ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า แสงธรรมนำใจ:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
โดยปกติชน นิ้วมือของคนเรา มีกี่นิ้ว (ตอบเป็นภาษาไทยครับ):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ขนทรายเข้าวัดคือ พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ทำบุญทำกุศลโดยวิธีนำหรือหาประโยชน์เพื่อส่วนรวมมิได้ทำเพื่อตนเอง):
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2016, 04:30:39 pm »



ไม่รัก ไม่ชอบ ยังเป็นอุปสรรค อรติ ยังเป็นนิวรณ์

พระถังซัมจั๋ง และสานุศิษย์เดินทางมาอีกพักใหญ่ พบกำแพงเมืองอยู่ข้างหน้า ชวนกันเดินตรงเข้าไปพบพระอารามหลวงโป๊ลิ้มยี่ ด้านใน พบเจ้าอาวาสจึงขอพักค้างคืน เจ้าอาวาสถือตนยิ่งนัก ไม่ยินดีต้อนรับพระพเนจร จนเห้งเจียต้องแผลงฤทธิ์ข่มขู่ให้ต้อนรับพระถังซัมจั๋ง เจ้าอาราม กลัวจนต้องยอมให้พำนัก
 
ขอย้อนไปถึงเหตุการณ์ก่อนที่คณะศิษย์ อาจารย์จะเดินทางมายังถึงพระอารามแห่งนี้ เมื่อ ๕ ปีก่อนนี้ ที่เมืองโอเกยก๊ก ฝนฟ้าแล้งจัด ประชาชนระส่ำระสาย ฤาษีช่วนจินเต้าหยิน (อรติ = ความไม่ชอบ ไม่รัก ไม่พอใจ ความริษยาเป็นสหายไปมาหาสู่กับพยาบาท) ได้ทำพิธีเรียกฝนให้ตกลงมา เป็นห่าใหญ่ เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโอเกยก๊ก (ศรัทธา)
 
ครั้น ๒ ปีต่อมา ช่วนจินเต้าหยินก็ลอบปลงพระราชาเสีย โดยผลักลงบ่อแปดเหลี่ยม (มิจฉัตตะ = ภาวะที่ผิด) เอาแท่นหินปิดไว้ แล้วเกลี่ยทรายกลบ ปลูกต้นกล้วยไว้ข้างบน แล้วช่วนจินเต้าหยินแปลงกายเป็นพระเจ้าโอเกยก๊ก (นิวรณ์ = ธรรมที่เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้จิตบรรลุ ความดีงาม)เสียเองโดยไม่มีผู้ใดล่วงรู้ ไทจื้อรัชทายาท และฮองเฮามเหสี ต่างไม่ได้เข้าเฝ้าเป็นเวลาถึง ๓ ปี
 
ฝ่ายซากพระศพของพระราชานั้นได้จมลงถึงก้นบาดาล พญาฮั้ยเล่ง อ๋องมิตรของตือโป้ยก่าย(ศีล) ได้เก็บรักษาไว้มิให้เน่าเปื่อย
 
คืนวันที่พระถังซัมจั๋งกับสานุศิษย์ทั้งสามมาพักค้างแรมที่อารามหลวงโป๊ลิ้มยี่ ในคืนนั้นพระถังซัมจั๋งสวดมนต์จนดึก ศิษย์หลับกันหมดแล้ว วิญญาณของพระเจ้าโอเกยก๊ก(ศรัทธา) มาหาร้องเรียกชื่อพระถังซัมจั๋งเบาๆ พระถังซัมจั๋งถึงกับเคลิบเคลิ้ม ในหูได้ยินว่าขอให้ส่งสานุศิษย์ไปช่วยตนเอง ให้พ้นจากบาดาลด้วย
 
แล้ววิญญาณนั้นยังทิ้งหยก ตราเครื่องหมายประจำพระองค์ไว้ให้ที่ประตู เพื่อให้เห้งเจียนำไปแสดงกับไทจื้อ และฮองเฮา พระถังซัมจั๋งรู้สึกตัว ขึ้นมาเข้าไปปลุกเห้งเจียแล้วเล่าเรื่องให้ฟัง
 
เช้าวันรุ่งขึ้นเห้งเจียไปพบกับไทจื้อ เล่าเรื่องราวให้ฟังว่าพระราชาองค์ปัจจุบันเป็นตัวปลอม ไทจื้อไม่เชื่อเห้งเจียจึงแสดงหยกขาวให้เห็น ไทจื้อ จึงเริ่มจะเชื่อเพราะตนนั้นก็ให้สงสัยอยู่เหมือนกัน ที่พระราชาห่างเหินกับตนไปร่วม ๓ ปีแล้ว เห้งเจียจึงวางอุบายให้ไทจื้อไปสืบถามฮองเฮาว่า รสสัมผัสของพระราชาเปลี่ยนแปลงไปบ้างหรือไม่ คงจะได้ความชัดเจนยิ่งขึ้น
 
เมื่อไทจื้อเข้าไปกราบทูลถามพระมารดา พระมารดาทราบถึงความนัยจึงเล่าความจริงว่ากว่า ๓ ปีแล้ว รสสัมผัสจากพระเจ้าโอเกยก๊ก นั้นช่างจืดชืด และดูเหมือนพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ไทจื้อจึงเชื่อว่าเป็นช่วนจิน (อรติ = ความไม่ชอบ) ปลอมมาจริงๆ จึงนำความทั้งหมดมาบอกเห้งเจีย
 
เห้งเจียกับโป้ยก่าย ชวนกันไปยังบ่อแปดเหลี่ยม (มิจฉัตตะ = ภาวะ ที่ผิด) ด้วยฤทธิ์ของตะบองยู่อี่ของเห้งเจีย สามารถนำโป้ยก่ายลงไปในบ่อ ที่มีน้ำนั้น แล้วดำถึงก้นบาดาล พญาฮั้ยเล่งอ๋องสหายเก่าโป้ยก่ายนำซากศพของพระเจ้าโอเกยก๊ก (ศรัทธา = ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม) ขึ้นมา
 
เห้งเจียเหาะนำหน้าพระศพขึ้นมายังอารามหลวง จากนั้นตีลังกาขึ้นสวรรค์ไปสู่พรหมโลกเพื่อไปพบพรหมท้ายเสียงเล่ากุนเพื่อขอยาชุบชีวิต เมื่อได้ยาดังกล่าวก็ลงมาแก้พระราชาให้ฟื้นพระชนม์ พระราชาฟื้นขึ้นมา ถอดเครื่องทรงกษัตริย์ออกฝากไว้ในอาราม แล้วนุ่งขาวห่มขาวแทน (การสถาปนาจิต)
 
รุ่งเช้าเห้งเจียกับโป้ยก่าย ซัวเจ๋ง พระถังซัมจั๋ง ม้าขาว และพระราชา ชีปะขาวเข้าไปในพระราชวัง เมื่อได้เปิดเผยให้รู้กันว่า พระโอเกยก๊ก เป็นตัว ปลอมแล้ว เห้งเจียตรงเข้าฟาดร่างปลอมช่วนจินเต้าหยิน
 
ช่วนจินเต้าหยิน (อรติ = ความไม่ชอบ)รีบแปลงกายเป็นพระถังซัมจั๋ง (ขันติ  = ความอดทนเพื่อบรรลุสิ่งที่ดีงาม)ไปยืนเคียงข้างพระถังซัมจั๋งตัวจริง
 
เห้งเจียไม่รู้จะแยกแยะอย่างไรว่าคนไหนเป็นพระถังซัมจั๋งตัวปลอม (อรติ = ความไม่ชอบ) พระถังซัมจั๋งตัวจริง (ขันติ = ความอดทน เพื่อบรรลุ สิ่งที่ดีงาม) พลันคิดขึ้นได้จึงร้องออกไปว่า ขอให้พระถังซัมจั๋งร่ายคาถาบีบขมับตน หากองค์ใดร่ายคาถาแล้วมงคลบีบขมับจนปวดหัว องค์นั้นจะเป็นตัวจริง
 
ในที่สุด เห้งเจียรู้ว่าคนไหนเป็นพระถังซัมจั๋งตัวจริง แล้วจับช่วนจินเต้าหยินได้ จัดแจงเงื้อตะบองเพื่อจะฆ่าให้ตายสิ้น บุ้นซูโพธิสัตว์ (มัญชูศรีโพธิสัตว์) มาห้ามไว้ทันแล้วเฉลยว่า แท้จริงแล้วช่วนจินเต้าหยิน คือสิงห์พาหนะของพระองค์แสร้งใช้ให้มาเพื่อลงโทษพระเจ้าโอเกยก๊ก และรอให้เห้งเจียมาแก้ไข เมื่อแก้ไขได้แล้ว ถือเป็นอันสิ้นเวรต่อกัน
 
(หลังจากพ้นนิวรณ์ ๕ มาแล้วในตอนที่แล้ว แต่กลับมาติดยึดอยู่กับ อรติ คือไม่รัก ไม่ชอบ เฉยๆแบบไม่ชอบ ดูเผินๆเหมือนเป็นอุเบกขา แต่ไม่ใช่ เพราะว่ายังมีอารมณ์ไม่ชอบ ออกไปทางริษยา ใกล้เคียงพยาบาท ซึ่งยังถือว่าเป็นนิวรณ์ ไม่ใช่อุเบกขาจริง เสมือนช่วนจินเต้าหยินปลอมมา หลงคิดไปว่าอรติเป็นอุเบกขา แต่ไม่มีรสชาติ จืดชืด ไม่เกิดสุข เพราะไม่เหมือนความสุขที่เกิดมาจากศรัทธา
 
ดังนั้นอรติจะทำให้ศรัทธาจมดิ่งสู่มิจฉัตตะ ๘ บ่อแปดเหลี่ยม ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับอริยะมรรค ๘ ได้แก่ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ ดังนั้นเมื่อการฟื้นคืนพระชนม์ของพระราชา คือการพ้นจากอรติได้ เฉกเช่นการละนิวรณ์ได้ เปรียบประดุจศรัทธา จมดิ่งในมิจฉัตตะ แต่ยังเหลือซากเพราะศีลได้ช่วยไว้ ทำให้ศรัทธาสามารถฟื้นคืนกลับมาได้ ถือเป็นการสถาปนาจิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
 
นอกจากนี้ อรติยังไปคล้ายกับขันติ คือ ไม่ชอบ ไม่รัก ส่วนขันติคือ อดทนด้วยศรัทธาในความรู้ เพื่อให้ปัญญาได้เพ่งอยู่รู้ถึงไตรลักษณ์ แต่อรติ ไม่ชอบ แต่ต้องทนในการเพ่งอยู่กับไตรลักษณ์ ไม่ได้มีศรัทธาอยู่ในการเพ่ง
 
อีกทั้ง อรติยังแปลงมาในรูปแบบอุเบกขา การที่เห้งเจียพิเคราะห์ และจับช่วนจินเต้าหยิน - สิงห์พาหนะของบุ้นซูโพธิสัตว์ได้  เพราะปัญญาได้รู้แจ้งอยู่แล้วว่ายังมีอุเบกขาปลอมแฝงอยู่)




จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=14

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1