ข้อความโดย: มดเอ๊กซ
« เมื่อ: สิงหาคม 20, 2016, 11:09:14 pm »๒. วิธีเจริญวิปัสสนาอย่างลัด
วิธีเจริญวิปัสสนาแบบนี้ ผู้ปฏิบัติมุ่งทำลายอาสวะให้เด็ดขาดเลยทีเดียว ไม่พะวงถึงคุณสมบัติส่วนอื่นๆ โดยเชื่อว่าถ้ามีวาสนาเคยสั่งสมมาเมื่อบรรลุถึงอาสวักขัยแล้ว คุณสมบัตินั้นๆจะมีมาเองตามสมควรแก่วาสนาบารมี และเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษนั้นเป็นผลรายทางของการปฏิบัติ เมื่อเดินตามทางอย่างรีบลัดตัดตรงไปถึงที่สุดแล้วก็จะต้องได้คุณสมบัตินั้นๆ บ้างพอสมควรไม่จำเป็นต้องไปห่วงใยให้เสียเวลา รีบรุดหน้าไปสู่เป้าประสงค์สูงสุดทีเดียว มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. อาศัยสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นฐานทำการพิจารณาอารมณ์ของวิปัสสนาไปตามลำดับๆ จนได้ความรู้กระจ่างแจ้งในอารมณ์นั้นๆ เป็นอย่างๆ ไป สมาธิที่มีกำลังเพียงพอคือฌานที่ ๔ ถ้าต่ำกว่านั้นจะมีกำลังอ่อน จะไม่เห็นเหตุผลแจ่มชัด จะเป็นความรู้กวัดแกว่ง ไม่มีกำลังพอจะกำจัดอาสวะได้ ผู้มีภูมิสมาธิชั้นต่ำพึงทำการเข้าสมาธิสลับกับการพิจารณาเรื่อยไปจึงจะได้ผล อย่ามีแต่พิจารณาหน้าเดียว จิตจะฟุ้งในธรรมเกินไป แล้วจะหลงสัญญาตัวเองว่าเป็นวิปัสสนาญาณไป.
๒. ตีด่านสำคัญให้แตกหัก คือทำการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็นที่อาศัยของอาสวะนั้นให้เห็นแจ้งชัดโดยไตรลักษณะ แจ่มแล้วแจ่มอีกเรื่อยไปจนกว่าจะถอนอาลัยในขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาด จิตใจจึงจะมีอำนาจเหนือขันธ์ ๕ รู้เท่าทันขันธ์ ๕ ตามเป็นจริง อาสวะก็ตั้งไม่ติด จิตใจก็บรรลุถึงความมีอิสระเต็มเปี่ยม ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณด้วยประการฉะนี้.
พระไตรลักษณญาณ
การเจริญวิปัสสนา ไม่ว่าวิธีใดและขั้นใด จะต้องมีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดเสมอไป จึงจะเป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องชี้ขาดแล้ววิปัสสนาญาณนั้นๆ ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นไปเพื่อความหลงได้ เมื่อมีพระไตรลักษณญาณกำกับอยู่แล้วเป็นอันรับประกันได้ว่าจะไม่หลงทางไปได้ แม้วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ไม่หลงสำคัญว่าเป็นภูมิธรรมสูงสุด แล้วจะยับยั้งชั่งตรองว่าธรรมที่ปรากฏขึ้นนั้นอยู่ในลักษณะของพระไตรลักษณ์หรือไม่ถ้ายังอยู่ในลักษณะพระไตรลักษณ์แล้วชื่อว่ายังเป็นสังขาร มิใช่วิสังขาร ธรรมชาติของสังขารย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเสมอไป ส่วนวิสังขารย่อมพ้นอำนาจของพระไตรลักษณ์ คือเป็นสภาวะเที่ยงแท้แน่นอนไม่ทุกข์ และเป็นตนของตน พระไตรลักษณญาณนั้น คือ
๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ อนิจฺจลกฺขณญาณํ รู้ลักษณะไม่เที่ยงว่า สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมดเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีลักษณะผันแปรไปตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง สังขารทุกชนิดทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ทั้งภายในตัว ทั้งภายนอกตัวทั่วไตรโลกธาตุ ย่อมตกอยู่ใต้อำนาจของความไม่เที่ยงทั้งสิ้น เมื่อมีเกิด ย่อมมีตาย เป็นคู่กันเสมอไป สิ่งใดไม่เกิดสิ่งนั้นจึงจะไม่ตาย ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า อนิจจลักษณญาณ.
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ทุกฺขลกฺขณญาณํ รู้ในลักษณะทุกข์ว่า สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมดเป็นสิ่งมีทุกข์ มีลักษณะเผาลนบีบคั้น และผันแปรไปตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง สังขารทุกชนิดทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ทั้งภายในตัว ทั้งภายนอกตัวทั่วไตรโลกธาตุย่อมตกอยู่ใต้อำนาจของความทุกข์ทั้งสิ้น สังขารที่เที่ยงแท้มิได้มี ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วต้องมีทุกข์เสมอไป เหมือนไฟแม้เพียงน้อยนิดก็ร้อนฉะนั้น จะหาความสุขที่แท้จริงในสังขารย่อมหาไม่ได้เหมือนจะหาความเย็นในไฟย่อมไม่ได้ฉะนั้น ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า ทุกขลักษณญาณ.
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ อนตฺตลกฺขณญาณํ รู้ในลักษณะอนัตตาว่า สิ่งทั้งปวง คือตัวเหตุและปัจจัยทั้งหมดเป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งดำรงอยู่ และเป็นไปตามลักษณะของมันเองเช่นนั้น เมื่อมันเป็นตัวเหตุหรือตัวปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดเป็นสิ่งสังขารใดๆ ขึ้นมา ให้ตกอยู่ในลักษณะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์แล้ว ตัวมันเองก็ต้องไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน เพราะเหตุกับผลย่อมเป็นสิ่งคล้ายคลึงกันเสมอไป เหตุเที่ยงผลต้องเที่ยง เหตุทุกข์ผลต้องทุกข์ เหตุมิใช่ตัวตนผลก็มิใช่ตัวตนเช่นเดียวกัน สิ่งใดเป็นไปตามสภาพของมัน อันใครๆ จะไปฝ่าฝืนขัดขืนมิได้ สิ่งนั้นชื่อว่าอนัตตาทั้งสิ้น ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า อนัตตลักษณญาณ.
ข้อควรสังเกตของผู้ปฏิบัติ คือพระไตรลักษณ์ครอบงำไปถึงไหน ที่นั้นยังมิใช่ภูมิพ้นทุกข์จริงภูมิพ้นทุกข์จริงแท้นั้น ต้องพ้นจากอำนาจของไตรลักษณ์เด็ดขาด ไตรลักษณ์หมดอำนาจที่จะครอบงำถึง ภูมิจิตใจอันพ้นจากอำนาจของไตรลักษณ์นั้นมีได้อย่างไร เป็นสิ่งจะต้องรู้เองเห็นเองโดยส่วนเดียว เมื่อได้รู้เห็นภูมิอันพ้นอำนาจไตรลักษณ์แล้ว ท่านพ้นทุกข์เด็ดขาดแล้ว เย็นใจได้ทีเดียวว่าท่านจะไม่มีวันกลับมาสู่อำนาจของไตรลักษณ์อีกต่อไปตลอดนิรันดรกาล.
พระอาสวักขยญาณ
ความรู้ว่าอาสวะสิ้นไปแล้ว หรือยังอยู่อย่างไรเป็นความรู้สำคัญ ในชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงควรรู้จักหน้าตาของอาสวะให้เป็นข้อสังเกตในขั้นพิจารณาดังต่อไปนี้อาสวะคือธรรมชาติที่หมักดองจิตใจ ทำให้จิตใจแปรสภาพเป็นสิ่งเศร้าหมองบูดเหม็น เป็นทุกข์เดือดร้อน และก่อทุกข์เดือดร้อนเพิ่มใหม่แก่ตัวเป็นทวีคุณ ท่านจำแนกไว้ ๔ ประการคือ
๑. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ได้แก่ความเห็นเป็นเหตุให้ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นอัตตาตัวตน เป็นแก่นสาร ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้ยึดถือตัวตนนั่น ได้แก่ภวทิฏฐิ คือเห็นว่ามีแน่ ได้แก่เห็นว่าอัตตา=ตัวตน เป็นสิ่งแน่นอน แล้ว แล้วยึดถือเอาสิ่งที่ตนเห็นอันใดอันหนึ่งเป็นอัตตา แล้วประพฤติเพื่อความมีอัตตาตามที่ตนปรารถนา ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่มีอัตตาโดยประการทั้งปวงเรียกว่าวิภวทิฏฐิคือเห็นว่าไม่มีแน่ ได้แก่เห็นว่าขาดสูญ ตายแล้วก็สิ้นเรื่องทุกข์ร้อนเพียงนั้น ความเห็นทั้งสองประเภทนี้ย่อมเป็นไปเพื่อก่อทุกข์ด้วยกัน จึงจัดเป็นความเห็นผิดอันควรกำจัด เมื่อปฏิบัติเจริญวิปัสสนาเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์เมื่อใด ทิฏฐิเช่นนี้ก็ถูกกำจัดไปเมื่อนั้น.
๒. กามาสวะ อาสวะคือกาม ได้แก่ความติดใจในกามารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) ที่เรียกว่า กามราคะบ้าง กามฉันทะบ้าง มีความพอใจติดพัน หมายมุ่งลุ่มหลงในกามวัตถุ ครั้นไม่สมหวังหรือได้สิ่งไม่พึงใจ ย่อมเกิดความโกรธแค้นเกลียดชังหน่ายแหนงครั้นได้สมหวังย่อมเพลิดเพลินมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น จนหลงตนลืมตัวไป ความรู้สึก ๒ ฝ่ายเนื่องด้วยกามารมณ์นี้แล เรียกว่ากามาสวะ เป็นเครื่องหมักดองใจให้เศร้าหมอง แสดงตัวออกเป็นกิเลสอย่างหยาบ คือ โลภะ ความเห็นแก่ได้ และกามราคะ ความใคร่ในทางร่วมประเวณี ที่รุนแรงคือกามมิจฉาจาร อย่างกลางคือ กามฉันทะ ความพออกพอใจในกามารมณ์สามัญทั่วไป มีลักษณะให้อาลัยห่วงใยในสิ่งที่ตนพอใจนั้นๆ.
๓. ภวาสวะ อาสวะคือภพ ได้แก่ภวราคะความพอใจอาลัยในภพ คือภาวะที่เป็นนั้นๆภายในจิตใจของตน ที่เรียกว่า รูปราคะ๑ ความติดใจในรูปฌาน แสดงตัวออกเป็นกิเลส อย่างหยาบคือภวตัณหา ทะยานอยากไปเกิดในภพที่ตนพอใจ อย่างกลางคือโสมนัสความดีใจในเมื่อสมหวัง โทมนัสความเสียใจในเมื่อไม่สมหวัง อย่างละเอียดคืออุเบกขาสุขในตติยฌานภูมิ และมานะความถือตัว.
๔. อวิชชาสวะ๒ อาสวะคืออวิชชา ได้แก่ความรู้ไม่แจ่มแจ้งซึ่งสิ่งนั้นๆ เป็นเหตุให้หลงและสำคัญผิดเข้าใจผิดเห็นผิดไปต่างๆ แสดงตัวออกเป็นกิเลสอย่างหยาบคือมิจฉาทิฏฐิต่างๆ และวิภวตัณหา อยากดับสูญไม่อยากเกิดอีกโดยความเข้าใจผิดไปว่าตายแล้วสิ้นเรื่องเพียงนั้น อย่างกลางคือ อรูปราคะความติดใจในอรูปฌาน อย่างละเอียดคืออุทธัจจะ ความฟุ้งของจิต หรือความสะเทือนใจตื่นเต้นในธรรมคือภาวะที่เป็นไปในจิตชั้นสูง ที่ท่านเรียกว่าธรรมอุทธัจจะ และตัวอวิชชาเอง.
๑. ในพระสูตรว่า ความพอใจในรูปภาพวิจิตร เป็นรูปราคะ.
๒. อวิชชาเป็นพาหนะของกิเลสทั้งหลาย ท่านเปรียบเหมือนช้างคีรีเมขลาสีหมอก.
วัตถุอันเป็นที่ตั้งของอวิชชา มี ๘ ประการ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อดีต อนาคต ปัจจุบัน และปฏิจจสมุปบาท (=ปัจจยาการ ๑๒) เมื่อยังไม่รู้แจ่มแจ้งวัตถุทั้ง ๘ นี้ ตามเป็นจริงเพียงไร อวิชชาสวะยังมีอยู่เพียงนั้น เมื่อแจ่มแจ้งในวัตถุ ๘ ประการนี้แล้วอวิชชาย่อมดับไปสิ้นเชิง อวิชชาอันเป็นรากแก้วของกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดให้ดับไปแล้ว กิเลสทั้งหลายย่อมถูกกำจัดไป เมื่อกิเลสถูกกำจัดแล้ว กรรมอันเป็นตัวเหตุก่อนามรูปในกำเนิดต่างๆ ก็ถูกทำลาย ทุกข์ทั้งหลายอันเป็นผลของกิเลสและกรรมก็สิ้นสุดลง เมื่อนามรูปปัจจุบันอันเป็นวิบากขันธ์ยังมีอยู่ก็เสวยผลของมันไปจนกว่ามันจะสลายไป เมื่อนามรูปปัจจุบันสลายแล้ว นามรูปใหม่ก็ไม่มีอีก เป็นอันหมดสิ่งต้องเกิดตายเพียงนั้น ต่อนั้นไปก็มีแต่สภาวะที่ปราศจากทุกข์โดยส่วนเดียวดำรงอยู่ในสภาพปราศจากทุกข์ตลอดกาลนิรันดร.
เมื่อรู้จักอาสวะ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง รู้เหตุเกิดอาสวะเหล่านั้น รู้จักที่สิ้นอาสวะและรู้จักทางให้สิ้นอาสวะได้แล้ว ย่อมสามารถทำลายอาสวะเด็ดขาดได้ ชื่อว่าได้บรรลุอาสวักขยญาณ ด้วยประการฉะนี้.
วิธีเจริญอาสวักขยญาณอย่างรวบยอด สำหรับผู้ปฏิบัติจริงๆ คือ เข้าฌานอันเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดผ่องแผ้ว แล้วกำหนดสำเหนียกสิ่งที่ปรากฏในจิตใจขณะนั้นโดยไตรลักษณ์ เมื่อเกิดความรู้เห็นโดยไตรลักษณ์แจ่มแจ้งขึ้น จิตก็ผ่องแผ้วพ้นอาสวะทันที การสำเหนียกพิจารณาในฌานเช่นนี้จะเป็นไปโดยอาการสุขุมประณีตแผ่วเบา ไม่รู้สึกสะเทือนทางประสาทเลย ไม่เหมือนการคิดการอ่านโดยปกติธรรมดา ซึ่งต้องใช้ประสาทสมองเป็นเครื่องมือฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงทุ่มเทกำลังใจลงในการเจริญฌานมาตรฐานให้ได้หลักฐานทางจิตใจก่อนแล้ว จึงสำเหนียกไตรลักษณ์ดังกล่าวแล้ว จะสำเร็จผลเร็วกว่าวิธีใดๆ.
สัญโยชน์ ๑๐ ประการ
กิเลสอันเป็นเหตุผูกมัดสัตว์ไว้ในวัฏฏสงสาร ๑๐ ประการ ท่านเรียกว่า สัญโยชน์ พึงกำหนดรู้ลักษณะของมันไว้ ดังต่อไปนี้
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกายของตนเองที่แยกออกเป็น ๕ ส่วนว่าเป็นอัตตาตัวตนหรือว่าตน คือสิ่งเหล่านั้น หมายความว่ายังไม่เห็นอนัตตา ยังติดอัตตาอยู่.
๒. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจว่าพระนิพพานมีจริง เป็นเหตุให้สองจิตสองใจ ไม่กล้าปฏิบัติทางพระนิพพานอย่างจริงจัง โดยใจความก็ได้แก่ยังไม่เห็นอนัตตาแน่ชัดนั่นเอง.
๓. สีลพัตตปรามาส ข้อนี้แยกออกเป็น ๒ บทคือ สีลวัตตะ บทหนึ่ง, ปรามาสะ บทหนึ่งสีลวัตตะนั้นท่านแยกออกเป็น ๒ อีกคือ เป็นศีลอันใด วัตรอันนั้นอย่างหนึ่ง ศีลอันใดไม่ใช่วัตรอันนั้นหนึ่ง ศีล ๕ นั้นเป็นศีลอันใดวัตรอันนั้น คือเป็นศีลด้วยเป็นวัตรด้วย ส่วนอริยมรรคข้ออื่น เช่นสัมมาสติไม่ใช่ศีลอันใด วัตรอันนั้น คือเป็นแต่วัตร ไม่ใช่ศีล.
คำว่า ปรามาสะ นั้นแปลว่าการลูบคลำหรือการคลำหา ยังเคว้งคว้างอยู่ พระโสดาละสัญ-โยชน์ข้อนี้ไม่ใช่ละศีลวัตร ท่านละการลูบคลำซึ่งศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลด้วยเป็นวัตรด้วยนั้น หมายความว่าท่านไม่ต้องถือศีล ๕ เพราะมีศีล ๕ แล้ว และไม่ต้องไปแสวงหามรรคธรรมในศาสนาอื่นอีก เป็นอันรู้ทางที่จะดำเนินขึ้นสู่อริยผลเบื้องบนแน่นอนแล้ว เป็นแต่จะบำเพ็ญขึ้นไปอีกเท่านั้น.
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกามคุณ ติดใจในกามารมณ์ ความอยากได้ใคร่ดีในอารมณ์นั้นๆ.
๕. ปฏิฆะ คาวมคับใจ แค้นใจ หงุดหงิดในใจ เนื่องด้วยประสบอารมณ์น่าโกรธเคือง บางแห่งเรียกพยาบาทก็มี.
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปฌาน หรือในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์ของจิตใจสูง.
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม อันเป็นอารมณ์ของจิตใจชั้นสูง.
๘. มานะ ความสำคัญตนผิดไปจากความเป็นจริง ในที่นี้คงหมายเอาความเคยชินที่เคยถือมาแล้วแต่ก่อน เหลือติดอยู่ ท่านเปรียบเหมือนผ้าที่ฟอกสะอาดจากสิ่งโสโครกแล้ว แต่กลิ่นน้ำด่างยังติดเหลืออยู่ที่ผ้า จะต้องอบให้หมดกลิ่นน้ำด่างนั้นอีกชั้นหนึ่ง.
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งไม่สงบราบคาบ เป็นเหตุให้เห็นธรรมไม่แจ่มแจ้งได้ ความตื่นเต้นสะเทือนใจในภาวะของจิตใจบางประการ ตลอดถึงความมุ่งพยายามเร่งจะก้าวหน้าเลื่อนชั้นขึ้นไปอุทธัจจะในสัญโยชน์ไม่เหมือนอุทธัจจะที่เป็นนิวรณ์.
๑๐. อวิชชา ความรู้ไม่แจ่มแจ้งซึ่งสิ่งทั้งหลาย เป็นเหตุหลงและสำคัญผิดไปจากความจริง.
สัญโยชน์ ๑ – ๓ พระโสดาบันละได้ขาด พระสกทาคามีละสัญโยชน์ ๓ นั้นได้ และทำราคะโทสะ โมหะ ให้เบาบางลงได้ด้วย สัญโยชน์ ๑ – ๕ พระอนาคามีละได้เด็ดขาด สัญโยชน์ทั้ง ๑๐ พระอรหันต์ละได้ทั้งหมด.
ความจริงเมื่ออริยมรรคญาณเกิดขึ้นกำจัดกิเลสส่วนใดแล้ว อริยผลญาณย่อมเกิดขึ้นในลำดับ ให้หยั่งรู้ว่ากิเลสส่วนนั้นจะไม่งอกขึ้นอีก เมื่อบรรลุถึงอาสวักขยญาณแล้ว ย่อมเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นเองในลำดับนั้นทันทีว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ คือปฏิบัติมรรคเสร็จแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก ดังนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เองไม่ต้องถามใคร และไม่ต้องสอบสวนกับแบบแผนอะไรด้วย ถ้ายังต้องทำชื่อว่ายังมีสงสัย ญาณตัดสินใจไม่มี ไม่ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณ การที่นำสัญโยชน์มาตั้งไว้ในที่นี้ เพียงเพื่อเป็นข้อสังเกตกำหนดของผู้ปฏิบัติในการกำจัดกิเลสนั้นๆ เท่านั้น ผู้บรรลุอาสวักขยญาณอย่างแท้จริงแล้วย่อมมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ซึ่งทำให้สังเกตได้ว่าเป็นพระอรหันต์ ธรรมเครื่องอยู่นั้นเรียกว่า อริยวาส ดังต่อไปนี้
อริยวาส ๑๐
๑. ปัญจังคปหีโน๑ ละองค์ ๕ แห่งนิวรณ์ได้แล้ว.
๒. ฉฬังคสมันนาคโต ประกอบด้วยองค์ ๖ คือมีอุเบกขาในอารมณ์ทั้ง ๖.
๓. เอการักโข มีอารักขาเอก คือ สติไพบูลย์.
๔. จตุราปัสเสโน มีธรรมเป็นที่อิงอาศัย ๔ ประการ เหมือนกับมีเสนาป้องกัน ๔ ด้านคือ
(๑) พิจารณาแล้วเสพ
(๒) พิจารณาแล้วรับ
(๓) พิจารณาแล้วเว้น
(๔) พิจารณาแล้วบรรเทา
๕. ปนุนนปัจเจกสัจโจ๒ บรรเทาความเห็นผิดตามที่สมณพราหมณ์เป็นอันมากเห็นและถือมั่นกันอยู่ได้แล้ว.
๖. สมวยสัฏเฐสโน ละการแสวงหากามและภพได้แล้ว การแสวงหาพรหมจรรย์ก็สงบระงับลงแล้ว.
๗. อนาวิลสังกัปโป ละความคิดในทางกาม ความคิดพยาบาท และความคิดเบียดเบียนได้แล้ว เป็นผู้มีความคิดผ่องแผ้วอยู่เสมอ.
๘. ปัสสัทธกายสังขาโร มีกายสังขารระงับแล้ว คือบรรลุฌานที่ ๔ ซึ่งละสุข ทุกข์ โสมนัสโทมนัส ได้มีอุเบกขา สติ และความบริสุทธิ์กำกับใจอยู่เสมอ.
๙. สุวิมุตตจิตโต๓ มีจิตพ้นดีแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ.
๑๐. สุวิมุตตปัญโญ๔ มีความรู้ว่าพ้นดีแล้ว กิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ละได้แล้วถูกต้ดรากเหมือนตาลยอดด้วน มีอีกไม่ได้ ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป.
อริยวาส ๑๐ นี้ เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในอดีตและปัจจุบัน จักเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลายในอนาคตอีกด้วย.
อินทรีย์แก้ว
ก่อนจบบทนี้ จะพูดถึงอินทรีย์แก้วซึ่งได้พูดแย้มไว้หลายแห่งมาแล้ว พอเป็นแนวศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาพระพุทธศาสนา หวังว่าจะเป็นเรื่องที่สนใจอยากทราบเป็นแน่.
ปกรณ์ฝ่ายมหายานหรืออุตตรนิกาย เขาแบ่งภาคพระพุทธเจ้าเป็นหลายชั้น เช่น
(๑) พระอาทิพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ มีพระรัศมีรุ่งเรืองที่สุดหาเขตจำกัดมิได้ ไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย เป็นอยู่ชั่วนิรันดร.
(๒) พระฌานิพุทธเจ้า ได้แก่พระนิรมานกาย ที่ทรงเนรมิตบิดเบือนขึ้นด้วยอำนาจฌานสมาบัติ มีพระรัศมีรุ่งเรือง มิใช่พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก.
(๓) พระมานุสีพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าซึ่งมาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก มีพระกายในความเป็นมนุษย์อย่างสามัญมนุษย์ทั้งหลาย แต่เป็นพระกายดีวิเศษกว่าของมนุษย์สามัญ มีพระฉัพพรรณรังสีพระกายแผ่ซ่านออกข้างละวา.
ส่วนปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกาย หรือเถรวาท (คือฝ่ายเรา) ท่านโบราณาจารย์ก็แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาคเช่นเดียวกัน แต่เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง เมื่อเทียบดูแล้วก็จะเห็นว่าคล้ายคลึงกัน คือ
(๑) พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจากพระพุทธบิดา-พระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เหมือนกายของสามัญมนุษย์ เป็นแต่บริสุทธิ์สะอาดสวยงาม พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลากว่ากายของมนุษย์สามัญ เป็นวิบากขันธ์สำเร็จแต่พระบุญญาบารมี.
(๒) พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่า กายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่า และสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่าสามารถออกจากร่างหยาบไปในที่ไหนๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลายแล้วกายชั้นนี้ยังไม่สลาย จึงออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลากุศลที่ตนทำไว้ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้าท่านว่าดีวิเศษยิ่งกว่าของสามัญมนุษย์ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป.
(๓) พระธรรมกาย ได้แก่พระกายธรรมอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์หมายถึงพระจิตที่พ้นจากอาสวะแล้ว เป็นพระจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์โศกทั้งหลายได้จริง เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่าพระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัณฐานเช่นไรหรือไม่.
ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ ไม่สลายไปตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ไม่สูญ๕ ความเป็นพระอรหันต์นี้ท่านก็จัดเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่งเรียกว่าอัญญินทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่าวิสุทธิเทพ เป็นสภาพที่คล้ายคลึงวิสุทธาพรหมในสุทธาวาสชั้นสูง เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อมีอินทรีย์อยู่ก็ย่อมจะบำเพ็ญประโยชน์ได้ แต่ผู้จะรับประโยชน์จากท่านได้ ก็จะต้องมีอินทรีย์ผ่องแผ้วเพียงพอที่จะรับรู้รับเห็นได้ เพราะอินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุมที่สุด แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น๖ มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละเรียกว่าอินทรีย์แก้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็นพระแก้วคือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้.
ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไป ถ้ารู้ไม่ถึงอย่าพึงค้าน อย่าพึงอนุโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ศึกษาค้นคว้าแล้วได้ความรู้ ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้วด่วนวิพากษ์วิจารณ์ ติเตียน ผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ปกติตาไม่ดีญาณไม่โปร่งอยู่แล้ว ถ้าด่วนติเตียนในเมื่อตนเองรู้ไม่ถึง ก็ชื่อว่าบอดตาบอดญาณตนเองยิ่งจะซ้ำร้ายใหญ่ ข้าพเจ้านำเรื่องนี้มาพูดไว้ ด้วยมีความประสงค์จะให้นักศึกษาพระพุทธศาสนาช่วยกันค้นคว้าความรู้ส่วนลึกลับของพระพุทธศาสนาต่อไป.
๑. หมายความว่า บรรลุฌานแล้ว.
๒. ความเห็นเข้าข้างตัว เห็นว่าทัศนะของตนถูก ของผู้อื่นผิด ยกทัศนะของตนขึ้นข่มฝ่ายตรงข้ามเสมอ.
๓. มีจิตใจปลอดโปร่ง.
๔. มีปัญญาแจ่มใส.
๕. พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตตผล ได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ ถูกพระสารีบุตรสอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหัตตผลแล้วจึงเห็นตามความเป็นจริงว่า “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งย่อมเป็นไปตามปัจจัย” คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่าไม่ตาย.
๖. โดยปกติ เทวดาสามัญและมนุษยืไม่เห็นวิสุทธิเทพ แต่ถ้าท่านเนรมิตให้เห็นอาจเห็นได้ บาลีว่า “มารานํ อทสฺสนํ” หมายถึงพระนิพพานประณีตที่สุด มารจึงมองไม่เห็นพระนิพพาน ทั้งไม่เห็นผู้บรรลุพระนิพพานด้วย.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-14.htm
วิธีเจริญวิปัสสนาแบบนี้ ผู้ปฏิบัติมุ่งทำลายอาสวะให้เด็ดขาดเลยทีเดียว ไม่พะวงถึงคุณสมบัติส่วนอื่นๆ โดยเชื่อว่าถ้ามีวาสนาเคยสั่งสมมาเมื่อบรรลุถึงอาสวักขัยแล้ว คุณสมบัตินั้นๆจะมีมาเองตามสมควรแก่วาสนาบารมี และเชื่อว่าคุณสมบัติพิเศษนั้นเป็นผลรายทางของการปฏิบัติ เมื่อเดินตามทางอย่างรีบลัดตัดตรงไปถึงที่สุดแล้วก็จะต้องได้คุณสมบัตินั้นๆ บ้างพอสมควรไม่จำเป็นต้องไปห่วงใยให้เสียเวลา รีบรุดหน้าไปสู่เป้าประสงค์สูงสุดทีเดียว มีวิธีปฏิบัติดังต่อไปนี้
๑. อาศัยสมาธิชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นฐานทำการพิจารณาอารมณ์ของวิปัสสนาไปตามลำดับๆ จนได้ความรู้กระจ่างแจ้งในอารมณ์นั้นๆ เป็นอย่างๆ ไป สมาธิที่มีกำลังเพียงพอคือฌานที่ ๔ ถ้าต่ำกว่านั้นจะมีกำลังอ่อน จะไม่เห็นเหตุผลแจ่มชัด จะเป็นความรู้กวัดแกว่ง ไม่มีกำลังพอจะกำจัดอาสวะได้ ผู้มีภูมิสมาธิชั้นต่ำพึงทำการเข้าสมาธิสลับกับการพิจารณาเรื่อยไปจึงจะได้ผล อย่ามีแต่พิจารณาหน้าเดียว จิตจะฟุ้งในธรรมเกินไป แล้วจะหลงสัญญาตัวเองว่าเป็นวิปัสสนาญาณไป.
๒. ตีด่านสำคัญให้แตกหัก คือทำการพิจารณาขันธ์ ๕ อันเป็นที่อาศัยของอาสวะนั้นให้เห็นแจ้งชัดโดยไตรลักษณะ แจ่มแล้วแจ่มอีกเรื่อยไปจนกว่าจะถอนอาลัยในขันธ์ ๕ ได้เด็ดขาด จิตใจจึงจะมีอำนาจเหนือขันธ์ ๕ รู้เท่าทันขันธ์ ๕ ตามเป็นจริง อาสวะก็ตั้งไม่ติด จิตใจก็บรรลุถึงความมีอิสระเต็มเปี่ยม ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณด้วยประการฉะนี้.
พระไตรลักษณญาณ
การเจริญวิปัสสนา ไม่ว่าวิธีใดและขั้นใด จะต้องมีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องตัดสินชี้ขาดเสมอไป จึงจะเป็นวิปัสสนาญาณที่ถูกต้อง ถ้าไม่มีพระไตรลักษณญาณเป็นเครื่องชี้ขาดแล้ววิปัสสนาญาณนั้นๆ ไม่สมบูรณ์ อาจเป็นไปเพื่อความหลงได้ เมื่อมีพระไตรลักษณญาณกำกับอยู่แล้วเป็นอันรับประกันได้ว่าจะไม่หลงทางไปได้ แม้วิปัสสนูปกิเลสเกิดขึ้นก็ไม่หลงสำคัญว่าเป็นภูมิธรรมสูงสุด แล้วจะยับยั้งชั่งตรองว่าธรรมที่ปรากฏขึ้นนั้นอยู่ในลักษณะของพระไตรลักษณ์หรือไม่ถ้ายังอยู่ในลักษณะพระไตรลักษณ์แล้วชื่อว่ายังเป็นสังขาร มิใช่วิสังขาร ธรรมชาติของสังขารย่อมไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตาเสมอไป ส่วนวิสังขารย่อมพ้นอำนาจของพระไตรลักษณ์ คือเป็นสภาวะเที่ยงแท้แน่นอนไม่ทุกข์ และเป็นตนของตน พระไตรลักษณญาณนั้น คือ
๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ อนิจฺจลกฺขณญาณํ รู้ลักษณะไม่เที่ยงว่า สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมดเป็นสิ่งไม่เที่ยง มีลักษณะผันแปรไปตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง สังขารทุกชนิดทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ทั้งภายในตัว ทั้งภายนอกตัวทั่วไตรโลกธาตุ ย่อมตกอยู่ใต้อำนาจของความไม่เที่ยงทั้งสิ้น เมื่อมีเกิด ย่อมมีตาย เป็นคู่กันเสมอไป สิ่งใดไม่เกิดสิ่งนั้นจึงจะไม่ตาย ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า อนิจจลักษณญาณ.
๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ทุกฺขลกฺขณญาณํ รู้ในลักษณะทุกข์ว่า สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัยทั้งหมดเป็นสิ่งมีทุกข์ มีลักษณะเผาลนบีบคั้น และผันแปรไปตามเหตุปัจจัยของมันนั่นเอง สังขารทุกชนิดทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง และอย่างละเอียด ทั้งภายในตัว ทั้งภายนอกตัวทั่วไตรโลกธาตุย่อมตกอยู่ใต้อำนาจของความทุกข์ทั้งสิ้น สังขารที่เที่ยงแท้มิได้มี ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วต้องมีทุกข์เสมอไป เหมือนไฟแม้เพียงน้อยนิดก็ร้อนฉะนั้น จะหาความสุขที่แท้จริงในสังขารย่อมหาไม่ได้เหมือนจะหาความเย็นในไฟย่อมไม่ได้ฉะนั้น ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า ทุกขลักษณญาณ.
๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ อนตฺตลกฺขณญาณํ รู้ในลักษณะอนัตตาว่า สิ่งทั้งปวง คือตัวเหตุและปัจจัยทั้งหมดเป็นอนัตตา คือเป็นสิ่งดำรงอยู่ และเป็นไปตามลักษณะของมันเองเช่นนั้น เมื่อมันเป็นตัวเหตุหรือตัวปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดเป็นสิ่งสังขารใดๆ ขึ้นมา ให้ตกอยู่ในลักษณะไม่เที่ยงและเป็นทุกข์แล้ว ตัวมันเองก็ต้องไม่เที่ยงและเป็นทุกข์เช่นเดียวกัน เพราะเหตุกับผลย่อมเป็นสิ่งคล้ายคลึงกันเสมอไป เหตุเที่ยงผลต้องเที่ยง เหตุทุกข์ผลต้องทุกข์ เหตุมิใช่ตัวตนผลก็มิใช่ตัวตนเช่นเดียวกัน สิ่งใดเป็นไปตามสภาพของมัน อันใครๆ จะไปฝ่าฝืนขัดขืนมิได้ สิ่งนั้นชื่อว่าอนัตตาทั้งสิ้น ความรู้เช่นนี้แลเรียกว่า อนัตตลักษณญาณ.
ข้อควรสังเกตของผู้ปฏิบัติ คือพระไตรลักษณ์ครอบงำไปถึงไหน ที่นั้นยังมิใช่ภูมิพ้นทุกข์จริงภูมิพ้นทุกข์จริงแท้นั้น ต้องพ้นจากอำนาจของไตรลักษณ์เด็ดขาด ไตรลักษณ์หมดอำนาจที่จะครอบงำถึง ภูมิจิตใจอันพ้นจากอำนาจของไตรลักษณ์นั้นมีได้อย่างไร เป็นสิ่งจะต้องรู้เองเห็นเองโดยส่วนเดียว เมื่อได้รู้เห็นภูมิอันพ้นอำนาจไตรลักษณ์แล้ว ท่านพ้นทุกข์เด็ดขาดแล้ว เย็นใจได้ทีเดียวว่าท่านจะไม่มีวันกลับมาสู่อำนาจของไตรลักษณ์อีกต่อไปตลอดนิรันดรกาล.
พระอาสวักขยญาณ
ความรู้ว่าอาสวะสิ้นไปแล้ว หรือยังอยู่อย่างไรเป็นความรู้สำคัญ ในชั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนา ฉะนั้นจึงควรรู้จักหน้าตาของอาสวะให้เป็นข้อสังเกตในขั้นพิจารณาดังต่อไปนี้อาสวะคือธรรมชาติที่หมักดองจิตใจ ทำให้จิตใจแปรสภาพเป็นสิ่งเศร้าหมองบูดเหม็น เป็นทุกข์เดือดร้อน และก่อทุกข์เดือดร้อนเพิ่มใหม่แก่ตัวเป็นทวีคุณ ท่านจำแนกไว้ ๔ ประการคือ
๑. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ ได้แก่ความเห็นเป็นเหตุให้ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งว่าเป็นอัตตาตัวตน เป็นแก่นสาร ทิฏฐิที่เป็นเหตุให้ยึดถือตัวตนนั่น ได้แก่ภวทิฏฐิ คือเห็นว่ามีแน่ ได้แก่เห็นว่าอัตตา=ตัวตน เป็นสิ่งแน่นอน แล้ว แล้วยึดถือเอาสิ่งที่ตนเห็นอันใดอันหนึ่งเป็นอัตตา แล้วประพฤติเพื่อความมีอัตตาตามที่ตนปรารถนา ฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่มีอัตตาโดยประการทั้งปวงเรียกว่าวิภวทิฏฐิคือเห็นว่าไม่มีแน่ ได้แก่เห็นว่าขาดสูญ ตายแล้วก็สิ้นเรื่องทุกข์ร้อนเพียงนั้น ความเห็นทั้งสองประเภทนี้ย่อมเป็นไปเพื่อก่อทุกข์ด้วยกัน จึงจัดเป็นความเห็นผิดอันควรกำจัด เมื่อปฏิบัติเจริญวิปัสสนาเห็นขันธ์ ๕ โดยไตรลักษณ์เมื่อใด ทิฏฐิเช่นนี้ก็ถูกกำจัดไปเมื่อนั้น.
๒. กามาสวะ อาสวะคือกาม ได้แก่ความติดใจในกามารมณ์ คือรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สิ่งสัมผัสกาย) ที่เรียกว่า กามราคะบ้าง กามฉันทะบ้าง มีความพอใจติดพัน หมายมุ่งลุ่มหลงในกามวัตถุ ครั้นไม่สมหวังหรือได้สิ่งไม่พึงใจ ย่อมเกิดความโกรธแค้นเกลียดชังหน่ายแหนงครั้นได้สมหวังย่อมเพลิดเพลินมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น จนหลงตนลืมตัวไป ความรู้สึก ๒ ฝ่ายเนื่องด้วยกามารมณ์นี้แล เรียกว่ากามาสวะ เป็นเครื่องหมักดองใจให้เศร้าหมอง แสดงตัวออกเป็นกิเลสอย่างหยาบ คือ โลภะ ความเห็นแก่ได้ และกามราคะ ความใคร่ในทางร่วมประเวณี ที่รุนแรงคือกามมิจฉาจาร อย่างกลางคือ กามฉันทะ ความพออกพอใจในกามารมณ์สามัญทั่วไป มีลักษณะให้อาลัยห่วงใยในสิ่งที่ตนพอใจนั้นๆ.
๓. ภวาสวะ อาสวะคือภพ ได้แก่ภวราคะความพอใจอาลัยในภพ คือภาวะที่เป็นนั้นๆภายในจิตใจของตน ที่เรียกว่า รูปราคะ๑ ความติดใจในรูปฌาน แสดงตัวออกเป็นกิเลส อย่างหยาบคือภวตัณหา ทะยานอยากไปเกิดในภพที่ตนพอใจ อย่างกลางคือโสมนัสความดีใจในเมื่อสมหวัง โทมนัสความเสียใจในเมื่อไม่สมหวัง อย่างละเอียดคืออุเบกขาสุขในตติยฌานภูมิ และมานะความถือตัว.
๔. อวิชชาสวะ๒ อาสวะคืออวิชชา ได้แก่ความรู้ไม่แจ่มแจ้งซึ่งสิ่งนั้นๆ เป็นเหตุให้หลงและสำคัญผิดเข้าใจผิดเห็นผิดไปต่างๆ แสดงตัวออกเป็นกิเลสอย่างหยาบคือมิจฉาทิฏฐิต่างๆ และวิภวตัณหา อยากดับสูญไม่อยากเกิดอีกโดยความเข้าใจผิดไปว่าตายแล้วสิ้นเรื่องเพียงนั้น อย่างกลางคือ อรูปราคะความติดใจในอรูปฌาน อย่างละเอียดคืออุทธัจจะ ความฟุ้งของจิต หรือความสะเทือนใจตื่นเต้นในธรรมคือภาวะที่เป็นไปในจิตชั้นสูง ที่ท่านเรียกว่าธรรมอุทธัจจะ และตัวอวิชชาเอง.
๑. ในพระสูตรว่า ความพอใจในรูปภาพวิจิตร เป็นรูปราคะ.
๒. อวิชชาเป็นพาหนะของกิเลสทั้งหลาย ท่านเปรียบเหมือนช้างคีรีเมขลาสีหมอก.
วัตถุอันเป็นที่ตั้งของอวิชชา มี ๘ ประการ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อดีต อนาคต ปัจจุบัน และปฏิจจสมุปบาท (=ปัจจยาการ ๑๒) เมื่อยังไม่รู้แจ่มแจ้งวัตถุทั้ง ๘ นี้ ตามเป็นจริงเพียงไร อวิชชาสวะยังมีอยู่เพียงนั้น เมื่อแจ่มแจ้งในวัตถุ ๘ ประการนี้แล้วอวิชชาย่อมดับไปสิ้นเชิง อวิชชาอันเป็นรากแก้วของกิเลสทั้งหลายถูกกำจัดให้ดับไปแล้ว กิเลสทั้งหลายย่อมถูกกำจัดไป เมื่อกิเลสถูกกำจัดแล้ว กรรมอันเป็นตัวเหตุก่อนามรูปในกำเนิดต่างๆ ก็ถูกทำลาย ทุกข์ทั้งหลายอันเป็นผลของกิเลสและกรรมก็สิ้นสุดลง เมื่อนามรูปปัจจุบันอันเป็นวิบากขันธ์ยังมีอยู่ก็เสวยผลของมันไปจนกว่ามันจะสลายไป เมื่อนามรูปปัจจุบันสลายแล้ว นามรูปใหม่ก็ไม่มีอีก เป็นอันหมดสิ่งต้องเกิดตายเพียงนั้น ต่อนั้นไปก็มีแต่สภาวะที่ปราศจากทุกข์โดยส่วนเดียวดำรงอยู่ในสภาพปราศจากทุกข์ตลอดกาลนิรันดร.
เมื่อรู้จักอาสวะ ๔ ประการนี้ตามความเป็นจริง รู้เหตุเกิดอาสวะเหล่านั้น รู้จักที่สิ้นอาสวะและรู้จักทางให้สิ้นอาสวะได้แล้ว ย่อมสามารถทำลายอาสวะเด็ดขาดได้ ชื่อว่าได้บรรลุอาสวักขยญาณ ด้วยประการฉะนี้.
วิธีเจริญอาสวักขยญาณอย่างรวบยอด สำหรับผู้ปฏิบัติจริงๆ คือ เข้าฌานอันเป็นที่ตั้งของวิปัสสนา ทำใจให้บริสุทธิ์สะอาดผ่องแผ้ว แล้วกำหนดสำเหนียกสิ่งที่ปรากฏในจิตใจขณะนั้นโดยไตรลักษณ์ เมื่อเกิดความรู้เห็นโดยไตรลักษณ์แจ่มแจ้งขึ้น จิตก็ผ่องแผ้วพ้นอาสวะทันที การสำเหนียกพิจารณาในฌานเช่นนี้จะเป็นไปโดยอาการสุขุมประณีตแผ่วเบา ไม่รู้สึกสะเทือนทางประสาทเลย ไม่เหมือนการคิดการอ่านโดยปกติธรรมดา ซึ่งต้องใช้ประสาทสมองเป็นเครื่องมือฉะนั้น ผู้ปฏิบัติพึงทุ่มเทกำลังใจลงในการเจริญฌานมาตรฐานให้ได้หลักฐานทางจิตใจก่อนแล้ว จึงสำเหนียกไตรลักษณ์ดังกล่าวแล้ว จะสำเร็จผลเร็วกว่าวิธีใดๆ.
สัญโยชน์ ๑๐ ประการ
กิเลสอันเป็นเหตุผูกมัดสัตว์ไว้ในวัฏฏสงสาร ๑๐ ประการ ท่านเรียกว่า สัญโยชน์ พึงกำหนดรู้ลักษณะของมันไว้ ดังต่อไปนี้
๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นผิดในกายของตนเองที่แยกออกเป็น ๕ ส่วนว่าเป็นอัตตาตัวตนหรือว่าตน คือสิ่งเหล่านั้น หมายความว่ายังไม่เห็นอนัตตา ยังติดอัตตาอยู่.
๒. วิจิกิจฉา ความไม่แน่ใจว่าพระนิพพานมีจริง เป็นเหตุให้สองจิตสองใจ ไม่กล้าปฏิบัติทางพระนิพพานอย่างจริงจัง โดยใจความก็ได้แก่ยังไม่เห็นอนัตตาแน่ชัดนั่นเอง.
๓. สีลพัตตปรามาส ข้อนี้แยกออกเป็น ๒ บทคือ สีลวัตตะ บทหนึ่ง, ปรามาสะ บทหนึ่งสีลวัตตะนั้นท่านแยกออกเป็น ๒ อีกคือ เป็นศีลอันใด วัตรอันนั้นอย่างหนึ่ง ศีลอันใดไม่ใช่วัตรอันนั้นหนึ่ง ศีล ๕ นั้นเป็นศีลอันใดวัตรอันนั้น คือเป็นศีลด้วยเป็นวัตรด้วย ส่วนอริยมรรคข้ออื่น เช่นสัมมาสติไม่ใช่ศีลอันใด วัตรอันนั้น คือเป็นแต่วัตร ไม่ใช่ศีล.
คำว่า ปรามาสะ นั้นแปลว่าการลูบคลำหรือการคลำหา ยังเคว้งคว้างอยู่ พระโสดาละสัญ-โยชน์ข้อนี้ไม่ใช่ละศีลวัตร ท่านละการลูบคลำซึ่งศีล ๕ ซึ่งเป็นศีลด้วยเป็นวัตรด้วยนั้น หมายความว่าท่านไม่ต้องถือศีล ๕ เพราะมีศีล ๕ แล้ว และไม่ต้องไปแสวงหามรรคธรรมในศาสนาอื่นอีก เป็นอันรู้ทางที่จะดำเนินขึ้นสู่อริยผลเบื้องบนแน่นอนแล้ว เป็นแต่จะบำเพ็ญขึ้นไปอีกเท่านั้น.
๔. กามราคะ ความกำหนัดในกามคุณ ติดใจในกามารมณ์ ความอยากได้ใคร่ดีในอารมณ์นั้นๆ.
๕. ปฏิฆะ คาวมคับใจ แค้นใจ หงุดหงิดในใจ เนื่องด้วยประสบอารมณ์น่าโกรธเคือง บางแห่งเรียกพยาบาทก็มี.
๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปฌาน หรือในรูปธรรม อันเป็นอารมณ์ของจิตใจสูง.
๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปฌาน หรือในอรูปธรรม อันเป็นอารมณ์ของจิตใจชั้นสูง.
๘. มานะ ความสำคัญตนผิดไปจากความเป็นจริง ในที่นี้คงหมายเอาความเคยชินที่เคยถือมาแล้วแต่ก่อน เหลือติดอยู่ ท่านเปรียบเหมือนผ้าที่ฟอกสะอาดจากสิ่งโสโครกแล้ว แต่กลิ่นน้ำด่างยังติดเหลืออยู่ที่ผ้า จะต้องอบให้หมดกลิ่นน้ำด่างนั้นอีกชั้นหนึ่ง.
๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งไม่สงบราบคาบ เป็นเหตุให้เห็นธรรมไม่แจ่มแจ้งได้ ความตื่นเต้นสะเทือนใจในภาวะของจิตใจบางประการ ตลอดถึงความมุ่งพยายามเร่งจะก้าวหน้าเลื่อนชั้นขึ้นไปอุทธัจจะในสัญโยชน์ไม่เหมือนอุทธัจจะที่เป็นนิวรณ์.
๑๐. อวิชชา ความรู้ไม่แจ่มแจ้งซึ่งสิ่งทั้งหลาย เป็นเหตุหลงและสำคัญผิดไปจากความจริง.
สัญโยชน์ ๑ – ๓ พระโสดาบันละได้ขาด พระสกทาคามีละสัญโยชน์ ๓ นั้นได้ และทำราคะโทสะ โมหะ ให้เบาบางลงได้ด้วย สัญโยชน์ ๑ – ๕ พระอนาคามีละได้เด็ดขาด สัญโยชน์ทั้ง ๑๐ พระอรหันต์ละได้ทั้งหมด.
ความจริงเมื่ออริยมรรคญาณเกิดขึ้นกำจัดกิเลสส่วนใดแล้ว อริยผลญาณย่อมเกิดขึ้นในลำดับ ให้หยั่งรู้ว่ากิเลสส่วนนั้นจะไม่งอกขึ้นอีก เมื่อบรรลุถึงอาสวักขยญาณแล้ว ย่อมเกิดญาณหยั่งรู้ขึ้นเองในลำดับนั้นทันทีว่า ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์ คือปฏิบัติมรรคเสร็จแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อเป็นอย่างนี้ไม่มีอีก ดังนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมรู้เองไม่ต้องถามใคร และไม่ต้องสอบสวนกับแบบแผนอะไรด้วย ถ้ายังต้องทำชื่อว่ายังมีสงสัย ญาณตัดสินใจไม่มี ไม่ชื่อว่าบรรลุอาสวักขยญาณ การที่นำสัญโยชน์มาตั้งไว้ในที่นี้ เพียงเพื่อเป็นข้อสังเกตกำหนดของผู้ปฏิบัติในการกำจัดกิเลสนั้นๆ เท่านั้น ผู้บรรลุอาสวักขยญาณอย่างแท้จริงแล้วย่อมมีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ซึ่งทำให้สังเกตได้ว่าเป็นพระอรหันต์ ธรรมเครื่องอยู่นั้นเรียกว่า อริยวาส ดังต่อไปนี้
อริยวาส ๑๐
๑. ปัญจังคปหีโน๑ ละองค์ ๕ แห่งนิวรณ์ได้แล้ว.
๒. ฉฬังคสมันนาคโต ประกอบด้วยองค์ ๖ คือมีอุเบกขาในอารมณ์ทั้ง ๖.
๓. เอการักโข มีอารักขาเอก คือ สติไพบูลย์.
๔. จตุราปัสเสโน มีธรรมเป็นที่อิงอาศัย ๔ ประการ เหมือนกับมีเสนาป้องกัน ๔ ด้านคือ
(๑) พิจารณาแล้วเสพ
(๒) พิจารณาแล้วรับ
(๓) พิจารณาแล้วเว้น
(๔) พิจารณาแล้วบรรเทา
๕. ปนุนนปัจเจกสัจโจ๒ บรรเทาความเห็นผิดตามที่สมณพราหมณ์เป็นอันมากเห็นและถือมั่นกันอยู่ได้แล้ว.
๖. สมวยสัฏเฐสโน ละการแสวงหากามและภพได้แล้ว การแสวงหาพรหมจรรย์ก็สงบระงับลงแล้ว.
๗. อนาวิลสังกัปโป ละความคิดในทางกาม ความคิดพยาบาท และความคิดเบียดเบียนได้แล้ว เป็นผู้มีความคิดผ่องแผ้วอยู่เสมอ.
๘. ปัสสัทธกายสังขาโร มีกายสังขารระงับแล้ว คือบรรลุฌานที่ ๔ ซึ่งละสุข ทุกข์ โสมนัสโทมนัส ได้มีอุเบกขา สติ และความบริสุทธิ์กำกับใจอยู่เสมอ.
๙. สุวิมุตตจิตโต๓ มีจิตพ้นดีแล้วจากราคะ โทสะ โมหะ.
๑๐. สุวิมุตตปัญโญ๔ มีความรู้ว่าพ้นดีแล้ว กิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ ที่ละได้แล้วถูกต้ดรากเหมือนตาลยอดด้วน มีอีกไม่ได้ ไม่เกิดขึ้นได้อีกต่อไป.
อริยวาส ๑๐ นี้ เป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ในอดีตและปัจจุบัน จักเป็นที่อยู่ของพระอริยเจ้าทั้งหลายในอนาคตอีกด้วย.
อินทรีย์แก้ว
ก่อนจบบทนี้ จะพูดถึงอินทรีย์แก้วซึ่งได้พูดแย้มไว้หลายแห่งมาแล้ว พอเป็นแนวศึกษาค้นคว้าของนักศึกษาพระพุทธศาสนา หวังว่าจะเป็นเรื่องที่สนใจอยากทราบเป็นแน่.
ปกรณ์ฝ่ายมหายานหรืออุตตรนิกาย เขาแบ่งภาคพระพุทธเจ้าเป็นหลายชั้น เช่น
(๑) พระอาทิพุทธเจ้า เป็นพระพุทธเจ้าเที่ยงแท้ มีพระรัศมีรุ่งเรืองที่สุดหาเขตจำกัดมิได้ ไม่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย เป็นอยู่ชั่วนิรันดร.
(๒) พระฌานิพุทธเจ้า ได้แก่พระนิรมานกาย ที่ทรงเนรมิตบิดเบือนขึ้นด้วยอำนาจฌานสมาบัติ มีพระรัศมีรุ่งเรือง มิใช่พระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก.
(๓) พระมานุสีพุทธเจ้า ได้แก่พระพุทธเจ้าซึ่งมาตรัสรู้โปรดสัตว์ในโลก มีพระกายในความเป็นมนุษย์อย่างสามัญมนุษย์ทั้งหลาย แต่เป็นพระกายดีวิเศษกว่าของมนุษย์สามัญ มีพระฉัพพรรณรังสีพระกายแผ่ซ่านออกข้างละวา.
ส่วนปกรณ์ของฝ่ายทักษิณนิกาย หรือเถรวาท (คือฝ่ายเรา) ท่านโบราณาจารย์ก็แบ่งพระกายของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ ภาคเช่นเดียวกัน แต่เรียงลำดับจากต่ำไปหาสูง เมื่อเทียบดูแล้วก็จะเห็นว่าคล้ายคลึงกัน คือ
(๑) พระรูปกาย เป็นพระกายซึ่งเอากำเนิดจากพระพุทธบิดา-พระพุทธมารดา ที่เป็นมนุษย์ธรรมดา ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ เหมือนกายของสามัญมนุษย์ เป็นแต่บริสุทธิ์สะอาดสวยงาม พระฉวีวรรณเปล่งปลั่งเกลี้ยงเกลากว่ากายของมนุษย์สามัญ เป็นวิบากขันธ์สำเร็จแต่พระบุญญาบารมี.
(๒) พระนามกาย ได้แก่กายชั้นใน ปราชญ์บางท่านเรียกว่า กายทิพย์ และว่าเป็นกายที่มีรูปร่างสัณฐานเหมือนกายชั้นนอก เป็นแต่ว่องไวกว่า และสามารถกว่ากายชั้นนอกหลายร้อยเท่าสามารถออกจากร่างหยาบไปในที่ไหนๆ ได้ตามต้องการ เมื่อกายหยาบสลายแล้วกายชั้นนี้ยังไม่สลาย จึงออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ต่อไป นามกายเป็นของมีทั่วไปแม้แต่สามัญมนุษย์ แต่ดีเลวกว่ากันด้วยอำนาจกุศลากุศลที่ตนทำไว้ก่อน ส่วนพระนามกายของพระพุทธเจ้าท่านว่าดีวิเศษยิ่งกว่าของสามัญมนุษย์ด้วยอำนาจพระบุญญาบารมี ที่ทรงบำเพ็ญมาเป็นเวลาหลายอสงไขยกัป.
(๓) พระธรรมกาย ได้แก่พระกายธรรมอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะทั่วไปแก่เทวาและมนุษย์หมายถึงพระจิตที่พ้นจากอาสวะแล้ว เป็นพระจิตบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีพระรัศมีแจ่มจ้า เปรียบเหมือนดวงอาทิตย์อุทัยไขแสงในนภากาศฉะนั้น พระธรรมกายนี้เป็นพระพุทธเจ้าที่จริงแท้ เป็นพระกายที่พ้นเกิด แก่ เจ็บ ตาย และทุกข์โศกทั้งหลายได้จริง เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ถาวรไม่สูญสลายเป็นอยู่ชั่วนิรันดร เป็นที่รวมแห่งธรรมทั้งปวง แต่ท่านมิได้บอกให้แจ้งชัดว่าพระธรรมกายนี้มีรูปพรรณสัณฐานเช่นไรหรือไม่.
ความเชื่อว่าพระอรหันต์นิพพานแล้วยังมีอยู่อีกส่วนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระอรหันต์แท้ ไม่สลายไปตามกาย คือความเป็นพระอรหันต์ไม่สูญ๕ ความเป็นพระอรหันต์นี้ท่านก็จัดเป็นอินทรีย์ชนิดหนึ่งเรียกว่าอัญญินทรีย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าคงหมายเอาอินทรีย์นี้เอง บัญญัติเรียกว่าวิสุทธิเทพ เป็นสภาพที่คล้ายคลึงวิสุทธาพรหมในสุทธาวาสชั้นสูง เป็นแต่บริสุทธิ์ยิ่งกว่าเท่านั้น เมื่อมีอินทรีย์อยู่ก็ย่อมจะบำเพ็ญประโยชน์ได้ แต่ผู้จะรับประโยชน์จากท่านได้ ก็จะต้องมีอินทรีย์ผ่องแผ้วเพียงพอที่จะรับรู้รับเห็นได้ เพราะอินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุมที่สุด แม้แต่ตาทิพย์ของเทวดาสามัญก็มองไม่เห็น๖ มนุษย์สามัญซึ่งมีตาหยาบๆ จะเห็นได้อย่างไร อินทรีย์ของพระอรหันต์นั้นแหละเรียกว่าอินทรีย์แก้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของท่านเป็นแก้ว คือใสบริสุทธิ์ดุจแก้วมณีโชติ ผู้บรรลุถึงภูมิแก้วแล้ว ย่อมสามารถพบเห็นพระแก้วคือพระอรหันต์ที่นิพพานแล้วได้.
ความรู้เรื่องนี้ เป็นความรู้ลึกลับในพระธรรมวินัย ผู้สนใจพึงศึกษาค้นคว้าต่อไป ถ้ารู้ไม่ถึงอย่าพึงค้าน อย่าพึงอนุโมทนา เป็นแต่จดจำเอาไว้ เมื่อใดตนเองได้ศึกษาค้นคว้าแล้วได้ความรู้ ได้เหตุผลที่ถูกต้องดีกว่า เมื่อนั้นจึงค้าน ถ้าได้เหตุผลลงกันจึงอนุโมทนา ถ้ารู้ไม่ถึงแล้วด่วนวิพากษ์วิจารณ์ ติเตียน ผู้พูดเรื่องเช่นนี้ จะเป็นไปเพื่อบอดตาบอดญาณตนเอง ปกติตาไม่ดีญาณไม่โปร่งอยู่แล้ว ถ้าด่วนติเตียนในเมื่อตนเองรู้ไม่ถึง ก็ชื่อว่าบอดตาบอดญาณตนเองยิ่งจะซ้ำร้ายใหญ่ ข้าพเจ้านำเรื่องนี้มาพูดไว้ ด้วยมีความประสงค์จะให้นักศึกษาพระพุทธศาสนาช่วยกันค้นคว้าความรู้ส่วนลึกลับของพระพุทธศาสนาต่อไป.
๑. หมายความว่า บรรลุฌานแล้ว.
๒. ความเห็นเข้าข้างตัว เห็นว่าทัศนะของตนถูก ของผู้อื่นผิด ยกทัศนะของตนขึ้นข่มฝ่ายตรงข้ามเสมอ.
๓. มีจิตใจปลอดโปร่ง.
๔. มีปัญญาแจ่มใส.
๕. พระยมกะ เมื่อยังไม่บรรลุอรหัตตผล ได้แสดงความเห็นว่า พระอรหันต์ตายแล้วสูญ ถูกพระสารีบุตรสอบสวน เมื่อบรรลุพระอรหัตตผลแล้วจึงเห็นตามความเป็นจริงว่า “สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งย่อมเป็นไปตามปัจจัย” คือสลายไป ส่วนพระอรหันต์มิใช่สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งจึงไม่สลายไป แปลว่าไม่ตาย.
๖. โดยปกติ เทวดาสามัญและมนุษยืไม่เห็นวิสุทธิเทพ แต่ถ้าท่านเนรมิตให้เห็นอาจเห็นได้ บาลีว่า “มารานํ อทสฺสนํ” หมายถึงพระนิพพานประณีตที่สุด มารจึงมองไม่เห็นพระนิพพาน ทั้งไม่เห็นผู้บรรลุพระนิพพานด้วย.
จาก http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/misc/ ทิพยอำนาจ-14.htm