ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 10, 2016, 06:50:13 pm »





วิเคราะห์ Frozen ในแง่มุมจิตวิทยา ทำไมจึงจับใจคนดูและกลายเป็นการ์ตูนยอดฮิตแห่งยุคสมัย

ผู้อ่าน Siam Intelligence ที่ติดตามวงการบันเทิงต่างประเทศในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา คงเคยผ่านตาภาพยนตร์แอนิเมชันของ Disney เรื่อง “Frozen” เจ้าหญิงในดินแดนหิมะกันมาบ้าง

Frozen เป็นภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันลำดับที่ 53 ของ Disney ออกฉายครั้งแรกในช่วงปลายปี 2013 โดยอิงโครงเรื่องมาจากนิทานของฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน (ผู้เขียนนิทานเจ้าหญิงเงือกน้อย Little Mermaid) ชื่อเรื่อง Snow Queen

ปรากฎการณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ถือว่าไม่ธรรมดา เพราะทำลายทุกสถิติในประวัติศาสตร์การทำการ์ตูนของค่าย Disney โดยกวาดรายได้จากการฉายหนังไปถึง 1.2 พันล้านดอลลาร์ มากกว่าการ์ตูนทุกๆ เรื่องในอดีต แถมยังกลายเป็นวัฒนธรรมของคนยุคไซเบอร์ที่หันมาร้องเพลง วาดรูป แต่งคอสเพลย์ ฯลฯ ตามคาแรกเตอร์ในการ์ตูน Frozen กันจำนวนมหาศาล สร้างรายได้ทางอ้อมให้กับ Disney ในแง่การขายของเล่น เสื้อผ้า เครื่องประดับ คาแรกเตอร์ สวนสนุก อีกนับไม่ถ้วน



คำถามที่หลายคนสงสัยก็คือ Frozen มีอะไรดี? Disney ค้นพบสูตรสำเร็จอะไรที่ทำให้ Frozen โด่งดังในชั่วข้ามคืน แซงหน้าการ์ตูนเจ้าหญิงเทพนิยายรุ่นพี่

หลายคนพยายามตอบคำถามที่ว่านี้ และ Maryam Kia-Keating นักจิตวิทยาจาก University of California, Santa Barbara ร่วมกับ Yalda T. Uhls นักวิจัยจาก Children’s Digital Media Center ก็พยายามมองความสำเร็จของ Frozen ว่าเกิดจาก “เนื้อเรื่องมันโดนใจ” ในแง่มุมทางจิตวิทยา

บทความนี้ตีพิมพ์ใน The Washington Post พอสรุปปัจจัยความสำเร็จของ Frozen ได้ดังนี้

1.ปมสำคัญใน Frozen เกี่ยวกับความขัดแย้งในใจตัวเองของเอลซ่า (Elza) ราชินีหิมะในเรื่องที่ได้รับพลังวิเศษในการควบคุมหิมะแต่ไม่สามารถควบคุมพลังของตัวเองได้ ความรู้สึกของเอลซ่าจะตรงกับเด็กๆ ที่กำลังเติบโตและไม่มั่นใจในความเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของตัวเอง ทำให้เด็กๆ “อิน” กับเอลซ่าได้มากขึ้น

2.ความสามารถของเอลซ่านั้นน่าตื่นตาตื่นใจ เพราะเวทย์มนตร์ของเธอสามารถสร้าง “ปราสาทน้ำแข็ง” ขึ้นมาทั้งหลังเพื่ออาศัยอยู่เองได้ (แถมในการ์ตูนก็สร้างฉากนี้ได้น่าประทับใจ) ทำให้กระตุ้นจินตนาการของเด็กๆ ที่สอดรับกับความรู้สึกอยากเล่นสนุก ตื่นเต้น และผจญภัยในโลกใหม่ๆ มากขึ้น (ถ้าเอลซ่าขังตัวเองอยู่ในปราสาทธรรมดา คงไม่น่าสนใจขนาดนี้) นอกจากนี้ Frozen ยังไม่มี “ตัวร้ายหน้าตาน่าเกลียด” อย่างเช่นแม่มดในการ์ตูน Disney เรื่องอื่นๆ ให้เด็กรู้สึกกลัวอีกด้วย

3.ตัวเอกของ Frozen ทั้งสองคนคือ เอลซ่าและแอนนา มีความผูกพันกันในฐานะพี่สาว-น้องสาว ดังนั้นเด็กๆ ที่มีพี่หรือน้องอยู่แล้วก็ย่อมอินกับความผูกพันนี้ได้ง่ายกว่าความรักฉันหนุ่มสาว แถมความรู้สึกว่า “ผู้หญิงก็มีพลัง” (girl power) ยังเจาะกลุ่มตลาดเด็กผู้หญิงได้ง่ายกว่าด้วย

4.เพลงประกอบภาพยนตร์คือเพลง Let it Go (พร้อมท่าเต้น) ช่วยให้เด็กๆ สามารถแสดงออกถึงความชื่นชอบใน Frozen และจำลองตัวเป็น Elza ขณะสร้างปราสาทน้ำแข็งได้ง่าย และชักชวนให้คนอื่นๆ รอบตัวมาร่วมกิจกรรมนี้ได้ง่ายด้วย

กล่าวโดยสรุปแล้ว ความสำเร็จของ Frozen อยู่ที่การสร้างอารมณ์ร่วมกับความรู้สึกสับสนในตัวเองของทุกคน แต่แสดงออกมาในเชิงบวกคืออยากมีความสุขและเป็นอิสระ (happy and free) ผ่านท่วงท่าและเนื้อเรื่องของตัวละครในเรื่องนั่นเอง


ที่มา – The Washington Post

ผู้เขียนคิดว่านอกจากปัจจัยทั้งสี่ข้อข้างต้น ยังมีประเด็นว่า เอลซ่า ถือเป็นเจ้าหญิงพันธุ์หายากที่ฉีกกฎของ Disney ที่เจ้าหญิงเดิมๆ มักมีภาพลักษณ์อ่อนแอ ทำอะไรต้องพึ่งพาผู้อื่น โดยเฉพาะเจ้าชายขี่ม้าขาวมาช่วยอยู่ตลอดเวลา แต่ใน Frozen นั้นเอลซ่ามีพลังอำนาจอย่างมาก สามารถอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียวได้ (แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่พยายามจะทำสิ่งชั่วร้ายจนทำให้น่ารังเกียจ) เธอจึงกลายเป็น “ต้นแบบ” ของผู้หญิงยุคใหม่ที่ยืนด้วยลำแข้งของตัวเองได้ และเป็นไอดอลคนสำคัญให้กับสาวๆ ทั่วโลก (ซึ่งจะสังเกตได้จากความนิยมของเอลซ่าที่เหนือว่าแอนนามาก)

เพลง Let It Go ประกอบภาพยนตร์ Frozen มีคนชมใน YouTube เกือบ 400 ล้านครั้ง นี่ยังไม่รวมเพลงเวอร์ชันอื่นๆ ในคลิปอื่นๆ ที่มีคนดูอีกจำนวนมาก (รวมกันแล้วน่าจะเกิน 1 พันล้านครั้ง)

<a href="https://www.youtube.com/v/moSFlvxnbgk" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/moSFlvxnbgk</a>