ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 18, 2016, 01:28:15 am »๑๐. ทูเรภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้ที่ใกล้เป็นที่ไกล หรือให้สิ่งที่อยู่ใกล้ไปปรากฏอยู่ไกลดั่งในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทรมานพระองคุลีมาลเถระเป็นตัวอย่าง ดังได้เล่าไว้ในบทนำนั้นแล้ว พระองค์ทรงพระดำเนินโดยปกติ แต่พระองคุลีมาลเถระเมื่อยังเป็นโจร วิ่งตามจนสุดฝีเท้าก็ไม่ทัน ปรากฏเห็นพระองค์เสด็จอยู่ในที่ไกลเสมอ จนถึงร้องตะโกนให้ทรงหยุด อีกครั้งหนึ่งกำลังแสดงธรรมแก่นางวิสาขามหาอุบาสิกา และหญิงสหาย ๔ – ๕ คน หญิงเหล่านั้นซ่อนสุราไปดื่มในเวลาฟังเทศน์ เมื่อเมาเข้าแล้วทำท่าจะฟ้อนรำตามวิสัยของคนเมา พระบรมศาสดาทรงสังเกตเห็นจึงทรงทรมานด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ทูเรภาพ ทำให้หญิงเหล่านั้นไปปรากฏอยู่ในที่ไกลสุดสายตา จนเกิดความกลัวตัวสั่นงันงก และสร่างเมา จึงทรงทำให้มาปรากฏในที่ใกล้ตามเดิม หญิงเหล่านั้นทูลขอขมาคารวะ และรับพระไตรสรณคมน์ ตั้งอยู่ในศีล ๕ – ๘ ตลอดชีวิต.
ปาฏิหาริย์นี้ ก็ใช้มโนภาพเป็นเครื่องนำเช่นเดียวกับสันติเกภาพ คือนึกเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้หรือสถานที่ใกล้ให้แจ่มชัดในใจ และนึกเห็นเป็นอยู่ไกล แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงอยู่ไกล ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐานทันที.
๑๑. โถกภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้ของมากปรากฏเป็นของน้อยเพียงนิดหน่อย๑ ข้อนี้ไม่เคยพบตัวอย่าง คงเป็นเพราะไม่มีเหตุจำเป็นให้ทำก็ได้ ปาฏิหาริย์นี้ ใช้มโนภาพนึกเห็นสิ่งของมากมายเป็นเพียงนิดหน่อยให้แจ่มชัดในใจ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นนิดหน่อย ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน หรือจะใช้ปาฏิหาริย์กำบังให้เห็นแต่เล็กน้อยก็ได้เหมือนกัน.
๑๒. พหุกภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้ของน้อยปรากฏเป็นของมาก มีตัวอย่างหลายหลากเช่น ในครั้งหนึ่งพระบรมศาสดาตรัสสั่งพระมหาโมคคัลลานเถระให้ไปทรมานเศรษฐีตระหนี่ ในกรุงสาวัตถีคนหนึ่งไม่ปรากฏนาม เศรษฐีกับภรรยากำลังทอดขนมเบื้องอยู่ชั้นบนของปราสาท โดยเกรงจะมีผู้ขอกิน พระมหาโมคคัลลานเถระทำปาฏิหาริย์เหาะไปปรากฏตัวอยู่ในอากาศตรงช่องหน้าต่าง เศรษฐีเห็นแล้วก็ไม่พอใจ จึงกล่าวคำประชดพระเถระ พระเถระก็เฉย ในที่สุดเศรษฐีรำคาญใจหนักขึ้น จึงตกลงใจแบ่งให้ครึ่งหนึ่ง ๒ คนสามีภรรยาช่วยกันดึงจนเหงื่อไหลไคลย้อย ก็ไม่สามารถแบ่งขนมนั้นได้ ทั้งนี้เป็นด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ของพระเถระ เศรษฐีจึงตกลงใจถวายหมดครั้นแล้วพระเถระไม่รับ บอกว่าพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ รูป กำลังนั่งรอฉันอยู่ที่วัดพระเชตวัน ขอให้เศรษฐีกับภรรยานำไปอังคาสด้วยตนเอง เศรษฐีอิดเอื้อนอยู่หน่อยหนึ่งแต่แล้วก็ตกลงยอมไป พระเถระพาไปทางอากาศ ไปอังคาสพระบรมศาสดาและพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ รูป ด้วยขนมเบื้องเพียงแผ่นเดียว จนอิ่มหนำสำราญหมดทุกรูป ครั้นแล้วก็ยังปรากฏอยู่เท่าเดิม เศรษฐีจึงกราบทูลว่า จะให้ทำอย่างไรอีก ตรัสให้นำไปเททิ้งที่เงื้อมใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันสถานที่นั้นเลยต้องเรียกว่า เงื้อมขนมเบื้องสืบมา เศรษฐีกับภรรยาเห็นความอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา บังเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้บริจาคทรัพย์บำรุงพระพุทธศาสนามากมาย เรื่องสำหรับปาฏิหาริย์ข้อนี้มีมาก ถ้าจะนำมาเล่าก็จะยืดยาว.
ปาฏิหาริย์นี้ ใช้มโนภาพเป็นเครื่องนำทำใจให้สงบเป็นฌาน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงมาก ดังนี้ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน.
๑. ทรงอธิษฐานบาตรที่ท้าวจตุโลกบาลนำมาถวาย ๔ ใบให้เป็นใบเดียว.
๑๓. กายวสิกภาพ ได้แก่การโน้มจิตและการอธิษฐานจิตให้เป็นเหมือนกาย แล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา ทำให้กายเบา แล้วไปปรากฏกายในพรหมโลกได้ ถ้าต้องการสำเร็จอิริยาบถ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็ทำได้ ถ้าต้องการจะเห็นพรหมด้วยทิพพจักษุก็ได้ ฟังเสียงพรหมด้วยทิพพโสตก็ได้ รู้ใจพรหมด้วยเจโตปริยญาณก็ได้ ต้องการสนทนาปราศรัยกับพรหมก็ได้ต้องการแสดงธรรมถามปัญหาแก้ปัญหา หรือต้องการทำอย่างใดๆ ก็ทำได้ทุกประการ ณ พรหมโลกนั้น เรื่องนี้พระบรมศาสดาทรงทำ มีเรื่องเล่าไว้ในพรหมนิมันตนิกสูตร ทรงเล่าว่า
เมื่อคราวเสด็จประทับที่ภควัน แคว้นอุกกัฏฐะ ทรงทราบความคิดผิดๆ ของท้าวพกาพรหม จึงเสด็จไปพรหมโลกชั่วพริบตาเดียวก็ถึง แล้วได้สนทนากับพรหมถึงเรื่องที่คิดเห็นนั้นว่าเป็นความเห็นที่ผิดทันทีก็มีมารชั่วช้ามาขู่พระองค์ด้วยประการต่างๆ เป็นต้นว่า ผู้ไม่เคารพนับถือพระพรหม ตายแล้วจะไปสู่กำเนิดกายที่เลว พระบรมศาสดาตรัสตอบด้วยพระวาจาที่ส่อว่าทรงรู้เท่าทัน และตรัสว่าพระองค์เป็นผู้ยิ่งกว่าพรหม แล้วเกิดท้ากันขึ้นว่า พรหมจะหายไปให้พระองค์ตามหา พรหมก็หายไปไม่ได้ พระองค์จึงตรัสท้าว่าจะหายไปให้พรหมตามหาบ้าง พรหมตามหาไม่พบ ทั้งๆ ที่ทรงแสดงธรรมให้ได้ยินก้องอยู่ พรหม พรหมปุโรหิต และพรหมปาริสัช เกิดอัศจรรย์ยอมยกให้ว่ายิ่งกว่าพรหมจริงๆ ทีนั้นมีมารชั่วร้ายแทรกเข้ามาขู่สำทับอีก ห้ามว่า เมื่อรู้เองดีแล้วก็อย่าสอนผู้อี่น เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่ตรัสรู้มาก่อนแล้ว ผู้สั่งสอนผู้อื่นตายแล้วไปดำรงอยู่ในกายเลว ผู้ไม่สั่งสอนผู้อื่นตายแล้วไปดำรงอยู่ในกายประณีต เราเตือนท่านเพราะหวังดี อย่าสอนผู้อื่น ดังนี้พระบรมศาสดาทรงทราบว่าเป็นคำของมารชั่วร้ายแล้วตรัสห้ามคำนั้น ทรงยืนยันว่าทรงทราบธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายดีแล้ว จำต้องสอนผู้อื่น จึงจะสมกับความเป็นพระพุทธเจ้า
ทรงนำเรื่องนี้มาเล่าที่วัดพระเชตะวัน กรุงสาวัตถี และตรัสสั่งให้เรียกว่าพรหมนิมันตนิกสูตร เพราะเป็นความเชื้อเชิญของพรหม มิใช่ของมารดังนี้ พระโบราณาจารย์นำเรื่องนี้มาประพันธ์เป็นคำฉันท์ถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งพระสงฆ์ใช้สวดพรพระอยู่ในทุกวันนี้๑ ท่านย่อใจความว่า คราวทรมานพกาพรหมนั้นทรงใช้พระคฑาวิเศษ คือพระปรีชาญาณ ทรงทรมานพกาพรหมพร้อมทั้งบริษัทให้ละความเห็นผิดได้ นับเป็นชัยชนะที่เลื่องลือโด่งดังครั้งหนึ่ง.
การไปพรหมโลกอย่างปรากฏกาย เป็นปาฏิหาริย์ที่ทำได้ยาก ต้องมีเจโตวสี คือมีอำนาจทางใจแรงกล้า สามารถน้อมนึกให้กายกับจิตมีสภาวะเท่ากัน ทั้งในทางความเบาและความเร็วพร้อมกับการอธิษฐานให้เป็นดังนั้นด้วย ครั้นแล้วต้องเข้าฌานชั้นที่มีทั้งสุขสัญญาและลหุสัญญาคือ ตติยฌาน จึงจะไปพรหมโลกได้ดั่งประสงค์ ถ้าจะเข้าจตุตถฌานซึ่งมีแต่ลหุสัญญาก็จะเลยไปจะไม่พบหมู่พรหมสมหมาย พึงสังเกตว่าภูมิของฌานซึ่งกำหนดไว้เป็นภูมิของฤทธิ์นั้น เพื่อให้เลือกเข้าฌานที่มีภูมิเสมอกันกับโลกที่มุ่งจะไป และฤทธิ์ที่มุ่งจะทำ ไม่ให้เข้าฌานเลยภูมิไป เช่น จะไปเทวโลกซึ่งบริบูรณ์ไปด้วยความสุขแช่มชื่น ต้องเข้าปีติสุขภูมิ คือ ทุติยฌาน จึงจะเห็นเทวโลก.
การทำให้กายกับจิตมีสภาวะเท่ากันนี้ อาจจะตรงกับที่ทางโยคี (คือ ท่านปตัญชลี) กำหนดจิตโดยวิสัยของกาย และอธิษฐานให้กายเบา สามารถเหาะลอยไปในอากาศช้าๆ คล้ายไปด้วยกายธรรมดาดั่งนี้.
๑๔. จิตตวสิกภาพ ได้แก่การน้อมกาย และอธิษฐานกายให้เป็นเหมือนจิต แล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วไปพรหมโลกโดยไม่ปรากฏกาย ครั้นแล้วจึงเนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจมีอินทรีย์บริบูรณ์ให้ไปปรากฏเบื้องหน้าพรหม แล้วทำกิจต่างๆ มีสนทนาเป็นต้น กับพรหม ดังในข้อ๑๓ ก็ทำได้ทุกประการ.
ปาฏิหาริย์นี้ตรงกันข้ามกับข้อ ๑๓ คือ ข้อนี้ให้น้อมกายและอธิษฐานให้เป็นเหมือนจิตธรรมชาติจิตนั้นเบาและรวดเร็วว่องไว เมื่อกายมีวิสัยเท่าจิตก็ย่อมเบา รวดเร็วและว่องไว ไม่เป็นวิสัยที่ใครๆ ผู้ไม่มีตาที่วิเศษจะพึงเห็นได้ ปาฏิหาริย์นี้อาจจะตรงกับที่ทางโยคี (คือท่านปตัญชลี) บัญญัติไว้ว่า ลหุภาพนั่นเอง เขาอธิบายว่า ทำให้กายเบาและรวดเร็วเท่าจิต สามารถไปมาได้ว่องไวและผ่านไปได้ในที่ทุกแห่งไม่ติดขัด เหมือนการไปมาของจิตฉะนั้น.
๑. มีผู้สงสัยว่าเหตุไรจึงเรียกว่าถวายพรพระ พรมี ๒ ประเภทคือ พรพระกับพรเทวดา บทพาหุํ เป็นต้น เป็นพรพระ.
วิธีปฏิบัติในข้อนี้ พึงเทียบเคียงกับที่กล่าวไว้ในข้อ ๑๓ นั้นทุกประการ.
๑๕. ธูมายิกภาพ หรือบังควัน ได้แก่การอธิษฐานให้บังเกิดเป็นควันกลุ้มคลุมตัวไว้ เพื่อปิดบังมิให้อีกฝ่ายมองเห็นตัว โดยมากใช้ทรมานพวกนาค ซึ่งเป็นพิษร้าย ปาฏิหาริย์นี้ใช้นีลกสิณก็ได้ ใช้มโนภาพนึกเอาควันไฟซึ่งเป็นไปตามธรรมชาตินั้นก็ได้ มาเป็นอารมณ์ ทำใจให้สงบเป็นฌานแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นควัน ก็จะเป็นได้ดั่งประสงค์.
๑๖. ปัชชลิกภาพ หรือเปลวเพลิง ได้แก่การอธิษฐานให้เกิดเปลวเพลิงลุกรุ่งโรจน์โชตนาการท่วมตัว เป็นปาฏิหาริย์ที่ใช้ทรมานนาคร้ายโดยมาก เช่นเดียวกับข้อ ๑๕ ธรรมดานาคกลัวไฟใช้ปาฏิหาริย์นี้ทรมานย่อมได้ผล ทำให้เขากลัวและยอมอ่อนน้อมได้ง่าย.
ปาฏิหาริย์ข้อ ๑๕ และข้อนี้มักใช้ติดๆ กันเสมอ ในการทรมานนาคร้ายใช้ข้อ ๑๕ ก่อนแล้วจึงใช้ข้อนี้ในภายหลัง พระบรมศาสดาได้ทรงทำคราวไปทรมานปุราณชฎิลดังกล่าวไว้ในบทนำแล้วครั้งหนึ่ง ทรงสั่งพระมหาโมคคัลลานเถระไปทรมานนันโทปนันทนาคราช โดยทรงแนะอุปเทศให้พระเถระไปทรมานด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ มีปาฏิหาริย์ ๒ ประการนี้ด้วย จึงทรมานสำเร็จอีกเรื่องหนึ่งทรงสั่งพระมหาโกฏฐิตเถระ ไปทรมานพญานาคที่ท่าปยาคะ ก็ใช้ปาฏิหาริย์ ๒ประการนี้ สามารถทรมานพญานาคสำเร็จ.
ปาฏิหาริย์นี้ต้องใช้เตโชกสิณ เป็นเครื่องนำทำใจให้สงบ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นเปลวเพลิง ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน ปาฏิหาริย์นี้แม้ในปัจจุบันก็มีผู้ทำได้ แต่ไม่อาจนำมาเล่าได้.
ส่วนวิกุพพนาฤทธิ์ ปรากฏแจ่มแจ้งในนิเทศ ดังได้ยกมากล่าวในตอนแจกประเภทแห่งฤทธิ์นั้นแล้ว ฤทธิ์ประเภทนี้ไม่มีขอบเขตจำกัด อาจดัดแปลงพลิกแพลงทำได้ต่างๆ ยิ่งกว่าที่ปรากฏในนิเทศนั้นก็ได้ เป็นฤทธิ์ที่ต้องใช้มโนภาพกับกำลังใจเป็นสำคัญ.
เมื่อพิจารณาถึงทางที่จะพึงเป็นได้แห่งฤทธิ์ ๔ ประเภทนี้แล้ว ได้เหตุสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. กำลังฌาน อันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์.
๒. กำลังกสิณหรือมโนภาพ ซึ่งมีอิทธิบาท ๔ เป็นกำลังหนุน.
๓. กำลังใจ ซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์ ๑๖ ประการ.
๔. กำลังอธิษฐาน ซึ่งมีบทของฤทธิ์ ๘ ประการเป็นกำลังอุดหนุน.
ฉะนั้น จะได้ขยายความแห่งกำลังอันสำคัญ ๔ ประการนี้ ให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง จะได้ถือเป็นหลักในการสร้างฤทธิ์ ๒ ประเภทนี้สืบไป.
๑. กำลังฌาน อันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์นั้น ท่านจำแนกไว้ ๔ ภูมิ คือ วิเวกชาภูมิ ภูมิแห่งความเงียบจากกามคุณ และอกุศลธรรม ซึ่งได้แก่ปฐมฌาน ๑ , ปีติสุขภูมิ ภูมิแห่งปีติสุข เกิดแต่สมาธิ ซึ่งได้แก่ทุติยฌาน ๑ , อุเบกขาสุขภูมิ ภูมิแห่งอุเบกขาสุข ซึ่งได้แก่ตติยฌาน ๑ , อทุกขมสุขภูมิ ภูมิแห่งจิตไม่ทุกข์ไม่สุข ซึ่งได้แก่จตุตถฌาน ๑ รวมความว่าภูมิแห่งฌานทั้ง ๔ ประการเป็นที่ตั้งแห่งฤทธิ์ได้ทั้งหมด แล้วแต่กรณี ฤทธิ์บางประการอาศัยภูมิแห่งจิตในฌานชั้นต่ำ แต่บางประการต้องอาศัยภูมิแห่งจิตในฌานชั้นสูง จึงจะมีกำลังเพียงพอที่จะทำได้ ฤทธิ์ชนิดใดควรใช้ฌานเพียงภูมิไหนต้องอาศัยการฝึกฝนทดลองแล้วสังเกตเอาเอง เรื่องของฌานได้กล่าวมามากแล้ว คงเป็นที่เข้าใจและคงเชื่ออำนาจของฌานบ้างแล้ว แม้แต่ความสำเร็จในฌานนั้นเอง ท่านก็จัดเป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่งอยู่แล้ว จึงไม่ต้องสงสัยว่าฌานจะไม่เป็นกำลังสำคัญในการทำฤทธิ์ประการหนึ่ง.
๒. กำลังกสิณ หรือมโนภาพ ซึ่งมีอิทธิบาท ๔ เป็นกำลังหนุนนั้น คือ กสิณ ๑๐ ประการดังกล่าวไว้ในบทที่ ๓ นั้น ต้องได้รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญ สามารถใช้เป็นกีฬาได้ดังกล่าวในบทที่ ๔ ส่วนมโนภาพนั้นหมายถึงภาพนึกหรือภาพทางใจ ซึ่งจำลองมาจากภาพของจริงอีกทีหนึ่งคล้ายดวงกสิณนั่นเอง เป็นแต่มโนภาพมิได้จำกัดวัตถุและสีสันวรรณะอย่างไร ภาพนึกหรือภาพทางใจนี้จะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมไว้ให้ช่ำชอง เป็นภาพแจ่มแจ้งเจนใจ สามารถนึกวาดขึ้นด้วยทันทีทันใด เช่นเดียวกับดวงกสิณ การฝึกหัดเพ่งกสิณและทำมโนภาพนี้ ต้องอาศัยกำลังอุดหนุนของอิทธิบาทภาวนาเป็นอย่างมากที่สุด อิทธิบาทภาวนานี้ได้อธิบายไว้แล้วในบทที่ ๔ เมื่อได้ฝึกเพ่งกสิณ และฝึกมโนภาพไว้ช่ำชองแล้ว เป็นที่มั่นใจได้ทีเดียวว่าจะทำฤทธิ์ได้ดั่งประสงค์.
๓. กำลังใจ ซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์ ท่านจำแนกไว้ ๑๖ ประการ คือ
(๑.) จิตมั่นคง ไม่แฟบฝ่อเพราะเกียจคร้าน
(๒.) จิตมั่นคง ไม่ฟูฟุ้งเพราะความฟุ้งซ่าน
(๓.) จิตมั่นคง ไม่ร่านเพราะความกำหนัด
(๔.) จิตมั่นคง ไม่พล่านเพราะพยาบาท
(๕.) จิตมั่นคง ไม่กรุ่นเพราะความเห็นผิด
(๖.) จิตมั่นคง ไม่ติดพันในกามคุณารมณ์
(๗.) จิตมั่นคง หลุดพ้นจากกามราคะ
(๘.) จิตมั่นคง พรากห่างจากกิเลสแล้ว
(๙.) จิตมั่นคง ไม่ถูกกิเลสคลุมครอบทับไว้
(๑๐.) จิตมั่นคง เป็นหนึ่งไม่ส่ายไปเพราะกิเลสต่างๆ
(๑๑.) จิตมั่นคง เพราะศรัทธาอบรม
(๑๒.) จิตมั่นคง เพราะความเพียรประคบประหงม
(๑๓.) จิตมั่นคง เพราะสติฟูมฟักไม่พลั้งเผลอ
(๑๔.) จิตมั่นคง เพราะสมาธิครอบครองไว้
(๑๕.) จิตมั่นคง เพราะปัญญาปกครองรักษา
(๑๖.) จิตมั่นคง เพราะถึงความสว่างไสวหายมืดมัว
จิตที่มั่นคงแข็งแรงดังกล่าวมานี้ นับว่าเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการทำฤทธิ์ ท่านจึงจัดเป็นต้นตอของฤทธิ์ ผู้ประสงค์สร้างฤทธิ์ต้องพยายามอบรมจิตใจด้วยคุณธรรมต่างๆ ดังกล่าวไว้ในบทที่ ๔ นั้นทุกประการ.
๔. กำลังอธิษฐาน ซึ่งมีบทของฤทธิ์ ๘ ประการเป็นกำลังหนุน คือว่า การบำเพ็ญอธิษฐานบารมีที่จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยกำลังหนุนของอิทธิบาท ๔ และสมาธิอันได้เพราะอาศัยอิทธิบาท ๔ ประการนั้น ประกอบกัน บุคคลผู้จะสามารถอธิษฐานให้เกิดฤทธิ์เดชต่างๆ ได้นั้น จะต้องบำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาอย่างมากมาย เป็นคนมีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ลงได้ตั้งใจทำอะไรหรือเปล่งวาจาปฏิญาณว่าจะทำอะไรอย่างไรไปแล้วถ้าไม่เป็นผลสำเร็จจะไม่ยอมหยุดยั้งเลย แม้จำต้องสละชีวิตก็ยอม ดั่งสมเด็จพระบรมศาสดาของเราเป็นตัวอย่าง ในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อพระโพธิญาณ เคยตั้งพระหฤทัยไว้ว่า ใครประสงค์ดวงพระเนตรก็จะควักให้ ใครประสงค์ดวงหฤทัยก็จะแหวะให้ ภายหลังมีผู้มาทูลขอดวงพระเนตรมิได้ทรงอิดเอื้อนเลย ได้ตรัสเรียกนายแพทย์ให้มาควักพระเนตรออกทำทานทันที แม้จะได้ทรงรับทุกขเวทนาสาหัสจากการนั้น ก็มิได้ปริปากบ่นแม้สักคำเดียว ครั้นมาในปัจฉิมชาติที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระศาสดาเอกในโลก ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระอธิษฐานบารมีมั่นคง ทรงบากบั่นมั่นคงก้าวหน้าไม่ถอยหลังตลอดมาจนถึงวาระจะได้ตรัสรู้ ก็ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธาน คือความเพียรใหญ่ยิ่งประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ทรงตั้งพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เนื้อเลือดจะเหือดแห้ง ยังเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เราจะไม่ยอมหยุดยั้งความเพียรเป็นอันขาด ดังนี้ อาศัยอำนาจน้ำพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวมั่นคงเป็นกำลัง ก็ได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสมประสงค์.
อธิษฐานบารมีที่จะดีเด่นได้ ต้องประกอบด้วยอธิษฐานธรรมซึ่งเป็นกำลังหนุน ๔ ประการคือ
๑. สัจจะ ความสัตย์ มีมั่นหมายไม่กลับกลอก
๒. ทมะ มีความสามารถบังคับจิตใจได้ดี
๓. จาคะ มีน้ำใจเสียสละอย่างแรงกล้า เมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วจะไม่รีรอเพื่อสิ่งนั้นเลย ยอมทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างกระทั่งชีวิตเข้าแลก และ
๔. ปัญญา มีความฉลาดเฉลียว รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์, ควร-ไม่ควร,เป็นได้-และเป็นไปไม่ได้.
แล้วดำรงในสัตย์อันเป็นประโยชน์ และเป็นธรรมบังคับจิตใจให้เป็นไปในอำนาจ ทุ่มเทกำลังพลังลงเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น.
อธิษฐานบารมีที่ได้อบรมฝึกฝน โดยทำนองดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นสิ่งมีพลานุภาพเกินที่จะคาดคิดถึงได้ว่ามีประมาณเพียงใด ผู้มีอธิษฐานบารมีได้อบรมแล้วอย่างนี้ เมื่อตั้งใจหรือมุ่งหมายที่จะให้เกิดอำนาจมหัศจรรย์อย่างไร ก็ย่อมจะสำเร็จได้ทุกประการ เมื่อใจศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้น แม้การกระทำและคำพูดแต่ละคำที่เปล่งออกมา ก็ย่อมศักดิ์สิทธิ์เป็นฤทธิ์เดชเช่นเดียวกัน ดังสมเด็จพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทัย มีพระวาจาศักดิ์สิทธิ์สามารถสาปขอมดำดินให้กลายเป็นหินไปได้ฉะนั้น.
เมื่อได้ทราบหนทางที่จะให้บังเกิดฤทธิ์อำนาจมหัศจรรย์ดังนี้แล้ว ควรทราบวิธีทำฤทธิ์นั้นต่อไป เพื่อเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องทำฤทธิ์ ก็จะได้ทำได้ทีเดียว.
อธิษฐานฤทธิ์ทั้ง ๑๖ ประการนั้น เมื่อจะทำฤทธิ์ชนิดใด พึงสำเหนียกดูว่า ควรใช้กสิณหรือมโนภาพชนิดใดแล้ว พึงอาศัยกสิณหรือมโนภาพชนิดนั้นเป็นพาหนะนำใจให้สงบเป็นสมาธิเข้าถึงภูมิที่สามารถจะอธิษฐานฤทธิ์ชนิดนั้น แล้วพึงออกจากฌานในทันใด พึงอธิษฐานคือตั้งใจแน่วแน่ว่า จงเป็น (อย่างนั้น) ครั้นอธิษฐานแล้วพึงเข้าสู่ความสงบอีก ก็จะสำเร็จฤทธิ์ตามที่อธิษฐานทันที.
ส่วนวิกุพพนาฤทธิ์ พึงอาศัยมโนภาพเป็นพาหนะนำไปสู่ความสงบถึงขั้นของฌาน อันเป็นภูมิของฤทธิ์นั้นๆ แล้วน้อมจิตไปโดยประการที่ต้องการให้เป็นนั้น ก็จะสำเร็จฤทธิ์นั้นสมประสงค์เช่น ต้องการแปลงกายเป็นช้าง พึงนึกวาดภาพช้างขึ้นในใจให้แจ่มชัด จนจิตเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่งแล้วจึงนึกน้อมให้ภาพช้างนั้นเด่นชัดยิ่งขึ้น แล้วแสดงกิริยาอาการตามใจประสงค์ให้เหมือนช้างจริงๆ ต่อไป ก็ชื่อว่าสำเร็จฤทธิ์ข้อนี้ได้ ส่วนข้ออื่นๆ ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกัน.
การทำฤทธิ์ทั้งสองประเภทนี้ เมื่อทำเสร็จแล้วพึงอธิษฐานเลิกทุกครั้ง อย่าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นสัญญาหลอกตนเองอยู่ร่ำไป ท่านผู้สนใจในทิพยอำนาจข้อนี้ก็ดี ข้ออื่นๆ ที่จะกล่าวข้างหน้าก็ดี หากยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ข้าพเจ้ายินดีช่วยเหลือ โดยเฉพาะเป็นรายๆ ไป เชิญติดต่อไต่ถามได้ทุกเมื่อ.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-07.htm
ปาฏิหาริย์นี้ ก็ใช้มโนภาพเป็นเครื่องนำเช่นเดียวกับสันติเกภาพ คือนึกเห็นสิ่งที่อยู่ใกล้หรือสถานที่ใกล้ให้แจ่มชัดในใจ และนึกเห็นเป็นอยู่ไกล แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงอยู่ไกล ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐานทันที.
๑๑. โถกภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้ของมากปรากฏเป็นของน้อยเพียงนิดหน่อย๑ ข้อนี้ไม่เคยพบตัวอย่าง คงเป็นเพราะไม่มีเหตุจำเป็นให้ทำก็ได้ ปาฏิหาริย์นี้ ใช้มโนภาพนึกเห็นสิ่งของมากมายเป็นเพียงนิดหน่อยให้แจ่มชัดในใจ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นนิดหน่อย ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน หรือจะใช้ปาฏิหาริย์กำบังให้เห็นแต่เล็กน้อยก็ได้เหมือนกัน.
๑๒. พหุกภาพ ได้แก่การอธิษฐานให้ของน้อยปรากฏเป็นของมาก มีตัวอย่างหลายหลากเช่น ในครั้งหนึ่งพระบรมศาสดาตรัสสั่งพระมหาโมคคัลลานเถระให้ไปทรมานเศรษฐีตระหนี่ ในกรุงสาวัตถีคนหนึ่งไม่ปรากฏนาม เศรษฐีกับภรรยากำลังทอดขนมเบื้องอยู่ชั้นบนของปราสาท โดยเกรงจะมีผู้ขอกิน พระมหาโมคคัลลานเถระทำปาฏิหาริย์เหาะไปปรากฏตัวอยู่ในอากาศตรงช่องหน้าต่าง เศรษฐีเห็นแล้วก็ไม่พอใจ จึงกล่าวคำประชดพระเถระ พระเถระก็เฉย ในที่สุดเศรษฐีรำคาญใจหนักขึ้น จึงตกลงใจแบ่งให้ครึ่งหนึ่ง ๒ คนสามีภรรยาช่วยกันดึงจนเหงื่อไหลไคลย้อย ก็ไม่สามารถแบ่งขนมนั้นได้ ทั้งนี้เป็นด้วยอำนาจปาฏิหาริย์ของพระเถระ เศรษฐีจึงตกลงใจถวายหมดครั้นแล้วพระเถระไม่รับ บอกว่าพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ รูป กำลังนั่งรอฉันอยู่ที่วัดพระเชตวัน ขอให้เศรษฐีกับภรรยานำไปอังคาสด้วยตนเอง เศรษฐีอิดเอื้อนอยู่หน่อยหนึ่งแต่แล้วก็ตกลงยอมไป พระเถระพาไปทางอากาศ ไปอังคาสพระบรมศาสดาและพระสงฆ์สาวก ๕๐๐ รูป ด้วยขนมเบื้องเพียงแผ่นเดียว จนอิ่มหนำสำราญหมดทุกรูป ครั้นแล้วก็ยังปรากฏอยู่เท่าเดิม เศรษฐีจึงกราบทูลว่า จะให้ทำอย่างไรอีก ตรัสให้นำไปเททิ้งที่เงื้อมใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันสถานที่นั้นเลยต้องเรียกว่า เงื้อมขนมเบื้องสืบมา เศรษฐีกับภรรยาเห็นความอัศจรรย์ในพระพุทธศาสนา บังเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้บริจาคทรัพย์บำรุงพระพุทธศาสนามากมาย เรื่องสำหรับปาฏิหาริย์ข้อนี้มีมาก ถ้าจะนำมาเล่าก็จะยืดยาว.
ปาฏิหาริย์นี้ ใช้มโนภาพเป็นเครื่องนำทำใจให้สงบเป็นฌาน แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงมาก ดังนี้ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน.
๑. ทรงอธิษฐานบาตรที่ท้าวจตุโลกบาลนำมาถวาย ๔ ใบให้เป็นใบเดียว.
๑๓. กายวสิกภาพ ได้แก่การโน้มจิตและการอธิษฐานจิตให้เป็นเหมือนกาย แล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญา และลหุสัญญา ทำให้กายเบา แล้วไปปรากฏกายในพรหมโลกได้ ถ้าต้องการสำเร็จอิริยาบถ คือ เดิน ยืน นั่ง นอน ก็ทำได้ ถ้าต้องการจะเห็นพรหมด้วยทิพพจักษุก็ได้ ฟังเสียงพรหมด้วยทิพพโสตก็ได้ รู้ใจพรหมด้วยเจโตปริยญาณก็ได้ ต้องการสนทนาปราศรัยกับพรหมก็ได้ต้องการแสดงธรรมถามปัญหาแก้ปัญหา หรือต้องการทำอย่างใดๆ ก็ทำได้ทุกประการ ณ พรหมโลกนั้น เรื่องนี้พระบรมศาสดาทรงทำ มีเรื่องเล่าไว้ในพรหมนิมันตนิกสูตร ทรงเล่าว่า
เมื่อคราวเสด็จประทับที่ภควัน แคว้นอุกกัฏฐะ ทรงทราบความคิดผิดๆ ของท้าวพกาพรหม จึงเสด็จไปพรหมโลกชั่วพริบตาเดียวก็ถึง แล้วได้สนทนากับพรหมถึงเรื่องที่คิดเห็นนั้นว่าเป็นความเห็นที่ผิดทันทีก็มีมารชั่วช้ามาขู่พระองค์ด้วยประการต่างๆ เป็นต้นว่า ผู้ไม่เคารพนับถือพระพรหม ตายแล้วจะไปสู่กำเนิดกายที่เลว พระบรมศาสดาตรัสตอบด้วยพระวาจาที่ส่อว่าทรงรู้เท่าทัน และตรัสว่าพระองค์เป็นผู้ยิ่งกว่าพรหม แล้วเกิดท้ากันขึ้นว่า พรหมจะหายไปให้พระองค์ตามหา พรหมก็หายไปไม่ได้ พระองค์จึงตรัสท้าว่าจะหายไปให้พรหมตามหาบ้าง พรหมตามหาไม่พบ ทั้งๆ ที่ทรงแสดงธรรมให้ได้ยินก้องอยู่ พรหม พรหมปุโรหิต และพรหมปาริสัช เกิดอัศจรรย์ยอมยกให้ว่ายิ่งกว่าพรหมจริงๆ ทีนั้นมีมารชั่วร้ายแทรกเข้ามาขู่สำทับอีก ห้ามว่า เมื่อรู้เองดีแล้วก็อย่าสอนผู้อี่น เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายที่ตรัสรู้มาก่อนแล้ว ผู้สั่งสอนผู้อื่นตายแล้วไปดำรงอยู่ในกายเลว ผู้ไม่สั่งสอนผู้อื่นตายแล้วไปดำรงอยู่ในกายประณีต เราเตือนท่านเพราะหวังดี อย่าสอนผู้อื่น ดังนี้พระบรมศาสดาทรงทราบว่าเป็นคำของมารชั่วร้ายแล้วตรัสห้ามคำนั้น ทรงยืนยันว่าทรงทราบธรรมดาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายดีแล้ว จำต้องสอนผู้อื่น จึงจะสมกับความเป็นพระพุทธเจ้า
ทรงนำเรื่องนี้มาเล่าที่วัดพระเชตะวัน กรุงสาวัตถี และตรัสสั่งให้เรียกว่าพรหมนิมันตนิกสูตร เพราะเป็นความเชื้อเชิญของพรหม มิใช่ของมารดังนี้ พระโบราณาจารย์นำเรื่องนี้มาประพันธ์เป็นคำฉันท์ถวายพระพรชัยมงคล ซึ่งพระสงฆ์ใช้สวดพรพระอยู่ในทุกวันนี้๑ ท่านย่อใจความว่า คราวทรมานพกาพรหมนั้นทรงใช้พระคฑาวิเศษ คือพระปรีชาญาณ ทรงทรมานพกาพรหมพร้อมทั้งบริษัทให้ละความเห็นผิดได้ นับเป็นชัยชนะที่เลื่องลือโด่งดังครั้งหนึ่ง.
การไปพรหมโลกอย่างปรากฏกาย เป็นปาฏิหาริย์ที่ทำได้ยาก ต้องมีเจโตวสี คือมีอำนาจทางใจแรงกล้า สามารถน้อมนึกให้กายกับจิตมีสภาวะเท่ากัน ทั้งในทางความเบาและความเร็วพร้อมกับการอธิษฐานให้เป็นดังนั้นด้วย ครั้นแล้วต้องเข้าฌานชั้นที่มีทั้งสุขสัญญาและลหุสัญญาคือ ตติยฌาน จึงจะไปพรหมโลกได้ดั่งประสงค์ ถ้าจะเข้าจตุตถฌานซึ่งมีแต่ลหุสัญญาก็จะเลยไปจะไม่พบหมู่พรหมสมหมาย พึงสังเกตว่าภูมิของฌานซึ่งกำหนดไว้เป็นภูมิของฤทธิ์นั้น เพื่อให้เลือกเข้าฌานที่มีภูมิเสมอกันกับโลกที่มุ่งจะไป และฤทธิ์ที่มุ่งจะทำ ไม่ให้เข้าฌานเลยภูมิไป เช่น จะไปเทวโลกซึ่งบริบูรณ์ไปด้วยความสุขแช่มชื่น ต้องเข้าปีติสุขภูมิ คือ ทุติยฌาน จึงจะเห็นเทวโลก.
การทำให้กายกับจิตมีสภาวะเท่ากันนี้ อาจจะตรงกับที่ทางโยคี (คือ ท่านปตัญชลี) กำหนดจิตโดยวิสัยของกาย และอธิษฐานให้กายเบา สามารถเหาะลอยไปในอากาศช้าๆ คล้ายไปด้วยกายธรรมดาดั่งนี้.
๑๔. จิตตวสิกภาพ ได้แก่การน้อมกาย และอธิษฐานกายให้เป็นเหมือนจิต แล้วหยั่งลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วไปพรหมโลกโดยไม่ปรากฏกาย ครั้นแล้วจึงเนรมิตรูปที่สำเร็จด้วยใจมีอินทรีย์บริบูรณ์ให้ไปปรากฏเบื้องหน้าพรหม แล้วทำกิจต่างๆ มีสนทนาเป็นต้น กับพรหม ดังในข้อ๑๓ ก็ทำได้ทุกประการ.
ปาฏิหาริย์นี้ตรงกันข้ามกับข้อ ๑๓ คือ ข้อนี้ให้น้อมกายและอธิษฐานให้เป็นเหมือนจิตธรรมชาติจิตนั้นเบาและรวดเร็วว่องไว เมื่อกายมีวิสัยเท่าจิตก็ย่อมเบา รวดเร็วและว่องไว ไม่เป็นวิสัยที่ใครๆ ผู้ไม่มีตาที่วิเศษจะพึงเห็นได้ ปาฏิหาริย์นี้อาจจะตรงกับที่ทางโยคี (คือท่านปตัญชลี) บัญญัติไว้ว่า ลหุภาพนั่นเอง เขาอธิบายว่า ทำให้กายเบาและรวดเร็วเท่าจิต สามารถไปมาได้ว่องไวและผ่านไปได้ในที่ทุกแห่งไม่ติดขัด เหมือนการไปมาของจิตฉะนั้น.
๑. มีผู้สงสัยว่าเหตุไรจึงเรียกว่าถวายพรพระ พรมี ๒ ประเภทคือ พรพระกับพรเทวดา บทพาหุํ เป็นต้น เป็นพรพระ.
วิธีปฏิบัติในข้อนี้ พึงเทียบเคียงกับที่กล่าวไว้ในข้อ ๑๓ นั้นทุกประการ.
๑๕. ธูมายิกภาพ หรือบังควัน ได้แก่การอธิษฐานให้บังเกิดเป็นควันกลุ้มคลุมตัวไว้ เพื่อปิดบังมิให้อีกฝ่ายมองเห็นตัว โดยมากใช้ทรมานพวกนาค ซึ่งเป็นพิษร้าย ปาฏิหาริย์นี้ใช้นีลกสิณก็ได้ ใช้มโนภาพนึกเอาควันไฟซึ่งเป็นไปตามธรรมชาตินั้นก็ได้ มาเป็นอารมณ์ ทำใจให้สงบเป็นฌานแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นควัน ก็จะเป็นได้ดั่งประสงค์.
๑๖. ปัชชลิกภาพ หรือเปลวเพลิง ได้แก่การอธิษฐานให้เกิดเปลวเพลิงลุกรุ่งโรจน์โชตนาการท่วมตัว เป็นปาฏิหาริย์ที่ใช้ทรมานนาคร้ายโดยมาก เช่นเดียวกับข้อ ๑๕ ธรรมดานาคกลัวไฟใช้ปาฏิหาริย์นี้ทรมานย่อมได้ผล ทำให้เขากลัวและยอมอ่อนน้อมได้ง่าย.
ปาฏิหาริย์ข้อ ๑๕ และข้อนี้มักใช้ติดๆ กันเสมอ ในการทรมานนาคร้ายใช้ข้อ ๑๕ ก่อนแล้วจึงใช้ข้อนี้ในภายหลัง พระบรมศาสดาได้ทรงทำคราวไปทรมานปุราณชฎิลดังกล่าวไว้ในบทนำแล้วครั้งหนึ่ง ทรงสั่งพระมหาโมคคัลลานเถระไปทรมานนันโทปนันทนาคราช โดยทรงแนะอุปเทศให้พระเถระไปทรมานด้วยปาฏิหาริย์หลายประการ มีปาฏิหาริย์ ๒ ประการนี้ด้วย จึงทรมานสำเร็จอีกเรื่องหนึ่งทรงสั่งพระมหาโกฏฐิตเถระ ไปทรมานพญานาคที่ท่าปยาคะ ก็ใช้ปาฏิหาริย์ ๒ประการนี้ สามารถทรมานพญานาคสำเร็จ.
ปาฏิหาริย์นี้ต้องใช้เตโชกสิณ เป็นเครื่องนำทำใจให้สงบ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นเปลวเพลิง ก็จะเป็นได้ดั่งอธิษฐาน ปาฏิหาริย์นี้แม้ในปัจจุบันก็มีผู้ทำได้ แต่ไม่อาจนำมาเล่าได้.
ส่วนวิกุพพนาฤทธิ์ ปรากฏแจ่มแจ้งในนิเทศ ดังได้ยกมากล่าวในตอนแจกประเภทแห่งฤทธิ์นั้นแล้ว ฤทธิ์ประเภทนี้ไม่มีขอบเขตจำกัด อาจดัดแปลงพลิกแพลงทำได้ต่างๆ ยิ่งกว่าที่ปรากฏในนิเทศนั้นก็ได้ เป็นฤทธิ์ที่ต้องใช้มโนภาพกับกำลังใจเป็นสำคัญ.
เมื่อพิจารณาถึงทางที่จะพึงเป็นได้แห่งฤทธิ์ ๔ ประเภทนี้แล้ว ได้เหตุสำคัญ ๔ ประการ คือ
๑. กำลังฌาน อันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์.
๒. กำลังกสิณหรือมโนภาพ ซึ่งมีอิทธิบาท ๔ เป็นกำลังหนุน.
๓. กำลังใจ ซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์ ๑๖ ประการ.
๔. กำลังอธิษฐาน ซึ่งมีบทของฤทธิ์ ๘ ประการเป็นกำลังอุดหนุน.
ฉะนั้น จะได้ขยายความแห่งกำลังอันสำคัญ ๔ ประการนี้ ให้เป็นที่เข้าใจแจ่มแจ้ง จะได้ถือเป็นหลักในการสร้างฤทธิ์ ๒ ประเภทนี้สืบไป.
๑. กำลังฌาน อันเป็นภูมิแห่งฤทธิ์นั้น ท่านจำแนกไว้ ๔ ภูมิ คือ วิเวกชาภูมิ ภูมิแห่งความเงียบจากกามคุณ และอกุศลธรรม ซึ่งได้แก่ปฐมฌาน ๑ , ปีติสุขภูมิ ภูมิแห่งปีติสุข เกิดแต่สมาธิ ซึ่งได้แก่ทุติยฌาน ๑ , อุเบกขาสุขภูมิ ภูมิแห่งอุเบกขาสุข ซึ่งได้แก่ตติยฌาน ๑ , อทุกขมสุขภูมิ ภูมิแห่งจิตไม่ทุกข์ไม่สุข ซึ่งได้แก่จตุตถฌาน ๑ รวมความว่าภูมิแห่งฌานทั้ง ๔ ประการเป็นที่ตั้งแห่งฤทธิ์ได้ทั้งหมด แล้วแต่กรณี ฤทธิ์บางประการอาศัยภูมิแห่งจิตในฌานชั้นต่ำ แต่บางประการต้องอาศัยภูมิแห่งจิตในฌานชั้นสูง จึงจะมีกำลังเพียงพอที่จะทำได้ ฤทธิ์ชนิดใดควรใช้ฌานเพียงภูมิไหนต้องอาศัยการฝึกฝนทดลองแล้วสังเกตเอาเอง เรื่องของฌานได้กล่าวมามากแล้ว คงเป็นที่เข้าใจและคงเชื่ออำนาจของฌานบ้างแล้ว แม้แต่ความสำเร็จในฌานนั้นเอง ท่านก็จัดเป็นฤทธิ์ประเภทหนึ่งอยู่แล้ว จึงไม่ต้องสงสัยว่าฌานจะไม่เป็นกำลังสำคัญในการทำฤทธิ์ประการหนึ่ง.
๒. กำลังกสิณ หรือมโนภาพ ซึ่งมีอิทธิบาท ๔ เป็นกำลังหนุนนั้น คือ กสิณ ๑๐ ประการดังกล่าวไว้ในบทที่ ๓ นั้น ต้องได้รับการฝึกหัดให้ชำนิชำนาญ สามารถใช้เป็นกีฬาได้ดังกล่าวในบทที่ ๔ ส่วนมโนภาพนั้นหมายถึงภาพนึกหรือภาพทางใจ ซึ่งจำลองมาจากภาพของจริงอีกทีหนึ่งคล้ายดวงกสิณนั่นเอง เป็นแต่มโนภาพมิได้จำกัดวัตถุและสีสันวรรณะอย่างไร ภาพนึกหรือภาพทางใจนี้จะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมไว้ให้ช่ำชอง เป็นภาพแจ่มแจ้งเจนใจ สามารถนึกวาดขึ้นด้วยทันทีทันใด เช่นเดียวกับดวงกสิณ การฝึกหัดเพ่งกสิณและทำมโนภาพนี้ ต้องอาศัยกำลังอุดหนุนของอิทธิบาทภาวนาเป็นอย่างมากที่สุด อิทธิบาทภาวนานี้ได้อธิบายไว้แล้วในบทที่ ๔ เมื่อได้ฝึกเพ่งกสิณ และฝึกมโนภาพไว้ช่ำชองแล้ว เป็นที่มั่นใจได้ทีเดียวว่าจะทำฤทธิ์ได้ดั่งประสงค์.
๓. กำลังใจ ซึ่งเป็นต้นตอของฤทธิ์ ท่านจำแนกไว้ ๑๖ ประการ คือ
(๑.) จิตมั่นคง ไม่แฟบฝ่อเพราะเกียจคร้าน
(๒.) จิตมั่นคง ไม่ฟูฟุ้งเพราะความฟุ้งซ่าน
(๓.) จิตมั่นคง ไม่ร่านเพราะความกำหนัด
(๔.) จิตมั่นคง ไม่พล่านเพราะพยาบาท
(๕.) จิตมั่นคง ไม่กรุ่นเพราะความเห็นผิด
(๖.) จิตมั่นคง ไม่ติดพันในกามคุณารมณ์
(๗.) จิตมั่นคง หลุดพ้นจากกามราคะ
(๘.) จิตมั่นคง พรากห่างจากกิเลสแล้ว
(๙.) จิตมั่นคง ไม่ถูกกิเลสคลุมครอบทับไว้
(๑๐.) จิตมั่นคง เป็นหนึ่งไม่ส่ายไปเพราะกิเลสต่างๆ
(๑๑.) จิตมั่นคง เพราะศรัทธาอบรม
(๑๒.) จิตมั่นคง เพราะความเพียรประคบประหงม
(๑๓.) จิตมั่นคง เพราะสติฟูมฟักไม่พลั้งเผลอ
(๑๔.) จิตมั่นคง เพราะสมาธิครอบครองไว้
(๑๕.) จิตมั่นคง เพราะปัญญาปกครองรักษา
(๑๖.) จิตมั่นคง เพราะถึงความสว่างไสวหายมืดมัว
จิตที่มั่นคงแข็งแรงดังกล่าวมานี้ นับว่าเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการทำฤทธิ์ ท่านจึงจัดเป็นต้นตอของฤทธิ์ ผู้ประสงค์สร้างฤทธิ์ต้องพยายามอบรมจิตใจด้วยคุณธรรมต่างๆ ดังกล่าวไว้ในบทที่ ๔ นั้นทุกประการ.
๔. กำลังอธิษฐาน ซึ่งมีบทของฤทธิ์ ๘ ประการเป็นกำลังหนุน คือว่า การบำเพ็ญอธิษฐานบารมีที่จะสำเร็จได้ ต้องอาศัยกำลังหนุนของอิทธิบาท ๔ และสมาธิอันได้เพราะอาศัยอิทธิบาท ๔ ประการนั้น ประกอบกัน บุคคลผู้จะสามารถอธิษฐานให้เกิดฤทธิ์เดชต่างๆ ได้นั้น จะต้องบำเพ็ญอธิษฐานบารมีมาอย่างมากมาย เป็นคนมีน้ำใจเด็ดเดี่ยว ลงได้ตั้งใจทำอะไรหรือเปล่งวาจาปฏิญาณว่าจะทำอะไรอย่างไรไปแล้วถ้าไม่เป็นผลสำเร็จจะไม่ยอมหยุดยั้งเลย แม้จำต้องสละชีวิตก็ยอม ดั่งสมเด็จพระบรมศาสดาของเราเป็นตัวอย่าง ในสมัยเป็นพระโพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญพระบารมีเพื่อพระโพธิญาณ เคยตั้งพระหฤทัยไว้ว่า ใครประสงค์ดวงพระเนตรก็จะควักให้ ใครประสงค์ดวงหฤทัยก็จะแหวะให้ ภายหลังมีผู้มาทูลขอดวงพระเนตรมิได้ทรงอิดเอื้อนเลย ได้ตรัสเรียกนายแพทย์ให้มาควักพระเนตรออกทำทานทันที แม้จะได้ทรงรับทุกขเวทนาสาหัสจากการนั้น ก็มิได้ปริปากบ่นแม้สักคำเดียว ครั้นมาในปัจฉิมชาติที่จะได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นพระศาสดาเอกในโลก ก็ได้ทรงบำเพ็ญพระอธิษฐานบารมีมั่นคง ทรงบากบั่นมั่นคงก้าวหน้าไม่ถอยหลังตลอดมาจนถึงวาระจะได้ตรัสรู้ ก็ทรงอธิษฐานจาตุรงคมหาปธาน คือความเพียรใหญ่ยิ่งประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ทรงตั้งพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เนื้อเลือดจะเหือดแห้ง ยังเหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามทีถ้ายังไม่บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เราจะไม่ยอมหยุดยั้งความเพียรเป็นอันขาด ดังนี้ อาศัยอำนาจน้ำพระหฤทัยเด็ดเดี่ยวมั่นคงเป็นกำลัง ก็ได้ทรงบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณสมประสงค์.
อธิษฐานบารมีที่จะดีเด่นได้ ต้องประกอบด้วยอธิษฐานธรรมซึ่งเป็นกำลังหนุน ๔ ประการคือ
๑. สัจจะ ความสัตย์ มีมั่นหมายไม่กลับกลอก
๒. ทมะ มีความสามารถบังคับจิตใจได้ดี
๓. จาคะ มีน้ำใจเสียสละอย่างแรงกล้า เมื่อรู้ว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์ยิ่งใหญ่กว่าที่มีอยู่แล้วจะไม่รีรอเพื่อสิ่งนั้นเลย ยอมทุ่มเททุกสิ่งทุกอย่างกระทั่งชีวิตเข้าแลก และ
๔. ปัญญา มีความฉลาดเฉลียว รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์-ไม่เป็นประโยชน์, ควร-ไม่ควร,เป็นได้-และเป็นไปไม่ได้.
แล้วดำรงในสัตย์อันเป็นประโยชน์ และเป็นธรรมบังคับจิตใจให้เป็นไปในอำนาจ ทุ่มเทกำลังพลังลงเพื่อประโยชน์ที่มุ่งหมายนั้น.
อธิษฐานบารมีที่ได้อบรมฝึกฝน โดยทำนองดังกล่าวนี้ ย่อมเป็นสิ่งมีพลานุภาพเกินที่จะคาดคิดถึงได้ว่ามีประมาณเพียงใด ผู้มีอธิษฐานบารมีได้อบรมแล้วอย่างนี้ เมื่อตั้งใจหรือมุ่งหมายที่จะให้เกิดอำนาจมหัศจรรย์อย่างไร ก็ย่อมจะสำเร็จได้ทุกประการ เมื่อใจศักดิ์สิทธิ์เช่นนั้น แม้การกระทำและคำพูดแต่ละคำที่เปล่งออกมา ก็ย่อมศักดิ์สิทธิ์เป็นฤทธิ์เดชเช่นเดียวกัน ดังสมเด็จพระร่วงเจ้า กรุงสุโขทัย มีพระวาจาศักดิ์สิทธิ์สามารถสาปขอมดำดินให้กลายเป็นหินไปได้ฉะนั้น.
เมื่อได้ทราบหนทางที่จะให้บังเกิดฤทธิ์อำนาจมหัศจรรย์ดังนี้แล้ว ควรทราบวิธีทำฤทธิ์นั้นต่อไป เพื่อเมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องทำฤทธิ์ ก็จะได้ทำได้ทีเดียว.
อธิษฐานฤทธิ์ทั้ง ๑๖ ประการนั้น เมื่อจะทำฤทธิ์ชนิดใด พึงสำเหนียกดูว่า ควรใช้กสิณหรือมโนภาพชนิดใดแล้ว พึงอาศัยกสิณหรือมโนภาพชนิดนั้นเป็นพาหนะนำใจให้สงบเป็นสมาธิเข้าถึงภูมิที่สามารถจะอธิษฐานฤทธิ์ชนิดนั้น แล้วพึงออกจากฌานในทันใด พึงอธิษฐานคือตั้งใจแน่วแน่ว่า จงเป็น (อย่างนั้น) ครั้นอธิษฐานแล้วพึงเข้าสู่ความสงบอีก ก็จะสำเร็จฤทธิ์ตามที่อธิษฐานทันที.
ส่วนวิกุพพนาฤทธิ์ พึงอาศัยมโนภาพเป็นพาหนะนำไปสู่ความสงบถึงขั้นของฌาน อันเป็นภูมิของฤทธิ์นั้นๆ แล้วน้อมจิตไปโดยประการที่ต้องการให้เป็นนั้น ก็จะสำเร็จฤทธิ์นั้นสมประสงค์เช่น ต้องการแปลงกายเป็นช้าง พึงนึกวาดภาพช้างขึ้นในใจให้แจ่มชัด จนจิตเป็นฌานขั้นใดขั้นหนึ่งแล้วจึงนึกน้อมให้ภาพช้างนั้นเด่นชัดยิ่งขึ้น แล้วแสดงกิริยาอาการตามใจประสงค์ให้เหมือนช้างจริงๆ ต่อไป ก็ชื่อว่าสำเร็จฤทธิ์ข้อนี้ได้ ส่วนข้ออื่นๆ ก็พึงทราบโดยนัยเดียวกัน.
การทำฤทธิ์ทั้งสองประเภทนี้ เมื่อทำเสร็จแล้วพึงอธิษฐานเลิกทุกครั้ง อย่าปล่อยทิ้งไว้จะเป็นสัญญาหลอกตนเองอยู่ร่ำไป ท่านผู้สนใจในทิพยอำนาจข้อนี้ก็ดี ข้ออื่นๆ ที่จะกล่าวข้างหน้าก็ดี หากยังไม่เข้าใจแจ่มแจ้ง ข้าพเจ้ายินดีช่วยเหลือ โดยเฉพาะเป็นรายๆ ไป เชิญติดต่อไต่ถามได้ทุกเมื่อ.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-07.htm