ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2016, 12:22:23 am »อาหารเรปฏิกูลสัญญา กำหนดความน่าเกลียดในอาหาร สิ่งที่เรานำมากลืนกินเข้าไปบำรุงเลี้ยงร่างกายเรียกว่าอาหาร โดยปกติเป็นสิ่งที่เราไม่เกลียด ถ้ารู้สึกเกลียดขึ้นเมื่อไร ก็จะกลืนเข้าไปไม่ได้เมื่อนั้น สิ่งที่เราไม่เกลียดนั้นเป็นเครื่องส่องให้รู้ว่า เรามีฉันทะราคะในสิ่งนั้นอยู่แล้ว อาหารที่เราพอใจเราก็จะอยาก เมื่อความอยากรุนแรงก็ก่อเกิดความโลภและทุจริตเป็นลำดับไป อาหารเป็นสิ่งที่เราต้องกินทุกวัน ถ้าเราไม่พิจารณาให้ดีก็จะเป็นปากทางให้บาปอกุศลไหลเข้าตัวเราทุกวันฉะนั้นจึงควรกำหนดความน่าเกลียดในอาหาร เพื่อตัดต้นเหตุแห่งบาปอกุศลเหมือนตัดต้นไฟแต่หัวลมฉะนั้น ที่จะเห็นความน่าเกลียดของอาหารได้ ต้องกำหนดเทียบเคียงเวลาทั้งสอง คือเวลาเข้ากับเวลาออก ได้แก่เวลากินกับเวลาถ่าย เวลากินรวมหมู่กันกินได้ เวลาถ่ายจะทำเช่นนั้นไม่ได้ น่าเกลียด ฯลฯ พึงเพ่งดูอาหารที่ระคนอยู่ในภาชนะเทียบกับอาหารเก่าในท้อง และในเวจกุฎีว่ามีสภาพเหมือนกันหรือคล้ายคลึงกัน แต่นั้นก็จะเกิดปฏิกูลสัญญาขึ้น แทบจะกลืนกินอาหารนั้นไม่ได้แต่ต้องขืนใจกินด้วยนึกเพียงว่า เป็นเครื่องยังชีพให้สืบต่อไป โดยนัยนี้ความอยากความติดรสอาหาร ความโลภอาหารและความทุจริตเนื่องด้วยอาหารก็จะบรรเทาเบาบางลง และหายไปโดยลำดับ จิตใจย่อมสงบระงับไม่ดิ้นรน จัดว่าได้ผลในกรรมฐานข้อนี้ในขั้นต้นแล้ว พึงเจริญให้มาก ให้ชำนิชำนาญสืบไป.
จตุธาตุววัตถาน กำหนดธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อันมีอยู่ในกายของตนโดยกำหนดเอาว่า สิ่งที่มีลักษณะแข้นแข็งในร่างกายรวมเป็นธาตุดิน สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบซึมซาบไหลไปมาได้ในร่างกายรวมเป็นธาตุน้ำ สิ่งที่มีลักษณะร้อนอบอุ่นในร่างกายรวมเป็นธาตุไฟสิ่งที่มีลักษณะพัดไปมาในร่างกายรวมเป็นธาตุลม กำหนดให้มองเห็นสิ่งนั้นๆ ชัดเจน จนเห็นชัดในใจว่า กายนี้เต็มไปด้วยธาตุทั้ง ๔ หรือเป็นกลุ่มธาตุทั้ง ๔ แล้วกำหนดสิ่งที่มีลักษณะเป็นธาตุดินน้ำ ไฟ ลม ในภายนอก ที่มาสัมผัสเข้ากับกายนี้ หรือที่เราต้องกินดื่มใช้สอยอยู่ทุกวันนั้นว่า เป็นแต่ธาตุทั้งสิ้น จนเห็นชัดขึ้นในใจว่า “ธาตุกินธาตุ” เมื่อใด เมื่อนั้นชื่อว่าปฏิบัติกรรมฐานนี้สำเร็จผลในขั้นต้นแล้ว พึงปฏิบัติให้ชำนิชำนาญต่อไป.
พรหมวิหาร อยู่อย่างพรหม บุคคลจำพวกหนึ่งซึ่งทำความดีแล้วได้อุบัติในพรหมโลกเรียกว่าพรหม พรหมนั้นมีใจสะอาด นิ่มนวล อ่อนโยน ควบคุมใจไว้ในอำนาจได้ดี มีคุณธรรมประจำใจ ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ธรรม ๔ ประการนี้จึงได้นามว่า “พรหมวิหาร” การอบรมใจโดยยึดเอาลักษณะของพรหมเป็นตัวอย่าง และปลูกธรรม ๔ ประการนั้นขึ้นในใจของตน ทำตนให้เหมือนพรหม เรียกว่าเจริญพรหมวิหาร พึงเจริญไปตามลำดับข้อธรรม ๔ ประการ คือ
๑. เมตตา ความรักที่บริสุทธิ์ มีลักษณะมุ่งดี หวังดี ตรงกันข้ามกับความขึ้งเคียดเกลียดชังและเป็นความรักที่ปราศจากกามราคะ (คือความกำหนัด) เป็นชนิดความรักระหว่างมารดาบิดากับบุตรธิดา.
๒. กรุณา ความเอ็นดู มีลักษณะทนดูดายไม่ได้ พอใจช่วยเหลือเกื้อกูลให้เขาได้รับสุข โดยไม่เห็นแก่เหนื่อยยากและสิ่งตอบแทน ตรงกันข้ามกับความพยาบาทมาดร้าย.
๓. มุทิตา ความชื่นใจ มีลักษณะร่าเริงชื่นบาน พลอยมีส่วนในความสุขความเจริญของผู้อื่น ตรงกันข้ามกับความริษยา ซึ่งไม่อยากให้ใครได้ดีมีสุขกว่าตนหรือเท่าเทียมตน.
๔. อุเบกขา ความเที่ยงธรรม มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ใจหนักแน่น รู้จักสิ่งเป็นได้-เป็นไม่ได้ ดีแล้ว มองเห็นความเป็นไปตามกรรมของสัตว์แจ้งชัดในใจ ควรช่วยก็ช่วย ไม่ควรช่วยก็ไม่ช่วย เป็นผู้รู้จักประมาณ ทำให้คุณธรรม ๓ ข้อข้างต้นสมดุลกันด้วย ใจจะสงบเย็นด้วยคุณธรรมข้อนี้อย่างมากทีเดียว จึงสามารถข่มกามราคะได้อย่างดี.
วิธีปฏิบัติ ปลูกคุณธรรม ๔ ประการนี้ขึ้นในใจทีละข้อก่อน ทำใจให้มีลักษณะตามคุณธรรม ๔ ประการนี้ทีละข้อแล้ว แผ่น้ำใจเช่นนั้นไปยังผู้อื่น ตั้งต้นแต่คนที่เรารักอยู่แล้ว (เว้นคนต่างเพศกัน) ไป คนที่เป็นกลาง – คนที่เกลียดชัง – คนทั่วไป – สัตว์ทั่วไปตลอดสากลโลกทุกทิศทุกทาง เมื่อปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ชื่อว่าสำเร็จอัปปมัญญาเจโตวิมุตติ ใจจะมีอิทธิพลเกิดคาดหมายกำจัดศัตรูภาพได้ดี กรุณาพละกำจัดทารุณภาพได้ดี มุทิตาพละกำจัดความทุกข์โศกของผู้อื่นได้ดีอุเบกขาพละกำจัดกามราคะในเพศตรงกันข้ามได้ดี สตรีกับบุรุษผู้มีอุเบกขาพละจะเป็นมิตรสนิทสนมกันได้ โดยไม่ละเมิดอธิปไตยของกันและกัน.
อรูปกรรมฐาน คือสิ่งมิใช่รูป เป็นนามธรรมที่ปรากฏแก่ใจ หรือที่รู้สึกได้ด้วยใจ ท่านให้นำมาเป็นบทบริกรรม คือเป็นข้ออบรมจิตให้สงบ มี ๔ ประการ คือ
๑. อากาศ ได้แก่ความเวิ้งว้าง-ว่างเปล่า-ปลอดโปร่ง-ไม่มีที่สิ้นสุด-ไม่ติดขัด ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ และไม่อาจสัมผัสได้ด้วยกาย สิ่งที่เห็นได้หรือสัมผัสได้ในอากาศนั้นเป็น อากาสธาตุคือธาตุในอากาศ เช่น ก้อนเมฆ หรือละอองน้ำ ฯลฯ
๒. วิญญาณ ในที่นี้ได้แก่ธาตุรู้ ซึ่งเป็นธาตุวิเศษศักดิ์สิทธิ์ มีรู้เป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสงสีคล้ายเปลวไฟฉะนั้น ธรรมดาเปลวไฟย่อมมีความร้อนเป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสง-สี คือมีแสงสว่างสีต่างๆ ฉันใด วิญญาณก็มี “รู้” เป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสง-สี คือมีแสงสว่าง สีต่างๆฉันนั้น วิญญาณที่ยังมีสี เป็นวิญญาณที่ยังไม่บริสุทธิ์ วิญญาณที่ปราศจากสี เป็นวิญญาณที่บริสุทธิ์ ซึ่งมีลักษณะใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ.
๓. ความไม่มีอะไร ได้แก่ความโปร่งใจ ปราศจากความอึดอัด-ความคับแค้น-ความรำคาญเหมือนหนึ่ง ตนคนเดียวอยู่โดดเดี่ยวในสุญญวิมาน ฉะนั้น.
๔. ความสงบ ความประณีต ได้แก่ความดำรงมั่นคงของจิต ละเอียดอ่อน ประณีตสละสลวย ไม่เป็นคลื่นระลอก กระฉอกกระฉ่อนวูบวาบ.
วิธีปฏิบัติ วางสัญญาในอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปและอรูปเสีย กำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว คือ อรูปกรรมฐานนี้อันใดอันหนึ่ง เมื่อวางสัญญาในอารมณ์ต่างๆ ได้ และจิตกำหนดจดจ่ออยู่แต่อารมณ์อันเดียวนี้ได้ แม้จะดำรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะหนึ่งก็ชื่อว่าสำเร็จอรูปฌานนี้แล้ว พึงฝึกหัดให้เชี่ยวชาญชำนาญยิ่งขึ้นไป.
อรูปฌานนี้ เป็นฌานประณีตโดยอารมณ์ เรียกชื่อเช่นนี้ตามอารมณ์ที่เป็นอรูปเท่านั้นเข้าใจกันโดยมากว่า ผู้จะเจริญอรูปฌานนี้ได้จะต้องเจริญรูปฌานสำเร็จมาก่อน ความจริงอรูปกรรมฐานนี้ เป็นอารมณ์ของสมถะชนิดหนึ่ง แต่เป็นอารมณ์ละเอียดประณีตกว่ารูปกรรมฐานเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะจับตั้งต้นเจริญอรูปกรรมฐานทีเดียวก็ย่อมจะได้ เป็นแต่ทำได้ยากสักหน่อย ไม่เหมือนผู้เคยผ่านรูปกรรมฐานมาก่อน.
ความแปลกกันแห่งอากาสกสิณ กับอากาสฌาน นี้อยู่ที่อากาสกสิณ เพ่งวงกลมอากาศ พุ่งออกไปข้างนอก ส่วนอากาสฌานเพ่งอากาศโดยไม่กำหนดข้างหน้าข้างหลัง วางจิตเป็นกลาง ใส่ใจแต่อากาศอย่างเดียว เมื่อจิตสงบก็จะเห็นมีแต่อากาศเวิ้งว้าง ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีอะไรซึ่งเป็นรูปธรรมปรากฏในความรู้สึกในขณะนั้น ปรากฏประหนึ่งว่า ตนคนเดียวอยู่โดดเดี่ยวในนภากาศฉะนั้น อรูปฌานนี้จะไว้กล่าวพิสดารในบทข้างหน้า.
สมถกรรมฐาน ๔๐ ประการนี้ แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ รูปกรรมฐาน และอรูปกรรมฐาน ฌานที่สำเร็จขึ้นโดยอาศัยรูปกรรมฐานเป็นอารมณ์ เรียกว่ารูปฌาน ฌานที่สำเร็จขึ้นโดยอาศัยอรูปกรรมฐานเป็นอารมณ์เรียกว่า อรูปฌาน.
และท่านแบ่งออกโดยกิจเป็น ๒ ประเภทเหมือนกัน คือ กรรมฐานที่เป็นอารมณ์ชนิดใช้ความคิดคำนึงใคร่ครวญเหตุผลเข้าประกอบเพื่ออบรมจิตให้สงบนั้นประเภทหนึ่ง ผู้บำเพ็ญสมถ-กรรมฐานประเภทนี้เรียกว่า “วิปัสสนายานิก” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญภาวนาที่อาศัยความเห็นเหตุผลหรือความจริงในกรรมฐานข้อนั้นชัดใจ เป็นพาหนะนำจิตไปสู่ความสงบ อีกประเภทหนึ่ง คือ กรรมฐานที่เป็นอารมณ์สงบ-ประณีตโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ความคิดคำนึงใคร่ครวญเหตุผลเข้าประกอบ เพียงแต่กำหนดนิ่ง สำเหนียกอยู่แต่ในอารมณ์เดียวนั้นเรื่อยไปจนจิตสงบลง ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐานประเภทนี้ เรียกว่า “สมถยานิก” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญภาวนาที่อาศัยความสงบเป็นยานพาหนะนำจิตไปสู่ความสงบ ท่านจะเลือกบำเพ็ญประเภทไหนก็แล้วแต่จริตอัธยาศัยของท่านจะเหมาะกับกรรมฐานประเภทไหนเป็นประมาณ จะถือเอาความยากง่ายเป็นประมาณหาได้ไม่ ฉะนั้น ก่อนแต่ท่านจะเลือกกรรมฐานบทใดมาเป็นบทบริกรรม คือ ข้ออบรมจิตนั้น ควรตรวจจริตอัธยาศัยของตนให้รู้แน่ชัดเสียก่อน ดังต่อไปนี้.
จริต ๖
พระบรมศาสดาทรงจำแนกจริต คือ กิเลส และคุณธรรมที่ท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจของบุคคลฝ่ายละ ๓ รวมเป็น ๖ ประการ คือ
๑. ราคจริต คนกำหนัดกล้า มีราคะ คือความกำหนัดในกามคุณท่องเที่ยวอยู่ในจิตมากจนเป็นเจ้าเรือน คือ ครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้กำหนัดในกามคุณมาก ติดพันในกามคุณจนถึงลุ่มหลงมัวเมา ราคะเป็นประดุจหนามยอกใจ การแก้ราคะก็ต้องใช้วิราคะ คือ หนามวิเศษเหมือนหนามยอกก็เอาหนามบ่งฉะนั้น ราคะตั้งลงที่กามคุณ คือ รูปสวยงามน่ารักน่าชื่นใจ, เสียงไพเราะ, กลิ่นหอม, รสอร่อย, สัมผัสนุ่มละเอียดอ่อน ราคะทำให้มองไม่เห็นตำหนิที่น่าเบื่อหน่ายของกามคุณ ซึ่งมีอยู่โดยธรรมดาแล้ว วิธีแก้จึงต้องพลิกเหลี่ยมขึ้นมองดูความน่าเบื่อหน่ายน่าเกลียดอันมีอยู่ในกามคุณนั้น ฉะนั้นกรรมฐานเนื่องด้วย อสุภะ-ปฏิกูล จึงเป็นสัปปายะ คือเหมาะแก่คนราคจริต เป็นไปเพื่อความเจริญ แม้ปัจจัยเลี้ยงชีพก็ต้องเป็นสิ่งปอนๆ-เศร้าหมอง-หยาบ จึงจะเป็นไปเพื่อถอนราคะออกจากใจได้.
๒. โทสจริต คนใจร้าย มีโทสะ คือความดุร้ายท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจมากจนเป็นเจ้าเรือนคือ ครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้ดุร้าย กริ้วโกรธ แม้ในเหตุเล็กๆ น้อยๆ อันไม่สมควรโกรธก็โกรธ ประดุจผียักษ์สิงใจฉะนั้น ธรรมดาผีย่อมกลัวเทวดาฉันใด อธรรมคือโทสะก็ย่อมพ่ายแพ้แก่ธรรมฉันนั้น ธรรมอันจัดเป็นเครื่องแก้โทสะนั้น ต้องเป็นธรรมฝ่ายเย็น สุภาพ อ่อนโยน จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับโทสะ เมื่อโทสะซึ่งเปรียบเหมือนผียักษ์สิงใจอยู่ จึงควรเชิญธรรมซึ้งเปรียบเหมือนเทวดามาสิงใจแทนที่เสีย เพราะธรรมดายักษ์ย่อมกลัวเทวดาฉันใด ธรรมจะกำจัดอธรรมออกไปฉันนั้น ฉะนั้น กรรมฐานอันเนื่องด้วยคุณธรรมฝ่ายสูง เช่น เมตตา กรุณา ฯลฯ พุทธคุณธรรมคุณ สังฆคุณ ฯลฯ จึงเป็นสัปปายะ คือ เหมาะแก่คนมีโทสจริต เป็นไปเพื่อความเจริญ แม้ปัจจัยเลี้ยงชีพก็ต้องเป็นสิ่งสวยงาม-ประณีต-สุขุม จึงจะเป็นไปเพื่อถอนโทสะออกจากจิตใจ.
๓. โมหจริต คนหลง มีโมหะ คือความหลงท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่ในจิตใจมาก ดลใจให้มืดมัว อั้นตู้ ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี แม้มีวัยผ่านมานานควรเป็นวิญญูชนได้แล้ว ก็ยังคงมีลักษณะนิสัยเหมือนเด็กๆ อยู่ และดลใจให้มองเห็นในแง่ที่ตรงกันข้ามกับเหตุผลและความจริงเสมอ ประดุจกลีสิงใจฉะนั้น กลี คือผีชนิดหนึ่ง มีลักษณะมืดดำ ทำให้เป็นคนหลง คลั่งเพ้อไปต่างๆ ปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในเมื่อมันเข้าสิงใจ โมหะท่านเปรียบเหมือนกลีนั้น ผีกลีกลัวแสงสว่าง ฉะนั้นการแก้โมหะจึงต้องอาศัยธรรมะ ซึ่งมีลักษณะสว่าง-กระจ่างแจ้งเป็นปัจจัย เช่น การอยู่ใกล้ได้ปรึกษาไต่ถามท่านผู้พหูสูตเนืองๆ ข้อธรรมที่มีเหตุผลกระจ่างในตัว ไม่มีแง่ชวนให้สงสัย กรรมฐานที่เหมาะแก่คนจำพวกนี้ ต้องเป็นกรรมฐานที่เนื่องด้วยกสิณและอรูป ซึ่งเป็นอุบายเปิดใจให้สว่าง แม้ปัจจัยเลี้ยงชีพก็ต้องเป็นสิ่งโปร่งบาง-เปิดเผย-สะดวก ที่อยู่ถ้าเป็นที่โปร่งๆ หรือกลางแจ้งเป็นเหมาะที่สุด.
๔. สัทธาจริต คนเจ้าศรัทธา มีศรัทธาความเชื่อท่องเที่ยวอยู่ในจิตมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้เชื่อสิ่งต่างๆ ง่ายจนเกือบจะกลายเป็นงมงายไป ความจริงศรัทธาเป็นคุณธรรม เมื่อมีอยู่ในใจย่อมหนุนให้ทำความดีได้ง่ายเหมือนมีทุนสำรองอยู่แล้ว ย่อมสะดวกแก่การค้าหากำไรฉะนั้น คนเจ้าศรัทธาเป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบดี รักงาม ทำอะไรก็ประณีตบรรจง เป็นคนใจละเอียดอ่อน บำเพ็ญกรรมฐานได้แทบทุกอย่าง แต่ที่เหมาะที่สุด คืออนุสสติ และกรรมฐานที่เกี่ยวกับการคิดค้นหาเหตุผล เช่น จตุธาตุววัตถาน ฯลฯ.
๕. พุทธิจริต คนเจ้าปัญญา มีพุทธิคือความรู้ท่องเที่ยวอยู่ในจิตมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่อยู่ในจิตใจ ดลใจให้รู้อะไรๆ ได้ง่ายๆ จนเกือบจะกลายเป็นคนสู่รู้ไป ความจริง พุทธิ เป็นคุณธรรมนำให้รู้เหตุผล และความจริงได้ง่าย คนจำพวกนี้ชอบทำอะไรๆ ด้วยความรู้และก็มักผิดพลาดเพราะความรู้เหมือนกัน ฉะนั้น กรรมฐานอันเป็นที่สัปปายะแก่คนจำพวกนี้ต้องเป็นกรรมฐานที่ประคับประคองจิตใจไปในเหตุผลที่ถูกต้อง ทำให้ปัญญามีหลักฐานมั่นคง เช่นอุปสมานุสสติ เป็นต้น.
๖. วิตักกจริต คนเจ้าความคิด มีวิตักกะคือความคิดท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้คิดให้อ่านอยู่เรื่อย จนกลายเป็นฟุ้งซ่านหรือเลื่อนลอยไป ความจริงวิตักกะเป็นคุณธรรม เมื่อมีอยู่ในใจย่อมหนุนให้เป็นคนช่างคิดช่างนึกในเหตุผลและความจริงจากแง่ต่างๆ เป็นทางเรืองปัญญา แต่ถ้ามากเกินไปจะตกไปข้างฝ่ายโมหะ กลายเป็นหลงทิศทางไปได้ ที่เขาเรียกว่า “ความคิดตกเหว” ไม่รู้จักแก้ไขตนออกจากความผิด ได้แต่คิดเพ้อไปท่าเดียว กรรมฐานที่เหมาะแก่คนจำพวกนี้ต้องเป็นกรรมฐานที่ไม่ต้องใช้ความคิด เช่น กสิณ-อรูป และที่เหมาะที่สุดคือ อานาปานสติ.
จริต ๑ – ๓ เป็นอกุศลเจตสิก ๔ – ๖ เป็นอัญญสมานาเจตสิก ใกล้ไปข้างฝ่ายกุศล คนมีจริต ๑ – ๓ เป็นเจ้าเรือนจึงมักทำความชั่วให้ปรากฏ ส่วนคนมีจริต ๔ – ๖ เป็นเจ้าเรือนจึงมักทำความดีให้ปรากฏ.
อัธยาศัย ๖
๑. โลภัชฌาสยะ คนมีความโลภเป็นเจ้าเรือน เป็นคนมักได้-ตระหนี่-หวงแหน.
๒. โทสัชฌาสยะ คนมีโทสะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนดุร้าย โกรธง่าย ใจร้อนเหมือนไฟ.
๓. โมหัชฌาสยะ คนมีโมหะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนหลงง่ายลืมง่าย ใจมืดมัว ซบเซา มึนซึม.
๔. อโลภัชฌาสยะ คนมีอโลภะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนใจบุญสุนทาน เอื้ออารี มีใจพร้อมที่จะสละเสมอ.
๕. อโทสัชฌาสยะ คนมีอโทสะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนใจดี-เยือกเย็น มีใจพร้อมที่จะให้อภัยเสมอ.
๖. อโมหัชฌาสยะ คนมีอโมหะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนใจผ่องแผ้ว-เปิดเผย มีใจปราศจากมายาสาไถย พร้อมที่จะรับผิดอย่างหน้าชื่นใจบาน ในเมื่อทำความผิด.
คนมีอัธยาศัยฝ่ายอกุศล คือ ๑ – ๓ นั้น เป็นคนหยาบ มักทำความชั่วหยาบทางกาย วาจาใจ ให้ปรากฏ คนมีอัธยาศัยฝ่ายกุศล คือ ๔ – ๖ นั้น เป็นคนละเอียด ประณีต มีกิเลสน้อยเบาบางในขันธสันดาน มักไม่ทำความชั่วหยาบทางกาย วาจา ใจ ให้ปรากฏ มีแต่ทำคุณงามความดีให้ปรากฏทางกาย วาจา ใจ เสมอ คนจำพวกนี้ง่ายแก่การอบรมศีลธรรมในขั้นสูง ถ้าไม่ประมาทและได้กัลยาณมิตรแล้ว อาจปฏิบัติบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบันได้ง่าย.
เมื่อรวมจริตและอัธยาศัยเข้ากันแล้ว พิเคราะห์ดูก็จะได้บุคคล ๓ จำพวก คือ
(๑.) พวกจริตอัธยาศัยหยาบ อินทรีย์อ่อน แนะนำในกุศลสัมมาปฏิบัติยาก.
(๒.) พวกจริตอัธยาศัยปานกลาง อินทรีย์ปานกลาง อาจแนะนำในกุศลสัมมาปฏิบัติได้.
(๓.) พวกจริตอัธยาศัยประณีต อินทรีย์กล้า แนะนำในกุศลสัมมาปฏิบัติง่าย.
ปธานิยังคะ ๕
เมื่อได้พิเคราะห์ดูจริตอัธยาศัยแล้ว พึงพิเคราะห์ดูอัตภาพว่าสมบูรณ์พร้อม เกิดมาจากกุศลสมบัติหรือไม่? เพราะถ้าอัตภาพไม่สมบูรณ์พร้อม ธาตุไม่แข็งแรงเนื่องจากอกุศลสมบัติเป็นปัจจัยขืนไปทำความพากเพียรอย่างขะมักเขม้นเข้าเกิดเจ็บป่วยร้ายแรงถึงธาตุพิการ สติวิปลาสขึ้น ก็จะลงโทษข้อปฏิบัติว่าพาให้เป็นเช่นนั้น เรื่องนี้ได้เกิดเป็นข้อหวาดหวั่นแก่สาธุชนอยู่มาก เลยกลายเป็นเครื่องมือขู่อย่างดีของมารไป ความจริงข้อสัมมาปฏิบัติมีแต่ให้คุณ ไม่ให้โทษเลย ผู้ปฏิบัติตามข้อสัมมาปฏิบัติแล้วเกิดเจ็บป่วยขึ้นนั้น มิใช่เป็นเพราะข้อปฏิบัติ เป็นเพราะเหตุอื่นต่างหาก เมื่อได้สอบสวนดูตัวเองแล้ว เห็นว่าสมบูรณ์พร้อม พอที่จะปฏิบัติพากเพียรได้แล้ว ก็ไม่ควรจะหวาดหวั่นว่าจะเป็นบ้าเป็นหลังไป นอกจากพิเคราะห์อัตภาพแล้ว พึงพิเคราะห์องคคุณอันเป็นประธานและเป็นกำลังหนุนในการปฏิบัติอีกด้วย.
หลักที่ควรพิจารณานั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้แล้ว ดังต่อไปนี้
ภิกษุทั้งหลาย องคคุณอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพียร มี ๕ ประการ คือ
๑. สทฺโธ โหติ สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต =เชื่อความรู้ของครู.
๒. อปฺปาพาโธ โหติ อปฺปาตงฺโก สมเวปากินิยา คหณิยา สมนฺนาคโต เป็นผู้มีอาพาธน้อยมีความเดือดร้อนน้อย ประกอบด้วยธาตุในร่างกายอันสำเร็จมาแต่วิบากแห่งกรรมสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไป ไม่ร้อนเกินไป พอปานกลาง ทนทานต่อการพากเพียร.
๓. อสโฐ โหติ อมายาวี เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นผู้เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือในสพรหมจารีผู้วิญญูชน.
๔. อารทฺธวิริโย วิหรติ เป็นผู้พากเพียรละอกุศล เจริญกุศล ขยันขันแข็ง บากบั่นมั่นคง ไม่วางธุระในกุศลธรรม.
๕. ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ ที่ให้เกิดความเบื่อหน่าย เห็นความเกิด-ความตาย และให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์โดยชอบ.๑
เมื่อได้พิเคราะห์ตามหลักนี้แล้ว เห็นว่าตนเป็นผู้พรั่งพร้อมเพื่อปฏิบัติพากเพียรแล้ว พึงเลือกกรรมฐานอันเหมาะแก่จริตอัธยาศัย แล้วแสวงหาที่ประกอบความพากเพียรต่อไป.
สัปปายะ ๔
สถานที่ที่เหมาะแก่การพากเพียรนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้หลายปริยาย เมื่อประมวลแล้ว ต้องเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยสัปปายะ ๔ ประการ คือ
๑. อาวาสสัปปายะ ที่อยู่เหมาะสม คือที่ซึ่งตนมีอิสระที่จะอยู่ได้สบาย กลางวันปราศจากคนพลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด ปราศจากกลิ่นไอของมนุษย์ เป็นที่ที่อมนุษย์ไม่หวงแหน หรือยินดีให้อยู่ด้วยกันได้โดยปลอดภัย สัตว์ร้ายเช่นยุงไม่ชุม พอทนได้ น้ำใช้น้ำกินมีอยู่ใกล้ หาได้ง่ายโคจรคามไม่ใกล้เกินไป และไม่ไกลเกินไป มีทางไปมาสะดวก มีพระเถระพหูสูตซึ่งอาจแก้ความสงสัยให้ได้ อยู่ใกล้หรือยู่ด้วยกันในที่นั้น สะดวกแก่การไต่ถามข้อสงสัยข้องใจ อากาศปลอดโปร่งถูกกับธาตุ ทั้งอำนวยผลทางใจคือโล่งใจ สงบใจได้ง่าย ได้อุบายปัญญาบ่อยๆ ชวนให้ทำความเพียรและกิเลสไม่ฟุ้ง.
๑. มาใน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ หน้า ๗๔.
๒. บุคคลสัปปายะ บุคคลเหมาะสม คือผู้อยู่ร่วมกันก็ดี ผู้ไปมาหาสู่ชั่วครั้งคราวก็ดี เป็นที่ถูกอัธยาศัยกัน สามารถเกื้อกูลกันในทางสัมมาปฏิบัติได้ อย่างต่ำๆ ก็ต้องไม่เป็นภัยแก่กัน ทั้งผู้ปกครองเขตแดนที่ตนอยู่นั้นเป็นผู้มีอัชฌาสัย อำนวยความสะดวกให้ตามสมควร ไม่เบียดเบียนข่มเหง หรือกล่าวเสียดสีให้เกิดความขุ่นหมองใจ.
๓. อาหารสัปปายะ อาหารเหมาะสม คืออาหารที่ถูกธาตุ กินแล้วไม่ทำให้กิเลสฟุ้ง ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มึนเมื่อย ง่วงซึม ทำให้ร่างกายมีกำลังแข็งแรง ทนทานต่อการพากเพียร ทำให้จิตใจแจ่ม ไม่ท้อแท้อ่อนแอ ชวนให้ทำความเพียร.
๔. ธัมมสัปปายะ ข้อปฏิบัติเหมาะแก่จริต คือกรรมฐานที่เลือกมาเป็นข้อปฏิบัติเหมาะแก่จริต ข่มปราบกิเลสอันเป็นเจ้าเรือนลงได้ ได้ฟังธรรม ฟังวินัยสะดวก และข้อธรรมข้อวินัยที่ได้ฟังก็ดี อุบายปัญญาที่ปรากฏแก่ใจตนเองก็ดี สามารถข่มปราบกิเลสได้ดี.
สัปปายะ ๔ ประการนี้ ผู้เป็นบรรพชิตสามารถหาให้ครบบริบูรณ์ได้ เพราะมีชีวิตอิสระ ไม่มีธุระกังวล ในการอาชีพผูกพันตนอยู่เหมือนผู้เป็นคฤหัสถ์ แต่ในปัจจุบัน ชีวิตของบรรพชิตก็ใกล้เข้าไปทางฆราวาสมากแล้ว โดยที่ต้องอยู่รวมเป็นหมู่ในอารามภายในละแวกบ้าน ทั้งยังมีภาระกังวลในการบริหารหมู่อีกด้วย ส่วนผู้ไม่มีหน้าที่ในทางบริหารหมู่โดยตรงก็รับภารธุระของครูบาอาจารย์ ของเจ้าอาวาสบางประการ เป็นภาระผูกพันตน เกือบจะเป็นคนหมดอิสรภาพอยู่แล้วเคราะห์ดีอยู่หน่อยที่อารามส่วนมากมีผู้ศรัทธาปลูกสร้างให้พอเพียงที่จะอยู่อย่างไม่คลุกคลีนัก คือสามารถจะอยู่ได้คนละห้อง หรือคนละหลังได้อย่างสบาย พอหายใจสะดวกอยู่บ้าง เวลากลางคืนก็เงียบพอสมควร ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาทก็พออาจหาเวลาทำความเพียรได้อยู่ ส่วนคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเป็นผู้มีชีวิตคลุกคลี มีภาระผูกพันในการอาชีพ ยากที่จะหาสัปปายะให้บริบูรณ์ แต่ก็มิใช่จะไร้โอกาสเสียทีเดียว เวลาว่างงานและเวลาสงบเงียบก็ยังมี พอจะปลีกตนปฏิบัติกิจอันประเสริฐนี้ได้มหาบุรุษคือคนน้ำใจใหญ่ อดทน มีเพียร มีปัญญา อัธยาศัยประณีต มีกุศลมูลแต่งสร้างสังขาร จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม แม้จะอยู่ในที่เช่นไร ในหมู่ชนหมู่ไหน ได้อาหารถูกธาตุหรือไม่ก็ตาม ก็ย่อมมีอุบาย-ปัญญา ปฏิบัติเอาตนพ้นทุกข์ได้ เป็นแต่ยากลำบากและเนิ่นช้าหน่อย ฉะนั้นเมื่อไม่ได้สัปปายะบริบูรณ์ ก็ไม่ควรท้อถอย พึงอธิษฐานใจให้รู้สึกประหนึ่งว่า ตนคนเดียวอยู่ในโลกแล้วทำความพากเพียรพยายามเถิด.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-05.htm
จตุธาตุววัตถาน กำหนดธาตุ ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม อันมีอยู่ในกายของตนโดยกำหนดเอาว่า สิ่งที่มีลักษณะแข้นแข็งในร่างกายรวมเป็นธาตุดิน สิ่งที่มีลักษณะเอิบอาบซึมซาบไหลไปมาได้ในร่างกายรวมเป็นธาตุน้ำ สิ่งที่มีลักษณะร้อนอบอุ่นในร่างกายรวมเป็นธาตุไฟสิ่งที่มีลักษณะพัดไปมาในร่างกายรวมเป็นธาตุลม กำหนดให้มองเห็นสิ่งนั้นๆ ชัดเจน จนเห็นชัดในใจว่า กายนี้เต็มไปด้วยธาตุทั้ง ๔ หรือเป็นกลุ่มธาตุทั้ง ๔ แล้วกำหนดสิ่งที่มีลักษณะเป็นธาตุดินน้ำ ไฟ ลม ในภายนอก ที่มาสัมผัสเข้ากับกายนี้ หรือที่เราต้องกินดื่มใช้สอยอยู่ทุกวันนั้นว่า เป็นแต่ธาตุทั้งสิ้น จนเห็นชัดขึ้นในใจว่า “ธาตุกินธาตุ” เมื่อใด เมื่อนั้นชื่อว่าปฏิบัติกรรมฐานนี้สำเร็จผลในขั้นต้นแล้ว พึงปฏิบัติให้ชำนิชำนาญต่อไป.
พรหมวิหาร อยู่อย่างพรหม บุคคลจำพวกหนึ่งซึ่งทำความดีแล้วได้อุบัติในพรหมโลกเรียกว่าพรหม พรหมนั้นมีใจสะอาด นิ่มนวล อ่อนโยน ควบคุมใจไว้ในอำนาจได้ดี มีคุณธรรมประจำใจ ๔ ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ธรรม ๔ ประการนี้จึงได้นามว่า “พรหมวิหาร” การอบรมใจโดยยึดเอาลักษณะของพรหมเป็นตัวอย่าง และปลูกธรรม ๔ ประการนั้นขึ้นในใจของตน ทำตนให้เหมือนพรหม เรียกว่าเจริญพรหมวิหาร พึงเจริญไปตามลำดับข้อธรรม ๔ ประการ คือ
๑. เมตตา ความรักที่บริสุทธิ์ มีลักษณะมุ่งดี หวังดี ตรงกันข้ามกับความขึ้งเคียดเกลียดชังและเป็นความรักที่ปราศจากกามราคะ (คือความกำหนัด) เป็นชนิดความรักระหว่างมารดาบิดากับบุตรธิดา.
๒. กรุณา ความเอ็นดู มีลักษณะทนดูดายไม่ได้ พอใจช่วยเหลือเกื้อกูลให้เขาได้รับสุข โดยไม่เห็นแก่เหนื่อยยากและสิ่งตอบแทน ตรงกันข้ามกับความพยาบาทมาดร้าย.
๓. มุทิตา ความชื่นใจ มีลักษณะร่าเริงชื่นบาน พลอยมีส่วนในความสุขความเจริญของผู้อื่น ตรงกันข้ามกับความริษยา ซึ่งไม่อยากให้ใครได้ดีมีสุขกว่าตนหรือเท่าเทียมตน.
๔. อุเบกขา ความเที่ยงธรรม มีลักษณะเป็นผู้ใหญ่ใจหนักแน่น รู้จักสิ่งเป็นได้-เป็นไม่ได้ ดีแล้ว มองเห็นความเป็นไปตามกรรมของสัตว์แจ้งชัดในใจ ควรช่วยก็ช่วย ไม่ควรช่วยก็ไม่ช่วย เป็นผู้รู้จักประมาณ ทำให้คุณธรรม ๓ ข้อข้างต้นสมดุลกันด้วย ใจจะสงบเย็นด้วยคุณธรรมข้อนี้อย่างมากทีเดียว จึงสามารถข่มกามราคะได้อย่างดี.
วิธีปฏิบัติ ปลูกคุณธรรม ๔ ประการนี้ขึ้นในใจทีละข้อก่อน ทำใจให้มีลักษณะตามคุณธรรม ๔ ประการนี้ทีละข้อแล้ว แผ่น้ำใจเช่นนั้นไปยังผู้อื่น ตั้งต้นแต่คนที่เรารักอยู่แล้ว (เว้นคนต่างเพศกัน) ไป คนที่เป็นกลาง – คนที่เกลียดชัง – คนทั่วไป – สัตว์ทั่วไปตลอดสากลโลกทุกทิศทุกทาง เมื่อปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ชื่อว่าสำเร็จอัปปมัญญาเจโตวิมุตติ ใจจะมีอิทธิพลเกิดคาดหมายกำจัดศัตรูภาพได้ดี กรุณาพละกำจัดทารุณภาพได้ดี มุทิตาพละกำจัดความทุกข์โศกของผู้อื่นได้ดีอุเบกขาพละกำจัดกามราคะในเพศตรงกันข้ามได้ดี สตรีกับบุรุษผู้มีอุเบกขาพละจะเป็นมิตรสนิทสนมกันได้ โดยไม่ละเมิดอธิปไตยของกันและกัน.
อรูปกรรมฐาน คือสิ่งมิใช่รูป เป็นนามธรรมที่ปรากฏแก่ใจ หรือที่รู้สึกได้ด้วยใจ ท่านให้นำมาเป็นบทบริกรรม คือเป็นข้ออบรมจิตให้สงบ มี ๔ ประการ คือ
๑. อากาศ ได้แก่ความเวิ้งว้าง-ว่างเปล่า-ปลอดโปร่ง-ไม่มีที่สิ้นสุด-ไม่ติดขัด ไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ และไม่อาจสัมผัสได้ด้วยกาย สิ่งที่เห็นได้หรือสัมผัสได้ในอากาศนั้นเป็น อากาสธาตุคือธาตุในอากาศ เช่น ก้อนเมฆ หรือละอองน้ำ ฯลฯ
๒. วิญญาณ ในที่นี้ได้แก่ธาตุรู้ ซึ่งเป็นธาตุวิเศษศักดิ์สิทธิ์ มีรู้เป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสงสีคล้ายเปลวไฟฉะนั้น ธรรมดาเปลวไฟย่อมมีความร้อนเป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสง-สี คือมีแสงสว่างสีต่างๆ ฉันใด วิญญาณก็มี “รู้” เป็นลักษณะ ประกอบด้วยแสง-สี คือมีแสงสว่าง สีต่างๆฉันนั้น วิญญาณที่ยังมีสี เป็นวิญญาณที่ยังไม่บริสุทธิ์ วิญญาณที่ปราศจากสี เป็นวิญญาณที่บริสุทธิ์ ซึ่งมีลักษณะใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ.
๓. ความไม่มีอะไร ได้แก่ความโปร่งใจ ปราศจากความอึดอัด-ความคับแค้น-ความรำคาญเหมือนหนึ่ง ตนคนเดียวอยู่โดดเดี่ยวในสุญญวิมาน ฉะนั้น.
๔. ความสงบ ความประณีต ได้แก่ความดำรงมั่นคงของจิต ละเอียดอ่อน ประณีตสละสลวย ไม่เป็นคลื่นระลอก กระฉอกกระฉ่อนวูบวาบ.
วิธีปฏิบัติ วางสัญญาในอารมณ์ต่างๆ ทั้งที่เป็นรูปและอรูปเสีย กำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว คือ อรูปกรรมฐานนี้อันใดอันหนึ่ง เมื่อวางสัญญาในอารมณ์ต่างๆ ได้ และจิตกำหนดจดจ่ออยู่แต่อารมณ์อันเดียวนี้ได้ แม้จะดำรงอยู่ได้เพียงชั่วขณะหนึ่งก็ชื่อว่าสำเร็จอรูปฌานนี้แล้ว พึงฝึกหัดให้เชี่ยวชาญชำนาญยิ่งขึ้นไป.
อรูปฌานนี้ เป็นฌานประณีตโดยอารมณ์ เรียกชื่อเช่นนี้ตามอารมณ์ที่เป็นอรูปเท่านั้นเข้าใจกันโดยมากว่า ผู้จะเจริญอรูปฌานนี้ได้จะต้องเจริญรูปฌานสำเร็จมาก่อน ความจริงอรูปกรรมฐานนี้ เป็นอารมณ์ของสมถะชนิดหนึ่ง แต่เป็นอารมณ์ละเอียดประณีตกว่ารูปกรรมฐานเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จะจับตั้งต้นเจริญอรูปกรรมฐานทีเดียวก็ย่อมจะได้ เป็นแต่ทำได้ยากสักหน่อย ไม่เหมือนผู้เคยผ่านรูปกรรมฐานมาก่อน.
ความแปลกกันแห่งอากาสกสิณ กับอากาสฌาน นี้อยู่ที่อากาสกสิณ เพ่งวงกลมอากาศ พุ่งออกไปข้างนอก ส่วนอากาสฌานเพ่งอากาศโดยไม่กำหนดข้างหน้าข้างหลัง วางจิตเป็นกลาง ใส่ใจแต่อากาศอย่างเดียว เมื่อจิตสงบก็จะเห็นมีแต่อากาศเวิ้งว้าง ไม่มีขอบเขตจำกัด ไม่มีอะไรซึ่งเป็นรูปธรรมปรากฏในความรู้สึกในขณะนั้น ปรากฏประหนึ่งว่า ตนคนเดียวอยู่โดดเดี่ยวในนภากาศฉะนั้น อรูปฌานนี้จะไว้กล่าวพิสดารในบทข้างหน้า.
สมถกรรมฐาน ๔๐ ประการนี้ แยกออกเป็น ๒ ประเภท คือ รูปกรรมฐาน และอรูปกรรมฐาน ฌานที่สำเร็จขึ้นโดยอาศัยรูปกรรมฐานเป็นอารมณ์ เรียกว่ารูปฌาน ฌานที่สำเร็จขึ้นโดยอาศัยอรูปกรรมฐานเป็นอารมณ์เรียกว่า อรูปฌาน.
และท่านแบ่งออกโดยกิจเป็น ๒ ประเภทเหมือนกัน คือ กรรมฐานที่เป็นอารมณ์ชนิดใช้ความคิดคำนึงใคร่ครวญเหตุผลเข้าประกอบเพื่ออบรมจิตให้สงบนั้นประเภทหนึ่ง ผู้บำเพ็ญสมถ-กรรมฐานประเภทนี้เรียกว่า “วิปัสสนายานิก” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญภาวนาที่อาศัยความเห็นเหตุผลหรือความจริงในกรรมฐานข้อนั้นชัดใจ เป็นพาหนะนำจิตไปสู่ความสงบ อีกประเภทหนึ่ง คือ กรรมฐานที่เป็นอารมณ์สงบ-ประณีตโดยธรรมชาติ ไม่ต้องใช้ความคิดคำนึงใคร่ครวญเหตุผลเข้าประกอบ เพียงแต่กำหนดนิ่ง สำเหนียกอยู่แต่ในอารมณ์เดียวนั้นเรื่อยไปจนจิตสงบลง ผู้บำเพ็ญสมถกรรมฐานประเภทนี้ เรียกว่า “สมถยานิก” ซึ่งมีความหมายว่า ผู้บำเพ็ญภาวนาที่อาศัยความสงบเป็นยานพาหนะนำจิตไปสู่ความสงบ ท่านจะเลือกบำเพ็ญประเภทไหนก็แล้วแต่จริตอัธยาศัยของท่านจะเหมาะกับกรรมฐานประเภทไหนเป็นประมาณ จะถือเอาความยากง่ายเป็นประมาณหาได้ไม่ ฉะนั้น ก่อนแต่ท่านจะเลือกกรรมฐานบทใดมาเป็นบทบริกรรม คือ ข้ออบรมจิตนั้น ควรตรวจจริตอัธยาศัยของตนให้รู้แน่ชัดเสียก่อน ดังต่อไปนี้.
จริต ๖
พระบรมศาสดาทรงจำแนกจริต คือ กิเลส และคุณธรรมที่ท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจของบุคคลฝ่ายละ ๓ รวมเป็น ๖ ประการ คือ
๑. ราคจริต คนกำหนัดกล้า มีราคะ คือความกำหนัดในกามคุณท่องเที่ยวอยู่ในจิตมากจนเป็นเจ้าเรือน คือ ครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้กำหนัดในกามคุณมาก ติดพันในกามคุณจนถึงลุ่มหลงมัวเมา ราคะเป็นประดุจหนามยอกใจ การแก้ราคะก็ต้องใช้วิราคะ คือ หนามวิเศษเหมือนหนามยอกก็เอาหนามบ่งฉะนั้น ราคะตั้งลงที่กามคุณ คือ รูปสวยงามน่ารักน่าชื่นใจ, เสียงไพเราะ, กลิ่นหอม, รสอร่อย, สัมผัสนุ่มละเอียดอ่อน ราคะทำให้มองไม่เห็นตำหนิที่น่าเบื่อหน่ายของกามคุณ ซึ่งมีอยู่โดยธรรมดาแล้ว วิธีแก้จึงต้องพลิกเหลี่ยมขึ้นมองดูความน่าเบื่อหน่ายน่าเกลียดอันมีอยู่ในกามคุณนั้น ฉะนั้นกรรมฐานเนื่องด้วย อสุภะ-ปฏิกูล จึงเป็นสัปปายะ คือเหมาะแก่คนราคจริต เป็นไปเพื่อความเจริญ แม้ปัจจัยเลี้ยงชีพก็ต้องเป็นสิ่งปอนๆ-เศร้าหมอง-หยาบ จึงจะเป็นไปเพื่อถอนราคะออกจากใจได้.
๒. โทสจริต คนใจร้าย มีโทสะ คือความดุร้ายท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจมากจนเป็นเจ้าเรือนคือ ครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้ดุร้าย กริ้วโกรธ แม้ในเหตุเล็กๆ น้อยๆ อันไม่สมควรโกรธก็โกรธ ประดุจผียักษ์สิงใจฉะนั้น ธรรมดาผีย่อมกลัวเทวดาฉันใด อธรรมคือโทสะก็ย่อมพ่ายแพ้แก่ธรรมฉันนั้น ธรรมอันจัดเป็นเครื่องแก้โทสะนั้น ต้องเป็นธรรมฝ่ายเย็น สุภาพ อ่อนโยน จึงมีลักษณะตรงกันข้ามกับโทสะ เมื่อโทสะซึ่งเปรียบเหมือนผียักษ์สิงใจอยู่ จึงควรเชิญธรรมซึ้งเปรียบเหมือนเทวดามาสิงใจแทนที่เสีย เพราะธรรมดายักษ์ย่อมกลัวเทวดาฉันใด ธรรมจะกำจัดอธรรมออกไปฉันนั้น ฉะนั้น กรรมฐานอันเนื่องด้วยคุณธรรมฝ่ายสูง เช่น เมตตา กรุณา ฯลฯ พุทธคุณธรรมคุณ สังฆคุณ ฯลฯ จึงเป็นสัปปายะ คือ เหมาะแก่คนมีโทสจริต เป็นไปเพื่อความเจริญ แม้ปัจจัยเลี้ยงชีพก็ต้องเป็นสิ่งสวยงาม-ประณีต-สุขุม จึงจะเป็นไปเพื่อถอนโทสะออกจากจิตใจ.
๓. โมหจริต คนหลง มีโมหะ คือความหลงท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่ในจิตใจมาก ดลใจให้มืดมัว อั้นตู้ ไม่รู้จักผิดชอบชั่วดี แม้มีวัยผ่านมานานควรเป็นวิญญูชนได้แล้ว ก็ยังคงมีลักษณะนิสัยเหมือนเด็กๆ อยู่ และดลใจให้มองเห็นในแง่ที่ตรงกันข้ามกับเหตุผลและความจริงเสมอ ประดุจกลีสิงใจฉะนั้น กลี คือผีชนิดหนึ่ง มีลักษณะมืดดำ ทำให้เป็นคนหลง คลั่งเพ้อไปต่างๆ ปราศจากความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในเมื่อมันเข้าสิงใจ โมหะท่านเปรียบเหมือนกลีนั้น ผีกลีกลัวแสงสว่าง ฉะนั้นการแก้โมหะจึงต้องอาศัยธรรมะ ซึ่งมีลักษณะสว่าง-กระจ่างแจ้งเป็นปัจจัย เช่น การอยู่ใกล้ได้ปรึกษาไต่ถามท่านผู้พหูสูตเนืองๆ ข้อธรรมที่มีเหตุผลกระจ่างในตัว ไม่มีแง่ชวนให้สงสัย กรรมฐานที่เหมาะแก่คนจำพวกนี้ ต้องเป็นกรรมฐานที่เนื่องด้วยกสิณและอรูป ซึ่งเป็นอุบายเปิดใจให้สว่าง แม้ปัจจัยเลี้ยงชีพก็ต้องเป็นสิ่งโปร่งบาง-เปิดเผย-สะดวก ที่อยู่ถ้าเป็นที่โปร่งๆ หรือกลางแจ้งเป็นเหมาะที่สุด.
๔. สัทธาจริต คนเจ้าศรัทธา มีศรัทธาความเชื่อท่องเที่ยวอยู่ในจิตมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้เชื่อสิ่งต่างๆ ง่ายจนเกือบจะกลายเป็นงมงายไป ความจริงศรัทธาเป็นคุณธรรม เมื่อมีอยู่ในใจย่อมหนุนให้ทำความดีได้ง่ายเหมือนมีทุนสำรองอยู่แล้ว ย่อมสะดวกแก่การค้าหากำไรฉะนั้น คนเจ้าศรัทธาเป็นคนใจบุญสุนทาน ชอบดี รักงาม ทำอะไรก็ประณีตบรรจง เป็นคนใจละเอียดอ่อน บำเพ็ญกรรมฐานได้แทบทุกอย่าง แต่ที่เหมาะที่สุด คืออนุสสติ และกรรมฐานที่เกี่ยวกับการคิดค้นหาเหตุผล เช่น จตุธาตุววัตถาน ฯลฯ.
๕. พุทธิจริต คนเจ้าปัญญา มีพุทธิคือความรู้ท่องเที่ยวอยู่ในจิตมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่อยู่ในจิตใจ ดลใจให้รู้อะไรๆ ได้ง่ายๆ จนเกือบจะกลายเป็นคนสู่รู้ไป ความจริง พุทธิ เป็นคุณธรรมนำให้รู้เหตุผล และความจริงได้ง่าย คนจำพวกนี้ชอบทำอะไรๆ ด้วยความรู้และก็มักผิดพลาดเพราะความรู้เหมือนกัน ฉะนั้น กรรมฐานอันเป็นที่สัปปายะแก่คนจำพวกนี้ต้องเป็นกรรมฐานที่ประคับประคองจิตใจไปในเหตุผลที่ถูกต้อง ทำให้ปัญญามีหลักฐานมั่นคง เช่นอุปสมานุสสติ เป็นต้น.
๖. วิตักกจริต คนเจ้าความคิด มีวิตักกะคือความคิดท่องเที่ยวอยู่ในจิตใจมากจนเป็นเจ้าเรือน คือครองความเป็นใหญ่ในจิตใจ ดลใจให้คิดให้อ่านอยู่เรื่อย จนกลายเป็นฟุ้งซ่านหรือเลื่อนลอยไป ความจริงวิตักกะเป็นคุณธรรม เมื่อมีอยู่ในใจย่อมหนุนให้เป็นคนช่างคิดช่างนึกในเหตุผลและความจริงจากแง่ต่างๆ เป็นทางเรืองปัญญา แต่ถ้ามากเกินไปจะตกไปข้างฝ่ายโมหะ กลายเป็นหลงทิศทางไปได้ ที่เขาเรียกว่า “ความคิดตกเหว” ไม่รู้จักแก้ไขตนออกจากความผิด ได้แต่คิดเพ้อไปท่าเดียว กรรมฐานที่เหมาะแก่คนจำพวกนี้ต้องเป็นกรรมฐานที่ไม่ต้องใช้ความคิด เช่น กสิณ-อรูป และที่เหมาะที่สุดคือ อานาปานสติ.
จริต ๑ – ๓ เป็นอกุศลเจตสิก ๔ – ๖ เป็นอัญญสมานาเจตสิก ใกล้ไปข้างฝ่ายกุศล คนมีจริต ๑ – ๓ เป็นเจ้าเรือนจึงมักทำความชั่วให้ปรากฏ ส่วนคนมีจริต ๔ – ๖ เป็นเจ้าเรือนจึงมักทำความดีให้ปรากฏ.
อัธยาศัย ๖
๑. โลภัชฌาสยะ คนมีความโลภเป็นเจ้าเรือน เป็นคนมักได้-ตระหนี่-หวงแหน.
๒. โทสัชฌาสยะ คนมีโทสะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนดุร้าย โกรธง่าย ใจร้อนเหมือนไฟ.
๓. โมหัชฌาสยะ คนมีโมหะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนหลงง่ายลืมง่าย ใจมืดมัว ซบเซา มึนซึม.
๔. อโลภัชฌาสยะ คนมีอโลภะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนใจบุญสุนทาน เอื้ออารี มีใจพร้อมที่จะสละเสมอ.
๕. อโทสัชฌาสยะ คนมีอโทสะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนใจดี-เยือกเย็น มีใจพร้อมที่จะให้อภัยเสมอ.
๖. อโมหัชฌาสยะ คนมีอโมหะเป็นเจ้าเรือน เป็นคนใจผ่องแผ้ว-เปิดเผย มีใจปราศจากมายาสาไถย พร้อมที่จะรับผิดอย่างหน้าชื่นใจบาน ในเมื่อทำความผิด.
คนมีอัธยาศัยฝ่ายอกุศล คือ ๑ – ๓ นั้น เป็นคนหยาบ มักทำความชั่วหยาบทางกาย วาจาใจ ให้ปรากฏ คนมีอัธยาศัยฝ่ายกุศล คือ ๔ – ๖ นั้น เป็นคนละเอียด ประณีต มีกิเลสน้อยเบาบางในขันธสันดาน มักไม่ทำความชั่วหยาบทางกาย วาจา ใจ ให้ปรากฏ มีแต่ทำคุณงามความดีให้ปรากฏทางกาย วาจา ใจ เสมอ คนจำพวกนี้ง่ายแก่การอบรมศีลธรรมในขั้นสูง ถ้าไม่ประมาทและได้กัลยาณมิตรแล้ว อาจปฏิบัติบรรลุมรรคผลนิพพานในชาติปัจจุบันได้ง่าย.
เมื่อรวมจริตและอัธยาศัยเข้ากันแล้ว พิเคราะห์ดูก็จะได้บุคคล ๓ จำพวก คือ
(๑.) พวกจริตอัธยาศัยหยาบ อินทรีย์อ่อน แนะนำในกุศลสัมมาปฏิบัติยาก.
(๒.) พวกจริตอัธยาศัยปานกลาง อินทรีย์ปานกลาง อาจแนะนำในกุศลสัมมาปฏิบัติได้.
(๓.) พวกจริตอัธยาศัยประณีต อินทรีย์กล้า แนะนำในกุศลสัมมาปฏิบัติง่าย.
ปธานิยังคะ ๕
เมื่อได้พิเคราะห์ดูจริตอัธยาศัยแล้ว พึงพิเคราะห์ดูอัตภาพว่าสมบูรณ์พร้อม เกิดมาจากกุศลสมบัติหรือไม่? เพราะถ้าอัตภาพไม่สมบูรณ์พร้อม ธาตุไม่แข็งแรงเนื่องจากอกุศลสมบัติเป็นปัจจัยขืนไปทำความพากเพียรอย่างขะมักเขม้นเข้าเกิดเจ็บป่วยร้ายแรงถึงธาตุพิการ สติวิปลาสขึ้น ก็จะลงโทษข้อปฏิบัติว่าพาให้เป็นเช่นนั้น เรื่องนี้ได้เกิดเป็นข้อหวาดหวั่นแก่สาธุชนอยู่มาก เลยกลายเป็นเครื่องมือขู่อย่างดีของมารไป ความจริงข้อสัมมาปฏิบัติมีแต่ให้คุณ ไม่ให้โทษเลย ผู้ปฏิบัติตามข้อสัมมาปฏิบัติแล้วเกิดเจ็บป่วยขึ้นนั้น มิใช่เป็นเพราะข้อปฏิบัติ เป็นเพราะเหตุอื่นต่างหาก เมื่อได้สอบสวนดูตัวเองแล้ว เห็นว่าสมบูรณ์พร้อม พอที่จะปฏิบัติพากเพียรได้แล้ว ก็ไม่ควรจะหวาดหวั่นว่าจะเป็นบ้าเป็นหลังไป นอกจากพิเคราะห์อัตภาพแล้ว พึงพิเคราะห์องคคุณอันเป็นประธานและเป็นกำลังหนุนในการปฏิบัติอีกด้วย.
หลักที่ควรพิจารณานั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางไว้แล้ว ดังต่อไปนี้
ภิกษุทั้งหลาย องคคุณอันเป็นที่ตั้งแห่งความเพียร มี ๕ ประการ คือ
๑. สทฺโธ โหติ สทฺทหติ ตถาคตสฺส โพธึ เป็นผู้มีศรัทธาเชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของตถาคต =เชื่อความรู้ของครู.
๒. อปฺปาพาโธ โหติ อปฺปาตงฺโก สมเวปากินิยา คหณิยา สมนฺนาคโต เป็นผู้มีอาพาธน้อยมีความเดือดร้อนน้อย ประกอบด้วยธาตุในร่างกายอันสำเร็จมาแต่วิบากแห่งกรรมสม่ำเสมอ ไม่เย็นเกินไป ไม่ร้อนเกินไป พอปานกลาง ทนทานต่อการพากเพียร.
๓. อสโฐ โหติ อมายาวี เป็นคนไม่โอ้อวด ไม่มีมายา เป็นผู้เปิดเผยตนตามเป็นจริงในพระศาสดา หรือในสพรหมจารีผู้วิญญูชน.
๔. อารทฺธวิริโย วิหรติ เป็นผู้พากเพียรละอกุศล เจริญกุศล ขยันขันแข็ง บากบั่นมั่นคง ไม่วางธุระในกุศลธรรม.
๕. ปญฺญวา โหติ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาอันประเสริฐ ที่ให้เกิดความเบื่อหน่าย เห็นความเกิด-ความตาย และให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์โดยชอบ.๑
เมื่อได้พิเคราะห์ตามหลักนี้แล้ว เห็นว่าตนเป็นผู้พรั่งพร้อมเพื่อปฏิบัติพากเพียรแล้ว พึงเลือกกรรมฐานอันเหมาะแก่จริตอัธยาศัย แล้วแสวงหาที่ประกอบความพากเพียรต่อไป.
สัปปายะ ๔
สถานที่ที่เหมาะแก่การพากเพียรนั้น สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงไว้หลายปริยาย เมื่อประมวลแล้ว ต้องเป็นที่ซึ่งประกอบด้วยสัปปายะ ๔ ประการ คือ
๑. อาวาสสัปปายะ ที่อยู่เหมาะสม คือที่ซึ่งตนมีอิสระที่จะอยู่ได้สบาย กลางวันปราศจากคนพลุกพล่าน กลางคืนเงียบสงัด ปราศจากกลิ่นไอของมนุษย์ เป็นที่ที่อมนุษย์ไม่หวงแหน หรือยินดีให้อยู่ด้วยกันได้โดยปลอดภัย สัตว์ร้ายเช่นยุงไม่ชุม พอทนได้ น้ำใช้น้ำกินมีอยู่ใกล้ หาได้ง่ายโคจรคามไม่ใกล้เกินไป และไม่ไกลเกินไป มีทางไปมาสะดวก มีพระเถระพหูสูตซึ่งอาจแก้ความสงสัยให้ได้ อยู่ใกล้หรือยู่ด้วยกันในที่นั้น สะดวกแก่การไต่ถามข้อสงสัยข้องใจ อากาศปลอดโปร่งถูกกับธาตุ ทั้งอำนวยผลทางใจคือโล่งใจ สงบใจได้ง่าย ได้อุบายปัญญาบ่อยๆ ชวนให้ทำความเพียรและกิเลสไม่ฟุ้ง.
๑. มาใน พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เล่ม ๒๒ หน้า ๗๔.
๒. บุคคลสัปปายะ บุคคลเหมาะสม คือผู้อยู่ร่วมกันก็ดี ผู้ไปมาหาสู่ชั่วครั้งคราวก็ดี เป็นที่ถูกอัธยาศัยกัน สามารถเกื้อกูลกันในทางสัมมาปฏิบัติได้ อย่างต่ำๆ ก็ต้องไม่เป็นภัยแก่กัน ทั้งผู้ปกครองเขตแดนที่ตนอยู่นั้นเป็นผู้มีอัชฌาสัย อำนวยความสะดวกให้ตามสมควร ไม่เบียดเบียนข่มเหง หรือกล่าวเสียดสีให้เกิดความขุ่นหมองใจ.
๓. อาหารสัปปายะ อาหารเหมาะสม คืออาหารที่ถูกธาตุ กินแล้วไม่ทำให้กิเลสฟุ้ง ไม่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย มึนเมื่อย ง่วงซึม ทำให้ร่างกายมีกำลังแข็งแรง ทนทานต่อการพากเพียร ทำให้จิตใจแจ่ม ไม่ท้อแท้อ่อนแอ ชวนให้ทำความเพียร.
๔. ธัมมสัปปายะ ข้อปฏิบัติเหมาะแก่จริต คือกรรมฐานที่เลือกมาเป็นข้อปฏิบัติเหมาะแก่จริต ข่มปราบกิเลสอันเป็นเจ้าเรือนลงได้ ได้ฟังธรรม ฟังวินัยสะดวก และข้อธรรมข้อวินัยที่ได้ฟังก็ดี อุบายปัญญาที่ปรากฏแก่ใจตนเองก็ดี สามารถข่มปราบกิเลสได้ดี.
สัปปายะ ๔ ประการนี้ ผู้เป็นบรรพชิตสามารถหาให้ครบบริบูรณ์ได้ เพราะมีชีวิตอิสระ ไม่มีธุระกังวล ในการอาชีพผูกพันตนอยู่เหมือนผู้เป็นคฤหัสถ์ แต่ในปัจจุบัน ชีวิตของบรรพชิตก็ใกล้เข้าไปทางฆราวาสมากแล้ว โดยที่ต้องอยู่รวมเป็นหมู่ในอารามภายในละแวกบ้าน ทั้งยังมีภาระกังวลในการบริหารหมู่อีกด้วย ส่วนผู้ไม่มีหน้าที่ในทางบริหารหมู่โดยตรงก็รับภารธุระของครูบาอาจารย์ ของเจ้าอาวาสบางประการ เป็นภาระผูกพันตน เกือบจะเป็นคนหมดอิสรภาพอยู่แล้วเคราะห์ดีอยู่หน่อยที่อารามส่วนมากมีผู้ศรัทธาปลูกสร้างให้พอเพียงที่จะอยู่อย่างไม่คลุกคลีนัก คือสามารถจะอยู่ได้คนละห้อง หรือคนละหลังได้อย่างสบาย พอหายใจสะดวกอยู่บ้าง เวลากลางคืนก็เงียบพอสมควร ถ้าเป็นผู้ไม่ประมาทก็พออาจหาเวลาทำความเพียรได้อยู่ ส่วนคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเป็นผู้มีชีวิตคลุกคลี มีภาระผูกพันในการอาชีพ ยากที่จะหาสัปปายะให้บริบูรณ์ แต่ก็มิใช่จะไร้โอกาสเสียทีเดียว เวลาว่างงานและเวลาสงบเงียบก็ยังมี พอจะปลีกตนปฏิบัติกิจอันประเสริฐนี้ได้มหาบุรุษคือคนน้ำใจใหญ่ อดทน มีเพียร มีปัญญา อัธยาศัยประณีต มีกุศลมูลแต่งสร้างสังขาร จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม แม้จะอยู่ในที่เช่นไร ในหมู่ชนหมู่ไหน ได้อาหารถูกธาตุหรือไม่ก็ตาม ก็ย่อมมีอุบาย-ปัญญา ปฏิบัติเอาตนพ้นทุกข์ได้ เป็นแต่ยากลำบากและเนิ่นช้าหน่อย ฉะนั้นเมื่อไม่ได้สัปปายะบริบูรณ์ ก็ไม่ควรท้อถอย พึงอธิษฐานใจให้รู้สึกประหนึ่งว่า ตนคนเดียวอยู่ในโลกแล้วทำความพากเพียรพยายามเถิด.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-05.htm