ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
คุณเชื่อว่าทุกศาสนาสอนให้ทุกคนเป็นคนดีใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เปล่งวาจาว่าสาธุ เป็นการอนุโมทนาต่อพระสงฆ์ที่วัด หรือมีใครทำบุญแล้วมาบอกให้ทราบ ทราบแล้วยกมือขึ้น (สาธุ) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ  สาธุ:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ขอโทษนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 16, 2016, 11:04:31 pm »






สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และ “พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)”
ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๒
ในภาพ...พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย เป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตาม


คำถามที่ ๓๔ : เมื่อคราวที่พระอาจารย์พุทธทาสอาพาธหนักนั้น
ฝ่าพระบาทได้เคยไปเยี่ยมอาจารย์พุทธทาสที่ได้ขอละสังขาร
โดยท่านอาจารย์ให้เหตุผลว่า อายุเกินพระพุทธเจ้ามาแล้ว แต่ฝ่าพระบาทได้ขอไว้
หลังจากนั้นอาการของอาจารย์พุทธทาสก็ฟื้นขึ้นมา และมีชีวิตอยู่ต่อมาอีกหลายปี
ขอกราบทูลฝ่าพระบาทเล่าเหตุการณ์ในครั้งนั้น


คำตอบ : เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นในระหว่างวันที่ ๑๒-๑๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๒
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เสด็จเยี่ยมภิกษุสามเณรและประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๕ จังหวัด
คือ สงขลา สตูล ปัตตานี นราธิวาส และยะลา ตามคำกราบทูลอาราธนา
ของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.)

เมื่อเดินทางผ่านวัดหรือจังหวัดในเส้นทางที่มีพระผู้ใหญ่ที่ทรงเคารพนับถือ
ก็จะทรงแวะแสดงสามีจิกรรมต่อพระผู้ใหญ่
สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี อยู่ในหมายกำหนดการ
ที่เจ้าพระคุณสมเด็จฯ จะต้องแวะเพื่อไปถวายสักการะท่านอาจารย์พุทธทาส
เนื่องจากทรงคุ้นเคยตั้งแต่คราวอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๙
ซึ่งท่านพุทธทาสเป็นอาจารย์กรรมฐานของสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ด้วยรูปหนึ่ง และพระนักศึกษาธรรมทูตไปต่างประเทศ
ได้เคยมารับการอบรม ณ สวนโมกขพลาราม

พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย หนึ่งในคณะผู้ติดตาม เล่าว่า
ตอนที่เสด็จไปเยี่ยมนั้นท่านพุทธทาสยังไม่ได้อาพาธหนัก
ยังไม่ได้ล้มหมอนนอนเสื่อ เป็นแต่เพียงเจ็บออดแอด
ยังออกมารับเสด็จได้เป็นชั่วโมง
ท่านพาไปดูโรงมหรสพทางวิญญาณ ลานหินโค้ง
แล้วก็นำเสด็จมาประทับที่ม้าหินหน้ากุฏิ
ที่ปกติเก้าอี้ม้าหินนั้นท่านอาจารย์พุทธทาสนั่งประจำ

ท่านอาจารย์พุทธทาสทูลสมเด็จพระสังฆราชให้ประทับ
แล้วท่านก็ไม่ยอมนั่ง ท่านพุทธทาสทูลว่า
“ขอประทานกราบสมเด็จพระสังฆราชหน่อยที่อุตส่าห์เสด็จมาเยี่ยมถึงวัด”
เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทรงพยายามห้าม แต่ท่านไม่ยอม แล้วต่างคนก็ต่างกราบ
พอท่านพุทธทาสกราบ เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็บอกไม่ได้ๆ ต้องกราบกลับ

ส่วนคำถามที่ว่านั้น ตอบได้ว่า เหมือนกับเวลาไปเยี่ยมคนที่รู้จักกัน
แล้วระหว่างคุยก็ปรารภเรื่องสังขารว่าไม่ไหวแล้ว
แล้วเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็รับสั่งว่าขออาราธนาใต้เท้าอยู่ก่อนอย่าเพิ่งไป
แต่ว่าคนก็ชอบอธิบายในเชิงอภินิหารไปสักหน่อย

ในวันนั้นมีการคุยเรื่องหนังสือ และวิธีสอนของท่านพุทธทาส
มีการคุยเรื่องธรรมะลึกๆ หลายเรื่อง เช่น เรื่องหนังสือมหาสติปัฏฐานสูตร
ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จฯ รับสั่งว่าเป็นหนังสือที่ดีมาก และทรงใช้บ่อย



หนังสือ ๙๙ คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช

 --------------------------------------- 

= สมเด็จพระสังฆราช กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=43517

= ประมวลพระรูป “สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=22&t=29577






ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๒




ขณะทรงสนทนากับท่านพุทธทาสภิกขุ
ที่สวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ไก่แจ้ของท่านพุทธทาสภิกขุก็เข้ามาร่วมวงด้วย
ทำให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทรงแย้มพระสรวล




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๒
ท่านพุทธทาสภิกขุขอโอกาสกราบเจ้าประคุณสมเด็จฯ
เนื่องจากท่านพุทธทาสภิกขุมีอายุพรรษาเเก่กว่า
เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงห้ามไว้ เเต่ท่านพุทธทาสภิกขุก็ไม่ยอม
เจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงได้กราบท่านพุทธทาสภิกขุกลับ
ในภาพ...พระดร.อนิลมาน ธมฺมสากิโย เป็นหนึ่งในคณะผู้ติดตาม




สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ทรงห้าม “พระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ)”
ที่กำลังจะลงจากรถเข็นเพื่อมากราบสักการะเจ้าประคุณสมเด็จฯ
ในวาระโอกาสที่เสด็จมาเยือนสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี
ครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เสด็จมาเยี่ยมท่านพุทธทาสภิกขุที่สวนโมกขพลาราม
แห่งนี้ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกเมื่อเดือนกันยายน พุทธศักราช ๒๕๓๒
และครั้งที่ ๒ เมื่อเดือนมีนาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔
ในครั้งหลังนี้ท่านพุทธทาสภิกขุชราภาพมากขึ้นจนต้องนั่งรถเข็นอยู่เป็นประจำ
แต่ถึงอย่างนั้นด้วยต้องการถวายสักการะต่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ
จึงพยายามลงมานั่งราบกับพื้นเพื่อกราบสักการะ
และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านก็กราบกลับด้วยพระองค์มีอายุพรรษาอ่อนกว่า

สังเกตจากใบหน้าของท่านพุทธทาสภิกขุ พบว่า
ความชราสร้างความลำบากและความทุกข์ในการใช้ชีวิต
แต่ท่านก็ยังอุตสาหะพยายามลงมานั่งราบกับพื้นเพื่อกราบสักการะ
ส่วนเจ้าประคุณสมเด็จฯ นั้นพระพักตร์ก็แสดงความห่วงใย
ออกมาจากพระเนตร พร้อมยกพระหัตถ์ด้วยพระเมตตาอย่างแท้จริง


จากกระทู้...สมเด็จพระสังฆราช กับ วงศ์พระกรรมฐาน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=38&t=43558