ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 07, 2016, 12:50:16 am »



วิจัยพบ‘เดินจงกรม’สร้างสมรรถภาพทางกาย แนะส่งเสริมผู้สูงวัยปฏิบัติสม่ำเสมอในชีวิตประจำวัน

           26พ.ย.2558 นางนงนุช แย้มวงศ์ หัวหน้างานการพยาบาลด้านตรวจรักษาพิเศษ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อ.องครักษ์ จ.นครนายก เปิดเผยงานวิจัย เรื่อง “ผลของการเดินจงกรมสมาธิต่อสมรรถภาพทางกาย ระดับความจำระยะสั้นและความฉลาดทางอารมณ์ผู้สูงอายุ” ในการประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่ 1 ว่า ตนและคณะได้ทำการวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยศึกษาผลของการเดินจงกรมสมาธิต่อสมรรถภาพกาย ระดับความจำระยะสั้นและความฉลาดทางอารมณ์ของผู้สูงอายุที่ปฏิบัติธรรม ใน จ.นครนายก กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ปฏิบัติธรรมด้วยการเดินจงกรมสมาธิและกลุ่มผู้สูงอายุที่ปฏิบัติธรรมด้วยการนั่งสมาธิ กลุ่มละ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1 คอร์สการฝึกปฏิบัติธรรม ภาวะนาแบบอานาปานสติ2แบบประเมินสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ 3 แบบคัดกรองสมองเสื่อมเบื้องต้น และ4แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และนำมาวิเคราะห์เชิงสถิติก่อนและหลังการทดลอง

           นางนงนุช กล่าวอีกว่า ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่ปฏิบัติธรรมด้วยการเดินจงกรมสมาธิมีคะแนนเฉลี่ยสมรรถภาพทางกาย7ด้าน คือ การทรงตัว ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน ความอดทนด้านแอโรบิก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ความอ่อนตัวด้านล่าง ความอ่อนตัวด้านบน และความว่องไว หลังการทดลอง12สัปดาห์ พบว่าก่อนและหลังการทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ พบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถภาพทางกายกลุ่มผู้สูงอายุที่ปฏิบัติด้วยการเดินจงกรม สูงกว่ากลุ่มที่นั่งสมาธิในทุกด้าน และกลุ่มที่ปฏิบัติธรรมด้วยการเดินจงกลม ยังมีค่าคะแนนความจำมากกว่ากลุ่มที่นั่งสมาธิ ส่วนค่าเฉลี่ยความจำนั้น พบว่าก่อนทดลองมีคะแนนค่าเฉลี่ยของความจำแตกต่างกัน แต่เมื่อทดลองด้วยทั้ง2วิธีแล้ว คะแนะเฉลี่ยนั้นไม่มีความแตกต่างกัน

           “การออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างสม่ำเสมอ และมีการปฏิบัติภาวนาสมาธิ ควบคู่กันสามารถเพิ่มสมรรถภาพทางกาย ทั้งระดับความจำ และความฉลาดทางอารมณ์ จึงควรมีการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติในชีวิตประจำวันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ1ในการประชุมวิชาการกิจกรรมทางกายระดับชาติ ครั้งที่1ภายใต้หัวข้อActive Living for allหรือ กิจกรรมทางกายเพื่อทุกคน”นางนงนุช กล่าว

.....................

(หมายเหตุ : ขอบคุณภาพจาก dinnamfa.wordpress.com)

จาก http://www.komchadluek.net/news/lifestyle/217541