ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 09, 2016, 04:01:40 pm »




บารมี ๓๐ ที่แท้คือปัญญากับเมตตา

เห้งเจียถือกระบองยู่อี่เดินนำหน้าคณะ ซัวเจ๋งหาบห่อจีวรวิเศษจูงม้าขาวที่พระถังซัมจั๋งนั่งบนหลัง โป้ยก่ายแบกคราดเก้าซี่ไว้บนบ่า คอยระวังพระถังซัมจั๋งอยู่ด้านหลัง บ่ายหน้าสู่ทิศปราจีน
 
พ้นออกจากป่าก็พบทางใหญ่ มองไปข้างหน้าเห็นสำนักผู้วิเศษตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่สวยงามยิ่งนัก พระถังซัมจั๋งแสดงอาการดีใจเข้าใจ ว่าถึงวัดลุยอิมยี่ แห่งเขาเล่งซัวอันเป็นที่ประทับของพระยูไล(พระพุทธเจ้า = พุทธภาวะ)แล้วเร่งรีบเดินเข้าไปหา
 
เห้งเจียจึงร้องห้ามขึ้นว่า เขาเล่งซัวที่เป็นจุดหมายนั้นยังอีกไกลนัก พระถังซัมจั๋งได้ฟังให้รู้สึกท้อแท้ใจเป็นยิ่งนัก เนื่องจากเดินทางมาเป็นเวลา หลายเดือนแล้วยังไม่ถึงจุดหมายอีก
 
เห้งเจียจึงปลอบใจว่า “มูลสันดานของอาจารย์ผ่องใสบริสุทธิอยู่แล้ว หากเพียงหยุดความอยากเสียเท่านั้น เขาเล่งซัวก็จะอยู่ ณ เบื้องหน้า แลพระยูไลจะอยู่ ณ ตรงนั้น” ศิษย์กับอาจารย์ เดินเข้าสำนักมีป้ายเขียนว่า ติ๋นหงวนจื้อ (อุเบกขา) เป็นเจ้าสำนัก แต่ในขณะนั้นเจ้าสำนักไม่อยู่
 
สำนักแห่งนี้มีต้นไม้กายสิทธิ์อันเป็นของวิเศษอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นไม้ที่เกิดขึ้นก่อนที่ฟ้าและดินแยกออกจากกัน คือ ต้นยิ่นเซียมก๊วย (นารีผล- ผลไม้ให้พลัง) สามพันปีออกดอกครั้งหนึ่ง แล้วอีกสามพันปีจึงตั้งเป็นผล จากนั้นอีกสามพันปีผลจึงจะสุก เมื่อครบหมื่นปีจึงจะกินเป็นยาวิเศษได้ และในรอบหมื่นปีจะออกผลเพียง ๓๐ ผล (บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ์บารมี ๑๐) เท่านั้น ติ๋นหงวนจื้อได้สั่งสาวกไว้ว่า หากพระถังซัมจั๋งผ่านมา ให้เก็บผลไม้ยิ่นเซียมก๊วยถวายสัก ๒ ผล
 
ในระหว่างรอเจ้าสำนัก ศิษย์จึงเก็บผลไม้ถวายพระถังซัมจั๋งตามที่ติ๋หงวนจื้อได้สั่งไว้ พระถังซัมจั๋งได้รับถวายแต่ไม่กล้ากิน เพราะด้วยผลไม้ ชนิดนี้มีรูปร่างเหมือนเด็กแดง คล้ายทารกเพิ่งคลอด (ความไร้เดียงสา)
 
ระหว่างนั้นเองเห้งเจีย (มิจฉาปัญญา) แอบเข้าไปในสวนเพื่อขโมยผลไม้วิเศษ ด้วยไม่รู้วิธีสอยที่ถูกต้อง (ไม่ศรัทธาในความไร้เดียงสา ว่าสามารถไปสู่มรรคผลได้) ทำให้ผลไม้หล่นลงดินละลายหายไปในดินหมด แต่ยังสามารถเก็บได้ ๓ ผล แบ่งกันกินกับโป้ยก่าย (มิจฉาศีล) และซัวเจ๋ง(มิจฉาสมาธิ)คนละผล สาวกของติ๋นหงวนมาเห็นเข้า  ไม่พอใจ จึงเกิดการสู้รบกันโกลาหล เห้งเจียสำแดงฤทธิ์โค่น ถอนรากต้นยิ่นเซียมก๊วย (ความไร้เดียงสา) ออกมาคิดทำลายให้สิ้นซาก ติ๋นหงวนจื้อ(อุเบกขา) กลับมาพบเรื่องราวตรงเข้าสู้รบกับเห้งเจีย เห้งเจียสู้ไม่ได้และ ถูกจับขังทั้งคณะ เจ้าสำนักโกรธจัดคาดโทษว่า หากไม่สามารถทำให้ต้นยิ่นเซียมก๊วย(ความไร้เดียงสา)วิเศษฟื้นได้ จะไม่ให้คณะไปไซที เห้งเจียหายอมไม่ พยายามพาคณะแหกคุกหลายครั้ง แต่ถูกติ๋นหงวนจื้อ (อุเบกขา) รวบจับด้วยถุงวิเศษ(อาสวะ = กิเลสที่หมักหมมดองอยู่ในสันดาน)ได้ทุกครั้ง เห้งเจียจึงแปลงกายแอบหนีออกมาเพียงคนเดียว เหาะไปพบพระโพธิสัตว์กวนอิมขอความช่วยเหลือ พระโพธิสัตว์กวนอิม (เมตตา = ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข) เสด็จมาถึงสวน เขียนยันตร์ลงบนฝ่ามือเห้งเจีย แล้วบอกให้เห้งเจีย โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง ร่วมแรงกันพยุงประคอง ต้นไม้วิเศษตั้งขึ้น แล้วทรงพรมน้ำมนต์
 
ติ๋นหงวนจื้อใช้ถ้วยหยกมาตักน้ำรดตลอดลำต้น ต้นไม้วิเศษจึงกลับฟื้นเขียวสดตามเดิม ติ๋นหงวนสั่งให้เก็บผลมา ๑๐ ผลแจกกันกิน เมื่อได้กินผลทั้ง ๑๐ ผลแล้ว ทำให้ทั้งคณะเกิดพละกำลังยิ่งนัก พระถังซัมจั๋งบอกลาติ๋นหงวนจื้อ มุ่งหน้าทิศปราจีนต่อไป
 
(บารมีคือ การกระทำที่ประเสริฐ ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดเพื่อบรรลุจุดหมาย อันสูงยิ่ง ๑๐ ประการ ได้แก่ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา ซึ่งผลของบารมีก่อให้เกิดความสะอาด สว่าง สงบ บริสุทธิ์ราวเด็กไร้เดียงสา ไม่ยึดมั่นถือมั่น
 
ความประพฤติปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงความดีความงามทั้ง ๑๐ ประการ ด้วยความอุตสาหะเป็นอย่างยิ่ง ย่อมทำให้เกิดความบริสุทธิ์ สงบเช่นเด็กไร้เดียงสา เป็นบารมีส่งผลให้บรรลุมรรคผลได้ง่ายขึ้น เปรียบเหมือนผลไม้เด็กแดง = ผลยิ่นเซียมก๊วย
 
แต่พระถังซัมจั๋งถือว่าตนเป็นผู้รู้แตกฉานในไตรปิฎก จึงไม่กล้ากินผลยิ่นเซียมก๊วย เพราะเห็นว่าความไร้เดียงสาไม่น่าจะเป็นที่ศรัทธา หรือเป็นหนทางสู่มรรคผลได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเห้งเจีย(ปัญญา) ยิ่งแล้วใหญ่ไม่มีความศรัทธาเชื่อถือเลยว่า ยอดแห่งบารมี คือ ความไร้เดียงสา ความ ไม่ยึดมั่นถือมั่นจะเป็นหนทางสู่มรรคผล จึงทำให้สอยผลยิ๋นเซียมก๊วย ไม่ได้หล่นลงหายไปกับพื้นดินหมด แถมยังติดกับอยู่ในกิเลสที่ว่า ตนมีปัญญาสูงส่ง จึงเป็นเหตุให้ไม่สามารถหนีพ้นถุงวิเศษ (อาสวะ = กิเลสที่หมักหมม ดองอยู่ในสันดาน) ในที่สุดต้องอาศัยเมตตาร่วมกับปัญญา ศีล สมาธิ ร่วมมือกันประคับประคองเป็นพลังแห่งชีวิตที่ฟื้นคืนขึ้นมา ออกผลเป็นบารมี ๓๐ ประการ บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และ ปรมัตถบารมี ๑๐ บารมีคือความดี หรือ คุณธรรมที่ได้บำเพ็ญ หรือปฏิบัติอย่างยิ่งยวด ซึ่งเป็นบารมีที่สูงส่ง สนับสนุนสู่พุทธภาวะ หรือความเป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระเจ้าสิทธัตถะได้บำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐ มาในทศชาติ ดังนี้
 
ชาติที่ ๑ พระเตมีย์ บำเพ็ญเนกขัมมะบารมี - การออกบวช การปลีกกายใจ ออกจากกาม
 
ชาติที่ ๒ พระมหาชนก บำเพ็ญวิริยะบารมี - ความเพียร
 
ชาติที่ ๓ พระสุวรรณสาม บำเพ็ญเมตตาบารมี - ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข
 
ชาติที่ ๔ พระเนมิราช บำเพ็ญอธิษฐานบารมี - ความตั้งใจมั่น
 
ชาติที่ ๕ พระมโหสถ บำเพ็ญปัญญาบารมี-การหยั่งรู้เหตุผล และรู้จักแก้ไขปัญหา
 
ชาติที่ ๖ พระภูริทัตต์ บำเพ็ญศีลบารมี - การรักษากาย วาจาให้อยู่ในหลักความประพฤติที่ดีงาม
 
ชาติที่ ๗ พระจันทกุมาร บำเพ็ญขันติบารมี-ความอดทน เพื่อบรรลุสิ่งที่ดีงาม
 
ชาติที่ ๘ พระนารทะ บำเพ็ญอุเบกขาบารมี - ความวางใจเป็นกลาง
 
ชาติที่ ๙ พระวิธุระ บำเพ็ญสัจจะบารมี - พูดจริง ทำจริง ด้วยความ จริงใจ
 
ชาติที่ ๑๐ พระเวสสันดร บำเพ็ญทานบารมี - การให้ การเสียสละ
 
           
อุปบารมี ๑๐ เป็นบารมีที่สูงกว่าบารมี เพราะบารมียังเป็นเรื่อง สมบัตินอกกาย แต่อุปบารมี ได้แก่การเสียสละอวัยวะเป็นทาน เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น
 
ปรมัตถบารมี ๑๐ เป็นบารมีระดับสูงสุด ได้แก่การเสียสละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น]




จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=7

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1