ตอบ

Warning: this topic has not been posted in for at least 500 days.
Unless you're sure you want to reply, please consider starting a new topic.
ชื่อ:
อีเมล์:
หัวข้อ:
ไอค่อนข้อความ:

Verification:
ระหว่างความดีกับความไม่ดี เราจะเลือกทำสิ่งใดจึงจะสามารถบรรลุธรรมได้จริง ( เลือกตอบแค่ ความดี กับ ความไม่ดี ครับผม):
คุณเชื่อในศรัทธาของความดีไหมครับ ( เลือกตอบแค่ เชื่อ กับ ไม่เชื่อ ครับผม):
ถ้าเราโกรธใคร ธรรมะจะเป็นหนทางผ่อนคลายความโกรธนั้นลงได้ใช่ไหม ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม ):
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆแนวธรรมะในจิตใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
^^ ขอความกรุณาพิมพ์คำว่า ความดีนำทาง:
การแสดงความชื่นชมยินดีในบุญหรือความดีที่ผู้อื่นทำ นิยมใช้คำว่า (อนุโมทนา) กรุณาพิมพ์คำนี้ครับ อนุโมทนา:
เว็บใต้ร่มธรรมเป็นเว็บเล็กๆในโลกออนไลน์ใช่หรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ท่านจะปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อตกลงของเว็บใต้ร่มธรรมทุกประการหรือไม่ ( เลือกตอบแค่ ใช่ กับ ไม่ใช่ ครับผม):
ใต้ร่มธรรม เป็น แค่เว็บไซต์และจินตนาการทางจิต การทำดี สำคัญที่ใจเรา เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ พิมพ์คำว่า "เริ่มความดีที่ใจเราก่อนเสมอ":
เมื่อให้ท่านเลือก ระหว่าง (หนังสือเก่าๆเล่มหนึ่งที่เรารัก) กับ (มิตรแท้ที่รักเรา) คุณจะะเลือก:
บุคคลที่ไปหลายๆเว็บไซต์ โดยที่สวมบทบาทเป็นหลายๆคน โดยที่ไม่รู้ว่า แท้จริงใจเราต้องการอะไร เพื่อน หรือ ชัยชนะ:
กล่าวคำดังนี้  "ให้อภัยนะ":
กล่าวคำดังนี้  "ขออโหสิกรรม":
หากมีคน บอกว่า เราไม่ดีเราเลว แต่ใจเรารู้ว่าไม่เป็นเช่นนั้น เราจะใช้วิธีใดจัดการกับเรื่องนี้  (โต้เถียงให้แรงกว่าที่เค้าว่ามา) หรือ (เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของเราเองไม่ต้องทำอะไร):
เคยนวดฝ่าเท้าให้ คุณพ่อคุณแม่บ้างไหม ถ้ามีโอกาส เราควรทำหรือไม่ (ควรกระทำอย่างยิ่ง หรือ ไม่ควรทำ):
พิมพ์คำว่า (แสงธรรมนำทางธรรมะนำใจ) ครับ:
รู้สึกระอายใจไหมที่เราทำร้ายคนอื่นด้วยวาจาหรือสำนวนที่ไม่สุภาพ โดยที่คนคนนั้นเค้าเคยเป็นผู้มีพระคุณต่อเรามา (ไม่ละอายใจ)หรือ(ละอายใจ):
สำนวนไทยที่ว่า แต่ละคนต่างมีรสนิยมแตกต่างกัน หรือไม่ตรงกัน  พิมพ์สำนวนต่อไปนี้ครับ (ลางเนื้อชอบลางยา):
ไม่มีอะไรสายสำหรับการเริ่มต้น พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (It is never too late to mend):
ผู้ที่ไม่เคยรับรู้รสของความขมขื่น จะไม่รู้ว่าความหวานชื่นคืออะไร พิมพ์เป็นประโยคภาษาอังกฤษครับ เป็นตัวพิมพ์เล็กทั้งหมดนะครับ เว้นวรรคคำด้วยครับ (He who has never tasted bitterness does not know what is sweet):

shortcuts: กด alt+s เพื่อตั้งกระทู้ หรือ alt+p แสดงตัวอย่าง


สรุปหัวข้อ

ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 12:05:00 am »





ติช นัท ฮันห์ กับ มิติใหม่ของพุทธศาสนา
พระไพศาล วิสาโล


นอกจากองค์ทะไลลามะแล้ว ท่านติช นัท ฮันห์ เป็นภิกษุอีกรูปหนึ่งที่นิตยสารไทม์เมื่อเร็ว ๆ นี้ ยกย่องให้เป็น “hero” หรือผู้มีผลงานอันโดดเด่นและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนทั้งโลก หนังสือหลายเล่มของท่านติดอันดับหนังสือขายดีทั้งในยุโรปและอเมริกา ทุกหนแห่งที่ท่านไปบรรยายจะมีผู้ฟังแน่นขนัดแม้ต้องเสียค่าผ่านประตูก็ตาม ยิ่งที่หมู่บ้านพลัมอันเป็นสำนักของท่านในประเทศฝรั่งเศส ทุกปีจะมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมประจำฤดูร้อนนับพันคนในคราวเดียวกัน คนเหล่านี้มาจากแทบทุกทวีปทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่แอฟริกาและอเมริกาใต้

คำสอนของท่านนำความสงบเย็นและหว่านความรักลงไปในจิตใจของผู้คนนับล้าน แต่น้อยคนจะตระหนักว่าความสงบเย็นและความรักที่ออกมาจากหัวใจของท่านนั้น มิได้ก่อเกิดจากการนั่งภาวนาในป่าอันสงบสงัดเท่านั้น หากยังกลั่นออกมาจากความทุกข์ยากแสนสาหัสท่ามกลางเพลิงสงครามอันยาวนาน สงครามเวียดนามได้สังหารญาติมิตรศิษย์หาและเพื่อนร่วมชาติของท่านเป็นจำนวนมาก แต่กลับทำให้ท่านมั่นคงยิ่งขึ้นในเมตตากรุณาแม้กระทั่งกับผู้ปลิดชีวิตบุคคลที่ท่านรัก ท่ามกลางการตอบโต้ด้วยความอาฆาตพยาบาท ท่านเรียกร้องการให้อภัย ขณะเดียวกันก็อุทิศตนเพื่อนำสันติภาพกลับคืนมา ท่านเคยกล่าวถึงประเทศเวียดนามของท่านว่าเปรียบเสมือน “ดอกบัวกลางทะเลเพลิง” ชีวิตของท่านจะว่าไปแล้วไม่ได้ผิดไปจากอุปมาดังกล่าวเลย

หากจีนไม่รุกรานธิเบต โลกก็คงไม่รู้จักองค์ทะไลลามะ ในทำนองเดียวกันหากรัฐบาลเวียดนามใต้ไม่ปิดประตูผลักไสให้ท่านกลายเป็นผู้ลี้ภัย โลกก็คงไม่มีโอกาสดื่มด่ำสัมผัสธรรมของท่านนัท ฮันห์อย่างแพร่หลายเช่นทุกวันนี้ เมื่อท่านไม่อาจเข้าประเทศเวียดนามได้หลังจากการไปรณรงค์เรียกร้องสันติภาพที่สหรัฐอเมริกา อเมริกาและยุโรปจึงเปรียบเสมือนบ้านของท่านตลอด ๓๙ ปีที่ผ่านมา หนังสือและคำสอนที่สำคัญของท่านส่วนใหญ่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ยิ่งท่านมาตั้งสำนักที่หมู่บ้านพลัมประเทศฝรั่งเศส สังฆะของท่านก็หยั่งรากลึกและเติบใหญ่จนกลายเป็นพลังที่สำคัญในทางศาสนธรรมและสันติภาพ ขณะเดียวกันก็สร้างมิติใหม่ให้แก่พระพุทธศาสนาทั้งในระดับโลกและสำหรับเวียดนามเอง

ท่านนัท ฮันห์ เป็นหนึ่งในบุคคลผู้ริเริ่มนำพุทธศาสนาออกมาสัมพันธ์กับโลกสมัยใหม่อย่างมีพลัง ในยามที่บ้านเมืองเกิดศึกสงคราม ท่านเห็นว่าจุดยืนของพุทธศาสนามิได้อยู่ที่การสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่จับอาวุธห้ำหั่นกัน หากอยู่ที่การเสนอทางออกอย่างสันติ โดยมีความเมตตาต่อทั้งสองฝ่าย แม้นั่นจะหมายถึงการถูกเข้าใจผิดจากทุกฝ่ายก็ตาม และในขณะที่ผู้คนกำลังเดือดร้อนจากภัยสงครามและความยากจน ชาวพุทธไม่ควรเอาแต่นั่งภาวนาหรือแผ่เมตตาอยู่ในมุ้ง หากควรออกไปช่วยเหลือคนเหล่านั้น โดยพร้อมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา แต่สิ่งที่ต้องทำควบคู่กับปฏิบัติการทางสังคม ก็คือการเจริญสมาธิภาวนา เพื่อให้จิตบังเกิดความสงบ มีสติ เปี่ยมด้วยกรุณาและมีปัญญากระจ่างแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดทั้งประโยชน์ท่านและประโยชน์ตนอย่างแท้จริง

นอกจากการนำพุทธศาสนามาสัมพันธ์กับสังคมแล้ว ท่านนัท ฮันห์ ยังเห็นว่าพุทธศาสนามิอาจแยกจากชีวิตได้ การปฏิบัติธรรมมิได้หมายถึงการปลีกตัวออกจากกิจวัตรประจำวัน หากควรผสานให้กลมกลืนกับทุกอิริยาบถ ไม่ว่าการกิน การดื่ม การทำงาน ล้วนเป็นโอกาสแห่งการเจริญสมาธิภาวนาทั้งสิ้น พุทธศาสนาที่สัมพันธ์กับชีวิตและสังคมอย่างแนบแน่นดังกล่าว ท่านนัท ฮันห์ เรียกว่า Engaged Buddhism ซึ่งเป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน

เสน่ห์แห่งคำสอนของท่านนัท ฮันห์ อยู่ที่การประยุกต์ธรรมให้สมสมัย โดยอิงอาศัยหลักไตรสิกขา กล่าวคือศีล สมาธิ ปัญญา แทนที่ศีลจะจำกัดอยู่แค่ศีล ๕ ในขอบเขตแคบ ๆ อย่างที่เราคุ้นเคย ท่านได้ขยายศีล ๕ ให้มีความหมายกว้างขึ้นเพื่อให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่ที่มีความซับซ้อนแยบยลสูงจนผู้คนสามารถเบียดเบียนกันได้แม้จะไม่เห็นตัวกัน เช่น ศีลข้อที่ ๑ อันได้แก่ปาณาติบาต ท่านได้ขยายความว่าหมายถึง “การตั้งจิตมั่นที่จะไม่ทำลายชีวิต ไม่ปล่อยให้ผู้อื่นทำลายชีวิต รวมทั้งจะไม่ส่งเสริมการทำลายชีวิตใด ๆ ในโลกนี้ โดยทั้งความคิดและในทางการปฏิบัติ” ในแง่นี้การสนับสนุนนโยบายฆ่าตัดตอนผู้ค้ายาเสพติด หรือการบริโภคที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมทารุณสัตว์ ก็เท่ากับผิดศีลข้อที่ ๑ ด้วย

ในด้านสมาธิ ท่านเห็นว่าหัวใจสำคัญของสมาธิภาวนา คือการเจริญสติ เพราะสตินำไปสู่ความตื่นรู้ และความตื่นรู้นั้นมิได้จำกัดอยู่แค่การรู้กายและใจของตนเท่านั้น หากยังรู้ความเป็นไปของสิ่งรอบตัว รวมทั้งรู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คนด้วย แต่ขณะเดียวกันจะต้องไม่ปล่อยให้ความทุกข์ของผู้อื่นท่วมท้นจิต จนตนเองกลายเป็นผู้ทุกข์ไปด้วยอีกคน เราจะต้องรักษาจิตให้ผ่องใสอยู่เสมอ โดยมีสติเข้าไปรับรู้ความเศร้าโศก ความโกรธ ความเกลียด และแปรให้เป็นความสงบและความรัก การตื่นอยู่เสมอด้วยสตินั้นเป็นปาฏิหาริย์ในตัวเอง ดังหนังสือเรือง ปาฏิหาริย์แห่งการตื่นอยู่เสมอ ของท่านเป็นคู่มือนำทางให้แก่เราได้เป็นอย่างดี โดยที่ต้องไม่ลืมว่าหนังสือเล่มนี้ท่านเขียนในขณะที่สงครามเวียดนามกำลังมาถึงจุดแตกหัก แม้ท่านจะห่วงใยกับสถานการณ์ดังกล่าวเพียงใด แต่ท่านก็สงบนิ่งพอที่จะเขียนหนังสืออันมีคุณค่าลุ่มลึกทางจิตใจได้

ท่านนัท ฮันห์ ยังเป็นผู้ฉลาดในการนำพาให้เราเห็นโลกด้วยปัญญา กล่าวคือไปพ้นจากความหลงแห่งทวิภาวะที่มองสิ่งต่าง ๆ แยกออกเป็นขั้ว ๆ ท่านชี้ให้เห็นว่า สิ่งที่มองเห็นเป็นขั้วนั้นแท้จริงเป็นอีกด้านของเหรียญเดียวกัน ไม่ว่า ได้-เสีย มา-ไป เกิด-ตาย เรา-ผู้อื่น ขยะ-ดอกไม้ เหยื่อ-อาชญากร ทั้งหมดนี้ไม่ได้แยกจากกัน คนที่เป็นอาชญากรนั้นก็เคยเป็นเหยื่อมาก่อน เช่นเดียวกับขยะซึ่งในอดีตเคยเป็นดอกไม้ และในอนาคตก็จะกลายเป็นดอกไม้อีก ในโลกแห่งความเป็นจริง ทุกอย่างล้วนสัมพันธ์กันและเป็นเหตุปัจจัยให้แก่กันและกัน (ดังท่านเรียกว่า “เป็นดั่งกันและกัน” หรือ interbeing) เมฆกับกระดาษ เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก ไม่มีเมฆ ไม่มีฝน ก็ไม่มีต้นไม้ และไม่มีกระดาษ ด้วยเหตุนี้ท่านจึงย้ำให้เรามองกระดาษจนเห็นก้อนเมฆ ดวงอาทิตย์ และคนตัดไม้ กล่าวอีกนัยหนึ่งกระดาษนั้นไม่มีตัวตนของมันเอง หากเกิดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่ใช่กระดาษ เช่นเดียวกับร่างกายของเราล้วนเกิดขึ้นจากธาตุหรือสารต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเรา เช่น คาร์บอน แคลเซียม เหล็ก ฯลฯ ด้วยคำสอนง่าย ๆ ที่ฝึกให้เรามองสิ่งต่าง ๆ อย่างเพ่งพินิจ ท่านได้พาให้เราเข้าใจความจริงอันลึกซึ้งอันได้แก่อนัตตา คือความไม่มีตัวตน

คุณูปการสำคัญอีกประการหนึ่งของท่านนัท ฮันห์ ที่ควรกล่าวย้ำในที่นี้ก็คือ การตั้งสังฆะที่สมสมัย ท่านตระหนักดีว่าพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ได้ จำต้องมีสังฆะที่เข้มแข็ง แต่แทนที่สังฆะจะหมายถึงผู้บวชที่ถือเพศพรหมจรรย์เท่านั้น ท่านได้ขยายสังฆะให้คลุมไปถึงอุบาสกและอุบาสิกา ขณะเดียวกันในฝ่ายผู้บวช ก็มิได้มีแต่ภิกษุเท่านั้น หากยังมีภิกษุณีอีกด้วย โดยมีสิกขาบทที่ปรับปรุงให้เหมาะกับสังคมสมัยใหม่อย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะการทวนกระแสบริโภคนิยม ซึ่งกำลังเป็นตัวกัดกร่อนบั่นทอนชีวิตจิตใจของนักบวชและผู้ใฝ่ธรรมทั่วโลก ขณะเดียวกันท่านยังได้คิดค้นพิธีกรรมใหม่ ๆ ที่สื่อธรรมอย่างน่าประทับใจ ควบคู่ไปกับการสร้างสามัคคีธรรมในหมู่สังฆะเพื่อเป็นชุมชนกัลยาณมิตรอย่างแท้จริง

จาก http://www.visalo.org/article/person18NhatHanh.htm