ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คนที่มีจิตใจอ่อนโยนส่วนใหญ่มัก คิดถึงสิ่งใดก่อนเสมอ  ( เลือกตอบแค่ ตัวเอง กับ คนอื่น ครับผม ):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2016, 06:14:15 pm »




คุรุวิพากษ์คุรุ : ท่านโพธิธรรม (ปัจฉิมบท)

❝ เมื่อพุทธศาสนามาถึงจีน ก็เข้าสู่วิญญาณทุกดวงของผู้คนในทันที...ราวกับพวกเขากระหายกันมานานหลายร้อยปี พุทธศาสนามาถึงราวกับเมฆฝน ดับความกระหายอย่างแรงกล้าจนเกิดบางสิ่งที่ไม่อาจคาดคิดขึ้น...

...การเปลี่ยนศาสนาที่เกิดขึ้นในจีน เป็นการเปลี่ยนศาสนาที่แท้จริงเพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ทั้งมวลของมนุษยชาติ พุทธศาสนาเพียงแต่อธิบายตัวเอง แล้วผู้คนก็เข้าใจความงามของสาส์นได้ พวกเขาหิวกระหาย รอคอยสิ่งนี้ ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก ได้กลายมาเป็นพุทธ เมื่อท่านโพธิธรรมถึงที่นั่นอีก 600 ปีถัดมา มีวัดวาอารามของพุทธถึง 30,000 แห่ง และมีพระสงฆ์ 2 ล้านรูปในจีน พระสงฆ์ 2 ล้านรูปไม่ใช่จำนวนน้อย ๆ แต่ก็ถือเป็นร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมดในจีน

ปรัชญาตารา อาจารย์ของท่านโพธิธรรม บอกให้ท่านเดินทางไปจีนเนื่องจากผู้ที่ล่วงหน้าไปก่อนได้สร้างผลสั่นสะเทือนยิ่งใหญ่เอาไว้ แม้ว่าไม่มีใครในท่านเหล่านั้นบรรลุธรรมเลยก็ตาม ท่านเหล่านั้นเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ และบัดนี้ จีนกำลังต้องการพระสมณโคดมอีกองค์หนึ่ง พื้นฐานนั้นวางไว้เรียบร้อยแล้ว

ท่านโพธิธรรมเป็นผู้บรรลุธรรมคนแรกที่ไปถึงเมืองจีน ประเด็นที่ข้าพอยากพูดให้ชัดคือ ขณะที่พระพุทธเจ้าทรงกริ่งเกรงการบวชให้สตรีเข้ามาร่วมในสังฆะ ท่านโพธิธรรมกลับกล้าหาญมากพอจะให้สตรีเป็นผู้บวชให้ท่าน เพื่อเข้าสู่หนทางแห่งพุทธะ มีผู้บรรลุธรรมท่านอื่นอีก แต่ท่านกลับเลือกสตรีเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง และจุดประสงค์นั้นก็คือเพื่อแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงก็บรรลุธรรมได้เช่นกัน นามของท่านโพธิธรรมโดดเด่นที่สุดในบรรดาผู้บรรลุธรรมชาวพุทธทั้งหมด เป็นรองก็เพียงแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้น

มีตำนานมากมายกล่าวถึงท่าน ทุกเรื่องล้วนมีความสำคัญตำนานหนึ่งเล่าว่า เมื่อท่านไปถึงจีน ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางสามปี จักพรรดิวู๋แห่งจีนมาต้อนรับท่าน ชื่อเสียงของท่านขจรขจายมาถึงก่อน จักพรรดิวู๋ได้สร้างงานเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าไว้มากมาย มีการใช้ผู้รู้นับพันคนมาแปลพระสูตรจากบาลีไปเป็นจีน และองค์จักรพรรดิทรงอุปถัมภ์การแปลที่ยิ่งใหญ่นี้ทั้งหมด พระองค์ได้สร้างโบสถ์วิหารหลายพันแห่ง และทรงถวายภัตตาหารเจให้แก่พระสงฆ์หลายพันรูป ทรงถวายโภคทรัพย์ทั้งหมดแด่พระพุทธเจ้า จึงเป็นเรื่องปกติ ที่พระสงฆ์ที่มาถึงจีนก่อนหน้าท่านโพธิธรรมจะกล่าวกับพระองค์ว่า ทรงทำบุญมากมาย และจะได้ไปเกิดเป็นเทพเจ้าในสรวงสวรรค์

ดังนั้น ทำถามแรกที่พระองค์ตรัสถามท่านโพธิธรรมจึงได้แก่ “ข้าพเจ้าได้สร้างโบสถ์วิหารหลายแห่ง เลี้ยงดูผู้รู้นับพัน ๆ คน ข้าพเจ้าเปิดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งขึ้นเพื่อให้ศึกษาเรื่องพระพุทธเจ้า แล้วข้าพเจ้าจะได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทน”

พระองค์ทรงประหม่าเล็กน้อยที่ได้พบกับท่านโพธิธรรมเพราะไม่คิดว่าท่านจะมีรูปลักษณ์เช่นนี้ ท่านดูป่าเถื่อน มีดวงตาขนาดใหญ่ ทว่ามีหัวใจที่อ่อนโยนราวกับดอกบัวอยู่ในนั้น ใบหน้าของท่านดูน่ากลัวมากเท่าที่คุณจะคิดออก...

จักรพรรดิวู๋ตรัสถามด้วยความเกรงขาม และท่านโพธิธรรมก็ตอบ “ไม่มี ไม่มีรางวัล ตรงกันข้าม ท่านจงเตรียมพร้อมจะตกนรกขุมที่เจ็ดเถิด”

จักรพรรดิตรัส “แต่ข้าไม่ได้ทำผิดอะไร ทำไมถึงต้องตกนรก ข้าทำทุกสิ่งตามคำสอนที่บอกให้ทำแล้วนี่”

ท่านโพธิธรรมพูดว่า “หากท่านไม่เริ่มฟังเสียงของตัวท่านเอง ก็ไม่มีใครช่วยท่านได้ ไม่ว่าจะเป็นพระสงฆ์หรือไม่ ท่านยังไม่ได้ยินเสียงภายในของท่าน หากท่านได้ยิน ท่านจะไม่มีวันถามคำถามโง่ ๆ เช่นนี้”



“บนเส้นทางแห่งพุทธะ ไม่มีรางวัลอะไร เพราะความปรารถนาในรางวัลนั่นเองมาจากจิตใจที่ละโมบ คำสอนของพระพุทธเจ้าก็คือให้ละวาง ถ้าหากท่านทำสิ่งที่เรียกว่าการทำบุญเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างโบสถ์วิหาร หรือถวายภัตตาหารพระโดยยังมีความต้องการอยู่ในใจ ท่านก็กำลังเตรียมตัวไปนรก หากท่านทำสิ่งเหล่านี้ด้วยความชื่นชมยินดี แบ่งปันความชื่นชมของท่านให้กับจักรวรรดิทั้งหมด โดยไม่มีความปรารถนาในรางวัลใด ๆ แม้เพียงเสี้ยวเดียว การกระทำนั้นก็ได้รางวัลในตัวของมันเองแล้ว หากเป็นอย่างอื่น ก็นับว่าท่านทำผิดพลาด” ❞

– โอโซ (OSHO), เขียน
(โตมร ศุขปรีชา, แปลและเรียบเรียง)
___________________



ที่มา: คุรุวิพากษ์คุรุ, บทที่ 1 ท่านโพธิธรรม ผู้นำพุทธศาสนาจากอินเดียสู่จีน
เครดิต: อาจารย์ Raymon Yang (Mark Won)
รูปภาพ: Bhagwan Shree Rajneesh (OSHO)

จาก https://th-th.facebook.com/ZenTheWayOfLife/




เพิ่มเติม จาก หนังสือ คุรุวิกพากษ์คุรุ

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ โพธิธรรม ๓ https://www.youtube.com/watch?v=--tdubPqzuA

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ โพธิธรรม ๔ https://www.youtube.com/watch?v=U_qJnpghyDk

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ โพธิธรรม ๕ https://www.youtube.com/watch?v=JYwpG2U9EXQ

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ โพธิธรรม ๖ https://www.youtube.com/watch?v=JJJH0zFjLlU