ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 11, 2016, 09:04:11 pm »

 

“ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เอนกปรีชา วิสุทธศีลจรรยาสมบัติ นิพัทธุตคุณ สิริสุนทรพรตจาริก อรัญญิกคนฤศร สมณนิกรมหาปรินายก ตรีปิฎกโกศล วิมลศีลขันธ์ ณ วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร พระอารามหลวง”

                สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี มีชื่อเรียกขานกันอย่างหลากหลาย เช่น  สมเด็จโต , สมเด็จวัดระฆัง , หลวงพ่อโต , หลวงปู่โต กระทั่ง “ขรัวโต” อันเป็นนามที่ผู้คนร่วมสมัยของท่านเรียกขานด้วยความยกย่อง

                มีความเชื่อกันว่าสมเด็จโตเป็นพระโอรสนอกเศวตฉัตรในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แต่ครั้งยังทรงพระยศเป็น “เจ้าพระยาจักรี”

                ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในหลวงพ่อโตเป็นอย่างยิ่งโดยทรงพระราชทานสมณศักดิ์ถวายหลวงพ่อโตเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2395โดยมีสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ราชทินนาม “พระธรรมกิตติ” และ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม ซึ่งขณะนั้นหลวงพ่อโตมีอายุ 65 ปีแล้ว และเป็นผู้ที่พยายามหลีกเลี่ยงที่จะรับการถวายสมณศักดิ์ตลอดมา ตลอดแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

                ต่อมาใน พ.ศ. 2397 หลวงพ่อโตได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ ในราชทินนาม “พระเทพกวี” พอถึง พ.ศ. 2407 ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม สถาปนาสมณศักดิ์หลวงพ่อโตขึ้นที่สมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฎ ในราชทินนาม “สมเด็จพระพุฒาจารย์”     

                หลวงพ่อโตเป็นพระเกจิเถราจารย์ผู้มีปฏิปทาจริยาวัตรน่าเลื่อมใสดำรงด้วยเวทย์มนต์คาถาเมตตามหานิยม โดยเฉพาะพระคาถาชินบัญชรซึ่งหลวงพ่อโตค้นพบจากตำราเก่าของลังกาแล้วนำมาตัดต่อเพิ่มเติมจนสมบูรณ์ ซึ่งได้รับความนิยมจากมหาชนกระทั่งถึงปัจจุบันเรียกกันว่า “พระคาถาเงินล้าน” ผู้ที่สวดพระคาถาชินบัญชรอยู่เสมอจะได้รับแต่ความเจริญรุ่งเรืองภัยพาลทั้งหลายจะมลายหายไปสิ้น ท่านจึงได้รับการยกย่องให้เป็นพระอมตเกจิเถราจารย์องค์หนึ่งของประเทศไทย

                ความใกล้ชิดสนิทสนมระหว่างหลวงพ่อโตและพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดำรงอยู่อย่างแน่นแฟ้นโดยไม่มีภิกษุรูปใดที่จะมีบารมีเทียบเคียงหลวงพ่อโตได้ ดังจะเห็นได้จากการที่หลวงพ่อโตกล้าหาญพอที่จะจุดไต้เข้าไปเข้าเฝ้าในพระบรมมหาราชวัง เวลากลางวันแสกๆเมื่อเห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวทรงหมกมุ่นมัวเมาในกามารมณ์จนเกินเหตุโดยมีบรรดาพระมเหสี พระสนม เจ้าจอม และ นางห้าม นับร้อยคน จนเสมือนหนึ่งบ้านเมืองนี้มีแต่ความมืดมัว ไม่มีหนทางอันสว่างไสวด้วยแสงแห่งปัญญาเพื่อพัฒนาประเทศชาติและประชาชน

                “....... ขรัวโต ข้ารู้แล้ว ข้ารู้แล้ว...”

                พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสต่อหลวงพ่อโตสั้นๆ แต่ได้ใจความ จึงทำให้หลวงพ่อโตเอาไต้ทิ่มกำแพงทิ้งเพื่อดับไฟแล้วถวายบังคมลากลับวัด

                อีกครั้งหนึ่งที่หลวงพ่อโตได้รับอาราธนานิมนต์ไปแสดงพระธรรมเทศนาในพระบรมมหาราชวังถึง 3 วัน ในการแสดงธรรมวันที่สอง หลวงพ่อโตเทศน์นานไปหน่อย พระเจ้าอยู่หัวทรงขุ่นเคืองพระราชหฤทัยอยู่ในทีเพราะจะต้องรีบเสด็จไปเยี่ยมเจ้าจอมคนหนึ่งที่กำลังคลอดบุตร พอวันที่สามหลวงพ่อโตเลยเทศน์สั้นๆ

                “........ จะถวายพระธรรมเทศนาหมวดใดๆก็ทรงทราบอยู่หมดแล้ว เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้....”

                เมื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงถามว่าทำไมเทศน์สั้นนักทำนองว่า  เมื่อวานอยากให้เทศน์สั้นกลับเทศน์ยาว วันนี้อยากให้เทศน์ยาวกลับเทศน์สั้น

                “........ เมื่อวานนี้มหาบพิตรพระราชสมภารเจ้ามีพระราชหฤทัยขุ่นมัว ด้วยทรงมีความกังวล จะดับความขุ่นมัวได้ต้องทรงสดับพระธรรมเทศนาให้มาก ส่วนวันนี้ทรงมีพระราชหฤทัยเบิกบานไม่ต้องฟังเทศน์นานก็ได้......”

                จะมีภิกษุรูปใดเล่าที่มีบารมีมากมายเหมือนหลวงพ่อโต

                ในเรื่องการจุดไต้ประท้วงของหลวงพ่อโตนั้นแม้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เกิดขึ้น เพราะเมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าหลวงขึ้นครองราชย์นั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 ปี 7 เดือน 9 วันเท่านั้น เป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ทรงพระเยาว์ยิ่ง ดังนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ( ช่วง บุนนาค ) อัครมหาเสนาบดีผู้ใหญ่ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการ และมีข่าวร่ำลือออกมาว่าจะมีการคิดร้ายต่อแผ่นดิน หลวงพ่อโตรู้ข่าวจึงจุดไต้ถือไปหาผู้สำเร็จราชการแผ่นดินถึงที่จวนเพื่อแสดงออกถึงความห่วงใยต่อสถานการณ์บ้านเมืองอันอึมครึม และ ล่อแหลม

                “.......ขอพระคุณเจ้าอย่าได้วิตกเลย ตราบใดที่กระผมยังมีชีวิตอยู่ฉะนี้ จะไม่ให้แผ่นดินนี้มืดมัวลงไป ด้วยจะไม่มีผู้ใดแย่งแผ่นดินไปได้เป็นอันขาด กระผมไม่สู้มืดนักดอกท่านเจ้าคุณ กระผมมีใจแน่นแฟ้นในพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงแผ่นดินโดยเที่ยงธรรม ตั้งใจประคับประคองสนองพระเดชพระคุณโดยสุจริต คิดถึงชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ อยู่เป็นนิตย์ ขอท่านเจ้าคุณอย่าได้ปริวิตกให้ยิ่งกว่าเหตุไปเลย.........”

จาก http://www.sereechai.com/index.php/2013-05-01-06-35-40/2014-11-13-22-25-50/485-2013-05-31-01-56-32