ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 05, 2016, 05:17:02 pm »

สี่มหาเถระยุคหมินกว๋อ (ยุคสาธารณรัฐจีน) ผู้ฟื้นฟู สืบสาน และปฏิรูปพุทธศาสนาในยุคแห่งการเปลี่ยนแลง การศึกสงคราม และการกดขี่




พระธรรมาจารย์ซวีหยุน (2383 - 2502) สายวิปัสสนา

พระเถระซวีหยุนเน้นปฏิบัติธรรมด้วยการทำสมาธิ วิปัสสนา ฟื้นฟูวิถีพุทธธรรมอันสันโดษของนิกายฉาน (นิกายเซน) จาริกธุดงค์ไปทั่วสารทิศ สถาปนา บูรณอารามนับสิบๆ มีศิษยานุศิษย์มากมายทั้งฝ่ายปริยัติ ฝ่ายปฏิบัติ หรือแม้แต่ฝ่ายวรยุทธิ์ เรื่องราวของท่านมีเหตุปาฏิหารย์เหนือการอธิบายมากมาย ล้วนแต่เป็นผลจากการปฏิบัติวิปัสสนา กล่าวได้ว่า ในเอเชียบูรพา แนวทางของท่านได้รับการปฏิบัติอย่างแพร่หลาย


"หากเราพิจารณาว่าแต่ละวันคือวันสุดท้ายในชีวิตของเรา เราจะไม่ยอมเสียเวลาแม้แต่นาทีไปกับเรื่องไร้สาระ หรือความเคียดแค้นหรือโทสะพยาบาท เราจะไม่ลืมแสดงความเมตตากตัญญุตาต่อผู้ที่การุณต่อเรา เราจะไม่เสียเวลาให้ทำใจปล่อยวางกับเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ แล้วหากเราทำผิดพลั้งไป จะไม่รีรอที่จะขอขมาลาภัย แม้ในยามจะสิ้นลมหายใจหรือ?"




พระธรรมาจารย์อิ้นกวง (2404 - 2490) สายพุทธานุสสติ

พระเถระอิ้นกวง มุ่งมั่นภาวนาพระนามพระอมิตาภพุทธมา ผสมผสานกับการปฏิบัติสมาธิ ทำให้การภาวนาพุทธนามได้รับการยอมรับจากปัญญาชนที่เคยดูแคลนว่า การปฏิบัติพุทธานุสสติเป็นกิจง่ายๆ ของ คนไม่มีการศึกษา แต่พระเถระไม่เพียงอธิบายให้ผู้คนเข้าใจ ยังส่งเสริมจนแพร่หลาย ช่วยยกระดับจิตใจผู้คนเหลือคณานับ ยกย่องกันว่าเป็นบูรพาจารย์ลำดับที่ 13 แห่งนิกายจิ้งถู่ หรือนิกายสุขาวดี


"อย่าไปกลัวความคิดโลภะ โทสะ โมหะที่เกิดขึ้นมา ให้กลัวว่าเราจะรู้ตัวช้าเกินไปว่าเกิดความคิดที่ว่า เมื่อโลภะ โทสะ โมหะเกิดขึ้น ตราบใดที่เรามีสติเท่าทัน ตราบนั้นความฟุ้งซ่านเหล่านี้ก็จะมลายไปเอง"



พระธรรมาจารย์หงอี (2423 - 2485) สายพระวินัย

เดิมท่านเป็นศิลปินและนักคิดที่มีชื่อเสียงมากในยุคหมินกว๋อ แต่เมื่อายุได้ 37 ปี ท่านได้บำเพ็ญเนกขัมมะนาน 21 วัน เกิดความซาบซึ้งในพุทธศาสนา จึงสละทางโลกหมดสิ้น ออกบวชเป็นภิกษุ แล้วเห็นว่าศาสนาในจีนเสื่อมโทรมลง ท่านจึงคิดฟื้นฟูพระวินัยเคร่งครัดที่สาบสูญไป ไปสืบเสะจนได้ปกรณ์นิกายวินัยที่เก็บรักษาไว้ที่ญี่ปุ่น จึงนำกลับมาเผยแพร่ในแผ่นดินจีนอีกครั้ง ชั่วชีวิตบรรพชิตของท่านส่งเสริมพระวินัย ฟื้นฟูหลักของนิกายวินัย หรือนิกายลวื่อจง ที่เคยรุ่งเรืองในจีน ส่งเสริมรากฐานศีล สมาธิ ปัญญา นับเป็นบูรพาจารย์หนึ่งของนิกายนี้


"หลักของมหายานคือการมีปณิธานมุ่งมาดเป็นพุทธะ คิดมุ่งเป็นพุทธะจะต้องมีจิตกรุณายังประโยชน์แก่สวรรพชีวิต ชาวพุทธฝ่ายมหายานจึงต้องมีจิตเมตตากรุณาอยู่เสมอ ตั้งปณิธานขนถ่ายสรรพสัตว์ มุ่งหมายที่จะทำกุศลแก่สรรพสัตว์ ดังนี้จึงจะเรียกตัวเองเป็นชาวพุทธได้เต็มภาคภูมิ"



พระธรรมาจารย์ไท่ซวี (2433 - 2490) สายปฏิรูป

พระเถระไท่ซวีผสมผสานวิถีตะวันตกกับหลักพุทธธรรม ส่งเสริมการปฏิรูปคณะสงฆ์ ประสานสัมพันธ์ระหว่างนิกายมหายานฝ่ายเหนือ และเถรวาทฝ่ายใต้ ส่งคณะสงฆ์มาศึกษาพุทธรรรมในสยาม โดยเฉพาะด้านพระวินัย ขณะเดียวกันท่านสอนว่า แดนสุขาวดีของฝ่ายมหายานมิได้อยู่แต่ในโลกหลังความตาย แต่ยังอาจสร้างได้ในโลกปัจจุบันนี้ด้วยการปฏิรูปศาสนจักรให้ทันสมัย สอดคล้องกับวิทยศาสตร์ เข้าถึงคนรุ่นใหม่


"ชาวพุทธไม่ควรทำเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ควรยังประโยชน์ให้เกิดกับส่วนรวมด้วย ... ชาวพุทธควรนำหลักมหายานมาปฏิบัติเพื่อยังประโยชน์แก่ประเทศชาติ รัฏฐะ และโลกของเรา การปฏิบัติหลักมหายานนั่น ก็คือการปฏิบัติหลักโพธิสัตว์จรรยานั่นเอง"

จาก http://prajnatara79.blogspot.com/