ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2016, 01:01:28 am »(ป.อ.ปยุตฺโต) เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์
“…อย่างน้อยโยมต้องรู้หลักก่อนว่า
ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ที่ว่าต้องบำเพ็ญบารมี
บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่ง
อย่างที่คนธรรมดาทั่วไปจะบำเพ็ญกันไม่ไหว
ตั้งใจจะบำเพ็ญความดีข้อไหน
เช่นบำเพ็ญทาน ก็บำเพ็ญได้อย่างสูงสุดจนกระทั่ง
สละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้
เรียกว่าให้ชีวิต
จะบำเพ็ญความเพียรพยายาม
ก็เพียรพยายามอย่างยวดยิ่ง
ไม่มีระย่อท้อถอย แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ยอม
นี่คือการบำเพ็ญบารมี
หมายถึงคุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยวดยิ่ง
พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีครบแล้ว
ก็คือได้พัฒนาพระองค์อย่างเต็มที่แล้ว
ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แล้วเราก็นับถือพระโพธิสัตว์นั้น
นับถืออย่างไร? นับถือเพื่ออะไร?
ก็ขอตอบสั้น ๆ คือ นับถือเพื่อเอาเป็นแบบอย่าง
เอาพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างอย่างไร?
พระโพธิสัตว์นั้นกว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านต้องทำความดีมากมาย
เพียรพยายามทำมายาวนาน
อย่างยากลำบากมากประสบอุปสรรคมาก
แต่ก็ทำมาตลอดโดยไม่ระย่อท้อถอย
จนประสบความสำเร็จ
ท่านจึงเป็นตัวอย่างในการทำความดีของเรา
พระโพธิสัตว์นั้นท่านมีปณิธานด้วย
คือตั้งใจจะทำความดีอันไหนก็ทำจริง ๆ
ทำเต็มที่แล้วก็มั่นคงด้วย
เราก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น
โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่าง
จนกระทั่งเราสามารถเสียสละตัวเองได้เพื่อทำความดีนั้น
ตลอดจนกระทั่งว่าพระโพธิสัตว์นี่เสียสละตัวเองเพื่อผู้อื่น
เราก็ต้องสามารถเสียสละผลประโยชน์ของตัวเอง
เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือสังคม นี่คือคติพระโพธิสัตว์
อันนี้ก็โยงมาหาพระพุทธเจ้า
เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลัก
พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ก็เป็นมาด้วยความเพียรพยายาม
และทำความดีมามากมาย
เพราะอย่างนี้จึงทำให้เราเกิดความซาบซึ้ง
ในพระคุณของพระพุทธเจ้า นี่ประการหนึ่ง
ประการที่สองก็คือ
เป็นการเตือนตัวเราให้สำนึกในหน้าที่
ที่จะพัฒนาตัวที่จะทำความดี
เพื่อจะบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง
การที่จะบรรลุสิ่งที่ดีงามประเสริฐสูงสุด
เป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้านั้น
ไม่ใช่สิ่งที่จะได้มาด้วยการหวังหรืออ้อนวอนเฉย ๆ
แต่จะต้องเพียรพยายามทำ
ฉะนั้นคนเราทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเอง
ต้องตั้งใจทำความดี
คติพระโพธิสัตว์เตือนใจเราว่าเราจะต้องตั้งใจทำความดี
บำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ พร้อมกันนั้นก็เป็นกำลังใจแก่เรา
ในเมื่อเราได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์
ว่าท่านทำความดีมากมาย
อย่างเข้มแข็งและเสียสละ
เราได้เห็นตัวอย่างแล้วเราก็มีกำลังใจ
ที่จะทำความดีนั้นให้ตลอด
บางทีเราทำความดีไป เราเป็นปุถุชน บางทีเราก็อ่อนแอ
เมื่อไปพบอุปสรรคบางอย่างหรือไม่ได้รับผลที่ปรารถนา
เราก็เกิดความท้อแท้ เกิดความผิดหวัง
คนจำนวนมากจะเป็นอย่างนี้
ทำความดีไประยะหนึ่งก็ไม่เข้มแข็งจริง ไม่มั่นคงจริง
ไปประสบอุปสรรคหรือไม่ได้รับผลตอบแทนที่ต้องการ
ก็เกิดความท้อถอย แล้วก็บ่นเพ้อ
เอ้อ เราอุตส่าห์ทำดีมานักหนา ไม่เห็นได้ดีเลย
แล้วก็มองไปในด้านตรงข้ามว่า
อ้าว คนนั้นคนนี้เขาทำไม่ดี เขาทำชั่วด้วยซ้ำ
ทำไมได้ดีอย่างที่พูดกันว่า
“ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”
อะไรต่าง ๆ ก็จะตัดพ้อร้องทุกข์ขึ้นมา
แล้วก็พาลพาโลพาเลเลยเลิกทำความดี อันนี้จะเป็นผลเสีย
เมื่อได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์
ก็จะเกิดกำลังใจว่าพระพุทธเจ้า
เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ท่านทำความดี
ท่านลำบากกว่าเราเยอะแยะอย่างที่ว่าเมื่อกี้
บางทีต้องเสียสละชีวิตก็มี
บางทีพระองค์ทำความดีมากมาย
เขาไม่เห็นความดี เขาเอาพระองค์ไปฆ่า
พระองค์ก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ทำความดีต่อไป
เรามานึกดูตัวเราทำความดีแค่นี้แล้วจะมาท้อถอยอะไร
พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ลำบากกว่าเรา ทำมากกว่าเรา
ประสบอุปสรรคมากกว่าเรามากมาย ไปท้อถอยทำไม
พอเห็นคติพระโพธิสัตว์อย่างนี้
เราก็มั่นคงในความดี สู้ต่อไป นี่แหละเป็นแบบอย่าง
นี่คือการนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง
ท่านสอนมา ท่านเล่าเรื่องพระโพธิสัตว์มา
ก็เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เราในการทำความดี
เป็นเครื่องเตือนใจเราไว้ ทำให้เรามีกำลังใจ
แล้วเราก็เดินหน้าเรื่อยไปไม่ท้อถอย…”
จากหนังสือ “คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวก่อนปฏิบัติธรรม)”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
จาก ธรรมกถา ปาฐกถา ณ วัดสวนแก้ว เมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
ดาวโหลดหนังสือ pdf ฉบับเต็มได้ที่นี่ค่ะ
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/questions_for_buddhists_(self-inspection_before_practising_dhamma).pdf
ผู้ประพันธ์หนังสือ “พุทธธรรม”
เว็บไซต์รวมผลงานการประพันธ์ ธรรมนิพนธ์และธรรมบรรยายของ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
วัดญาณเวศกวัน
http://www.watnyanaves.net/th/home
จาก https://dhammaway.wordpress.com/2013/02/21/in-the-same-way-as-bodhisattva/
“…อย่างน้อยโยมต้องรู้หลักก่อนว่า
ความเป็นพระโพธิสัตว์นั้นอยู่ที่ว่าต้องบำเพ็ญบารมี
บำเพ็ญคุณธรรมอย่างยวดยิ่ง
อย่างที่คนธรรมดาทั่วไปจะบำเพ็ญกันไม่ไหว
ตั้งใจจะบำเพ็ญความดีข้อไหน
เช่นบำเพ็ญทาน ก็บำเพ็ญได้อย่างสูงสุดจนกระทั่ง
สละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของผู้อื่นได้
เรียกว่าให้ชีวิต
จะบำเพ็ญความเพียรพยายาม
ก็เพียรพยายามอย่างยวดยิ่ง
ไม่มีระย่อท้อถอย แม้ต้องสิ้นชีวิตก็ยอม
นี่คือการบำเพ็ญบารมี
หมายถึงคุณธรรมที่บำเพ็ญอย่างยวดยิ่ง
พระโพธิสัตว์เมื่อบำเพ็ญบารมีครบแล้ว
ก็คือได้พัฒนาพระองค์อย่างเต็มที่แล้ว
ก็ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แล้วเราก็นับถือพระโพธิสัตว์นั้น
นับถืออย่างไร? นับถือเพื่ออะไร?
ก็ขอตอบสั้น ๆ คือ นับถือเพื่อเอาเป็นแบบอย่าง
เอาพระโพธิสัตว์เป็นตัวอย่าง เป็นตัวอย่างอย่างไร?
พระโพธิสัตว์นั้นกว่าจะได้มาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านต้องทำความดีมากมาย
เพียรพยายามทำมายาวนาน
อย่างยากลำบากมากประสบอุปสรรคมาก
แต่ก็ทำมาตลอดโดยไม่ระย่อท้อถอย
จนประสบความสำเร็จ
ท่านจึงเป็นตัวอย่างในการทำความดีของเรา
พระโพธิสัตว์นั้นท่านมีปณิธานด้วย
คือตั้งใจจะทำความดีอันไหนก็ทำจริง ๆ
ทำเต็มที่แล้วก็มั่นคงด้วย
เราก็ต้องพยายามทำอย่างนั้น
โดยมีพระโพธิสัตว์เป็นแบบอย่าง
จนกระทั่งเราสามารถเสียสละตัวเองได้เพื่อทำความดีนั้น
ตลอดจนกระทั่งว่าพระโพธิสัตว์นี่เสียสละตัวเองเพื่อผู้อื่น
เราก็ต้องสามารถเสียสละผลประโยชน์ของตัวเอง
เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น เพื่อช่วยเหลือสังคม นี่คือคติพระโพธิสัตว์
อันนี้ก็โยงมาหาพระพุทธเจ้า
เพราะว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นหลัก
พระพุทธเจ้าที่จะตรัสรู้ได้ก็เป็นมาด้วยความเพียรพยายาม
และทำความดีมามากมาย
เพราะอย่างนี้จึงทำให้เราเกิดความซาบซึ้ง
ในพระคุณของพระพุทธเจ้า นี่ประการหนึ่ง
ประการที่สองก็คือ
เป็นการเตือนตัวเราให้สำนึกในหน้าที่
ที่จะพัฒนาตัวที่จะทำความดี
เพื่อจะบรรลุคุณธรรมเบื้องสูง
การที่จะบรรลุสิ่งที่ดีงามประเสริฐสูงสุด
เป็นพระอรหันต์เป็นพระพุทธเจ้านั้น
ไม่ใช่สิ่งที่จะได้มาด้วยการหวังหรืออ้อนวอนเฉย ๆ
แต่จะต้องเพียรพยายามทำ
ฉะนั้นคนเราทุกคนจะต้องพัฒนาตัวเอง
ต้องตั้งใจทำความดี
คติพระโพธิสัตว์เตือนใจเราว่าเราจะต้องตั้งใจทำความดี
บำเพ็ญคุณธรรมต่าง ๆ พร้อมกันนั้นก็เป็นกำลังใจแก่เรา
ในเมื่อเราได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์
ว่าท่านทำความดีมากมาย
อย่างเข้มแข็งและเสียสละ
เราได้เห็นตัวอย่างแล้วเราก็มีกำลังใจ
ที่จะทำความดีนั้นให้ตลอด
บางทีเราทำความดีไป เราเป็นปุถุชน บางทีเราก็อ่อนแอ
เมื่อไปพบอุปสรรคบางอย่างหรือไม่ได้รับผลที่ปรารถนา
เราก็เกิดความท้อแท้ เกิดความผิดหวัง
คนจำนวนมากจะเป็นอย่างนี้
ทำความดีไประยะหนึ่งก็ไม่เข้มแข็งจริง ไม่มั่นคงจริง
ไปประสบอุปสรรคหรือไม่ได้รับผลตอบแทนที่ต้องการ
ก็เกิดความท้อถอย แล้วก็บ่นเพ้อ
เอ้อ เราอุตส่าห์ทำดีมานักหนา ไม่เห็นได้ดีเลย
แล้วก็มองไปในด้านตรงข้ามว่า
อ้าว คนนั้นคนนี้เขาทำไม่ดี เขาทำชั่วด้วยซ้ำ
ทำไมได้ดีอย่างที่พูดกันว่า
“ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป”
อะไรต่าง ๆ ก็จะตัดพ้อร้องทุกข์ขึ้นมา
แล้วก็พาลพาโลพาเลเลยเลิกทำความดี อันนี้จะเป็นผลเสีย
เมื่อได้เห็นประวัติของพระโพธิสัตว์
ก็จะเกิดกำลังใจว่าพระพุทธเจ้า
เมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ท่านทำความดี
ท่านลำบากกว่าเราเยอะแยะอย่างที่ว่าเมื่อกี้
บางทีต้องเสียสละชีวิตก็มี
บางทีพระองค์ทำความดีมากมาย
เขาไม่เห็นความดี เขาเอาพระองค์ไปฆ่า
พระองค์ก็ไม่ท้อถอย แล้วก็ทำความดีต่อไป
เรามานึกดูตัวเราทำความดีแค่นี้แล้วจะมาท้อถอยอะไร
พระพุทธเจ้าเป็นพระโพธิสัตว์ลำบากกว่าเรา ทำมากกว่าเรา
ประสบอุปสรรคมากกว่าเรามากมาย ไปท้อถอยทำไม
พอเห็นคติพระโพธิสัตว์อย่างนี้
เราก็มั่นคงในความดี สู้ต่อไป นี่แหละเป็นแบบอย่าง
นี่คือการนับถือพระโพธิสัตว์ที่ถูกต้อง
ท่านสอนมา ท่านเล่าเรื่องพระโพธิสัตว์มา
ก็เพื่อเป็นแบบอย่างแก่เราในการทำความดี
เป็นเครื่องเตือนใจเราไว้ ทำให้เรามีกำลังใจ
แล้วเราก็เดินหน้าเรื่อยไปไม่ท้อถอย…”
จากหนังสือ “คำถามสำหรับชาวพุทธ (สำรวจตัวก่อนปฏิบัติธรรม)”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)
จาก ธรรมกถา ปาฐกถา ณ วัดสวนแก้ว เมื่อ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
ดาวโหลดหนังสือ pdf ฉบับเต็มได้ที่นี่ค่ะ
http://www.watnyanaves.net/uploads/File/books/pdf/questions_for_buddhists_(self-inspection_before_practising_dhamma).pdf
ผู้ประพันธ์หนังสือ “พุทธธรรม”
เว็บไซต์รวมผลงานการประพันธ์ ธรรมนิพนธ์และธรรมบรรยายของ
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
วัดญาณเวศกวัน
http://www.watnyanaves.net/th/home
จาก https://dhammaway.wordpress.com/2013/02/21/in-the-same-way-as-bodhisattva/