ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
กัน-ละ-ยา-นะ-มิด เขียนเป็นภาษาไทยที่ถูกต้องว่าอย่างไรครับ:
คิดว่าความดีทำยากไหม( เลือกตอบแค่ ยาก กับ ไม่ยาก ครับผม):
ชีวิตบางครั้งก็เหมือนเหรียญสองด้านใช่หรือไม่ครับบางครั้งก็หัวบางครั้งก็ก้อย( เลือกตอบแค่ ใช่ กับไม่ใช่ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ใต้ร่มธรรม:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
วัฒนธรรมไทยเมื่อเห็นผู้ใหญ่ท่านจะทำความเคารพ ด้วยการไหว้ท่านก่อนเสมอใช่หรือไม่:
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
ระหว่าง (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะผู้อื่น) กับ (ผู้ที่เรียนรู้ธรรมะเพื่อเอาชนะตัวเอง)  ท่านจะเลือกเป็น:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
ในโลกออนไลน์หรือโลกแห่งจิต ไม่มีใครทำอะไรเราได้ นอกเสียไปจาก (คนพาล) หรือ (ใจของเราเอง):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ใต้ร่มธรรมเองก็จะเป็นไปตามวัฐจักรนี้ ฉันท์ใดก็ฉันท์นั้น (เป็นจริง) หรือ (ไม่จริง):
ธรรมะคือ ธรรมชาติ พิมพ์คำว่า (ธรรมะชาติ) ครับ:
ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลายเป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด ผู้ที่มีเกียรติคือผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น ฉะนั้นสมาชิกใต้ร่มธรรมควรให้เกียรติกันและกัน พิมพ์คำว่า (ฉันจะให้เกียรติสมาชิกทุกๆท่านในใต้ร่มธรรมเสมอด้วยวาจาสุภาพอ่อนน้อม):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 17, 2016, 05:11:52 pm »



ปีศาจแรดนอเดียว (อัสมิมานะ)

ย่างเข้าฤดูหนาว (ชีวิตเริ่มเยือกเย็น สงบเย็นลง) พระถังซัมจั๋ง และสานุศิษย์รอนแรมฝ่าลมหนาวจนบรรลุถึงภูเขาสูงใหญ่ยอดเทียมเมฆ ชื่อ กิมเต๋าซัว พระถังซัมจั๋งรู้สึกหิวจึงให้เห้งเจียเหาะไปบิณฑบาต เห้งเจียเกรงว่าปีศาจจะมาจับพระถังซัมจั๋งตอนที่ตนไม่อยู่ จึงเอาไม้ตะบองขีดเป็นวงล้อมพระถังซัมจั๋งไว้ แล้วบอกพระถังซัมจั๋งให้อยู่แต่เฉพาะในวงเพราะ บริเวณนี้มีอันตรายยิ่งนัก กำชับว่า “อันวงแห่งความว่าง (สุญญตา) นี้มั่นคง ยิ่งกว่ากำแพงเหล็ก ถึงจะมีสิงห์สาราสัตว์ ภูตผีปีศาจ ก็ไม่อาจกล้ำกรายเข้าใกล้ได้ ขอเพียงพระอาจารย์อย่าได้ออกนอกวง นี้เป็นอันขาด” สั่งเสร็จ แล้วก็เหาะขึ้นฟ้าไป
 
ไม่นานอากาศเริ่มหนาวเย็น ด้วยวงวางอยู่ในที่กลางแจ้ง และอากาศ เริ่มมีความหนาวเย็นมากขึ้นทุกที โป้ยก่ายชักชวนพระถังซัมจั๋งว่าไปหาที่หลบลมกันดีกว่า เพราะเราอยู่ตรงนี้ตั้งนานแล้วไม่เห็นมีภัยใดมาใกล้กราย คงไม่อันตรายใดๆหรอก
 
ด้วยความหนาวเย็น ทั้งสามพระถังซัมจั๋ง โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง และม้าขาวจึงออกเดินทางมีโป้ยก่ายนำหน้า ไม่ช้าเดินพลัดเข้าไปในถ้ำของปีศาจต๋อกกั๊กกุยใต้อ๋อง (อัสมิมานะ = การถือตนของตน) โดยไม่รู้ตัว โป้ยก่าย กับซัวเจ๋งเห็นในถ้ำมีเสื้อหนาวทิ้งอยู่ในถ้ำ รีบหยิบขึ้นมาสวมเพื่อกันหนาว หาเฉลียวใจไม่ว่าเป็นเสื้อหนาวของปีศาจ ดังนั้นเมื่อสวมเสร็จ เสื้อเริ่มหดรัดตัวตรึงมือตรึงเท้าล้มกลิ้งลงไปกันหมด
 
ฝ่ายปีศาจต๋อกกั๊กกุยใต้อ๋องเฝ้าดูอยู่ เห็นเช่นนั้นหัวเราะกึกก้องด้วยความชอบใจออกมาจับพระถังซัมจั๋ง และสานุศิษย์เข้าไปขังไว้ในถ้ำลึก และรอให้เห้งเจียกลับมาเพื่อเตรียมจับไว้อีก จะได้มีเนื้อไว้เหลือเฟือแจกจ่าย ให้หมู่ลูกสมุน
 
กล่าวถึงเห้งเจียกลับมาจากบิณฑบาต ขณะอยู่บนท้องฟ้ามองลงไป แลเห็นวงว่างไม่มีพระถังซัมจั๋งให้ร้อนใจยิ่งนัก รู้ได้โดยทันทีว่าพระถังซัมจั๋ง ต้องถูกปีศาจจับเสียแล้วเป็นแน่แท้ เที่ยวเดินหาจนกระทั่งไปพบตาเฒ่า พระภูมิเจ้าที่จำแลงมา ชี้ให้เห็นถ้ำกิมเต๊าต๋องอันเป็นสำนักของปีศาจ แรดนอเดียว (อัสมิมานะ = การถือตน ของตน ตัวกู ของกู) เห้งเจียรีบไปยัง หน้าถ้ำแล้วร้องตะโกนท้ารบโหวกเหวก
 
ปีศาจต๋อกกั๊กได้ยินเสียงท้ารบจึงออกมาจากถ้ำ สู้กับเห้งเจีย เป็นการโกลาหล ต๋อกกั๊กขว้างห่วงวิเศษ (สมถะ = ธรรมที่เป็นเครื่องสงบจิต) ไปรวบ คล้องตะบองยู่อี่ (จิตอันเป็นเสรี) ของเห้งเจียไว้ได้ เห้งเจียรู้ว่าเสียทีวิ่งหนีปีศาจไปนั่งร้องไห้เพราะจนปัญญาที่จะช่วยเหลือพระถังซัมจั๋ง พักหนึ่ง จึงคิดขึ้นมาได้ รีบหกคะเมนตีลังกาไปเข้าเฝ้าเง็กเซียนฮ่องเต้กราบทูลความทุกข์ยากให้ทรงทราบ
 
เง็กเซียนฮ่องเต้จึงโปรดให้ถัักทะลีทีอ๋อง (กุศล = ความดีงาม) และโลเฉีย (เจตสิก = ธรรมปรุงแต่งประกอบจิต) ผู้บุตรยกกองทัพรามสูร ลงไปปราบต๋อกกั๊ก แต่กลับพ่ายอีกด้วยแพ้ที่ถูกห่วงวิเศษ (สมถะ = ธรรมที่เป็นเครื่องสงบระงับจิต) ของต๋อกก๊กรวบเก็บอาวุธวิเศษไว้เสียจนหมดสิ้น
 
เห้งเจียเหาะไปหาเทพฮ้วยเต็กแชกุน (พระเพลิง) จุ้ยเต็กแชกุน (พระสมุทร)มาสู้กลับถูกห่วงวิเศษ (สมถะ = ธรรมที่เป็นเครื่องสงบระงับจิต) รวบเก็บอาวุธไว้เสียสิ้น เห้งเจียถอนขนของตนเนรมิตเป็นเห้งเจียจำแลง มากมายถูกห่วงวิเศษของปีศาจรวบเก็บไว้หมด เห้งเจียพยายามอย่างไร ก็ไม่สามารถเอาชนะห่วงวิเศษได้ จึงรำลึกถึงพระยูไลขึ้นมา จึงเหาะหกคะเมนตีลังกาลิ่วไปยังไซที เขาเล่งซัว วัดลุยอิมยี่ เข้าทูลถึงอุปสรรคที่กำลังเกิดขึ้น กับพระถังซัมจั๋งในขณะนี้
 
พระยูไลทรงทราบเหตุการณ์เป็นการล่วงหน้าอยู่ก่อนแล้ว จึงรับสั่งให้พระอรหันต์ ๑๘ องค์ (ธาตุ๑๘ = สภาวะที่ดำรงอยู่ ตามเหตุแห่งปัจจัย ที่ปรุงแต่งขึ้น) เหาะไปพร้อมกับเห้งเจีย พร้อมกับยาเม็ดกิมตัน (สมาบัติ = สภาวะที่เข้าถึงสงบประณีต) เพื่อร่วมแรงปราบปีศาจ พระยูไลได้สั่งความกับพระอรหันต์ ๒ องค์ใน ๑๘ องค์ว่า "หากมิเป็นการแล้วให้เห้งเจียเหาะขึ้นไปหาพรหมท้ายเสียงเล่ากุนเถิด" เมื่อพระอรหันต์ทั้ง ๑๘ (ธาตุ๑๘)ไปถึงปากถ้ำกิมเต๊าต๋อง เห้งเจียร้องท้า ให้ต๋อกกั๊กออกมาสู้รบกัน สู้กันพักหนึ่งต๋อกกั๊กใช้ห่วงวิเศษ (สมถะ = ธรรมที่เป็นเครื่องสงบระงับจิต) รวบยากิมตัน (สมาบัติ = สภาวะที่เข้าถึงสงบประณีต)ไว้ได้อีก เมื่อเป็นเช่นนั้นพระอรหันต์เห็นไม่ได้การแล้ว จึงบอกเห้งเจียตามที่พระยูไลแนะนำมา เห้งเจียหกคะเมนตีลังกาขึ้นไปหา พรหมท้ายเสียงเลากุน(อุเบกขา = ความวางใจเฉย ไม่ยินดียินร้าย) ทูลความให้ทรงทราบ
 
พรหมท้ายเสียงเลากุนรับฟัง ดังนั้นทำการสำรวจวิมานดูรู้ว่าที่แท้ ปีศาจต๋อกกั๊กกุยใต้อ๋อง คือแรดนอเดียว (อัสมิมานะ = การถือตน) พาหนะของพระองค์เอง พรหมท้ายเสียงเล่ากุน (อุเบกขา = ความวางใจเฉย ไม่ยินดี ยินร้าย) จับพัดวิเศษได้เหาะเสด็จลงมาที่ถ้ำกิมเต๊าต๋อง เมื่อต๋อกกั๊กออกมาจากถ้ำก็เอาพัดวิเศษโบกใส่ ทำให้ร่างกลับกายเป็นแรดนอเดียว จากนั้นพรหมท้ายเสียงเล่ากุนขึ้นขี่เหาะกลับไปพรหมโลก
 
ฝ่ายเห้งเจียเข้าไปในถ้ำแก้ไขพระถังซัมจั๋ง โป้ยก่าย ซัวเจ๋ง และม้าขาวออกมาได้แล้ว พระภูมิเจ้าที่นำอาหารบิณฑบาตมาถวายพระถังซัมจั๋งกับศิษย์ ฉันภัตตาหารอิ่มแล้วก็ออกเดินทางต่อหมายทิศปัจฉิมเป็นสำคัญ
 
(ความตอนนี้เริ่มต้นด้วยฤดูหนาวคือ ความเย็นสงบที่เกิดขึ้นภายหลังจากผ่านอุปสรรคต่างๆ จิตเริ่มจับสาระได้ว่าคุณธรรมอันประเสริฐ คือ ความซื่อ บริสุทธิ์ ไร้เดียงสา จึงทำให้มีความสงบเย็น จิตเริ่มเข้าใกล้ชั้นพรหมเป็นลำดับ และหากตั้งมั่นในสุญญตา - ความว่าง ก็จะปลอดภัย แต่ทว่าใน ความเยือกเย็นอันสงบนี้ยังมีปีศาจอีกตนหนึ่งแฝงกายอยู่คือ อัสมิมานะ - การถือเราถือเขา ตัวกูของกู เมื่อออกนอกความว่าง (สุญญตา) ยามใด ยามนั้นสมาธิถูกรัดมัดไว้ด้วยอัสมิมานะ
 
เนื่องจากเชื่อในศีล หลงในศีล ว่าตนเป็นผู้ทรงศีล เป็นผู้สมถะ ไม่เชื่อในปัญญา เป็นสมาธิที่ขาดปัญญา อัสมิมานะจึงเกิดขึ้น เพราะปัญญา จะทำหน้าที่ให้เข้าใจว่า สมถะมีความคล้ายใกล้เคียงสุญญตา มีอำนาจให้จิตสงบระงับหลุดพ้นสิ่งปรุงแต่งใดๆได้ อย่างไรตามเมื่อสมถะที่เกิดมี อัสมิมานะขึ้นเป็นกิเลสตัณหาชั้นพรหม เป็นภวตัณหา - ความอยากจะมี อยากจะเป็นพาลทำตนดุจพระอริยะเจ้า เพราะมีตัณหาในอัสมิมานะที่ว่า “ฉันเป็นหนึ่ง ๆๆ”
 
เมื่อมีอัสมิมานะเกิดขึ้น ให้เพ่งพิจารณาถึง ธาตุ ๑๘-พระอรหันต์ ๑๘ องค์ เพื่อพิจารณาว่าสภาวะที่ดำรงอยู่นั้นเป็นไปตามปัจจัยที่ปรุงแต่งขึ้น อันได้แก่
 
๑. จักขุธาตุ-จักขุปสาท
 
๒. รูปธาตุ-รูปารมณ์
 
๓. จักขุวิญญานธาตุ-จักขุวิญญาน
 
๔. โสตธาตุ-โสตปสาท
 
๕. สัททธาตุ-สัททารมณ์
 
๖. โสตวิญญานธาตุ-โสตวิญญาน
 
๗. ฆานธาตุ-ฆานปสาท
 
๘. คันธธาตุ-คันธารมณ์
 
๙. ฆานวิญญานธาตุ - ฆานวิญญาน
 
๑๐. ชิวหาธาตุ - ชิวหาปสาท
 
๑๑. รสธาตุ-รสารมณ์
 
๑๒. ชิวหาวิญญานธาตุ-ชิวหาวิญญาน
 
๑๓. กายธาตุ-กายปสาท
 
๑๔. โผฏฐัพพธาตุ-โผฏฐัพพารมณ์
 
๑๕. กายวิญญานธาต-กายวิญญาน
 
๑๖. มโนธาตุ-มโน
 
๑๗. ธรรมธาตุ-ธรรมารมณ์
 
๑๘. มโนวิญญานธาตุ-มโนวิญญาน)




จาก http://www.khuncharn.com/skills?start=14

อีกอัน ไซอิ๋ว ฉบับ อาจารย์ เขมานันทะ http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=maekai&month=10-07-2008&group=15&gblog=1