ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 08:07:11 pm »มหากาฬโมเดล เอาจริง รื้อจริง ไล่จริง งานนี้ “ชายหมู” ไม่ดรามา!
ชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ชุมชนเก่าแก่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานที่ดินหลังกำแพงป้อมมหากาฬให้แก่วัดและให้ข้าราชบริพารสร้างบ้านเรือนอยู่
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -บัดนี้มีความชัดเจนแล้วว่า “กรุงเทพมหานคร” ภายใต้การกุมบังเหียนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีชื่อว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หรือ “คุณชายหมู” จะเดินหน้าเร่งไล่รื้อชุมชนเก่าแก่ชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย “ชุมชนป้อมมหากาฬ” อย่างไม่ลดราวาศอก
การไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ ก่อตัวเป็นปัญหาเรื้อรังมานานกว่า 24 ปี สืบเนื่องจากแผนแม่บทสร้างสวนสาธารณะของ กทม. เมื่อหลายสิบปีก่อน จึงมีการบังคับผู้อยู่อาศัยเก่าแก่ให้ย้ายออกตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ. 2535เป็นเหตุให้ชาวบ้านส่วนหนึ่งยอมจำนนและย้ายออก แต่อีกส่วนยังคงอยู่อาศัยต่อ เพราะประสบความไม่ชอบธรรมเรื่องการจัดการของ กทม. รวมทั้ง ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ต่อสู้กันเรื่อยมา
ทั้งๆ ที่ ชุมชนป้อมมหากาฬ ถือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานที่ดินหลังกำแพงป้อมมหากาฬให้แก่วัดและให้ข้าราชบริพารสร้างบ้านเรือนอยู่ ผู้อาศัยปัจจุบันจึงไม่ใช่ผู้บุกรุก
ความคืบหน้าล่าสุด คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีมติร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกรณีชุมชนป้อมมหากาฬ ที่มีตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ทั้งภาควิชาการ ภาคกฎหมาย ภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันศึกษาพัฒนาและเสนอแนวทางต่อกรุงเทพมหานคร โดยจะเร่งดำเนินการแจ้งหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เพื่อขอให้หยุดการไล่รื้อชุมชนออกไปก่อน พร้อมทั้งเสนอข้อกฎหมายเพื่อให้ชุมชนอยู่ต่อไปได้
โดยที่ประชุมเห็นพ้องว่า พ.ร.ฎ. เวนคืน พ.ศ. 2535 เป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องมีการศึกษาและปรับปรุงแก้ไข โดย อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ จากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อธิบายว่า กฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุผลทางวิชาการรองรับ กลายๆ ว่า สถานการณ์ไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬอาจยุติและปรับแผนพัฒนา
“ยืนยันว่า พ.ร.ฎ. เวนคืนนั้น โดยหลักการสามารถแก้ไขวัตถุประสงค์ได้ อยู่ที่ว่าจะมีความจริงใจที่จะแก้หรือไม่ โดยมีแนวทางแก้หลายแนวทาง หนึ่งคือ แก้วัตถุประสงค์ให้ใช้พื้นที่เป็นสวนสาธารณะในรูปแบบพิพิธภัณฑ์บ้านไม้โบราณและรักษาโบราณสถาน สอง คือ แก้ทั้งฉบับ แต่กทม. อาจต้องลงงบประมาณใหม่อีกครั้ง เพราะต้องจ่ายค่าชดเชยใหม่ในราคาที่ดินในวันประกาศใช้ พรฎ. ส่วนตัวยินดีเป็นคณะทำงานด้านกฎหมายว่าจะแก้ไข พ.ร.ฎ.ดังกล่าวอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ กทม. ติดขัดมาตลอด”
ทว่า ท่าทีของ กทม. ให้หลังเพียงไม่กี่วันรีบขนขบวนนำป้ายมาปิดประกาศทั่วพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ ขอให้ชาวบ้านย้ายออกไปตามเส้นตายเดิมที่ขีดไว้วันที่ 3 กันยายน 2559 นำโดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) อ้างว่า กทม.จะต้องดำเนินการตามคำสั่งศาล และตามกฎหมายที่สั่งการตลอดจนความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดให้ กทม.ปรับปรุงภูมิทัศน์ป้อมมหากาฬให้เป็นพื้นที่สาธารณะ
และ ศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการกองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา กทม. ย้ำเจตนารมณ์ของ กทม. ว่าการรื้อถอนเป็นไปตามหน้าที่ ตั้งเป้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้ง 56 หลัง ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ อ้างอิงหนังสือที่ กท 0908/1733 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2559 เรื่องขอความร่วมมือในการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่เวนคืนบริเวณป้อมมหากาฬ เนื่องจาก กทม. มีความจำเป็นต้องเข้าใช้พื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่สั่งการ และตามนโยบายของรัฐบาลในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อจัดสวนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจพร้อมทั้งอนุรักษ์โบราณสถานของชาติสำหรับการเรียนรู้หาประวัติศาสตร์ และใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อนันทนาการประกอบกิจกรรมการละเล่นทางวัฒนธรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของกรุงรัตนโกสินทร์
ส่วนแนวทางการพัฒนาพื้นที่ของ กทม. ถูกโจมตีว่าเป็นการรังแกประชาชนตาดำๆ ที่ปักหลักอยู่ในพื้นที่ชุมชนเก่าแก่บริเวณป้อมมหากาฬกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ หลายฝ่ายมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าชุมชนแห่งนี้มีคุณค่าและคู่ควรแก่การอนุรักษ์ เช่นเดียวกับ ชุมชุมเก่าแก่ในต่างประเทศที่ได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้ผู้คนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้
ชุมชนป้อมมหากาฬ ถือเป็นชุมชนบ้านไม้โบราณเก่าแก่มีอัตลักษณ์โดดเด่นทางสถาปัตยกรรม สะท้อนการอยู่อาศัยแบบดั้งเดิมในเมือหลวง แม้กาลเปลี่ยนผ่านแต่วิถีความเป็นอยู่ยังไม่แปรสภาพไปตามยุคสมัย มีการอนุรักษ์อาชีพดั้งเดิม เป็นแหล่งประวัติศาสตร์แหล่งความรู้ทางโบราณคดี
โดยที่ผ่านมามีหลายฝ่ายยื่นมือให้ความช่วยเหลือในการเรียกร้องให้ทบทวนและยุติแผนการไล่รื้อ เพราะเล็งเห็นตรงกันว่าชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นชุมชนเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่สำคัญมีศักยภาพในตนเอง จึงเกิดการต่อสู้ขับเคลื่อนพลังของภาคประชาชนและให้กำเนิด 'Mahakan Model (มหากาฬโมเดล)' รวมทั้งร่วมสร้างพื้นที่สาธารณะ ‘พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต' บ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ตั้งปราการต้านการไล่รื้อที่ของ กทม. เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับพื้นที่สาธารณะและโบราณสถานได้
มหากาฬโมเดล พยายามนำเสนอทางออกสำหรับทุกฝ่ายเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างเป็นมิตร มากกว่าการไล่รื้อผู้อยู่อาศัยเก่าแก่และปรับภูมิทัศน์อย่างไรอารยะ ภัททกร ธนสารอักษร สถาปนิกหนุ่ม ผู้ขับเคลื่อน มหากาฬโมเดล กล่าวในงานเปิด พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต บ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ว่า แนวคิดมหากาฬโมเดลพัฒนามากจากโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน ด้วยการพัฒนาคนในชุมชนและพื้นที่ สร้างสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ที่ชุมชนมีส่วนร่วม
“ผมอยากให้ที่นี่เป็นที่ที่เป็นอยู่ แต่เป็นอย่างถูกต้องและถูกพัฒนาอย่างดี ผมจึงมองว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนแถวนี้เข้มแข็งก่อน เราจึงจะสามารถอนุรักษ์เมืองที่ควรจะเป็นได้อย่างในอนาคต...
ย่านฮิกาชิยาม่า เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
หูท่ง ปักกิ่ง ประเทศจีน
“....กรณีป้อมมหากาฬเป็นเรื่องของความสิ้นหวังที่นำมาสู่ทางตันของการพัฒนา เอาง่ายๆ อย่างเรื่องการแก้กฎหมาย เขาเห็นว่ากฎหมายแก้ไม่ได้ แต่มันไม่ใช่เลย แผนที่สร้างปัญหาเป็นกฎหมายระดับกฤษฎีกา ซึ่งต่ำกว่าพระราชบัญญัติจึงต้องแก้ได้ ก็เป็นที่ถกเถียงมาถึง 24 ปี กับกฎหมายกฤษฎีกาฉบับนี้ที่มีคำสั่งไล่รื้อพื้นที่และคนในชุมชนเพื่อทำสวนสาธารณะตั้งแต่ปี 2535 แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะมีความหวังในปี 2548 ที่ อภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ ในขณะนั้น มีการลงนาม 3 ฝ่ายที่จะมีการพัฒนาแผนให้ป้อมมหากาฬเป็นชุมชนตัวอย่าง ที่จะเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ และชุมชนอาศัยอยู่ร่วมกันได้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต แต่ก็เงียบหายไปไม่มีการดำเนินการต่อ และเจ้าหน้าที่รัฐสมัยต่อมาก็ตอบเพียงว่าไม่สามารถทำได้เพราะขัดกับกฎหมายกฤษฎีกา ปี 2535”
ข้อเท็จจริงทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติชุมชนสามารถอยู่รวมกับสวนสาธารณะได้โดยไม่ต้องรื้อถอน ชาตรี ประกิตนนทการ หัวหน้างานวิจัยบ้านไม้โบราณชุมชนป้อมมหากาฬ อธิบายว่า เริ่มต้นให้คนในชุมชนทำหน้าที่ดูแลพื้นที่สวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ไม่รับเงิน แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าสุดท้ายชุมชนจะพ่ายการท่องเที่ยวที่มาพร้อมทุนนิยม
“เวลาเราตามเรื่องนี้เราจะเจอคำพูดที่พูดมาตลอดว่า สวนสาธารณะกับชุมชนอยู่ร่วมกันไม่ได้ ถ้ามีสวน สาธารณะ 100 เปอร์เซ็นต์ ชุมชนก็จะทำให้สวนสาธารณะเล็กลง ถ้ามีชุมชน 100 เปอร์เซ็นต์ สวนสาธารณะก็ไม่มีทางอยู่ได้ หรือความคิดที่ว่าโบราณสถานไม่ควรจะมีคน ต้องเอาคนออกจากโบราณสถาน ซึ่งแนวคิดเรื่อง Public Space ที่ห้ามคนอาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เป็นความคิดที่โบราณมาก”
ฉะนั้น อย่ามัวรีรอเพราะในต่างประเทศมีตัวอย่างชุมชนเก่าแก่ที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานมากมาย อาทิ
ย่านฮิกาชิยามา เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมืองโบราณอายุ 1,222 ปี จากแนวคิดฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเมืองเก่าให้ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมผ่านการวางผังเมืองใหม่ รวมทั้งปรับภูมิทัศน์ตึกสูงที่บดบังความสวยงามย่านเมืองเก่า โดยความร่วมมือจากองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ ปรับปรุงสถาปัตยกรรมโบราณ รวมทั้งรองรับการขยายเมือง และปรับเปลี่ยนอาคารอนุรักษ์บางแห่งเป็นที่พักนักท่องเที่ยว สถานที่จัดแสดงงานศิลปะดั้งเดิม สัมผัสบรรยากาศเก่าๆ
หมู่บ้านบุกชอนฮันอก โซล ประเทศเกาหลีใต้
หูท่ง ปักกิ่ง ประเทศจีน เมืองประวัติศาสตร์อายุ 745 ปี ย้อนไปกลับไปช่วง โอลิมปิกปี 2551 พื้นที่รายรอบพระราชวังต้องห้าม ถูกปรับเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านและอาคารพาณิชย์รองรับการพัฒนาตามนโยบายของรัฐ ส่งผลให้ประชากรกว่า 580,000 คน ต้องย้ายออกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ ซึ่งรัฐบาลจีนจึงตัดสินใจรักษาพื้นที่ชุมชนหูท่ง เป็นย่านวัฒนธรรมแสดงวิถีชีวิตของคนปักกิ่งสมัยโบราณ เปิดสอนทำอาหาร งานฝีมือ ฯลฯ
หมู่บ้านบุกชอนฮันอก โซล ประเทศเกาหลีใต้ ย่านเก่าแก่ที่อยู่อาศัยบรรดาขุนนาง อายุ 624 ปี จากประวัติศาสตร์หลังคาบสมุทรเกาหลีถูกญี่ปุ่นยึดครอง เกิดการเปลี่ยนแปลงของบ้านและสถาปัตยกรรมเก่าแก่ รวมทั้งการขยายตัวของเมืองในเวลาต่อมา ส่งผลให้อาคารเก่าย่านนี้หายไปจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีใต้จับมือกับคนในพื้นที่และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งนโยบายอนุรักษ์เมืองเก่า ปรับปรุงบ้านเรือนฟื้นฟูสถาปัตยกรรมเก่าแก่อันเป็นมรดกของชาติ โดยที่พลเมืองสามารถอาศัยอยู่ได้ และรองรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมของเกาหลีใต้
ขณะที่รัฐบาลต่างชาติ ตระหนักถึงการพัฒนาชุมชนโบราณโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ชุมชนเก่าแก่ของเมืองไทยกลับถูกการพัฒนากลืนหาย สำหรับ 'ชุมชนป้อมมหากาฬ' ใกล้เส้นตายการไล่รื้อที่เข้ามาทุกๆ งานนี้คงได้พิสูจน์ใจรัฐบาลว่าจะยอมให้ 'มหากาฬโมเดล' ที่ภาคประชาชนทุ่มกันสุดตัวเดินหน้าต่อไปหรือไม่? ครั้นจะหวังพึ่ง ชายหมู ท่านก็ชัดเจนแล้วว่าเดินหน้าเต็มกำลังอย่างไรก็ไล่รื้อกันตามระเบียบ!
ขอบคุณข้อมูล FB@Mahakan MODEL
จาก http://astv.mobi/A9UVECS
ชุมชนบ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ชุมชนเก่าแก่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานที่ดินหลังกำแพงป้อมมหากาฬให้แก่วัดและให้ข้าราชบริพารสร้างบ้านเรือนอยู่
ผู้จัดการสุดสัปดาห์ -บัดนี้มีความชัดเจนแล้วว่า “กรุงเทพมหานคร” ภายใต้การกุมบังเหียนของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่มีชื่อว่า ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร หรือ “คุณชายหมู” จะเดินหน้าเร่งไล่รื้อชุมชนเก่าแก่ชานกำแพงพระนครแห่งสุดท้าย “ชุมชนป้อมมหากาฬ” อย่างไม่ลดราวาศอก
การไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬ ก่อตัวเป็นปัญหาเรื้อรังมานานกว่า 24 ปี สืบเนื่องจากแผนแม่บทสร้างสวนสาธารณะของ กทม. เมื่อหลายสิบปีก่อน จึงมีการบังคับผู้อยู่อาศัยเก่าแก่ให้ย้ายออกตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน พ.ศ. 2535เป็นเหตุให้ชาวบ้านส่วนหนึ่งยอมจำนนและย้ายออก แต่อีกส่วนยังคงอยู่อาศัยต่อ เพราะประสบความไม่ชอบธรรมเรื่องการจัดการของ กทม. รวมทั้ง ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง ต่อสู้กันเรื่อยมา
ทั้งๆ ที่ ชุมชนป้อมมหากาฬ ถือเป็นชุมชนเก่าแก่ที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 พระราชทานที่ดินหลังกำแพงป้อมมหากาฬให้แก่วัดและให้ข้าราชบริพารสร้างบ้านเรือนอยู่ ผู้อาศัยปัจจุบันจึงไม่ใช่ผู้บุกรุก
ความคืบหน้าล่าสุด คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มีมติร่วมกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกรณีชุมชนป้อมมหากาฬ ที่มีตัวแทนจากกลุ่มต่างๆ ทั้งภาควิชาการ ภาคกฎหมาย ภาคประชาสังคม เพื่อร่วมกันศึกษาพัฒนาและเสนอแนวทางต่อกรุงเทพมหานคร โดยจะเร่งดำเนินการแจ้งหนังสือถึง ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์เพื่อขอให้หยุดการไล่รื้อชุมชนออกไปก่อน พร้อมทั้งเสนอข้อกฎหมายเพื่อให้ชุมชนอยู่ต่อไปได้
โดยที่ประชุมเห็นพ้องว่า พ.ร.ฎ. เวนคืน พ.ศ. 2535 เป็นประเด็นสำคัญที่จำเป็นต้องมีการศึกษาและปรับปรุงแก้ไข โดย อภิชาต พงษ์สวัสดิ์ จากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย อธิบายว่า กฎหมายสามารถเปลี่ยนแปลงได้หากมีเหตุผลทางวิชาการรองรับ กลายๆ ว่า สถานการณ์ไล่รื้อชุมชนป้อมมหากาฬอาจยุติและปรับแผนพัฒนา
“ยืนยันว่า พ.ร.ฎ. เวนคืนนั้น โดยหลักการสามารถแก้ไขวัตถุประสงค์ได้ อยู่ที่ว่าจะมีความจริงใจที่จะแก้หรือไม่ โดยมีแนวทางแก้หลายแนวทาง หนึ่งคือ แก้วัตถุประสงค์ให้ใช้พื้นที่เป็นสวนสาธารณะในรูปแบบพิพิธภัณฑ์บ้านไม้โบราณและรักษาโบราณสถาน สอง คือ แก้ทั้งฉบับ แต่กทม. อาจต้องลงงบประมาณใหม่อีกครั้ง เพราะต้องจ่ายค่าชดเชยใหม่ในราคาที่ดินในวันประกาศใช้ พรฎ. ส่วนตัวยินดีเป็นคณะทำงานด้านกฎหมายว่าจะแก้ไข พ.ร.ฎ.ดังกล่าวอย่างไร ซึ่งเป็นสิ่งที่ กทม. ติดขัดมาตลอด”
ทว่า ท่าทีของ กทม. ให้หลังเพียงไม่กี่วันรีบขนขบวนนำป้ายมาปิดประกาศทั่วพื้นที่ชุมชนป้อมมหากาฬ ขอให้ชาวบ้านย้ายออกไปตามเส้นตายเดิมที่ขีดไว้วันที่ 3 กันยายน 2559 นำโดย พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) อ้างว่า กทม.จะต้องดำเนินการตามคำสั่งศาล และตามกฎหมายที่สั่งการตลอดจนความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ที่กำหนดให้ กทม.ปรับปรุงภูมิทัศน์ป้อมมหากาฬให้เป็นพื้นที่สาธารณะ
และ ศักดิ์ชัย บุญมา ผู้อำนวยการกองจัดกรรมสิทธิ์ สำนักการโยธา กทม. ย้ำเจตนารมณ์ของ กทม. ว่าการรื้อถอนเป็นไปตามหน้าที่ ตั้งเป้ารื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้ง 56 หลัง ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ อ้างอิงหนังสือที่ กท 0908/1733 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2559 เรื่องขอความร่วมมือในการรื้อย้ายสิ่งปลูกสร้างออกจากพื้นที่เวนคืนบริเวณป้อมมหากาฬ เนื่องจาก กทม. มีความจำเป็นต้องเข้าใช้พื้นที่บริเวณป้อมมหากาฬ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามข้อกฎหมายที่สั่งการ และตามนโยบายของรัฐบาลในการปรับปรุงพื้นที่ เพื่อจัดสวนสาธารณะเพื่อให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจพร้อมทั้งอนุรักษ์โบราณสถานของชาติสำหรับการเรียนรู้หาประวัติศาสตร์ และใช้ประโยชน์พื้นที่เพื่อนันทนาการประกอบกิจกรรมการละเล่นทางวัฒนธรรม และเป็นแหล่งท่องเที่ยวของกรุงรัตนโกสินทร์
ส่วนแนวทางการพัฒนาพื้นที่ของ กทม. ถูกโจมตีว่าเป็นการรังแกประชาชนตาดำๆ ที่ปักหลักอยู่ในพื้นที่ชุมชนเก่าแก่บริเวณป้อมมหากาฬกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ หลายฝ่ายมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าชุมชนแห่งนี้มีคุณค่าและคู่ควรแก่การอนุรักษ์ เช่นเดียวกับ ชุมชุมเก่าแก่ในต่างประเทศที่ได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้ผู้คนอยู่ร่วมกับโบราณสถานได้
ชุมชนป้อมมหากาฬ ถือเป็นชุมชนบ้านไม้โบราณเก่าแก่มีอัตลักษณ์โดดเด่นทางสถาปัตยกรรม สะท้อนการอยู่อาศัยแบบดั้งเดิมในเมือหลวง แม้กาลเปลี่ยนผ่านแต่วิถีความเป็นอยู่ยังไม่แปรสภาพไปตามยุคสมัย มีการอนุรักษ์อาชีพดั้งเดิม เป็นแหล่งประวัติศาสตร์แหล่งความรู้ทางโบราณคดี
โดยที่ผ่านมามีหลายฝ่ายยื่นมือให้ความช่วยเหลือในการเรียกร้องให้ทบทวนและยุติแผนการไล่รื้อ เพราะเล็งเห็นตรงกันว่าชุมชนป้อมมหากาฬ เป็นชุมชนเก่าแก่มีประวัติศาสตร์ยาวนานควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่สำคัญมีศักยภาพในตนเอง จึงเกิดการต่อสู้ขับเคลื่อนพลังของภาคประชาชนและให้กำเนิด 'Mahakan Model (มหากาฬโมเดล)' รวมทั้งร่วมสร้างพื้นที่สาธารณะ ‘พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต' บ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ตั้งปราการต้านการไล่รื้อที่ของ กทม. เพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่าชุมชนสามารถอยู่ร่วมกับพื้นที่สาธารณะและโบราณสถานได้
มหากาฬโมเดล พยายามนำเสนอทางออกสำหรับทุกฝ่ายเพื่อเปลี่ยนแปลงเมืองอย่างเป็นมิตร มากกว่าการไล่รื้อผู้อยู่อาศัยเก่าแก่และปรับภูมิทัศน์อย่างไรอารยะ ภัททกร ธนสารอักษร สถาปนิกหนุ่ม ผู้ขับเคลื่อน มหากาฬโมเดล กล่าวในงานเปิด พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต บ้านไม้โบราณป้อมมหากาฬ ว่า แนวคิดมหากาฬโมเดลพัฒนามากจากโครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาชุมชนบ้านไม้โบราณ ป้อมมหากาฬ ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนแก่ชุมชน ด้วยการพัฒนาคนในชุมชนและพื้นที่ สร้างสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แห่งใหม่ที่ชุมชนมีส่วนร่วม
“ผมอยากให้ที่นี่เป็นที่ที่เป็นอยู่ แต่เป็นอย่างถูกต้องและถูกพัฒนาอย่างดี ผมจึงมองว่าจะทำอย่างไรให้ชุมชนแถวนี้เข้มแข็งก่อน เราจึงจะสามารถอนุรักษ์เมืองที่ควรจะเป็นได้อย่างในอนาคต...
ย่านฮิกาชิยาม่า เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
หูท่ง ปักกิ่ง ประเทศจีน
“....กรณีป้อมมหากาฬเป็นเรื่องของความสิ้นหวังที่นำมาสู่ทางตันของการพัฒนา เอาง่ายๆ อย่างเรื่องการแก้กฎหมาย เขาเห็นว่ากฎหมายแก้ไม่ได้ แต่มันไม่ใช่เลย แผนที่สร้างปัญหาเป็นกฎหมายระดับกฤษฎีกา ซึ่งต่ำกว่าพระราชบัญญัติจึงต้องแก้ได้ ก็เป็นที่ถกเถียงมาถึง 24 ปี กับกฎหมายกฤษฎีกาฉบับนี้ที่มีคำสั่งไล่รื้อพื้นที่และคนในชุมชนเพื่อทำสวนสาธารณะตั้งแต่ปี 2535 แม้ในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะมีความหวังในปี 2548 ที่ อภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ ในขณะนั้น มีการลงนาม 3 ฝ่ายที่จะมีการพัฒนาแผนให้ป้อมมหากาฬเป็นชุมชนตัวอย่าง ที่จะเป็นทั้งแหล่งท่องเที่ยว สวนสาธารณะ และชุมชนอาศัยอยู่ร่วมกันได้ เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต แต่ก็เงียบหายไปไม่มีการดำเนินการต่อ และเจ้าหน้าที่รัฐสมัยต่อมาก็ตอบเพียงว่าไม่สามารถทำได้เพราะขัดกับกฎหมายกฤษฎีกา ปี 2535”
ข้อเท็จจริงทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติชุมชนสามารถอยู่รวมกับสวนสาธารณะได้โดยไม่ต้องรื้อถอน ชาตรี ประกิตนนทการ หัวหน้างานวิจัยบ้านไม้โบราณชุมชนป้อมมหากาฬ อธิบายว่า เริ่มต้นให้คนในชุมชนทำหน้าที่ดูแลพื้นที่สวนสาธารณะและพิพิธภัณฑ์เสมือนเป็นเจ้าหน้าที่รัฐแต่ไม่รับเงิน แต่ก็มีข้อโต้แย้งว่าสุดท้ายชุมชนจะพ่ายการท่องเที่ยวที่มาพร้อมทุนนิยม
“เวลาเราตามเรื่องนี้เราจะเจอคำพูดที่พูดมาตลอดว่า สวนสาธารณะกับชุมชนอยู่ร่วมกันไม่ได้ ถ้ามีสวน สาธารณะ 100 เปอร์เซ็นต์ ชุมชนก็จะทำให้สวนสาธารณะเล็กลง ถ้ามีชุมชน 100 เปอร์เซ็นต์ สวนสาธารณะก็ไม่มีทางอยู่ได้ หรือความคิดที่ว่าโบราณสถานไม่ควรจะมีคน ต้องเอาคนออกจากโบราณสถาน ซึ่งแนวคิดเรื่อง Public Space ที่ห้ามคนอาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ เป็นความคิดที่โบราณมาก”
ฉะนั้น อย่ามัวรีรอเพราะในต่างประเทศมีตัวอย่างชุมชนเก่าแก่ที่อยู่ร่วมกับโบราณสถานมากมาย อาทิ
ย่านฮิกาชิยามา เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมืองโบราณอายุ 1,222 ปี จากแนวคิดฟื้นฟูเศรษฐกิจ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเริ่มพัฒนาเมืองเก่าให้ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมผ่านการวางผังเมืองใหม่ รวมทั้งปรับภูมิทัศน์ตึกสูงที่บดบังความสวยงามย่านเมืองเก่า โดยความร่วมมือจากองค์กรอนุรักษ์ต่างๆ ปรับปรุงสถาปัตยกรรมโบราณ รวมทั้งรองรับการขยายเมือง และปรับเปลี่ยนอาคารอนุรักษ์บางแห่งเป็นที่พักนักท่องเที่ยว สถานที่จัดแสดงงานศิลปะดั้งเดิม สัมผัสบรรยากาศเก่าๆ
หมู่บ้านบุกชอนฮันอก โซล ประเทศเกาหลีใต้
หูท่ง ปักกิ่ง ประเทศจีน เมืองประวัติศาสตร์อายุ 745 ปี ย้อนไปกลับไปช่วง โอลิมปิกปี 2551 พื้นที่รายรอบพระราชวังต้องห้าม ถูกปรับเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านและอาคารพาณิชย์รองรับการพัฒนาตามนโยบายของรัฐ ส่งผลให้ประชากรกว่า 580,000 คน ต้องย้ายออกเพื่อหาที่อยู่ใหม่ ซึ่งรัฐบาลจีนจึงตัดสินใจรักษาพื้นที่ชุมชนหูท่ง เป็นย่านวัฒนธรรมแสดงวิถีชีวิตของคนปักกิ่งสมัยโบราณ เปิดสอนทำอาหาร งานฝีมือ ฯลฯ
หมู่บ้านบุกชอนฮันอก โซล ประเทศเกาหลีใต้ ย่านเก่าแก่ที่อยู่อาศัยบรรดาขุนนาง อายุ 624 ปี จากประวัติศาสตร์หลังคาบสมุทรเกาหลีถูกญี่ปุ่นยึดครอง เกิดการเปลี่ยนแปลงของบ้านและสถาปัตยกรรมเก่าแก่ รวมทั้งการขยายตัวของเมืองในเวลาต่อมา ส่งผลให้อาคารเก่าย่านนี้หายไปจำนวนมาก รัฐบาลเกาหลีใต้จับมือกับคนในพื้นที่และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดตั้งนโยบายอนุรักษ์เมืองเก่า ปรับปรุงบ้านเรือนฟื้นฟูสถาปัตยกรรมเก่าแก่อันเป็นมรดกของชาติ โดยที่พลเมืองสามารถอาศัยอยู่ได้ และรองรับนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเรียนรู้วัฒนธรรมของเกาหลีใต้
ขณะที่รัฐบาลต่างชาติ ตระหนักถึงการพัฒนาชุมชนโบราณโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม ชุมชนเก่าแก่ของเมืองไทยกลับถูกการพัฒนากลืนหาย สำหรับ 'ชุมชนป้อมมหากาฬ' ใกล้เส้นตายการไล่รื้อที่เข้ามาทุกๆ งานนี้คงได้พิสูจน์ใจรัฐบาลว่าจะยอมให้ 'มหากาฬโมเดล' ที่ภาคประชาชนทุ่มกันสุดตัวเดินหน้าต่อไปหรือไม่? ครั้นจะหวังพึ่ง ชายหมู ท่านก็ชัดเจนแล้วว่าเดินหน้าเต็มกำลังอย่างไรก็ไล่รื้อกันตามระเบียบ!
ขอบคุณข้อมูล FB@Mahakan MODEL
จาก http://astv.mobi/A9UVECS