานกตัญญูบอกว่าหากพ้นเขตภูเขาโง้วเห้งซัว บรรดาสิงห์สาราสัตว์จะไม่ได้อยู่ในอำนาจของตนแล้ว ดังนั้นขอลากลับไปดูแล มารดาแล้วลาจากไป ศิษย์เอกซึงเห้งเจียจูงม้าให้อาจารย์นั่ง เดินทางเข้าไปในป่าใหญ่ มุ่งหน้าสู่ทิศปราจีน
 
(ความตอนนี้ หมายความว่า กตัญญูกตเวทิตาเป็นเครื่องสนับสนุนให้ได้โพธิปัญญา ดุจเล่าเป็กกิม (กตัญญูกตเวทิตา การรู้บุญคุณท่าน และ ตอบแทนบุณคุณท่าน) แคะหูให้ซีเทียนไต้เซีย (มิจฉาปัญญา) จนพูดคุยกันรู้เรื่อง นั้นเป็นการเริ่มต้นที่ให้ความกตัญญูมีส่วนแรกเริ่มในการน้อมนำ ให้ปัญญาเข้าสู่แนวทางแห่งสัมมาทิฏฐิ 
 
ครั้นได้แกะอักขระ ๖ พยางค์ ออก ซีเทียนไต้เซีย ก็หลุดพ้นออกจากภูเขาทั้ง ๕  "โอม มณี ปัททเม ฮูม" อักขระ ๖ พยางค์นี้แปลว่า “ขอน้อมแด่ดวงมณี มีขึ้นในจิตใจเรา” เป็นความหมาย การตั้งจิตอธิษฐาน “ขอให้เกิดแสงสว่าง ขึ้นในจิตใจ” เป็นการเริ่มต้นสู่เส้นทางแห่งมรรคผลของเห้งเจีย (ปัญญา) คือการหลุดพ้น จากภูเขา ๕ ลูกที่ทับไว้ นั่นคือการไม่ยึดติดในขันธ์ ๕ และตั้งใจมั่น ที่จะเดินสู่มรรคาแห่งสัมมาทิฏฐิ และในโอกาสนี้เห้งเจียได้เข้าสู่การบวชด้วยการห่มหนังเสือ



โอม มณี ปัททเม ฮูม

ขันธ์ ๕ ได้แก่
 
รูปขันธ์ - รูป ร่างกาย หรือ สิ่งที่ผัสสะ ๖ รับรู้ได้
 
เวทนาขันธ์ - การรับรู้ ความรู้สึก การเสวยรสในอารมณ์ของสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ
 
สัญญาขันธ์ - ส่วนกำหนดรู้และจดจำอารมณ์นั้นๆ
 
สังขารขันธ์ - การปรุงแต่งให้กับอารมณ์ที่ได้รับรู้ (เวทนา) แล้วปรุง แต่งให้กับจิตไปในทิศทางแห่งกุศล อกุศล หรือ อัพยากฤต
 
วิญญาณขันธ์ - การรู้แจ้งในอารมณ์ จากที่ได้รับรู้มาจาก รูป เวทนา สัญญา สังขาร เกิดวิญญาณขันธ์)


จาก http://www.khuncharn.com

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1