ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
คุณพ่อคุณแม่เปรียบดั่งพระอรหันต์ในบ้าน พิมพ์คำว่า "คุณพ่อคุณแม่ฉันรักและเคารพท่านดุจพระอรหันต์":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 15, 2016, 07:53:33 pm »





ภิกษุณีสงฆ์...เติมเต็มพุทธบริษัทให้สังคมไทย : วิปัสสนาบนหน้าข่าว

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

          “สิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับสังคมก็ทำสิ่งใดที่จะสร้างความขัดแย้งก็ไม่ทำ " 

          สุธนา สารวิวัฒน์
 
          อาจารย์ภาควิชาออกแบบตกแต่ง คณะศิลปวิจิตร วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวกับผู้เขียนในวันก่อนกลับจากการปฏิบัติธรรมที่ธรรมาศรมธรรมมาตา สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี ในช่วงต้นพรรษที่ผ่านมา จึงทราบว่า อาจารย์เคยไปบรรพชาเป็นสามเณรีที่วัตรทรงธรรมกัลยาณีมาช่วงหนึ่งเมื่อปี ๒๕๕๕ มีฉายาว่า ธัมมปรมิตรา แปลว่า ผู้มีธรรมะเป็นบารมี
   
          000
     
          แม้ว่าภิกษุณีสงฆ์ในประเทศไทยยังไม่ได้ถูกรับรองจากมหาเถรสมาคมอย่างเป็นทางการ แต่ในบริบทของสังคมไทยก็ไม่ได้รับการปฏิเสธ ด้วยวัตรปฏิบัติอันงดงามสมเป็นพุทธสาวิกาของพระพุทธเจ้าที่เปี่ยมพร้อมไปด้วยศีลาจาวัตร การเกิดมีของภิกษุณีสงฆ์จึงเป็นไปเพื่อเกื้อกูลต่อสตรีที่ต้องการจะพ้นทุกข์ทางใจ โดยอาศัยพระธรรมวินัยที่เอื้อต่อการปฏิบัติจิตตภาวนาไปจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้อย่างแท้จริง

          การได้เข้าไปสัมผัสวิถีชีวิตนักบวชหญิงในช่วงระยะเวลาหนึ่ง สุธนาบันทึกความทรงจำในครั้งนั้นไว้ตอนหนึ่งว่า...
     
          “... ดิฉันเป็นผู้หนึ่งที่มีโอกาสเข้ารับการบรรพชาเป็นสามเณรี ในโครงการของวัตรทรงธรรมกัลยาณีภิกษุณีอาราม จนครปฐม เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช ๕ ธันวาคม ในปี ๒๕๕๕ โดยมีพระภิกษุณีธัมมนันทาที่พวกเราเรียกกันติดปากว่า ”หลวงแม่” เป็นพระอุปัชฌาย์ ช่วงเวลาเพียง ๙ วันที่มีโอกาสเรียบรู้การอยู่วัดเป็นสามเณรีได้ผ่านไปอย่างรวดเร็ว ดิฉันมีความสุขและอดปลื้มใจไม่ได้ทุกครั้งที่นึกถึงช่วงเวลาดีๆ ที่เป็นมงคลที่สุดครั้งหนึ่งของชีวิตดิฉัน

          "...นอกจากความประทับใจแล้วมีหลายสิ่งหลายอย่างที่ได้เรียนรู้จากการอยู่วัตร เมื่อกลับมาดำเนินชีวิตเป็นฆารวาส หลวงแม่ท่านได้บอกให้เหล่าผู้ที่จะบวชสามเณรีได้รู้ก่อนว่า ท่านไม่ใช่ให้มาเพื่อฝึกสมาถะภาวนาที่วัดอย่างเดียว ท่านมีจุดประสงค์ให้มีความรู้เพื่อเป็นธรรมทูต เผยแผ่พระพุทธศาสนาและสร้างความเข้าใจให้สังคมได้รับรู้ข้อเท็จจริง ความเป็นมาของภิกษุณีสงฆ์สมัยพุทธกาล จวบจนเพื่อการเติมเต็มของพุทธบริษัท ๔ ในประเทศไทยเรา
     
          “หลวงแม่ท่านได้จัดการเรียนการสอนแบบไตรสิกขา คือการ รักษาศีลของสามเณรี สอนแนะนำการฝึกสมาธิและการนำมาใช้กันการทำงานต่างๆ มีการจัดรูปแบบของการเรียนการสอนในชั้นเรียน ที่สอนประวัติศาสตร์พุทธศาสนา และธรรมะโดยเน้นพระสูตรสำคัญๆ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอน และเรานำมาใช้ปฎิบัตเพื่อเป็นหนทางไปสู่ความพ้นทุกข์ในทุกข์ได้จริง”
                                             
          000

          สุธนาอธิบายให้ผู้เขียนฟังว่า บางคนก็ยังอาจไม่เข้าใจว่าทำไมต้องบวช จริงๆ แล้ว “การบวช” สำหรับทางภายนอกหมายถึงการออกจากเหย้าเรือนมาเป็นผู้ไม่มีเรือน สละความเป็นฆราวาสโดยสิ้นเชิง ส่วนทางภายในหมายถึงการประพฤติปฏิบัติทางใจ งดเว้นในสิ่งที่ควรเว้น เพื่อให้เกิดความสงบระงับ ตามพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า

          "การบวชในพุทธศาสนา มีคำเรียก ๒ อย่าง คือ บรรพชา ใช้กับ การบวชสามเณร หรือสามเณรี ส่วนอุปสมบท ใช้กับการบวชภิกษุ หรือภิกษุณี และการบวชในเพศนักบวชนี้ก็เพื่อทำให้อยู่ในหนทางการพ้นทุกข์ของพระพุทธเจ้า ไปจนสู่การดับทุกข์ทางใจอย่างสิ้นเชิง เป็นไปได้จริง

          "พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้เรื่อง อริยสัจ ๔ได้แก่ ๑.ทุกข์-ควรรู้ ๒.สมุทัย (เหตุแห่งทุกข์) -ควรกำหนดละ ๓.นิโรธ (ความดับทุกข์) -ควรทำให้แจ้ง และ ๔.มรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)-ควรทำให้เกิด  สำหรับการดับทุกข์ เรียกว่าการดับความเกิด ก็จะต้องเข้าใจและดับอวิชชา ตัญหา อุปาทาน ภพ ชาติ ให้ได้เสียก่อน จะทำให้ได้ จะต้องเจริญสติให้ถึงขั้นการทำวิปัสสนากรรมฐาน ต้องใช้ความเพียรในการปฏิบัติจนกว่าจะเห็นผลได้ด้วยตนเอง เกิดปัญญา วิชชาในการดับทุกข์ คือดับกิเลส ดับตัณหาและ ดับอุปาทาน เป็นการไปสู่นิพพาน ซึ่งทำได้ยาก แต่ก็ต้องพยายามทำไปจนสุดกำลัง หากเห็นทุกข์ในสังสารวัฏแล้วและอยากออกจากทุกข์เต็มแก่”

          นั่นคือเหตุผลที่ทำให้สุธนามาปฏิบัติธรรมและออกบวชในช่วงหนึ่ง

          "ในช่วงเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม  คุณอัญชลี ซึ่งเป็นเพื่อนรุ่นพี่ที่เรียนจบมาในสถาบันเดียวกัน ชวนให้ไปปฏิบัติธรรมกับท่านอาจารย์ พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุลชร ที่ไร่หวานสนิท ตอนต้นปี ปีละครั้ง โดยใช้เวลา ๑๐ วัน แล้วครั้งแรกที่ไปก็เพราะต้องการไปเป็นเพื่อนคุณแม่ เพราะอยากพาท่านท่านได้มีโอกาสมาปฏิบัติ หลังจากนั้นก็ไปปฏิบัติต่อเนื่องทุกปี ซึ่งตอนนี้ได้เลิกโครงการไปแล้ว”
       
          ก่อนที่จะไปปฏิบัติธรรมสุธนาเล่าว่า ก็เพียงรู้ตามที่เรียนมาว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ ๔ แล้วเราอาศัยสิ่งนี้ในการดำเนินชีวิต ตามความเข้าใจของตัวเอง

          "คือเมื่อมีปัญหาต่างเข้ามาก็หาสาเหตุ และแก้ที่สาเหตุของปัญหาเพื่อที่จะให้ปัญหานั้นๆ หมดไป และโดยมากมักจะเข้าข้างตัวเองว่าเราทำถูกต้องเสมอ ไม่เคยมองที่ตัวเองว่าเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาและการแก้ปัญหาด้วยเหมือนกัน ก่อนหน้านั้นก็คิดแต่ว่าจะพยามทำดีเป็นคนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น รักษาศีล ๕ แต่ก็มีความสงสัยเรื่อยมาว่า อะไรคือหัวใจของพุทธศาสนา และการบรรลุนิพพานเป็นสิ่งที่ห่างไกล ทำได้ยากมาก หลังจากที่ได้เริ่มเข้าเป็นลูกศิษย์ฝึกปฏิบัติสมาธิกับท่าน อ.วสิษฐ ได้เคยถามท่านในข้อนี้ซึ่งท่านได้ตอบว่า หัวใจของพุทธศาสนาสอนว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลให้พร้อม และทำจิตของตนให้ขาวรอบ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       
          “คำตอบมีอยู่ในบทสวดมนต์นั้นแหละ (ซึ่งตอนนั้นยังไม่เคยสวดมนต์ไม่เห็นความสำคัญ ตอนนั้นสงสัยว่าทำไมต้องสวดซ้ำๆ กันทุกวัน เลยไม่สวด) แต่ก็ยังรู้สึกว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้นคงทำยากเกินที่เราจะทำได้ในชาตินี้แน่ๆ เลย ช่วงต้นๆ ได้ฝึกเรียน ที่เน้นการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนา ซึ่งต่อมาก็ได้โอกาสปฏิบัติธรรมและได้ศึกษาจากสื่อธรรมกับอาจารย์อีกหลายท่าน”
     
          ครูบาอาจารย์ที่สุธนาไปปฏิบัติด้วย อาทิ เช่น ท่านอาจารย์พุทธทาส โดยไปฝึกปฏิบัติที่ธรรมาศรมธรรมมาตา สวนโมกขพลาราม พระพรหมคุณาภรณ์ (ปอ.ประยุตโต), ท่านอาจารย์รัญจวน อินทรคำแหง ท่านอาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต เป็นต้น จากนั้นก็เริ่มประกอบความเข้าใจและพยายามน้อมนำมาปฏิบัติ ทำให้ชีวิตได้เปลี่ยนแปลง และมีความสุขดีขึ้นตามลำดับ
     
          “ที่ต้องเล่ามาเป็นลำดับเพราะการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดในข้ามคืน เนื่องจากเราจะต้องเรียนรู้และสะสมประสบการการปฏิบัติใช้เวลากับการหมั่นปฏิบัติที่มากขึ้น และพยายามฝึกให้เกิดธรรมะอยู่กับเราให้ได้ทุกลมหายใจเข้าออก และหมั่นดูจิตเมื่อมีสิ่งใดมากระทบ เกิดการเรียนรู้ธรรมะที่เป็นระบบมากขึ้น และพยายามปฏิบัติเสมอๆ ในทุกที่ ไม่จำเป็นว่าจะต้องทำในห้องฝึกอย่างเดียวเท่านั้น พยายามระลึกถึงพระมหากรุณาที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่าน ตรัสรู้ และมาสอนให้เราทำตามเพื่อเป็นหนทางแห่งการพ้นทุกข์ คือนิพพาน”
 
          หน้าที่หลักคือดูแลบุพการีให้มีความสุข
 
          ประวัติ สุธนา สารวิวัฒน์

          เกิดวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๑ อายุ ๕๘ ปี เป็นลูกสาวคนโต (พี่น้อง ๒ คน) น้องสาว ชื่อขวัญจิต มงคลประดิษฐ ภรรยาของ ดร.วันชัย มงคลประดิษฐ (ดร.วันชัย ผู้ที่เคยบวชและมาจำพรรษาที่สวนโมกข์ สมัยหลวงพ่อพุทธทาส ยังอยู่

          และยังช่วยออกแบบกุฏิเจ้าอาวาสวัดธารน้ำไหลด้วย)

          จบการศึกษา มหาบันฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ภาควิชาออกแบบตกแต่งภายใน สถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง การประกอบอาชีพ เป็นสถาปนิกออกแบบตกแต่งภายใน  เคยทำงานที่บริษัท IA103 ก่อนที่จะมาทำงานเป็นบริษัทเล็กๆ ร่วมกันกับคุณอัญชลี ศิริสมรรถการ เพื่อนรุ่นพี่ นานกว่า ๑๐ ปี ซึ่งตอนนี้เลิกทำแล้ว

          ปัจจุบันรับราชการเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรี ภาควิชาออกแบบตกแต่ง คณะศิลปวิจิตร วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม  เพิ่งได้รับโล่เชิดชูเกียติผู้มีคุณูปการต่อวิทยาลัย (ด้านการเรียนการสอน) เมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙

          หน้าที่อีกอย่างหนึ่ง คือการดูแลบุพการี คุณแม่ประเทืองและคุณพ่อสดับ สารวิวัฒน์ อายุ ๙๐ กว่าทั้งคู่ให้มีความสุข

จาก http://www.komchadluek.net/news/amulets/237594

วัตรทรงธรรม จ้า  http://www.thaibhikkhunis.org/thai2556/