ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 13, 2016, 10:55:03 pm »



บทความเรื่อง ไภษัชยคุรุ...กับการเยียวยาสังคม

โดย ศิโรฒน์ รัตนาภรณ์ siroat_07@hotmail.com 28 พฤศจิกายน 2551

"ไภษัชยคุรุ" เป็นชื่อของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในพระพุทธศาสนาคติมหายาน ว่ากันว่าท่านมีปณิธานในการบำบัดเยียวยารักษาผู้เจ็บไข้ได้ป่วยให้พ้นจากความทุกข์ทรมาน



ภิกษุณีธัมมนันทา(อดีตอาจารย์ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์)แห่งวัตรทรงธรรมกัลยาณี จ.นครปฐม ได้กล่าวในบทความลงในวารสารพุทธสาวิกา(ฉบับที่ 28 ตุลาคม-ธันวาคม 2551) ของท่านว่า

"โรคภัยไข้เจ็บที่สำคัญที่พระพุทธเจ้าพระองค์นี้รับสั่งถึงก็คือ โรคแห่งความยึดมั่นถือมั่นในตัวตน โรคอันเกิดจากตัวตนของเรา ถูกครอบงำด้วยความโลภ ด้วยความโกรธ ด้วยความหลงนี้เป็นโรคภัยไข้เจ็บทางจิตวิญญาณที่พระพุทธเจ้าพระองค์นี้ตั้งใจที่จะลงมาเยียวยารักษามนุษย์อย่างแท้จริง..."

สังคมในปัจจุบันมีแรงแห่งกิเลสที่รุนแรง และน่าสะพรึงกลัว เราจึงควรบริหารกิเลสให้เป็นและควบคุมมันให้อยู่ในฐานที่ตั้ง มากกว่าจะปล่อยให้มันออกมาแสดงแสงยานุภาพในการประหัตประหาร เข่นฆ่า โกรธเกรียว อันจะนำสังคมให้จมอยู่ในหายนะ

สังคมที่ปล่อยให้กิเลสแสดงแสงยานุภาพอย่างไม่ขีดจำกัด เป็นสังคมที่อยู่ในภาวะเป็นโรคร้าย ถ้าไม่รีบเร่งเยี่ยวยารักษา อาจเกิดความพิบัติอันเกิดจากการสำแดงสัญชาตญาณเดียรัชฉานอันยากที่จะเยี่ยวยารักษาและพินาศล่มจมได้ในที่สุด

โรคแห่งกิเลสน่ากลัวนัก เพราะกิเลสที่ไม่รู้จักบริหาร คือต้นทางแห่งความหายนะ โดยเฉพาะผู้มีอำนาจในสังคมถ้าไม่รู้จักการบริหารกิเลส ก็อาจทำให้เกิดกลียุคอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

ถ้าเราลองนำพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้ามาเป็นสรณะในภาวะวิกฤตินี้ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ จริงๆแล้ว ไภษัชยคุรุ ก็อาจหมายถึงคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าประการหนึ่ง ที่พระองค์เคยเปรียบตัวพระองค์เองเหมือนแพทย์ผู้เยียวยารักษาชาวโลกที่เจ็บไข้ได้ป่วยและเปรียบพระธรรมคำสั่งสอนเหมือนตัวยาขนานต่างๆที่ใช้ในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บของมนุษย์(ปรากฎคำกล่าวในลักษณะนี้หลายแห่งในพระไตรปิฎก เช่น ติกิจฉสูตร อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกทสกนิบาต พระไตรปิฎก ฉบับหลวง พ.ศ. 2525 เล่มที่16 เป็นต้น)

ในเบื้องต้น วิธีการนำพระไภษัชคุรุพุทธเจ้า มาเยี่ยวยาสังคม คือ เราต้องยึดหลักธรรมะ เป็นตัวตั้ง แล้วนำพระธรรม คือ ยาอันดีเลิศเข้าไปสู่ใจของเรา

ธรรมโอสถขนานแรก คือ ความศรัทธา เราต้องมีความตั้งมั่นในใจ เชื่อมั่นว่า ธรรมะ จะสามารถเยี่ยวยาสังคมที่มีแรงแห่งกิเลสเดือดพล่านได้

ธรรมโอสถขนานที่ 2 คือ ทาน (การให้) สังคมที่มีการเผื่อแผ่แบ่งปัน คือ สังคมแห่งสันติสุข การให้มิใช่ว่าเราจะให้แต่วัตถุสิ่งของเท่านั้น ถ้าเราให้ความรู้ที่ถูกต้อง ให้การคุ้มครองดูแลซึ่งกันและกัน ให้วาจาที่ดีงาม ก็ถือเป็นการเยี่ยวยาสังคมที่กำลังเดินไปสู่ความเห็นแก่ตัวและขาดสันติสุขได้

ธรรมโอสถขนานที่ 3 คือ การสำรวจตนเองด้วยศีล เพราะศีลคือบรรทัดฐานในเชิงศาสนาที่วัดความเป็นปรกติของความเป็นมนุษย์ เบื้องต้นของปุถุชนคนธรรมดา คือ การมีศีล 5 ข้อแรก คือ ห้ามใจไม่ให้เข่นฆ่า ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน ข้อ2 คือห้ามใจต่อการคดโกง ลักขโมยของอันเป็นสมบัติของผู้อื่นและสมบัติของสาธารณชน ข้อที่ 3 คือซื่อตรงต่อคนที่เรารักและคู่ครองของตนอันเป็นคุณสมบัติส่วนตัวที่สำคัญอันอาจกระทบถึงผู้อื่น ข้อที่ 4 ไม่กล่าววาจาโกหก หลอกลวงด้วยความเท็จ อันจะนำไปสู่ความเกลียดชังและสุมไฟแห่งความขัดแย้ง การบิดเบือนข้อมูลก็อยู่ในขอบเขตนี้เช่นกัน ข้อที่ 5ไม่เสพของมึนเมาอันเป็นทางมาของการขาดสติและเผยสัญชาตญาณอันไม่พึงประสงค์

ธรรมโอสถขนานที่ 4 คือ มี สติ รู้เท่าทันปรากฏการณ์ทางสังคม รู้เท่าทันอารมณ์ และรู้เท่าทันข่าวสาร มีวิจารณญาณในการฟัง ในการพบเห็น ในการพูด ในการคิดพิจารณา เราต้องมีความรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา

ธรรมโอสถขนานที่ 5 คือ ความเมตตากรุณา ในภาวะปัจจุบันนี้เรามักพลักไสให้คนที่เห็นต่างจากเราเป็นศรัตตรู พร้อมที่จะเผชิญหน้า และถกเถียงเพื่อเอาชนะคะคาน แต่ถ้าเรามีจิตเมตตากรุณาต่อกัน เปิดใจของเราให้กว้างและวางอคติโดยใช้ความขัดแย้งเปลี่ยนเป็นสนามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟัง คิด พูด ทำ ต่อกันด้วยจิตที่เปี่ยมด้วยเมตตา เชื่อแน่ว่าสนามแห่งความขัดแย้งจะแปลเปลี่ยนเป็นสนามแห่งปัญญา เพราะ ความเมตตา จริงใจ ที่เรามีให้แก่กันและกัน นี้คือเมตตาในเบื้องต้น

ธรรมโอสถขนานที่ 6 คือ ความอดทนอดกลั้น แรงโหมของความขัดแย้งย่อมอาจเกิดการกระทบกระทั่งเป็นธรรมดา ความอดทนเป็นสิ่งที่ควบคุมกิเลสกองความโกรธได้อย่างดี เราจะเห็นได้ว่าไม่ว่าฝ่ายใด พอเกิดความโกรธเข้าแล้วถ้าไม่รู้จักมีความอดทนก็ทำให้เกิดการสูญเสียอย่างน่าเสียดาย

นี้คือ ธรรมโอสถ 6 ประการ ถ้าเรานำยาดี 6 ขนานนี้เข้ามาสู่ใจนั่นคือการเชื้อเชิญพระไภษัชคุรุพุทธเจ้าให้มาเยียวยาสังคมแห่งความเจ็บป่วยให้หายจากความเป็นโรคร้าย จริงแท้แล้ว ไภษัชยคุรุในคัมภีร์มหายานก็อาจเป็นกุศลบายในการสร้างจิตศรัทธาตั้งมั่นในคุณงามความดีในรัตนตรัยคุณ เพราะถ้าเรา ไม่ว่าจะเป็นปัจเจกบุคคล หรือ สังคมมีหลักธรรมแล้วเชื่อแน่ว่าความสันติสุข ความสงบเย็น ศานติภาพก็จะบังเกิดอย่างยั่งยืน.....

อ้างอิง
กรมการศาสนา,พระไตรปิฎก ฉบับหลวง. กรุงเทพ:โรงพิมพ์กรมการศาสนา 2525
ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์,ไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตสูตร.กรุงเทพ:ศูนย์ไทยธิเบต,2548
ภิกษุจีนวิศวภัทร,พระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตปูรวปณิธานสูตร.กรุงเทพ:คณะศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่หมื่นคุณธรรมสถาน,2550
ภิกษุณีธัมมนันทา.พระไภษัชยคุรุฯการตั้งปณิธานเพื่อต่อชีวิต.วารสารพุทธสาวิกา ฉบับที่ 28 ตุลาคม-ธันวาคม 2551:หน้า4-6