ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2016, 05:18:36 pm »



ฟางเปลี่ยนโลก มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ

แนวคิด / ประสบการณ์ตื่นรู้

"จุดมุ่งหมายอันสูงสุดของการทำนาไม่ใช่การปลูกพืช แต่มันคือการทำคนให้เป็นคน"



มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เห็นปรัชญาจากวัฏจักรของสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เขายึดหลักอกรรม (การไม่ทำ) ก่อเกิดกรรม (การกระทำ) ฟูกูโอกะเห็นว่าสรรพสิ่งนั้นขับเคลื่อนด้วยพลวัตที่ปราศจากพลวัต จึงกลายเป็นที่มาของทฤษฎีกสิกรรมที่โด่งดังของเขา คือการทำกสิกรรมโดยการไม่ทำกสิกรรม ไม่ดูแลไร่นา ไม่ดูแลผืนดิน

แนวคิดที่ทั้งดูแล และไม่ดูแลไร่นาและผืนดินนี้เรียกว่า "ฌิเซน โนโฮ" ซึ่งสอดคล้องกับหลัก "มู" เป็นหลักหนึ่งของพุทธศาสนา หมายถึง "ศูนยตา" หรือความไร้ แต่เป็นความไร้ที่ไม่ได้สูญเปล่า เป็นความไร้ที่ประกอบไปด้วยสาระของสรรพสิ่ง คือความกลมกลืนหนึ่งเดียวกันของทั้งความไร้และความมี ฟูกูโอกะเห็นว่าเมื่อเราชักพาสรรพสิ่งสู่ความไร้แล้ว มันจะดำเนินไปตามครรลองของมันเอง เหมือนกับที่เมื่อเราจัดการพืชผักผืนดินและปล่อยมันไว้อย่างถูกต้อง มันก็จะเกิดการเติบโตของมันเองได้โดยไม่ต้องเข้าไปดูแล



ช่วงที่เขาป่วยจากอาการปอดบวม ถูกกักบริเวณอยู่แต่ในโรงพยาบาล ฟูกูโอกะครุ่นคิดเรื่องชีวิตและความตายด้วยจิตใจที่จดจ่อสับสน คืนหนึ่ง เขาปล่อยให้ความสับสนต่อสู้กับตัวเองจนเผลอหลับไปใต้ต้นไม้ใหญ่ เสียงนกกระยางปลุกเขาให้ตื่นขึ้นมาในเช้าวันใหม่ เขามองไปรอบๆ พบแสงตะวันเปิดฟ้า เสียงนกขับขาน สรรพชีวิตกำลังเริ่มต้นวัฏจักรของมันอีกครั้ง ช่วงเวลานี้เองที่ภาวะตระหนักรู้บังเกิดขึ้นกับเขา เขาเห็นว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นเองโดยไม่มีใครต้องทำอะไร และสิ่งต่างๆ ที่เขายึดมั่นถือมั่นไว้มาโดยตลอด ล้วนไม่มีความหมายอะไรเลย

นับแต่วันนั้น ฟูกูโอกะเริ่มต้นชีวิตแบบใหม่ที่ไร้ความหมาย ไร้การกระทำ เพราะชีวิตใหม่ของเขาคือการไม่ทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เดินทางเร่ร่อนไปเรื่อยๆ จากเมืองหนึ่งสู่เมืองหนึ่ง อาศัยน้ำใจของผู้คนตามทางเพื่อประทังชีวิต จนกระทั่งเขากลับบ้านแล้วขอให้พ่อปันพื้นที่เพาะปลูกให้ส่วนหนึ่งเพื่อทดลองทฤษฎีของการทำเกษตรแบบไม่ต้องทำอะไรของเขา ปล่อยให้พืชพันธุ์และสรรพสัตว์เติบโตและกันไปตามครรลองของธรรมชาติ เขาเชื่อว่าการไม่ทำอะไรคือการทำที่ยิ่งใหญ่ และมันจะให้ผลที่ยิ่งใหญ่

ขาไม่ทันคิดถึงเรื่องนี้เลย ต้นไม้ใบหญ้าที่ถูกเขาทิ้งไว้ให้โตเองตามธรรมชาติ กลับถูกแมลงเจาะกินจนวอดวายไปต่อหน้าต่อตา ไม่ใช่ว่าทฤษฎีของเขาผิดพลาด แต่เพราะเขาประเมินสถานการณ์พลาดไปอย่างมหันต์ เขาพบว่าเพราะสิ่งมีชีวิตบนโลกพึ่งพาอาศัยการบงการมานานเกินไป จนไม่อาจอยู่ได้โดยลำพังตามครรลองของมันเองอีก ดังนั้นก่อนที่มันจะคืนสู่ธรรมชาติ มนุษย์จึงต้องบงการมันเป็นครั้งสุดท้ายด้วยการตระเตรียมมันก่อนจะทอดทิ้งมันอย่างสมบูรณ์แบบ

ฟูกูโอกะพบว่าสิ่งที่จะใช้เข้าไปบงการมันเป็นครั้งสุดท้ายก็คือฟาง ฟูกูโอกะใช้เพียงฟางในการเข้าไปควบคุมดูแลการเติบโตของเหล่าพืชผลในไร่นา แล้วจึงปล่อยให้มันดูแลกันเองจนเติบโตได้ในที่สุด เขาใช้ฟางได้อย่างเต็มประสิทธิภาพดังทีหนังสือเล่มหนึ่งของเขาชื่อ "ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว"

ดังนี้ ฟูกูโอกะจึงพบว่าสัจธรรมไม่ใช่ทั้งการทำ หรือไม่ทำอะไร แต่เป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างนั้น หรือ "มู" ต่างหาก เขาใช้แนวคิด "ณิเซน โนโฮ" และ "มู" ดังกล่าวนี้ทั้งในการดำเนินชีวิต และในการพลิกฟื้นชีวิตของผืนดินในทุกที่ที่เขาเดินทางไป



ชีวประวัติ

มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ในเมืองเล็กๆ ที่ชื่ออิโยะ จังหวัดเอฮิเมะ บนเกาะชิโกกุ ดินแดนแถบนี้ขึ้นชื่อในเรื่องการประมงและการสวนผลไม้ ครอบครัวของเขามีสวนส้มและแปลงเกษตรกว้างใหญ่ ฟูกูโอกะผู้พ่อได้รับเลือกเป็นนายกเทศมนตรีอย่างต่อเนื่อง ส่วนผู้เป็นแม่สืบเชื้อสายจากสกุลซามูไรเก่าแก่ ชีวิตของเขาค่อนข้างสุขสบาย ทั้งยังได้รับโอกาสทางการศึกษาเหนือกว่าเด็กทั่วๆ ไป

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 30 ฟูกูโอกะเริ่มทำงานด้านการวิจัยเกษตร มีอยู่ช่วงหนึ่งเขาไปประจำอยู่ที่สำนักศุลกากร เมืองโยโกฮามา ในกองตรวจสอบพันธุ์พืช ช่วงนี้เองที่เขาได้ค้นพบความอัศจรรย์ของธรรมชาติผ่านกล้องจุลทรรศน์ เขาได้พบกับพันธุ์พืชแปลกๆ ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เรียกได้ว่าเป็นรักแท้ครั้งแรกของชีวิตเขาก็ว่าได้

แต่แล้วเมื่ออายุได้ 25 ปี เขาล้มป่วยลงด้วยโรคปอดขั้นรุนแรง ต้องถูกกักตัวไว้ในโรงพยาบาล ไม่มีเพื่อนสักคนมาคอยสอบถามอาการ เป็นช่วงที่เขาทบทวนชีวิตตัวเองมากที่สุดช่วงหนึ่งจนแตกฉานในแนวคิดหลายอย่าง โดยเฉพาะแนวคิดเรื่อง "มู" ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ วิถีชีวิต และกสิกรรมทั้งสิ้น

หลังจากรอดพ้นอาการป่วยมาได้ ฟูกูโอกะเริ่มต้นลงมือทำตามสิ่งที่เขาค้นพบ หรือการกสิกรรมแบบณิเซน โนโฮ ในทันที แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จในตอนแรก อีกทั้งช่วงหนึ่งของการทดลองนี้ต้องหยุดชะงักลงเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟูกูโอกะถูกเกณฑ์ไปรบ แต่สงครามก็สิ้นสุดอย่างรวดเร็วหลังการทิ้งระเบิดปรมาณู และแม้จะเหลือที่ดินน้อยลงกว่าเดิมมากจากการจัดสรรของอเมริกา แต่ก็ยังเพียงพอให้ฟูกูโอกะทำการทดลองของเขาต่อไป เขาล้มเหลวและฝึกฝนจนมีวิธีการที่ใช้ได้จริงเกิดขึ้นในที่สุด

ฟูกูโอกะเขียนหนังสือออกมาเพื่อแบ่งปันแนวคิดต่างๆ ของเขา ทั้งเรื่องการเกษตรและปรัชญาการใช้ชีวิต เขาเดินทางไปทั่วโลกเพื่อประกาศสิ่งที่เขาค้นพบ และช่วยเหลือเกษตรกรในการพลิกฟื้นผืนดิน จากสหรัฐถึงเอธิโอเปีย จากไทยถึงอัฟกานิสถาน จากอินเดียถึงจีน จากบราซิลถึงฟิลิปปินส์ และอีกมากมายหลายแห่งหน และเป็นคุรุผู้สอนการทำกสิกรรมตามแนวทาง "ณิเซน โนโฮ" ไปจนบั้นปลายชีวิต

มาซาโนบุ ฟูกูโอะ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 2008 อายุได้ 95 ปี



เส้นทางชีวิต
ค.ศ. 1913
เกิดที่เมืองอิโยะ จังหวัดเอฮิเมะ ประเทศญี่ปุ่น ในครอบครัวเจ้าที่ดินท้องถิ่น

ค.ศ. 1934
ทำงานที่สำนักงานศุลกากรเมืองโยโกฮามาฝ่ายวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ค.ศ. 1937
ป่วยด้วยโรคปอดบวมอย่างหนัก เกิดประสบการณ์การตื่นรู้

ค.ศ. 1938
เริ่มการทดลองทฤษฎีเกษตร

ค.ศ. 1940
แต่งงานกับ อะยะโกะ มีบุตรด้วยกัน 5 คน

ค.ศ. 1945
ถูกเกณฑ์เป็นทหารและถูกปลดประจำการ

ค.ศ. 1947
เริ่มทำตามทฤษฎีเกษตรอย่างจริงจังอีกครั้ง พิมพ์หนังสือเรื่อง  Mu 1: The God Revolution

ค.ศ. 1975
พิมพ์หนังสือชื่อ The One-Straw Revolution หรือการปฏิวัติด้วยฟางเส้นเดียว

ค.ศ. 1979
เป็นต้นมา ฟูกูโอะกะ เดินทางไปทั่วโลกเพื่อบรรยาย สาธิต และรับรางวัล

ค.ศ. 1990 - 1991
ฟูกูโอะกะ เดินทางมายังไทย เพื่อเยือนแปลงเกษตรต่างๆ และเก็บตัวอย่างเมล็ดพันธุ์

ค.ศ. 2008
เสียชีวิตมื่อวันที่ 16 สิงหาคม วัย 95 ปี หลังจากป่วยจนต้องนั่งรถเข็นมานาน




วาทะ

เป็นหมายสูงสุดของการทำไร่นาไม่ใช่แค่การปลูกพืช แต่คือการเพาะพันธ์ความประเสริฐของมนุษย์
ถ้าเราไล่ธรรมชาติออกจากบ้าน
มันจะกลับมาอีกครั้งพร้อมคราดในมือ
ใจกลางสวนเล็กๆ ของเราตรงนี้นั่นแหละ คือศูนย์กลางแห่งจักรวาล


อ่านเพิ่มเติม


ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว. มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ


Sowing Seeds in the Desert: Natural Farming, Global Restoration, and Ultimate Food Security. Masanobu Fukuoka


The Natural Way of Farming: The Theory and Practice of Green Philosophy. Masanobu Fukuoka


One-Straw Revolution, The: an Introduction to Natural Farming. Masanobu Fukuoka

ดูเพิ่มเติม

Masanobu Fukuoka -- Farming Philosophy

<a href="https://www.youtube.com/v/55m1SypX7pw" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/55m1SypX7pw</a>

จาก http://www.newheartawaken.com/guru/38



เพิ่มเติม ทั้งเล่มเลย เคยลงไว้
   
Masanobu Fukuoka เกษตรกรผู้ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3885.0.html

ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๑ กลับคืนสู่ต้นกำเนิด http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3600.0.html

ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๒ เกษตรธรรมชาติ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3715.0.html
   
ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว : ภาค ๓ ทางออกอันอ่อนน้อม http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3789.0.html

<a href="https://www.youtube.com/v/EE33XM0FvP4" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/EE33XM0FvP4</a>
ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: มิถุนายน 28, 2016, 02:18:24 am »





<a href="https://www.youtube.com/v/ztGjvEqV5lQ" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/ztGjvEqV5lQ</a>

คำสำคัญ วันละคน ตอน มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ

หัวข้อธรรม : เรียนสัจจะจากธรรมชาติ

 
"เป้าหมายสูงสุด ของการทำเกษตร ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น
แต่เป็นการเพาะปลูกความสมบูรณ์แบบของมนุษย์"

          ในปี ๒๕๓๐ โลกถูกปลุกให้หันมาสนใจเกษตรกรรมแนว “วิถีดั้งเดิม” โดยอดีตนักจุลชีววิทยาด้านศัตรูพืช มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ ผู้ผันตัวเองสู่ท้องนาชนบท เพื่อพิสูจน์แนวคิดและความเชื่อของตน
 
          ฟูกูโอกะ เชื่อว่า ธรรมชาติสร้างความสมดุลได้ด้วยตัวเอง มนุษย์จึงไม่ต้องทำอะไรเกินความจำเป็นอีกต่อไป ไม่ต้องไถพรวนดิน เพราะรากพืชและไส้เดือนก็ทำหน้าที่ชอนไชพรวนดินตามธรรมชาติอยู่แล้ว

          ตรงกันข้าม การไถพรวนดินกลับยิ่งทำให้เมล็ดวัชพืชที่อยู่ใต้ดินมีโอกาสขึ้นมาเจริญเติบโต เขาควบคุมวัชพืชด้วยการปลูกพืชตระกูลถั่วคลุมดิน ซึ่งจะทับถมกลายเป็นปุ๋ยในภายหลัง และควบคุมแมลงโดยปล่อยให้ชีวิตเล็กๆ เหล่านี้อยู่กันตามธรรมชาติและปล่อยให้กลไกห่วงโซ่อาหารทำหน้าที่ควบคุมปริมาณของแมลง
 
          ฟูกูโอกะลงมือเขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า ปฏิวัติยุคสมัยด้วยฟางเส้นเดียว ซึ่งสะท้อนแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติ ซึ่งสวนทางกับการทำเกษตรกรรมของหลายคนในเวลานั้น ที่มนุษย์เชื่อว่า สามารถควบคุมทุกอย่างได้ ไม่เว้นแม้แต่ ธรรมชาติ ซึ่งนั่นทำให้เกษตรกรต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและยาฆ่าแมลงเพื่อใช้ในการควบคุมแมลง วัชพืชและปริมาณผลผลิต แต่กลับได้ผลลัพธ์ที่ตรงกันข้าม ยิ่งควบคุมก็ยิ่งห่างไกลธรรมชาติออกไปทุกที
 
          เขาจึงนำเสนอแนวทางทำการเกษตรแบบ “อกรรม” นั่นคือ การงดเว้นกิจกรรมการเกษตรที่ไม่จำเป็นทุกชนิดที่เป็นการรบกวนและเป็นภัยต่อธรรมชาติ ด้วยการไม่ทำกิจกรรม ๔ อย่าง คือ

๑.ไม่มีการไถพรวนดิน
๒.ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี
๓.ไม่มีการกำจัดวัชพืชโดยเฉพาะการใช้ยาปราบศัตรูพืช และ
๔.ไม่มีการใช้สารเคมีอย่างเด็ดขาด
 
          อาจดูเหมือนว่าเขาปล่อยให้พืชพันธุ์ เจริญเติบโตโดยไม่ได้มีวิธีการดูแลบำรุงรักษาเหมือนกับเกษตรกรคนอื่นๆ ที่เค้าทำกัน แต่ที่จริงแล้ว การทำเกษตรแบบ “อกรรม” ไม่ได้แปลว่าไม่ทำอะไรเลย หากหมายถึง การทำทุกอย่างเท่าที่จำเป็น ง่าย และงาม ตามธรรมชาติ เรียนรู้เพื่อที่จะเข้าใจมากกว่าที่จะเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ กลมกลืนและเป็นหนึ่งเดียวกับวิถีธรรมชาติ อันเป็นพื้นฐานของสรรพสิ่ง
 
          ในปี ๒๕๓๑ ฟูกูโอกะ ได้รับรางวัลรามอน แมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ จากแนวคิดเกษตรกรรมธรรมชาติที่เป็นการเกื้อกูลระบบนิเวศน์ และเป็นหนทางที่เกษตรกรทุกระดับสามารถทำได้ทุกพื้นที่การเกษตร

          ดังคำกล่าวหนึ่งของ มาซาโนบุ ฟูกูโอกะ กล่าวว่า
"เป้าหมายสูงสุด ของการทำเกษตร ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การเจริญเติบโตของพืชเท่านั้น
แต่เป็นการเพาะปลูกความสมบูรณ์แบบของมนุษย์"


©ทรูปลูกปัญญา

ที่มา : สามเณร ปลูกปัญญาธรรม http://www.trueplookpanya.com/true/ethic_detail.php?cms_id=25284

และ http://www.oknation.net/blog/kontan/2007/10/30/entry-1

http://bokujou.org/article/topic-44486.html

https://loveplant.wordpress.com/2012/07/30/one-straw-revolution/

http://www.seub.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=598:seubnews&Itemid=14

http://www.tairomdham.net/index.php/topic,3885.0.html

http://www.kasetporpeang.com/forums/index.php?PHPSESSID=s0raq33io7hhmaupahoa6aaes7&



โหลดไปอ่านได้ ที่ http://www.khamkoo.com/uploads/9/0/0/4/9004485/the_one_straw_revolution.pdf

<a href="https://www.youtube.com/v/KCT45-8mZDE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/KCT45-8mZDE</a>